วันอังคาร, พฤศจิกายน 30, 2564

"เกลียดรัฐเกลียดทุน(ผูกขาด)" กำลังจะเป็นหนึ่งเดียวกัน


ภาพจากเน็ต

Atukkit Sawangsuk
Yesterday at 8:34 AM ·

"เกลียดรัฐเกลียดทุน(ผูกขาด)" กำลังจะเป็นหนึ่งเดียวกัน
เพราะรัฐอำนาจนิยมกับทุนใหญ่ไม่กี่ตระกูลเป็นหนึ่งเดียวกัน
และคนที่จะถูกเบียดขับ บีบคั้น ทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง
ไม่ใช่ใครที่ไหน คนชั้นกลางนั่นเอง
ไม่ใช่เฉพาะคนรุ่นใหม่ แต่เป็นคนชั้นกลางที่ประกอบอาชีพอิสระ คนทำธุรกิจรายย่อย Freelance หรือแม้แต่พนักงานบริษัททั่วไป
ถูกบีบคั้นและมีอำนาจต่อรองน้อยลง
:
พลังคนรุ่นใหม่ (หรือเรียกได้ว่าคนชั้นกลางในเมืองรุ่นใหม่) ในมุมเศรษฐกิจ เกิดเพราะมองไม่เห็นอนาคต ในโลก disrupted
เศรษฐกิจในโลกยุคต่อไป ไม่มีความมั่นคงในชีวิต ไม่เหมือนคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ เป็นข้าราชการหรือทำงานแบงก์จนเกษียณ
คนรุ่นใหม่จะต้องดิ้นรนด้วยตัวเองในโลกของการต่อสู้แข่งขัน ปรับตัวไม่หยุดยั้ง
จึงต้องการโอกาสที่เท่าเทียม เป็นธรรม ไม่ถูกผูกขาดปิดกั้น
ต้องการรัฐสวัสดิการ ที่ไม่ได้หมายถึงให้รัฐเลี้ยงดู แต่ต้องการบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ
สวัสดิการการศึกษา รักษาพยาบาล ที่มีคุณภาพ ที่เหลือจากนั้นเดี๋ยวไปสู้ไปเสี่ยงเอาเอง
ด้วยเหตุนี้เช่นกัน จึงไม่ต้องการ "รํฐเป็นบิดา"
รัฐใหญ่โต อำนาจมาก ยุ่งไปทุกเรื่อง ทำอะไรต้องขออนุญาต ไร้ประสิทธิภาพ เปลืองภาษีกู
ไม่ต้องการรัฐอุปถัมภ์ ต้องการแค่รัฐบริการ กะทัดรัด เอื้อต่อการแข่งขัน
:
ปรากฏการณ์คนรุ่นใหม่ไม่เห็นอนาคตนี้ไม่ใช่เกิดแค่เมืองไทยนะ
ในจีนก็มีปรากฏการณ์คนรุ่นใหม่หมดไฟ
ทำงานหนักทุ่มเท แต่ไม่สามารถสร้างตัวเหมือนคนรุ่นพ่อแม่ เพราะโอกาสทางธุรกิจมันปิดหมดแล้ว
จนคนรุ่นใหม่จีนท้อ เกิดกระแส "นอนราบ" หรือออกจากงานหนีไปขี่จักรยานเซลฟี
:
พลังคนรุ่นใหม่ในทางเศรษฐกิจ เห็นได้ตั้งแต่ตอน #NOCPTPP 1.3 ล้านทวีต
ยุคทักษิณไม่ใช่อย่างนี้นะ ต้าน FTA มีแค่ NGO หยิบมือแล้วต่อมาก็อาศัยพันธมิตร
ยุคนี้้ ข้อแรก คนตระหนักว่าเผด็จการกับทุนเป็นหนึ่งเดียวกัน
ข้อสอง คนรุ่นใหม่เรียกร้องประชาธิปไตยพร้อมไม่พอใจความเหลื่อมล้ำ
BIOTHAI โพสต์เทียบราคากล้วยหอมในเซเว่นกับในอเมริกายุโรป เทียบค่าแรงขั้นต่ำ คนแชร์กระหึ่ม
มันเป็นอารมณ์ร่วมว่าทุนใหญ่กำลังเอาเปรียบเราแต่เอาใจอำนาจ
ฉะนั้น พอ True ควบรวม Dtac หลังจากแมคโครควบรวมเทสโก้มาแล้ว โดยไม่มี กขค.
คนจึงโกรธมาก โดยไม่ใช่แค่เหลื่อมล้ำ การผูกขาดโทรคมนาคมหรือพลังงานมันยังสร้างภาระแก่การประกอบอาชีพการทำมาหากิน
:
พูดอย่างนี้คนชั้นล่าง เกษตรกรในชนบท ไม่เดือดร้อนหรือ
เดือดร้อนครับ แต่รัฐอำนาจนิยมมันมุ่งสร้างรัฐใหญ่โตให้คนหวังพึ่ง
เป็นรัฐอุปถัมภ์ ประชานิยมรูปแบบต่างๆ เสริมด้วยการเมืองอุปถัมภ์ ส.ส.บ้านใหญ่ที่กวาดต้อนไปสวามิภักดิ์ ซึ่งโดยปกติก็มีเครือข่ายดูแลชาวบ้าน
มันเป็นเป้าหมายรัฐประหารอยู่แล้ว ต้องการแย่งชิงมวลชนในชนบทจากเพื่อไทย
:
ถ้าจัดลำดับโครงสร้างอำนาจของระบอบ "ปกป้องสถาบัน"
คือผู้นำอำนาจนิยม รัฐราชการทหารตำรวจเป็นใหญ่ ตุลาการองค์กรอิสระอ้างศีลธรรม
แต่เอื้อประโยชน์ทุนใหญ่ ทางการเมืองกวาดต้อนพวก "ซื้อเสียง โกงเลือกตั้ง" (ตามคำพูด ส.ว.) ไปเป็นมือเท้า ต่างตอบแทนให้อิ่มหมีพีมัน
แล้วใช้เครือข่ายเหล่านี้ สร้างระบบอุปถัมภ์ในชนบท
โดยคนที่มีอำนาจต่อรองน้อยลง มีิสิทธิเสียงน้อยลง คือคนชั้นกลาง
ซึ่งเคยเป่านกหวีดนันแหละ เพียงแต่ไอ้พวกคนชั้นกลางสลิ่มมันเชื่อพรรคราชการ
:
อันที่จริงแม้แต่ระบบเลือกตั้ง บัตรสองใบ 400-100 เพิ่ม ส.ส.เขต
แม้ดีกว่า 60 แต่ก็ลดอำนาจเลือกตั้งของคนชั้นกลาง ซึ่งมักจะเป็นเสียงข้างน้อยในการเลือก ส.ส.เขต ยกเว้นกรุงเทพฯหรือเขตเมือง
คนชั้นกลางมักเลือก ส.ส.ด้วยความนิยมต่อพรรคต่อแนวคิดทางการเมือง ไม่จำเป็นต้องมางานบวชงานศพ หรือเอารถแบคโฮลมาเกรดถนน
จึงมักเป็นฝ่ายแพ้ในระบบ ส.ส.เขต เป็นคะแนนตกน้ำ แม้ระบบ 40 เอามาคิดปาร์ตี้ลิสต์ก็แค่ 100 คน โดนด้อยค่าลง 1 ใน 5 (เพียงแต่ตอนนั้นมันเริ่มจากไม่เคยมีเลย ก็ดูดีกว่า)
:
มองในมุมชนชั้น คนชั้นกลางจะกลายเป็นพลังที่ต่อต้านระบอบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
ยกเว้นพวกคลั่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์