ประท้วงป๋าเปรมบ้าน4เสา นปก
okstation11
นปก ได้เดินทางประท้วงบ้านพลเอกเปรม แล้วถูกทำร้ายอย่างแสนสาหัส
..
เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) 15 คน และกลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน 20,000 คน เคลื่อนขบวนจากท้องสนามหลวง ไปปิดล้อมบริเวณหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ บ้านพักรับรองสำหรับผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพบกไทย ซึ่ง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ใช้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ระหว่างเส้นทางการเคลื่อนขบวน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านสกัดในหลายจุด โดยใช้แผงเหล็กวางกั้น และจอดรถบรรทุกของกรุงเทพมหานครขวางถนน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ฝ่าผ่านไปได้[1] เมื่อขบวนเคลื่อนไปถึงหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ แกนนำ นปก.ใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่บนรถบรรทุก ปราศรัยโจมตีผู้เกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารทั้งหมด ในขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังอยู่ระหว่างพักรับประทานอาหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามฝ่าฝูงชนเข้าไปจับตัวแกนนำ แต่ไม่สำเร็จ และถูกกลุ่มผู้ชุมนุมผลักดัน จนต้องล่าถอยออกไป
สักครู่ใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาอีกครั้ง พร้อมสเปรย์พริกไทย เพื่อเปิดทางเข้าไปจับตัวแกนนำบนรถปราศรัย แต่ก็ถูกผู้ชุมนุมผลักดันออกไปได้อีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจล่าถอยไปได้ไม่นาน ก็กลับมาพร้อมกับการยิงแก๊สน้ำตา จนทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกฮือ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถสลายกลุ่มผู้ชุมนุมได้ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องล่าถอยออกไปอีก และกลับมาระดมยิงแก๊สน้ำตาอีกชุดใหญ่ พร้อมกับเสริมกำลังเข้ามามากขึ้น ทำให้สถานการณ์ตึงเครียด เพราะมีการตอบโต้จากฝ่ายผู้ชุมนุม หลายคนหยิบฉวยอะไรได้ ก็นำขึ้นมาใช้ตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นท่อนไม้ คันธง ขวดน้ำ อิฐตัวหนอนปูถนน แผงเหล็กกั้น และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการขับรถพุ่งเข้าชน[2]โดยภายหลังจับกุมตัวได้ ทราบชื่อคือนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006[3]โดยบุคคลดังกล่าวทำร้ายร่างกาย ร้อยตำรวจเอก ทวีศักดิ์ นามจันทร์เจียม บาดเจ็บสาหัส
เมื่อไม่สามารถต้านทานกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระดมกันมาได้ แกนนำจึงพากลุ่มผู้ชุมนุมถอยออกจากหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เพื่อกลับไปยังท้องสนามหลวงตามเดิม ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ทั้งในส่วนของผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถึงแม้จะไม่มีผู้สูญเสียชีวิตหรืออวัยวะจากการสลายการชุมนุม แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ ในบริเวณโดยรอบที่ชุมนุม อาทิ ป้อมยามตำรวจ, ร้านค้าสมาคมแม่บ้านทหารบก และมูลนิธิพระดาบส ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ด้านนาย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แถลงว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 41 ราย ในจำนวนนี้ถึงขั้นนอนโรงพยาบาล 2 ราย[4]
ต่อมาในวันรุ่งขึ้น (23 กรกฎาคม) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาซ่องสุมเกินกว่า 10 คน ต่อแกนนำ นปก.[5] แกนนำทั้งหมดประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจตุพร พรหมพันธ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย, นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ จึงได้ติดต่อขอเข้ามอบตัว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวไว้ทั้งหมด ทั้งนี้ แกนนำทุกคนไม่ได้ยื่นขอประกันตัวแต่อย่างใด และหลังจากนั้น นปก.ก็แต่งตั้งแกนนำรุ่น 2 ขึ้นมาทำหน้าที่แทน
คณะทำงานอัยการได้พิจารณาสำนวนคดีและสั่งไม่ฟ้องแกนนำ นปช. เนื่องจากมีการยื่นหลักฐาน เอกสารร้องขอความเป็นธรรม ที่ผู้ต้องหายื่นเข้ามาให้อัยการพิจารณา ประกอบกับความเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช.ยังไม่ถึงขั้นก่อความวุ่นวาย จึงถือว่าเป็นสิทธิเพื่อเรียกร้องตามรัฐธรรมนูญ จึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง และส่งเรื่องให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาแล้ว แต่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีความเห็นแย้งให้ฟ้องผู้ต้องหา และส่งความเห็นแย้งให้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาชี้ขาด โดยอัยการสูงสุด มีความเห็นชี้ขาดสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาอื่น ตามความเห็นแย้งของ ผบ.ตร. [6]
พนักงานสอบสวนมีความเห็นสมควรสั่งฟ้องแกนนำ นปช.10 คน ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และร่วมกันเดินแถว เดินเป็นขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร และร่วมกันกระทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานประกอบด้วย
นายวีระ มุสิกพงศ์
นายจตุพร พรหมพันธุ์
นายจักรภพ เพ็ญแข
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย
นพ.เหวง โตจิราการ
พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
นายจรัล ดิษฐาอภิชัย
นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ
นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล
และส่งฟ้องผู้ร่วมชุมนุมก่อความวุ่นวายอีก 5 คน ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ประกอบด้วย
นายบรรจง สมคำ
หม่อมหลวงวีระยุทธ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
นายศราวุธ หลงเส็ง
นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน
นายวันชัย นาพุทธา [7]
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560 ศาลอุทธรณ์ได้สั่งจำคุก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวีระ มุสิกพงศ์ นพ.เหวง โตจิราการ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย 2 ปี 8 เดือน จำเลยประกันตัวออกไปยื่นต่อศาลฎีกา ในคดีหมายเลขดำ อ.3531/2552 [8]
อ้างอิง[แก้]
↑ เตือนความทรงจำ ครบ 1 ปี หัวโจกนปก. นำ 'ม็อบถ่อย' บุกบ้านป๋า
↑ vs Mob2.wmv
↑ นปก.แตกพ่าย!! หนีกลับสนามหลวง
↑ https://mgronline.com/crime/detail/9500000085883
↑ คมชัดลึก
↑ อสส.สั่งฟ้องแกนนำนปช.บุกบ้านป๋าเปรม
↑ อัยการสั่งฟ้อง นปช.ป่วนบ้าน “ป๋า” รอนัดวันส่งศาล!
↑ อุทธรณ์แก้จำคุก “ณัฐวุฒิ-วีระกานต์-หมอเหวง-วิภูแถลง” คนละ 2 ปี 8 เดือน นำม็อบบุกบ้านป๋าเปรมปี 50
เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) 15 คน และกลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน 20,000 คน เคลื่อนขบวนจากท้องสนามหลวง ไปปิดล้อมบริเวณหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ บ้านพักรับรองสำหรับผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพบกไทย ซึ่ง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ใช้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ระหว่างเส้นทางการเคลื่อนขบวน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านสกัดในหลายจุด โดยใช้แผงเหล็กวางกั้น และจอดรถบรรทุกของกรุงเทพมหานครขวางถนน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ฝ่าผ่านไปได้[1] เมื่อขบวนเคลื่อนไปถึงหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ แกนนำ นปก.ใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่บนรถบรรทุก ปราศรัยโจมตีผู้เกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารทั้งหมด ในขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังอยู่ระหว่างพักรับประทานอาหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามฝ่าฝูงชนเข้าไปจับตัวแกนนำ แต่ไม่สำเร็จ และถูกกลุ่มผู้ชุมนุมผลักดัน จนต้องล่าถอยออกไป
สักครู่ใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาอีกครั้ง พร้อมสเปรย์พริกไทย เพื่อเปิดทางเข้าไปจับตัวแกนนำบนรถปราศรัย แต่ก็ถูกผู้ชุมนุมผลักดันออกไปได้อีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจล่าถอยไปได้ไม่นาน ก็กลับมาพร้อมกับการยิงแก๊สน้ำตา จนทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกฮือ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถสลายกลุ่มผู้ชุมนุมได้ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องล่าถอยออกไปอีก และกลับมาระดมยิงแก๊สน้ำตาอีกชุดใหญ่ พร้อมกับเสริมกำลังเข้ามามากขึ้น ทำให้สถานการณ์ตึงเครียด เพราะมีการตอบโต้จากฝ่ายผู้ชุมนุม หลายคนหยิบฉวยอะไรได้ ก็นำขึ้นมาใช้ตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นท่อนไม้ คันธง ขวดน้ำ อิฐตัวหนอนปูถนน แผงเหล็กกั้น และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการขับรถพุ่งเข้าชน[2]โดยภายหลังจับกุมตัวได้ ทราบชื่อคือนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006[3]โดยบุคคลดังกล่าวทำร้ายร่างกาย ร้อยตำรวจเอก ทวีศักดิ์ นามจันทร์เจียม บาดเจ็บสาหัส
เมื่อไม่สามารถต้านทานกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระดมกันมาได้ แกนนำจึงพากลุ่มผู้ชุมนุมถอยออกจากหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เพื่อกลับไปยังท้องสนามหลวงตามเดิม ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ทั้งในส่วนของผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถึงแม้จะไม่มีผู้สูญเสียชีวิตหรืออวัยวะจากการสลายการชุมนุม แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ ในบริเวณโดยรอบที่ชุมนุม อาทิ ป้อมยามตำรวจ, ร้านค้าสมาคมแม่บ้านทหารบก และมูลนิธิพระดาบส ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ด้านนาย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แถลงว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 41 ราย ในจำนวนนี้ถึงขั้นนอนโรงพยาบาล 2 ราย[4]
ต่อมาในวันรุ่งขึ้น (23 กรกฎาคม) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาซ่องสุมเกินกว่า 10 คน ต่อแกนนำ นปก.[5] แกนนำทั้งหมดประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจตุพร พรหมพันธ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย, นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ จึงได้ติดต่อขอเข้ามอบตัว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวไว้ทั้งหมด ทั้งนี้ แกนนำทุกคนไม่ได้ยื่นขอประกันตัวแต่อย่างใด และหลังจากนั้น นปก.ก็แต่งตั้งแกนนำรุ่น 2 ขึ้นมาทำหน้าที่แทน
คณะทำงานอัยการได้พิจารณาสำนวนคดีและสั่งไม่ฟ้องแกนนำ นปช. เนื่องจากมีการยื่นหลักฐาน เอกสารร้องขอความเป็นธรรม ที่ผู้ต้องหายื่นเข้ามาให้อัยการพิจารณา ประกอบกับความเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช.ยังไม่ถึงขั้นก่อความวุ่นวาย จึงถือว่าเป็นสิทธิเพื่อเรียกร้องตามรัฐธรรมนูญ จึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง และส่งเรื่องให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาแล้ว แต่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีความเห็นแย้งให้ฟ้องผู้ต้องหา และส่งความเห็นแย้งให้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาชี้ขาด โดยอัยการสูงสุด มีความเห็นชี้ขาดสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาอื่น ตามความเห็นแย้งของ ผบ.ตร. [6]
พนักงานสอบสวนมีความเห็นสมควรสั่งฟ้องแกนนำ นปช.10 คน ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และร่วมกันเดินแถว เดินเป็นขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร และร่วมกันกระทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานประกอบด้วย
นายวีระ มุสิกพงศ์
นายจตุพร พรหมพันธุ์
นายจักรภพ เพ็ญแข
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย
นพ.เหวง โตจิราการ
พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
นายจรัล ดิษฐาอภิชัย
นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ
นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล
และส่งฟ้องผู้ร่วมชุมนุมก่อความวุ่นวายอีก 5 คน ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ประกอบด้วย
นายบรรจง สมคำ
หม่อมหลวงวีระยุทธ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
นายศราวุธ หลงเส็ง
นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน
นายวันชัย นาพุทธา [7]
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560 ศาลอุทธรณ์ได้สั่งจำคุก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวีระ มุสิกพงศ์ นพ.เหวง โตจิราการ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย 2 ปี 8 เดือน จำเลยประกันตัวออกไปยื่นต่อศาลฎีกา ในคดีหมายเลขดำ อ.3531/2552 [8]
อ้างอิง[แก้]
↑ เตือนความทรงจำ ครบ 1 ปี หัวโจกนปก. นำ 'ม็อบถ่อย' บุกบ้านป๋า
↑ vs Mob2.wmv
↑ นปก.แตกพ่าย!! หนีกลับสนามหลวง
↑ https://mgronline.com/crime/detail/9500000085883
↑ คมชัดลึก
↑ อสส.สั่งฟ้องแกนนำนปช.บุกบ้านป๋าเปรม
↑ อัยการสั่งฟ้อง นปช.ป่วนบ้าน “ป๋า” รอนัดวันส่งศาล!
↑ อุทธรณ์แก้จำคุก “ณัฐวุฒิ-วีระกานต์-หมอเหวง-วิภูแถลง” คนละ 2 ปี 8 เดือน นำม็อบบุกบ้านป๋าเปรมปี 50
...