ว่าแล้วไง เรื่องนี้น่าจะยาว เมื่อได้กลายเป็นเรื่องราวของ ‘เขตพระราชฐาน’ ไปแล้ว ซ้ำมาเกิดอื้อฉาวตอนพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานไปทรงจักรยานที่บาวาเรียเสียนี่
ค่ำวานนี้ (๑๘ เมษา)
ข่าวว่าปรากฏมีรั้วเหล็กดัดงดงามและแข็งแรงประทับข้อความ “เขตพระราชฐาน”
ตั้งอยู่ล้อมรอบ ‘หมุดหน้าใส’ บนลานพระรูปทรงม้า
ผู้สื่อข่าวมติชนพบ พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ป้วนเปี้ยนแถวนั้นอ้างว่ามักแวะเวียนไปตรวจเยี่ยมเฝ้าระวังความปลอดภัยให้ประชาชนอยู่เนืองๆ
จึงทราบว่า
“มีคำสั่งคุมเข้มสถานการณ์ไม่ให้มีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์รวมถึงห้ามประชาชนเข้าไปถ่ายรูปกับหมุดใหม่
หากฝ่าฝืนจะถูกลบทันที”
สันนิษฐานว่าเหตุที่ตำรวจเกิดอาการ ‘edgy’ ครั่นตัว เพราะวันนี้มีการนัดหมายทำกิจกรรมทวงถามหาหมุดคณะราษฎรหายไปไหน
ซ้ำ ‘จ่านิว’ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ โพสต์ไว้ว่า
ในเมื่อไม่มีใครยอมรู้ว่าหมุดใหม่ของผู้ใด ก็จะไปขุดออกแล้วใส่หมุดคณะราษฎรจำลองแทนไว้จนกว่าจะได้ของจริงคืนมา
ปัญหาอยู่ที่เวลานี้คนใหญ่คนโตในบ้านเมือง ทั้ง
คสช.และลิ่วล้อพูดไม่ออก บอกไม่ถูก ก็เลยเฉไฉกันไปใหญ่ พวกคนโตออกลูกก้าวร้าว
เล็กหน่อยก็บิดเบี้ยวตอแหล
มิใยคนใหญ่อย่างหัวหน้าคสช. บอกว่า “ไม่อยากให้เป็นประเด็น...และได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ติดตามสืบสวนและสอบสวน” ไปแล้ว
“วันนี้ถือว่าขอร้องแล้วกัน วันนี้เรากำลังเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย
ทุกคนก็ต้องการประชาธิปไตย ต้องการเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง”
นานๆ ได้ฟัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พูดเป็นเรื่องเป็นราวโดยไม่ต้องยักคิ้วหลิ่วตาให้น่าดูน่าชม
แต่ว่าทั่นรองฯ
น่ะสิยังไม่หยุดกวน...(เพิ่งกลับจากท่องสวิสแท้ๆ สงสัยเที่ยวนี้ไม่มีคาเวียร์) “ที่มีการเปลี่ยนหมุดนั้นเจ้าหน้าที่ก็ไม่เห็น เขาไม่ได้อยู่ตรงนั้นจะให้ทำอย่างไร”
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทั่นว่า
ผู้ที่กวนหนักกว่า (เลยลงไปกวนข้างล่าง) นั่นต้องผู้ว่า กทม.
(ลิ่วล้อ คสช. ของแท้) “ไม่รู้จริงๆ
อีกอย่างก็เกิดไม่ทัน ถ้าผมเกิดทันในปี ๒๔๗๕ ผมตอบให้เลยว่าหมุดหายไปไหน”
พล.ต.อ.อัศวิน
ขวัญเมือง บอกด้วยว่า “อีกอย่างที่สุพรรณบุรีก็ไม่มี
ถ้าที่สุพรรณบุรีมีผมจะตอบให้หมดเลย” ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเกี่ยวไรกับสุพรรณ
พวกที่บิดเบี้ยวตระบัดข้อมูลอย่างหาที่เปรียบมิได้เห็นจะเป็นกรมศิลปากร
ที่ชี้แจงว่า
“หมุดคณะราษฎร์มิใช่โบราณวัตถุตามนัยของ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
เนื่องจากหมุดคณะราษฎร์เป็นวัตถุที่พลเอกพระยาพหลพลหยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร์
ได้นำมาติดตั้งไว้ในบริเวณลานพระราชวังดุสิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙...
หมุดคณะราษฎร์จึงมิใช่สังหาริมทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์
เพราะหมุดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเพียงเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่เคยมีการประกาศแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น”
มิหนำซ้ำวันนี้
(๑๙ เมษา) “พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านความมั่นคง เปิดเผยว่าเมื่อเย็นวันที่ ๑๘ เมษายนที่ผ่านมา
ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)
ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดี นายวัฒนา
เมืองสุข ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่า หมุดคณะราษฎรที่ติดตั้งที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นโบราณวัตถุ
ให้คนไทยเรียกร้องทวงคืน ซึ่งเป็นเท็จ
ทำให้ประชนบางส่วนเข้าใจผิด ออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเข้าข่ายยุยงปลุกปั่นด้วย”
ถึงกระนั้นก็ได้รับการโต้แย้งจากเพจ
‘หมุดคณะราษฎร’ ซึ่งอ้างว่า “แม้หมุดคณะราษฎรยังไม่ถูกขึ้นเป็นทะเบียนโบราณวัตถุ
แต่ก็เข้าหลักเกณฑ์มาตรา ๗ แห่ง พรบ.โบราณสถาน
โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕” (มาตรา ๒๔ ถึง ๓๒)
“หมุดคณะราษฎร เป็นทรัพย์สินของทางราชการ
ถูกจัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย และประกอบพิธีฝังหมุดในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๙ โดยมีพระยาพหล
พลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นเป็นประธานในพิธี”
โดยเฉพาะเพจนี้ยืนยันว่าหมุดคณะราษฎร
(ในฐานะที่เป็นสัญญลักษณ์ของการประกาศรัฐธรรมนูญ)
อันเป็นที่มาของรัฐสภาและสำนักนายกรัฐมนตรี
การถอดถอนหมุดเท่ากับไม่ยอมรับสถานะของสถาบันทั้งสองด้วย
จึงเป็นข้อให้สังเกตุว่า
หลังจากราชพิธีถวายพระเพลิงรัชกาลที่ ๙ ระหว่างวันที่ ๒๕ ถึง ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ (https://www.facebook.com/435506463178094/photos/a.435512156510858.101465.435506463178094/1419054778156586/?type=3&theater) เสร็จสิ้นไปแล้ว
หมุดคณะราษฎรยังไม่กลับมา
ย่อมเป็นสัญญลักษณ์ด้วยว่า
ทั้งรัฐสภาและสำนักนายกรัฐมนตรีได้หมดคุณค่าไปแล้วเช่นกัน
มิฉะนั้นอาจหนักหน่วงยิ่งกว่า
ยิ่งวันสองวันนี้เห็นเขาพูดกันถึงแต่
'จัสติน' อันไปพ้องกับโพสต์ของ
‘โตขึ้นจึงรู้ว่า..อยากได้ผู้ฝรั่ง’ เมื่อ April 16 at
6:03 am ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ในเมื่อเขาเขียนว่า
“จัสตินต่อยนักข่าว” “จัสติสเมาแล้วขับ” “นิสัยแม่งเหี้ยจะตาย”
มึง....จากใจบีลิเบอร์คนนึงเลยนะ....คือมันไม่เต็ม”