นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมกกต. ถึงรีบดำเนินการกรณี #ไทยรักษาชาติ ขณะที่ปล่อยทิ้งคำร้องเรียนอื่นๆ รวมถึงของพลังประชารัฐทิ้งไว้— 두프림♡ (@peurim1126) February 14, 2019
เพราะถ้าไทยรักษาชาติถูกยุบหลัง #เลือกตั้ง62 สส.ที่ชนะเลือกตั้งจะสามารถหาสังกัดพรรคใหม่ได้ ซึ่งฝ่ายเผด็จการคงไม่ปล่อยให้เป็นแบบนั้น (ที่มา: The Standard) pic.twitter.com/j9yOO2RByx
THE STANDARD
11 hrs ·
ทางสามแพร่ง ‘พรรคไทยรักษาชาติ’ หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องยุบพรรค
.
จากปรากฏการณ์สะเทือนทางการเมือง เมื่อพรรคไทยรักษาชาติเสนอพระนาม ‘ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี’ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวของพรรค
.
แรงสะเทือนทางการเมืองระลอกใหญ่ครั้งนี้สะท้อนกลับไปที่พรรคไทยรักษาชาติแบบเต็มๆ โดยเฉพาะเมื่อคณะกรรมการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติพิจารณารับคำร้องยุบพรรคไทยรักษาชาติตามที่ กกต. ยื่นคำร้อง
.
เวลานี้ ‘พรรคไทยรักษาชาติ’ เสมือนยืนอยู่บนทางสามแพร่ง ซึ่งก็ได้แค่รอลุ้นว่าจะถูกกำหนดให้ต้องเดินไปทางใด
.
แพร่งที่ 1 หากศาลตัดสินให้ยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
คณะกรรมการบริหารพรรค 14 คน (ลาออก 1 คน) จะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
.
นายอุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในอดีตหากยุบพรรคจะตัดสิทธิทางการเมืองซึ่งผูกกับสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี แต่ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันจะแยกระหว่าง ‘สิทธิเลือกตั้ง’ และ ‘สิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง’
นายอุดมบอกว่าหากถูกยุบพรรค คณะกรรมการบริหารพรรคจะถูกตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลา ตีความได้ว่าต้องถูกตัดสิทธิดังกล่าวตลอดชีวิต
.
ซึ่งการถูกตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งจะมีผลให้ขาดคุณสมบัติทางการเมืองหลายประการ ตั้งแต่การก่อตั้งพรรค การเป็นกรรมการบริหารพรรค รวมถึงการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
.
ผู้สมัคร ส.ส. พรรคไทยรักษาชาติรวม 283 คน (แบ่งเขต 175 คน บัญชีรายชื่อ 108 คน) จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ทันที เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 97 (3) กำหนดให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วันจนถึงวันเลือกตั้ง
.
แพร่งที่ 2 ยุบพรรคหลังวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
คณะกรรมการบริหารพรรค 14 คน (ลาออก 1 คน) จะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคที่ชนะการเลือกตั้งและได้เป็น ส.ส. จะมีเวลา 60 วันในการหาพรรคสังกัดใหม่ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (10) ว่า “...ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้น้ันไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายใน 60 วันนับแต่วันท่ีมีคําสั่งยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนด 60 วันนั้น”
.
แพร่งที่ 3 ไม่ยุบพรรค โดยพรรคไทยรักษาชาติจะสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองต่อไปได้ตามกฎหมาย
สำหรับคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ 14 คน เต็มไปด้วยนักการเมืองรุ่นใหม่และทายาทรุ่นลูก-รุ่นหลานของตระกูลการเมืองดัง หากถูกศาลสั่งยุบพรรคก็เท่ากับว่าคนรุ่นใหม่ทางการเมืองหลายคนดังต่อไปนี้อาจถูกประหารชีวิตทางการเมืองไปโดยปริยาย
.
14 กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ ได้แก่
1. ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ
2. นายฤภพ ชินวัตร รองหัวหน้าพรรคคนที่ 1
3. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร รองหัวหน้าพรรคคนที่ 2
4. นายพฤฒิชัย วิริยะโรจน์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 3
5. นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล รองหัวหน้าพรรคคนที่ 4
6. รศ.ดร.รุ่งเรือง พิทยศิริ กรรมการบริหารพรรค (แจ้งลาออกแล้ว)
7. นายจุลพงศ์ โนนศรีชัย กรรมการบริหารพรรค
8. นายมิตติ ติยะไพรัช เลขาธิการพรรค ลูกชายนายยงยุทธ ติยะไพรัช แกนนำพรรคเพื่อไทย
9. นายต้น ณ ระนอง รองเลขาธิการพรรคคนที่ 1
10. นายวิม รุ่งวัฒนจินดา รองเลขาธิการพรรค
11. นายคณาพจน์ โจมฤทธิ์ รองเลขาธิการพรรคคนที่ 3
12. นายพงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ
13. นางสาวชยิกา วงศ์นภาจันทร์ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
14. นางวรรษมล เพ็งดิษฐ์ เหรัญญิกพรรค
.
เรื่อง: พลวุฒิ สงสกุล
ภาพ: Thiencharas W.
.
ติดตามความเคลื่อนไหวการเลือกตั้ง 2562 กับเว็บไซต์พิเศษ #คู่มือเลือกตั้ง62 ได้ที่https://thestandard.co/thailandelection2019/