ที่เว็บ ‘ทีมอล’
ของแจ็ค หม่า ขายทุเรียนออนไลน์ได้ ๘ หมื่นลูกใน ๑ นาฑี นี่ดูจากปฏิกิริยาบนหน้าโซเชียล
ไม่เห็นเขาตื่นเต้นกันอย่างที่ข่าวเป็น
รายหนึ่ง Chaparnone@gmail.com @chaparnone Replying to @whatsapp4456 “ชาวสวนตัดออกทุกสวนวันเดียวก็เกินแล้ว”
อีกราย Preeya Chuekhamdee “นั่นน่ะสิ ทุเรียนเค้าขายของเค้าได้อยู่แล้ว
คนในประเทศแทบไม่มีปัญญากินกิโลละร้อยกว่าบาท
เอายางดีกว่าสี่โลร้อยนี่เฮียแจ๊คปั่นให้เป็นโลร้อยสี่ได้มะ”
ส่วน พลเอก จัสตินโอชา @whatsapp4456 Apr 20 รวบยอดว่า “ขายทุเรียนตื่นเต้นตรงไหน?
คนจีนมันมาเหมาสวน เอาไปขายหลายปีแล้ว
แหม!! แต่แจ๊คหม่ามันฉลาด +
รัฐบาลอยากได้หน้า เลยต้องสร้างกระเเสให้เป็นข่าวใหญ่เท่านั้นแหละจ้า แปดหมื่นลูกนี่ธรรมดามากเด้อ
รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรชาวสวนทุเรียนเค้าก็ขายได้มาเป็นสิบปีแล้ว”
ข้อเท็จจริงก็คือทุเรียนที่คนจีนจองซื้อทางเว็บอีคอมเมิร์ชของแจ็ค
หม่า นั่นคือ ‘หมอนทอง’ ที่อย่างไรก็ขายได้อยู่แล้วทั้งไปจีนและมาเลเซีย
ทีมอลขายราคาลูกละ ๑๙๙ หยวน (๓๒ ดอลลาร์ ตก ๑ พันบาทไทย)
เป็นราคาที่รวมค่าส่งเสร็จสรรพ ที่ชาวสวนไทยได้ไม่ถึงครึ่ง
เพราะต้องขายผ่านผู้ส่งออกคนกลาง
ฉะนั้นงานนี้ ข่าวจากเซ้าท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์
(ซึ่งแจ็ค หม่า เป็นเจ้าของ) ที่มาถึงไทยผ่านทาง ‘ฐานเศรษฐกิจ’
จึงเป็นคุณแก่อาลีบาบามากกว่าชาวสวนทุเรียนไทย
อ้อ แล้วอีกรายที่ได้ไปเยอะ ‘หน้า’ นะ เป็นทีมแถกดันโครงการ ‘อีอีซี’ ของ คสช. ที่ป้อยอแจ็ค หม่า ซะจวนเสียหมา ในเมื่อปรกตินายหม่านี่เขาเป็นที่ชื่นชมในหมู่นักธุรกิจไทยไม่น้อยอยู่แล้ว
พอประยุทธ์เอามาชมจนเลิศลอยเมื่อวันก่อน คนฟังเกิดอาการแพ้ภูมิ จะพากันอาเจียรเป็นแถว
เสร็จแล้วเท่ากับว่ารัฐบาลประยุทธ์พยายามเกาะชายเสื้อแจ็ค
หม่า ว่าจะช่วยนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ไทยแลนด์ ๔.๐ ซึ่งว่าตามจริงถ้าคณะทหารไม่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเมื่อปี
๔๙ แล้วมายึดซ้ำจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี ๕๗ ละก็ ประเทศไทยอาจไปถึง ๔.๕ แล้วก็ได้ในตอนนี้
หากดูการวิเคราะห์เรื่องขายทุเรียน ๘
หมื่นลูกของ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม แห่งคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่บอกว่า “เป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ” และ “ผมไม่ได้ตื่นเต้นเลย” นั้น
เพราะเป็นเพียงการอำนวย ‘platforms’ กระดานปฏิบัติการ
หรือช่องทางซื้อขาย ให้สะดวกง่ายเท่านั้น ทว่า อุปสงค์ หรือ ‘demands’ ทางการค้ามีอยู่พร้อมแล้ว
วิธีการค้าอีเล็คโทรนิคของแจ็ค หม่า ดูจะเป็นโมเดลที่ คสช. เอามาใช้กับนโยบายประชารัฐและไทยนิยม
ทั้งนี้ พิจารณาจากที่ดร.ปีติอ้างว่าแจ็ค หม่า
ร่วมมือกับรัฐบาลจีนในการเก็บข้อมูลการอุปโภคบริโภคของประชาชนผ่านการซื้อของออนไลน์
ทำให้เรียนรู้อุปนิสัยในการดำเนินชีวิตของลูกค้าเพื่อนำไปใช้วางแผนการตลาด
(สำหรับอาลีบาบา) และกำหนดนโยบาย ‘นิยมจีน’ (สำหรับรัฐบาล)
ควบคุมประชากร
ความร่วมมืออย่างแนบแน่นที่ซีพี ไทยเบฟ สหพัฒน์ และ ฯลฯ
เจ้าสัว ให้กับ ‘ประชารัฐ’ และ ‘ไทยนิยม’ ขณะที่ คสช. ทำการกำจัดหาบเร่ รถเข็น ไล่ที่ผู้ค้าย่อยริมถนนออกไปจากทางเท้า
อ้างเพื่อความสวยงามและทางเดินสะดวกสบายในย่านการค้า ทำให้เศรษฐกิจฐานรากเฉาตายไปกว่าครึ่ง
เช่นนี้ เข้าทำนองเตี้ยอุ้มค่อม หรือ ‘good strategy, bad execution’
คือเห่อตามสมัยนิยมแต่ทำไม่เป็น
เลยเกิดผลเสียมากกว่าผลดีที่นโยบายให้ความหวัง อาจพูดได้ว่า ‘มือไม่ถึง’
วันนี้ (๒๒
เมษา) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ผู้ที่หวังว่าหลังเลือกตั้งจะมีเสียงในสภาผู้แทนราษฎร
๑๒๖ คนร่วมกับวุฒิสมาชิกที่ คสช.แต่งตั้งผ่านทางการสรรหาอีก ๒๕๐ คน เสนอชื่อเป็นนายกฯ
คนนอก ตามการวิเคราะห์รูปการณ์ของ จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทยนั้น
กล่าวในรายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
“สำหรับในปี ๒๕๖๑ นี้ ได้เตรียมการสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ผ่านโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท”
โดยที่ประยุทธ์รู้ดีว่าลอกเลียนโครงการจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในอดีต
(คงจะตระหนักว่าเป็นโครงการที่ ‘ได้ผล’) จึงมิวายพูดให้ตนดูดีว่า
“ไม่ว่าโครงการจะเริ่มต้นมาตั้งแต่รัฐบาลใด
หากเป็นโครงการที่ดี รัฐบาลนี้จะต่อยอดขยายผลให้ดียิ่งๆ
แต่สานต่อทั้งหมดที่ทำมาแล้ว ก็ไม่อยากให้มองว่าเป็นเรื่องของการเมือง
เอางบประมาณไปหาเสียงแต่อย่างใด”
อีกนี่แหละ
ของแท้ก็คือหาเสียงอย่างเดียวกับที่เกาะชายเสื้ออาลีบาบา หวังแต่ว่าจะสามารถต่อยอดขยายผลให้ดียิ่งกว่าได้
ไม่เหมือนกับประชารัฐไทยนิยม ที่จนป่านนี้ยังไม่รู้หมู่รู้จ่า มะงุมมะงาหราอยู่แค่
‘ไอ้เณร’