ทำไมคนอย่างทักษิณ จึงพ่ายแพ้เกมการเมือง
.....................
ลอง ฟังเพลงนี้ดู
เพลง #กตัญญูทักษิณ ศิลปิน : แรมโบ้อีสาน
https://www.youtube.com/watch?v=B4uFdOv6ibQ
แล้วคิดออกเลยว่าคนรอบข้างทักษิณ ในสมันนั้น นี่เชลียร์กันสุด ๆ จริง ๆ
แล้วยิ่งฟังเพลงที่มีคนเอามาใสภาพคู่กับ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยแล้ว ยิ่งเห็๋นภาพเลย
ปล. ดูรายชื่อองค์รักษ์ประยุทธ์
เกินครึ่งคือพวก นักการเมืองเสื่้อแดง นปช. ทั้งนั้น
1.นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
2.นายจำลอง ครุฑขุนทด
3.นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล
4.นายอำนวย คลังผา
5.นายธีรทัศน์ เตียวเจริญโสภา
6.นายทวี สุระบาล
7.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
8.นายสิทธิชัย จรูญเนตร
9.นายฉลอง เรี่ยวแรง
10.นายเวียง วรเชษฐ
11. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
12.นายภิรมย์ พลวิเศษ
13.นายธีรยุทธ วานิชชัง
14.นายธเนศ ธำรงค์ทิพยคุณ
15.นายพิกิฎ ศรีชนะ
16.นายทศพล เพ็งส้ม
17. นายเอกภาพ พลซื่อ
18.นายสมเกียรติ ศรลัมภ์
19.นายรณฤทธิขัย คานเขต
20.นายประนอม โพธิ์คำ
21. นายวัขระ กรรณิการ์
22.นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช
‘แรมโบ้’ ตั้งวอร์รูมนอกสภา จัด 22 อรหันต์
ถล่มกลับ ด่าคสช.มา ก็จะขุด ‘แม้ว-ปู’ แฉกลับ
https://www.matichon.co.th/politics/news_1952402
...
คำปราศรัยทักษิณ 26 มีนาคม 2549 กับความ ไม่รู้ว่าตัวเองคือคู่ขัดแย้งกับ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์"
......
เพิ่งฟังคำปราศรัยของทักษิณ ชินวัตรวันที่ 26 มีนาคม 2549 ที่วงเวียนใหญ่
https://www.youtube.com/watch?v=6rbHdFK8Tt8&feature=youtu.be&fbclid=IwAR3CazJWMb-Eg7l15PZQM0JNwD_j7PAjMjYDIrJYHIYtKrshgbrabYb873Y
บริบทในเวลานั้นคือหลังจากทักษิณ ชนะเลือกตั้งในปี 2548 อย่างถล่มทลายคือได้ 375 จาก 500 ที่นั่ง ขณะที่คู่แข่งคือพรรคประชาธิปัตย์ได้ต่ำ 100
นั่นหมายความว่า แม้จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังทำไม่ได้เลย
แปลว่า การเลือกตั้ง 2548 คือการตีตั๋วยาวให้กับทักษิณชินวัตร อยู่ในอำนาจอีก 4 ปี และอยู่ต่อไปถึง 16 หรือ 20 ปี ตามที่ทักษิณเคยประกาศไว้
แต่การเมืองไทยไม่ง่ายเช่นนั้น หลังการเลือกตั้ง 2548 แล้วกลับกลายเป็นขาลงของรัฐบาลทักษิณ มีการเคลื่อนไหวเพื่อ ถวายคืนพระราชอำนาจ เพื่อมากำจัดคนอย่างทักษิณ ชินวัตร
(คิดดูแล้วกันคนอย่างประมวล รุจเสรี เขียหนังสือเรื่องพระราชอำนาจ อธิบายแบบมั่ว ๆ แต่คนซื้ออ่านกันทั้งบ้านทั้งเมือง)
ขณะเดียวกันทักษิณก็พลาด อย่างไม่น่าเชื่อคือการไปขายหุ้นชินคอร์ป 76,000ล้านบาท เมื่อต้นปี 2549 อันนำมาสู่การต้านทักษิณครั้งยิ่งใหญ่ในนาม "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"
จากนั้นทางออกเดียวของทักษิณคือการยุบสภาและมีการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549
ในเวลานั้นเองพรรคประชาธิปัตย์ ก็รู้ว่าถ้าเกิดเลือกตั้งแล้วพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาขีวะ ก็คงได้ต่ำ 100เหมือนเดิม
ดังนั้นวิธีการเดียวของประชาธิปัตย์ ก็คือการบอยคอ์ดเลือกตั้งเพื่อปูทางไปสู่รัฐประหาร และล้างไพ่ใหม่
โดยที่ทักษิณ ก็หารู้ตัวไม่ว่า วันที่พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศบอยคอตเลือกตั้งนั้น ก็จะไม่มีการเลือกตั้งอีกต่อไป
(จากประสบกาณณ์อันนี้ เมื่อมีการบอยคอตเลือกตั้งโดยพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในปี 2556 ใคร ๆ ก็รุ้ว่าจะเกิดรัฐประหารอย่างแน่นอน)
การปราศรัยของทักษิณ ชินวัตรในโค้งสุดท้าย ที่เรารับฟังกันบ่อยๆคือที่เวทีท้องสนามหลวง ที่ถือว่าเป็นการสั่งลาก่อนเลือกตั้ง
แต่คลิปที่ผมเพิ่งฟังอันนี้ ถือว่าเป็นการฟังครั้งแรกของผม และพยายามหาใน YouTube แล้วก็ไม่เจอมาก่อน
คือการปราศรัยที่ วงเวียนใหญ่เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2549 หรือเพียง 7 วันก่อนเลือกตั้ง
สำหรับคนที่ไม่เคยฟังทักษิณปราศรัย ก็ไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมคนอย่างทักษิณจึงมีทั้งคนรักมากๆ และเกลียดมากๆไปพร้อมๆกัน
เนื้อหาคำปราศรัยของทักษิณ มีทั้งการแสดงวิสัยทัศน์ ถ้าเทียบกับนักการเมืองในยุคนั้น ไม่ว่าชวน หลีกภัย บรรหารศิลปอาชา ชวลิต ยงใจยุทธ หรือว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทักษิณกินขาดอย่างไม่มีข้อสงสัย
ขณะเดียวกัน ด้วยความฉลาดของทักษิณนั้นเอง ก็แฝงไปด้วยการดูถูกคนด้วยเช่นกัน
อย่างเช่นการพูดถึงงบประมาณในการพัฒนาประเทศ 5แสนล้าน ทักษิณ บอกว่าตนเองสามารถหาได้ด้วยวิสัยทัศน์และผลงานที่ผ่านมา ขณะที่ย้อนถามไปยัง สนธิ ลิ้มทองกุลและจำลอง ศรีเมือง ที่ตั้งม็อบอยู่ที่สะพานมัฆวาน ว่ามีปัญญาหาหรือ แล้วจะกู้ชาติไปทำอะไร และเมื่อพูดถึงอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะแคนดิเดตนายก (แต่ไม่กล้าลงเลือกตั้ง) ทักษิณก็สามารถพูดแบบ ไม่ไว้หน้าคือ "รอไปก่อนไอ้หนู"
แต่นั่นก็ไม่เท่ากับว่าทักษิณไม่รู้ว่าณเวลานั้นคือต้นปี 2549 ตนเองกำลังสู้กับใคร จึงได้หลุดคำพูดบางอย่างที่คนตีความไปได้
(แต่อาจจะรู้หลังจากนั้นเมื่อประมาณกลางปี 2549 เมื่อเอ่ยปากถึงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ)
กลับมาที่คำปราศรัย ที่ผมคิดว่าทักษิณ พูดแบบไม่รู้ตัวเอง "กำลังสุ้กับใคร" ดังที่พูดว่า
นาที่ 34
"พี่น้องครับผมเดินทางไปต่างประเทศ ไปเห็นความเจริญของเขา แล้ว โอ้โห เมื่อ เมื่อผมไปเมืองจีนเห็นเขาตัดถนน ตรงเดะเลย จะไม่ตรงได้อย่างไร อะไรขวาง มันย้ายหมด ของประเทศไทย เจอต้นไม้ต้นหนึ่ง ช่างบังเอิญเป็นต้นไม้ที่มีคนไปไหว้ เท่านั้นแหละครั้งต้องหลบให้ ถนนต้องหลบให้ต้นม้ ยิ่งเจอบ้านผุ้มีอิทธิพล ต้องหลย แต่เจอบ้านชาวบ้าน ตัดเวนคืนเลย"
และอีกโควตหนึ่ง ที่บอกว่า
(นาที่ 40)
"พี่น้องครับ สิ่งจริงแท้แน่นอนครับ คือยึดมั่นในความดี ยึดมั่นในสิ่งที่เราต้งใจใจจริงต่อบ้านเมือง ผมคิดว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในประเทศเห็นครับ ถ้าผมชั่วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษผมเลย "
ทักษิณพูดโดยไม่รู้ตัวเลยว่าคนที่รณรงค์เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาเล่นงานทักษิณ มาโดยตลอดคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นั่นเอง
................
"ผมเชื่อว่าชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครมีสิทธิยึดถือเป็นของตนเองได้ ผมเชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชมีจริง และจะปกป้องคนดี และสาปแช่งคนไม่ดี คนทรยศต่อชาติบ้านเมืองให้พินาศไป นั่นคือความเชื่อของผม ส่วนบุคคลอื่นจะเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับจริยธรรมและคุณธรรมของแต่ละคน"
3 เมษายน พ.ศ. 2555
...
ฟ้าเดียวกัน
April 14 at 2:26 AM ·
อ่านรัฐธรรมนูญ อ่านพระราชอำนาจ อ่านสังคมไทย
.
เดือนเมษายน คือเดือนที่มีความสำคัญ สำหรับรัฐธรรมนูญ 2560 เพราะเป็นเดือนที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 6 เมษายน 2560
นี่จะเป็นรัฐธรรมนูญที่อาจจะเป็นหนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย และของโลก
กล่าวคือ แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ "แบบมัดมือชก" เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้พระมหากษัตริย์ก็มิได้มีการลงพระปรมาภิไธย
เพราะมีพระราชกระแสรับสั่งให้มีการแก้ไขในส่วนพระราชอำนาจเมื่อเดือนมกราคม 2560
รับสั่งให้แก้ไข ร่างรธน. ฉบับประชามติในส่วนของพระราชอำนาจ
https://www.thairath.co.th/content/833010
ทั้งหมดจึงต้องเริ่มมีการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ จนออกมาดังนี้
รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ VS ฉบับประกาศใช้หลังพระราชกระแสรับสั่ง
https://ilaw.or.th/node/4475
จนได้มีการประกาศใช้จริงเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560
ทั้งหมดนี้เกี่ยวอะไรกับหนังสือนี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง :
ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550
ของสมชาย ปรีชาศิลปกุล
สมชายไม่เพียงแต่เข้าไป “อ่าน” รายงานการประชุมสภา/กรรมาธิการ เพื่อให้เห็นการอภิปรายและไม่อภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ตลอดเวลา 75 ปี (2475-2550)
สมชายยังชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาจากตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน และถึงแม้ว่าการศึกษาของหนังสือเล่มนี้จะจบที่รัฐธรรมนูญ 2550 แต่โดยทิศทางแล้วก็จะเห็นว่าไม่แปลกที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญและประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 จะมีเนื้อหาออกมาดังที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน
อ่านสารบัญ คำนำนักเขียน คำนำสำนักพิมพ์ และสั่งซื้อได้ที่
https://sameskybooks.net/index.php/product/9786167667737/