วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 11, 2562

"Doungchampa" ตอบคำถามหลังไมค์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันที่ 8





มีหลายท่านเขียนมาถามหลังไมค์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขอตอบเป็นข้อๆ

1. ปัญหาจริงๆ นั้น ต้องไปดูที่ต้นตอ ต้นตอเปลี่ยนเนื้อหาในรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งระบุให้ “คนนอก” สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้

เรื่องนี้ต่างกับ รธน 40 และ 50 แบบ "ฟ้ากับดิน" เลยทีเดียว

เมื่อ รธน. เปลี่ยนเนื้อหา การปฎิบัติของสมาชิกในพรรคการเมืองแต่ละพรรค ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

และต้องคิดว่า จะต้องทำอย่างไร พรรคการเมืองของตนเอง จะมีความ "ได้เปรียบ" มากที่สุด ด้วยการปฎิบัติตามกติกาที่เขียนไว้ โดยไม่มีการละเมิดหรือผิดกฎเหล็กกฎใดหรือระเบียบใดๆ ทั้งสิ้น...

ถ้าไม่ต้องการให้ “คนนอก” เข้ามา ก็ต้องเปลี่ยนกติกา ให้ รธน กำหนดไว้ นั่นคือ ต้องระบุให้ตัว นายกรัฐมนตรี ต้องเป็น สส ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

2. รธน. กำหนดให้ ฝ่ายหนึ่งที่พรรคพวกตนเองเลือกเข้ามา 240 กว่าคน สามารถเลือก “นายกรัฐมนตรี” ได้ เรื่องความได้เปรียบไม่ต้องพูดถึง เพราะสามารถหาเพิ่มเติมได้อีกเพียง 100 กว่า คน (ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำการสนับสนุน ต้องไปเริ่มกันที่เลขศูนย์กัน)

แต่กลับไม่มีใครพูดเรื่องนี้ เวลานี้ว่า ความได้เปรียบมันมีมากมายขนาดไหน เพราะชัวร์มากๆ ว่า ต้องเข้าเส้นชัยแน่ แบบ “แบเบอร์”

------------------------------------------

3. ความสั่นคลอนจริงๆ ในวันนี้คือ พรรคพวก 240 กว่าคนนั้น จะอยู่กับฝ่ายตนเอง หรือ จะอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะดูทาง “ความเป็นไปได้” แล้ว มันไม่ 100 เปอร์เซ็นต์อย่างที่คาดไว้ และอาจจะมีมากกว่าครึ่งหนึ่ง ที่ "เปลี่ยนใจ" ไปให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเสียด้วย

ต้องบอกก่อนในวันนี้ว่า ต้องมีการณรงค์ว่า อย่าให้การลงคะแนนเพื่อคัดเลือกตัวนายกรัฐมนตรี เป็น "วาระซ่อนเร้น" หรือ "ลงคะแนนลับ" กัน เพราะเรื่องนี้ จะต้องให้ประชาชนได้เห็นว่า ใครให้คะแนนใคร และ อย่างไรบ้าง

4. การวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องง่ายๆ และคนไทยถนัดเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว

แต่การวางแผนการ สร้าง และกำหนดให้กลายเป็นรูปภาพขึ้นมาได้ เป็นเรื่องที่ยากมากๆ

คำถามคือ เมื่ออยู่ในสภาพปัจจุบันมาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ท่านต้องการสภาพแบบปัจจุบันให้อยู่สืบทอดต่อไป หรือ ต้องการความเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเก่า?

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย (จริงๆ) ถึงมีการเลือกตั้งอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นวาระ 4-5 ปี เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่า จะให้อยู่ต่อ หรือ ต้องการเปลี่ยนแปลง

------------------------------------------

5. Are you better today than five years ago? ท่านคิดว่า ท่านมีโอกาสทำมาหากินในชีวิตดีกว่าเมื่อ 5 ปีก่อนหรือเปล่า?

ถ้าท่านคิดว่าดี ก็ให้โอกาสต่ออายุให้กับรัฐบาลปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าไม่ดีกว่า ท่านจะมีทางเลือกหรือไม่?

ท่านจะให้โอกาสฝ่ายประชาธิปไตย เข้ามาปฏิบัติงาน เปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่กันบ้างหรือไม่?

ระบอบทหาร ความมั่นคง องค์กรศาล ระบบยุติธรรม องค์กรอิสระ ฯลฯ ในเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ปฏิบัติงานเป็นอย่างไร จากการประเมินผลของท่าน?

-------------------------------

6. เห็นหลายๆ ท่านที่วิจารณ์ ก็เห็นว่า กลัวว่าจะแย่ลงไปกว่านี้

เรื่องนี้ เราเรียกกันว่า “ความเสี่ยง” (Risk) ความเสี่ยงคือ ท่านจะต้องทำการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่า จะเอาแบบไหน เพราะ bottom line จริงๆ ก็คือ What’s in it for me? ท่านจะได้อะไรกับตัวท่านเองบ้าง จากการเลือกพรรคนี้หรือบุคคลผู้นี้

ท่านต้องเข้าใจว่า แทนที่จะ “แย่ลง” แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง “อาจจะดีขึ้นกว่าแต่เก่าได้” เช่นกัน

เนื่องจาก เหรียญมันมีสองด้าน ไม่ใช่ด้านเดียว

ต้องดูสภาพจากน้ำครึ่งแก้วเต็ม ไม่ใช่ครึ่งแก้วเปล่า

------------------------------------------

7. ท่านให้โอกาสฝ่ายหนึ่งมาเป็นเวลาหลายปี แต่ท่านจะให้โอกาสฝ่ายประชาธิปไตย ในระยะเวลาเท่ากันได้หรือไม่?

เพราะเท่าที่เห็นมานั้น ฝ่ายประชาธิปไตยเกือบทุกพรรค ก็ปฏิบัติตามกติกาที่เขียนอยู่ในรัฐธรรมนูญกัน

แถมเริ่มด้วย สส เท่ากับ ศูนย์ ไม่ใช่เริ่มที่ 240 กว่าด้วย

ท่านต้องมีจิตใจที่แฟร์กับตนเอง ก่อนที่จะไป “สั่งสอน” หรือ “บอก” คนอื่น ให้แฟร์บ้าง

8. ถ้าท่านไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ท่านสามารถให้ความเห็นและรวมตัวประท้วงจากสิทธิ์เสียงของท่านได้ ท่านมีเสรีภาพในการกระทำการ ถ้าไม่ไปขัดขวางสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นกัน

และเมื่อหมดวาระ ท่านก็สามารถใช้ "ปากกา" ไปลงคะแนน เลือกผู้อื่นและพรรคอื่นที่ท่านเห็นว่า "ดีกว่า"

คำตอบเหล่านี้ก็อยู่กับตัวท่านเอง

และจำไว้นะคะ ว่า การวิพากษ์วิจารณ์ เป็นเรื่องง่าย แต่การสร้างนวัตกรรมและความคิดเหล่านั้น ให้ขึ้นมาเป็นรูปแบบได้นั้นมันยากมากๆ

และเรื่องที่สำคัญคือ ต้องถามอยู่เสมอว่า มันมี “หนทาง” หรือ “ช่องทาง” ที่ “ดีกว่า” แบบนี้หรือไม่

ถ้าเห็นว่า “ดีกว่า” ก็ควรเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพร่าะมันอาจจะมีรูปแบบและตรรกะที่เยี่ยมกว่าที่เป็นอยู่อย่างปัจจุบัน

------------------------------------------

9. มีความคิดแว่ปเข้ามาว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีการ “สาดโคลน” และ “ด่าทอ” น้อยลงไปมาก จากการปราศรัยทางสาธารณะ (ไม่เหมือนสมัยอดีต) แต่การใช้คำเขียนอย่างรุนแรง ตามหน้า Internet นั้น ก็คงมีให้เห็นมากขึ้นกว่าเก่าแน่นอน

คงจะเห็นการ Debates ที่เป็นเนื้อหา และสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อเป็นการ "ยกระดับ" คุณภาพของผู้ปราศรัยเองด้วย

มันอยู่ที่ว่า จะมีการปล่อยละเลยให้เกิดขึ้น และยอมความให้กัน มากน้อยแค่ไหนเท่านั้น

10. สุดท้ายก็หวังว่า คงจะไม่เห็น ผู้สมัครสตรีของพรรคการเมืองอื่นๆ ทำการเปลี่ยนชื่อกัน เป็นตัว อ อ่าง ก็แล้วกัน....

Have a great week ค่ะ

Doungchampa Spencer-Isenberg



Doungchampa Spencer-Isenberg
February 8 at 9:00 AM ·