วันพุธ, เมษายน 29, 2563

บทความเซอร์ไพรส์ Royal World Thailand เรื่องรัชทายาท เพื่ออนาคตของราชสำนักไทย




หลังจากแผ่นดินไทยเราเริ่มต้นรัชสมัยใหม่มากว่า 4 ปี ดังที่ชาวไทยทราบกันดีว่า ความเป็นไปในราชสำนักไทยเป็นอย่างไรบ้างในช่วงเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งตอนนี้ จนเป็นที่กล่าวถึงในหมู่ประชาชน ซึ่งในปัจจุบัน นอกจากกลุ่มประชาชนที่ยังเคารพรักในสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วนั้น ยังมีกลุ่มประชาชนที่มีทัศนคติทางลบต่อสถาบันที่มีการเปิดเผยในทางสาธารณะมากขึ้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นหนึ่งที่กลุ่มประชาชนทั้งสองฝ่ายคิดนำมาพูดคุยเหมือนกันคือ การแต่งตั้งพระรัชทายาทในอนาคต

แน่นอนว่าการสถาปนาพระรัชทายาท ล้วนเป็นไปตามพระบรมราชวินิจฉัยทั้งสิ้น ซึ่งหากมีประชาชนจับกลุ่มพูดคุยถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมา อาจถูกท้วงติงไม่ให้มีการพูดถึงเพราะอาจถือเป็นการก้าวก่ายเรื่องส่วนพระองค์ อย่างไรก็ตาม ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ประชาชนเริ่มกล้าพูดมากขึ้น ประกอบกับมีสื่อออนไลน์เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างสาธารณะมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่มีใครพูดถึงประเด็นนี้ อีกทั้งในมุมมองของกลุ่มคนที่รักสถาบันก็ตระหนักดีกับสถานการณ์ในราชสำนักในขณะนี้ว่าเป็นอย่างไร และแสดงความเป็นห่วงการคงอยู่ของสถาบันในอนาคต ด้วยเรื่องนี้อาจมีความละเอียดอ่อน จึงอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามตั้งแต่ในใจ ว่าพระรัชทายาทในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ย้อนไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มีการบัญญัติกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ขึ้นมา ในการแต่งตั้งพระรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ สุดแท้แต่จะทรงพระราชดำริเห็นสมควรและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้ แน่นอนว่ารัชทายาทที่ทุกคนนึกถึงควรเป็นชาย ตามพระราชธรรมเนียมเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในเอเชียที่ควรตั้งพระราชโอรสไว้สืบราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินในอนาคต ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในกฎมณเฑียรบาลเช่นกัน

ในรัชกาลปัจจุบัน พระบรมวงศ์ฝ่ายหน้า (ชาย) ที่ทรงศักดิ์และสิทธิ์ด้วยพระอิสริยยศสมบูรณ์ที่สุดมีเพียงพระองค์เดียว คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร พระราชโอรสพระองค์ที่ 5 และพระองค์สุดท้อง ซึ่งในปีนี้ยังทรงเจริญพระชันษาเพียง 15 ปี หลายคนแสดงความคิดเห็นอย่างคลางแคลงใจว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง จะทรงมีศักยภาพมากพอที่จะทำให้ประชาชนเห็นว่าทรงเหมาะสมกับการเป็นพระรัชทายาทได้หรือไม่อย่างไร จึงทำให้หลายคนอาจคิดไกลเกินไป ว่านึกภาพไม่ออกว่าจะทรงมีบทบาทในการเป็นพระมหากษัตริย์อย่างไร

ในเมื่อมีคนเห็นว่า สมเด็จชายอาจไม่เหมาะสมเป็นพระรัชทายาท จึงหันไปมองพระบรมวงศ์ที่ดูมีความเป็นไปได้ทางศักยภาพสูงกว่า ซึ่งก็ไม่พ้นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่พระชันษา 41 ปี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา จากที่ทรงประกอบพระกรณียกิจมากมายเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาปวงชน อันแสดงถึงความเพียบพร้อมกับการเป็นขัตติยราชนารี อีกทั้ง ประชาชนมองเห็นความเท่าเทียมกันทางเพศมากขึ้น การมีพระประมุขหญิงอาจเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เก่าสำหรับประชาชน จากที่ได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตกที่มีพระมหากษัตรีย์ปกครองประเทศกันมานาน การมีพระประมุขหญิงอาจเป็นมิติใหม่ของราชสำนักไทย

อย่างไรก็ตาม ไทยเราไม่เคยมีพระมหากษัตรีย์มาก่อน สอดคล้องกับกฎมณเฑียรบาล พระพุทธศักราช 2467 มาตราที่ 13 ระบุไว้ว่า “ในกาลสมัยนี้ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถ ผู้ทรงสำเร็จราชการสิทธิ์ขาดอย่างพระเจ้าแผ่นดินโดยลำพังแห่งกรุงสยาม ฉะนั้นท่านห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใดๆ เข้าไว้ในลำดับสืบราชสันตติวงศ์เป็นอันขาด”

ในทางกลับกัน ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับในยุคสมัยใหม่นี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการสืบราชสมบัติ ตั้งแต่ฉบับปีพ.ศ. 2517, 2521 เรื่อยมาจนถึงฉบับปีล่าสุด 2560 ว่าสามารถเสนอพระนามพระราชธิดาเพื่อขอความเห็นชอบ ในการเป็นผู้สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป แต่กรณีนี้สามารถใช้เฉพาะหากราชบัลลังก์ว่างลง และพระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้เท่านั้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากฎมณเฑียรบาลมีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

เช่นนั้น ในเมื่อยังไม่เคยมีพระรัชทายาทหญิงมาก่อน จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งพระบรมวงศ์ฝ่ายใน (สตรี) ขึ้นสืบราชย์พระองค์ต่อไปอย่างเป็นทางการ หลายฝ่ายที่อ้างอิงตามหลักวิชาการ มีความเห็นว่ายังมีความเป็นไปได้น้อย แต่ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ ยุคสมัยนี้ อะไรก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากเมื่อเป็นไปไม่ได้ และอาจไม่มีทางเลือกอื่น สมเด็จเจ้าฟ้าทีปังกรฯ อาจขึ้นเป็นพระรัชทายาทเมื่อเวลานั้นมาถึง ในเมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ อาจต้องให้เวลาสมเด็จชายอีกประมาณ 4-5 ปี เมื่อทรงเจริญพระชันษา 20 ปี ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับเมื่อครั้นพระราชบิดาทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เราอาจจะได้เห็นว่าทรงมีความเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบสมกับเป็นพระหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์มากน้อยแค่ไหน

นอกเหนือจากนี้ ยังมีการหยิบประเด็นเรื่องของพระราชโอรสอีก 4 องค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นคืออดีตท่านชายทั้ง 4 ที่พำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา หลายฝ่ายมองว่า “ทรงพลาดอย่างแรง” ที่ทรงอัปเปหิจากแผ่นดินเกิด ซึ่งทั้ง 4 ถูกมองว่าล้วนมีศักยภาพและเหมาะสมด้านจริยาวัตรและความรู้ความสามารถของการเป็นผู้นำที่ดี สามารถแบ่งเบาพระราชภาระได้ ในเมื่อทั้ง 4 ได้สละพระยศเดิม แต่มิได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ จะมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนหากถูกเลือกขึ้นมาเป็นพระรัชทายาท อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่มองว่า ในเมื่อถูกถอดยศและตัดสัมพันธ์ไปแล้ว ความเป็นไปได้จึงแทบเป็นศูนย์

แม้แต่คนที่เคารพรักสถาบันมากก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ว่าพระรัชทายาทพระองค์ก่อนหน้า มีภาพลักษณ์ทางสาธารณะอันไม่เป็นที่น่าพิสมัยก่อนเสด็จขึ้นทรงราชย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่โจษจันในเรื่องราวส่วนพระองค์ ที่ส่งผลถึงภาพลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยรวม หลายคนจึงมองว่า รัชสมัยนี้เต็มไปด้วยความคลุมเครือและมลทิน หลายคนจึงไม่อินกับความเป็นไปในราชสำนักเหมือนแต่ก่อน

ในเมื่อราชสำนักถูกมองว่ามีมลทิน และภาพลักษณ์ไม่ได้รับการพัฒนาจนเริ่มมีการมองในด้านลบจากประชาชนมากขึ้น เพื่อความคงอยู่ของสถาบัน พระรัชทายาทในอนาคตจึงทรงถูกมองและถูกตั้งความหวังว่ามีบทบาทสำคัญที่อาจต้องช่วยปรับปรุงและเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักกับประชาชนให้ดีขึ้น พร้อมกับภาพลักษณ์ส่วนพระองค์ที่ดีในมุมมองของประชาชนที่ยังเคารพในสถาบันอยู่ เมื่อเวลานั้นมาถึง ก็สามารถขึ้นเป็นพระประมุขได้โดยไร้ซึ่งครหาและประวัติศาสตร์ซ้ำรอยใดๆ

ทั้งหมดทั้งมวลนั้น สิ่งที่ประชาชนทำได้เพียงอย่างเดียว คือการจับเข่าคุยกันเท่านั้น ประชาชนไม่มีสิทธิ์เลือกหรือไม่เลือกใครเป็นพระประมุขของประเทศ ตามความเห็นของกลุ่มประชาชนที่เคารพรักสถาบันผู้ไม่เคยมีคำถามในหัว ประเด็นนี้ถูกมองว่าไม่ควรนำมาพูดคุยที่เป็นการก้าวก่ายพระบรมราชวินิจฉัย ในอีกมุมมอง เรื่องนี้สามารถนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งตัวกำหนดว่า ประชาชนพร้อมจะอ้าแขนต้อนรับอนาคตใหม่ของราชสำนักอย่างสุดแรงเกิดหรือไม่ ช่วงเวลานี้ยังไม่มีแนวโน้มใดในเรื่องนี้ จึงอาจต้องรอจนกว่าเวลานั้นมาถึงจริงๆ ว่าพระรัชทายาทในอนาคตจะเป็นเช่นไร อันจะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรของอนาคตราชวงศ์ไทยว่าจะรุ่งโรจน์หรือร่วงโรย
----
4 years after Thailand started a new era. It is well known among the people how the Thai Monarchy has been going on in the last few years until now. At the present time, besides many people who still highly respect the monarchy, there are growing number of negative views publicly. Nevertheless, one of the hottest issues which both groups of people talk about, is the future heir to the throne.

Certainly, the investiture of the heir is upon the King’s own wish. This topic is frequently banned in public conversation with the reason of the king’s personal matter. However, as the time changes, people dare to talk, together with the social media which has driven more attitudes and comments ever than before. This topic is hence inevitable. Also, the current situation and future of the royal family is widely acknowledged and sensitively concerned. How would the future heir be in the future?

The Palace Law of Succession in 1924 was issued by King Vajiravudh (Rama VI) to designate any descendant to be an heir to the throne with the full power and prerogative of the Monarch, depending on his judgement and trust placed on the ability. Absolutely, the heir must be a male descendant, as same as any other monarchies in Asia, and as written in the palace law.

At this moment, the only male descendant with full right is Prince Dipangkorn Rasmijoti, the fifth and youngest son of King Vajiralongkorn who turns 15 this year, is considered as the heir presumptive. Many people question about him whether he has enough potentiality to fit in his role as an heir when the time comes. Some people even think how the role he would have as King.

Some people even think that the Prince would not fit the position. Another royal is considered with more possibility and higher potentiality, is his eldest sister, Princess Bajrakitiyabha, The Princess Rajasarini Siribajra, the 41-year-old eldest daughter of King Vajiralongkorn. She is seen in her various public duties and is recognised one of the hardest working members of the royal family. When gender equality is widely recognised, having a female monarch would be a new but not old thing for the people. As there are so many female monarchs in the western world, it would be a new evolution of Thai royal family with a female monarch.

However, Thailand has never had a Queen Regnant. According to the Palace Law of Succession of 1924, Article 13: “This era has still not reached the proper time for any princesses to ascend the throne as the Queen Regnant, to be a sole female monarch of Siam. Therefore, princesses are strictly prohibited from the line of succession.”

In contrast, a lot of constitutions in this modern era which were modified in different versions of many years, e.g. 1974, 1978 even the latest year 2017. The article of succession to the throne is written that any Princesses could be introduced for approval of the national assembly. But this case shall be practised “only” if the throne is vacant and if the monarch has not designed an heir. The palace law is hence seen in contrast with the constitution which is the basis for the rule of law in Thailand.

As Thailand has never had any female heir, any possibility in the future for having an heiress? People who rely on academic references comment “low possibility but not that impossible”. Some thing can be changed in this new era. When there are no choices left, Prince Dipangkorn would be certainly made an heir when the time comes. As he is still 15, people would wait for more 4-5 years until he reaches 20, the same age when his father was made the Crown Prince. We would see how Dipangkorn shows his perfect role as the next monarch.

Furthermore, another topic has been presented in the conversation is the King’s 4 estranged sons. The King is seen making the wrong decision to banish his own sons. The 4 ex-Princes who all live in the United States are considered more ready with their ability and role as a leader and could carry out royal duties. When they were stripped the titles but were not officially announced and written in the royal gazette, how is the possibility if one of them could be made an heir? Most people think, “almost zero” as they were banished out of the country and were cut the family ties.

It is undeniable that the previous heir has improper public image among the public before his ascension, widely known about his own personal life which affects to the whole public image of the monarchy. This era is somehow considered covered with taint, which brings a growing unpopularity among the public.

From this blemish, along with the undeveloped image of the monarchy, the future heir is expected to be in a big role to reconnect the good relationship between the monarchy and the people for both stabilities, together with the heir’s own public image. When the time comes, the heir would ascend the throne without any obstacle.

Overall, this topic is only proceeded by people who just sit and discuss. People have no choices whoever would be an heir or the Head of State. Among the people who highly respect the monarchy without any questions, this topic is strongly avoided as it is the king’s own decision and personal matter. On the other hand, this topic is much brought to discussion as it is to clarify whether the people would fully accept the new future of the royal family. There is not yet any possibility about designation of an heir, we would wait until the time comes, whether it is the glorious or wilted future of the Thai Monarchy…


Royal World Thailand - รอยัล เวิลด์ ประเทศไทย

https://www.facebook.com/royalworldthailand/photos/a.918836328221421/2663943437044026/?type=3&theater