วันพุธ, ตุลาคม 27, 2564

ความเหลื่อมล้ำของคนไทย เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงเชิงตะกอน จากการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชี้ให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากการลงทุนที่ไม่เท่าเทียมกันของผู้ปกครองที่มีรายได้ต่างกัน ความเหลื่อมล้ำนี้จึงเป็นการส่งต่อระหว่างรุ่นต่อรุ่น


กรุงเทพธุรกิจ
19h ·

คนไทยเหลื่อมล้ำตั้งแต่เกิดถึงเชิงตะกอน
.
ในการวิเคราะห์ศักยภาพของประเทศไทยในบทความที่ผ่านมาพบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มถดถอยมาอย่างต่อเนื่อง ในอดีตเรามักจะให้ความสำคัญกับทุนและแรงงานทักษะ แต่ในระยะหลังเริ่มมีการศึกษาถึงปัจจัยทางโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา เช่น ความเหลื่อมล้ำมีการศึกษาของ IMF ที่พบว่าความเหลื่อมล้ำเป็นอุปสรรคของการขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
.
การศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้คำนวณค่าจีนี่โดยใช้ข้อมูล SES (พ.ศ. 2549–2562) วัดทั้งระดับรายได้ การบริโภค และความมั่งคั่ง (ทรัพย์สินหักด้วยหนี้สิน) พบว่า ความเหลื่อมล้ำเมื่อวัดจากความมั่งคั่งสูงกว่าความเหลื่อมล้ำจากรายได้มากในปี 2562 ความเหลื่อมล้ำของระดับรายได้อยู่ที่ 0.41 ด้านการบริโภคอยู่ที่ 0.33 แต่ค่าของความมั่งคั่งอยู่ที่ 0.65 (เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟูและคณะ, 2563)
.
สาเหตุที่ความเหลื่อมล้ำด้านการบริโภคต่ำกว่ารายได้อธิบายได้ด้วยทฤษฎีรายได้ถาวร ซึ่งอธิบายว่า ครัวเรือนจะพยายามรักษาการบริโภคให้อยู่ในระดับคงที่โดยใช้เงินออมหรือเงินกู้ยืมเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงชั่วคราว ในปีที่รายได้ผันผวนนั้นคนที่มีรายได้ต่ำจำเป็นต้องกู้ยืมมารักษาระดับการบริโภคซึ่งอาจจะลดลงไม่ได้
.
การศึกษานี้ยังพบว่า กลุ่มรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงินค่อนข้างมาก (เช่น รายได้จากพืชผลเกษตร) ซึ่งแสดงถึงสภาพคล่องที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่นมากกว่าที่เห็น อีกทั้งสัดส่วนของรายได้ที่มาจากเงินโอนภายนอกครัวเรือนมีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ
.
บทความโดย มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
อ่านต่อได้ที่: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/965906