ที่มา Citizen Thai PBS
15 May 2016
จากเหตุการณ์ “ปาเก้าอี้” ในที่ประชุมสภา อบต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ระหว่างกลุ่มชาวบ้านกับสมาชิกสภา อบต.เขาหลวง (ส.อบต.เขาหลวง) 16 คน ที่ยึดเวทีเปิดประชุมต่อ เพื่อพิจารณาการขอต่ออายุหนังสืออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้และ ส.ป.ก.ทำเหมืองทอง หลังประธานสภาฯ สั่งปิดประชุมไปแล้ว เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นข่าวประชุมสภา อบต.เขาหลวงล่มซ้ำซาก
เล่าเหตุการณ์ปม ‘สภาฯ เสียงข้างมาก’
สมัย ภักดิ์มี ประธานสภา อบต.เขาหลวง เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ว่า ในวันเกิดเหตุได้ประกาศปิดการประชุม โดยให้เลื่อนการพิจารณาวาระในกรณีเหมืองทอง ออกไปก่อนจนกว่าจะมีมติ ครม. ในวันที่ 10 พ.ค. 2559 ห้ามการทำเหมืองทองและสั่งหยุดนโยบายสำรวจแร่ทองคำทั่วประเทศออกมาชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะในที่ประชุมมีสมาชิกอภิปรายในประเด็นดังกล่าวอย่างหลากหลาย และหากทำอะไรไปอาจผิดมติ ครม.ได้
แต่ ส.อบต.เขาหลวง โซนบน 16 คน ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจากทั้งหมด 25 คน ไม่ยินยอม เมื่อตนเองและส.อบต.อีก 9 คนเดินออกจากห้องประชุม จึงได้แต่งตั้งรองประธานสภาขึ้นทำหน้าที่พิจารณาวาระดังกล่าว สร้างความไม่พอใจให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ภายในห้องประชุม จึงเกิดการโต้เถียงและเกิดความโกลาหลวุ่นวายตามมา
“ไม่คิดว่า ส.อบต. 16 คน จะดึงดันทำอย่างนี้” นายสมัยกล่าว อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าได้ทำหน้าที่สมบูรณ์โดยการปิดประชุมแล้ว
นายสมัยเล่าว่า ความขัดแย้งในการประชุมครั้งนี้ เริ่มต้นตั้งแต่การประชุมวันแรก (12 พ.ค. 2559) เนื่องจาก ส.อบต. โซนบน 16 คน เสนอให้มีการประชุมลับตั้งแต่วาระแรกๆ ซึ่งเป็นเรื่องแจ้งเพื่อทราบ ส่วนวาระที่ 2 ซึ่งเป็นการรับรองการประชุมครั้งที่ผ่านๆ มา โดยอ้างระเบียบข้อ 31 ของกระทรวงมหาดไทย ที่ว่าสมาชิกเกินกว่าครึ่งหนึ่งขอประชุมลับได้โดยไม่ต้องมีการลงมติ แต่ ส.อบต. อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าวาระไม่ได้เป็นความลับ แต่เป็นเรื่องที่ควรจะให้ชาวบ้านได้รับรู้ และไม่ได้มีเหตุผลที่จะต้องประชุมลับ
ทำให้ ส.อบต. โซนบน 16 คน เดินออกจากห้องประชุม ส่งผลให้องค์ประชุมไม่ครบ การประชุมจึงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
อีกทั้ง ใน 2 วันที่ผ่านมาของการประชุมสภา อบต.เขาหลวง (12-13 พ.ค. 2559) ไม่มีวาระใดได้เข้าสู่การพิจารณา
ย้อนรอยวาระต่ออายุเหมืองทองใช้พื้นที่ฯ ทำประชุมสภาฯ ล่ม
ประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งที่ทำให้การประชุม สภา อบต.เขาหลวงล่มมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง คือ ‘การประชุมลับ’ ในวาระการพิจารณาเรื่อง ‘การต่ออายุหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกภูเหล็กเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำ ตามประทานบัตรที่ 26968/15574, 26968/15575, 26968/15576 และ 26973/15560 และการยื่นคำขอใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ (ส.ป.ก.4-106) ของบริษัททุ่งคำ จำกัด’
การพิจารณาวาระดังกล่าว ถูกจับตาอย่างเข้มข้นจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน อ.วังสะพุง จ.เลย ด้วยเหตุผลหลักคือการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าและพื้นที่ ส.ป.ก.ดังกล่าวจะเป็นการเปิดทางให้เหมืองทองคำเปิดดำเนินกิจการได้อีกครั้ง หลังจากประกาศปิดเหมืองชั่วคราวเมื่อเดือน ส.ค. 2557 โดย ส.อบต.เสียงข้างมากในสภาฯ
เนื่องจาก ประทานบัตรของบริษัททุ่งคำ ในพื้นที่ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย 6 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 1,290 ไร่ มีอายุถึงปี 2570-2571 อีกทั้งที่ผ่านมาอุตสาหกรรมจังหวัดเลยได้ต่ออายุใบอนุญาติประกอบโลหะกรรมให้บริษัทฯ ไปถึงวันที่ 12 ส.ค. 2560 จึงดูเหมือนว่านี่จะเป็นปราการสุดท้ายในการปกป้องพื้นที่นี้สำหรับกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ
การประชุมสภา อบต.เขาหลวง ที่มีการพิจารณาวาระดังกล่าว อาทิ
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 2 ประจำปี 2559 ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. 2559 ประธานสภา อบต.เขาหลวง ประกาศปิดการประชุม โดยให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อนจนกว่าจะมีมติ ครม. วันที่ 10 พ.ค.2559 เกี่ยวกับการปิดเหมืองทองคำทั่วประเทศออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
(คลิกอ่าน: ระอุไม่ต่างจากอากาศ! ‘อบต.เขาหลวง’ ยึดเวที คุมประชุมแทนประธานสภาฯ ทำชาวบ้านฮือฝ่าแนวทหาร-ตร.ค้าน)
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2559 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2559 ประธานสภา อบต.เขาหลวง ประกาศเลื่อนการประชุม เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ไม่สามารถดำเนินการประชุมได้
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2559 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2559 ประธานสภา อบต.เขาหลวง ประกาศเลื่อนการประชุม เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ไม่สามารถดำเนินการประชุมได้
(คลิกอ่าน: ‘อบต.เขาหลวง’ เลื่อนประชุมต่ออายุให้พื้นที่เหมืองเหตุสมาชิกไม่ครบ หลังชาวบ้านนอนค้างคืนเฝ้าบันไดรอจับตา)
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2559 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2559 ไม่สามารถลงมติในวาระที่ค้างมาตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 2558 ได้ แต่มีการขอเปิดประชุมลับในวันที่ 16 ก.พ.2559 เพื่อพิจารณามติที่ค้างอยู่
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2559 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2559 ไม่สามารถลงมติในวาระที่ค้างมาตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 2558 ได้ แต่มีการขอเปิดประชุมลับในวันที่ 16 ก.พ.2559 เพื่อพิจารณามติที่ค้างอยู่
(คลิกอ่าน: “พื้นที่เขตควบคุม... ห้ามเข้า” คำสั่งศูนย์รักษาความสงบฯ วังสะพุง กันชาวบ้านขวางประชุม อบต.เขาหลวง)
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2558 ที่ประชุมมีมติให้ประชุมลับวาระดังกล่าว แต่ต่อมาได้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน (คลิกอ่าน: ล่มอีก! ประชุม ‘อบต.เขาหลวง’ ต่ออายุเหมืองทองใช้ 'ที่ป่า-ส.ป.ก.')
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2558 มีการให้ความเห็นโดยยังไม่มีการลงมติ (คลิกอ่าน: ต่ออายุเหมืองทองเลยใช้ 'ที่ป่า-ส.ป.ก.' ยังไม่ลงมติ - 'ค่ายเยาวชน' ลุ้น! จัดต่อไป)
สำหรับวาระการประชุมที่ต้องเร่งพิจารณา นายสมัยกล่าวว่า วาระพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผ่นพัฒนา 3 ปี (2560 - 2562) เป็นเรื่องที่สภา อบต.เขาหลวงต้องพิจารณาไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบกับการนำเงินมาบริหารจัดการ ซึ่งนายก อบต.เขาหลวงอาจมีการขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญต่อนายอำเภอวังสะพุง เนื่องจากเป็นกรณีเร่งด่วนจำเป็นต่อการดำเนินงานของ อบต.
หรืออาจรอถึงการประชุมสมัยสามัญที่จะมีขึ้นอีกครั้งในเดือน ส.ค. เพื่อลดกระแสความขัดแย่งที่มีตอนนี้ไปก่อน ขึ้นอยู่กับนายก อบต.เขาหลวงซึ่งเป็นฝ่ายบริหารว่าจะดำเนินการอย่างไร
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2558 ที่ประชุมมีมติให้ประชุมลับวาระดังกล่าว แต่ต่อมาได้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน (คลิกอ่าน: ล่มอีก! ประชุม ‘อบต.เขาหลวง’ ต่ออายุเหมืองทองใช้ 'ที่ป่า-ส.ป.ก.')
- การประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2558 มีการให้ความเห็นโดยยังไม่มีการลงมติ (คลิกอ่าน: ต่ออายุเหมืองทองเลยใช้ 'ที่ป่า-ส.ป.ก.' ยังไม่ลงมติ - 'ค่ายเยาวชน' ลุ้น! จัดต่อไป)
สำหรับวาระการประชุมที่ต้องเร่งพิจารณา นายสมัยกล่าวว่า วาระพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผ่นพัฒนา 3 ปี (2560 - 2562) เป็นเรื่องที่สภา อบต.เขาหลวงต้องพิจารณาไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบกับการนำเงินมาบริหารจัดการ ซึ่งนายก อบต.เขาหลวงอาจมีการขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญต่อนายอำเภอวังสะพุง เนื่องจากเป็นกรณีเร่งด่วนจำเป็นต่อการดำเนินงานของ อบต.
หรืออาจรอถึงการประชุมสมัยสามัญที่จะมีขึ้นอีกครั้งในเดือน ส.ค. เพื่อลดกระแสความขัดแย่งที่มีตอนนี้ไปก่อน ขึ้นอยู่กับนายก อบต.เขาหลวงซึ่งเป็นฝ่ายบริหารว่าจะดำเนินการอย่างไร
คดีความ ข้อกล่าวหาประธานสภาฯ อยู่ฝั่งค้านเหมือง
ตัวนายสมัยเองตกเป็นเป้าหมายหนึ่งในความขัดแย้งครั้งล่าสุด เนื่องจากถูก ส.อบต.เขาหลวง โซนบน 16 คน ทำหนังสือเร่งด่วนที่สุดถึงนายอำเภอวังสะพุงและผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากไม่ยอมเปิดประชุมลับตามที่สมาชิกสียงข้างมากเรียกร้อง
“ทำใจ คิดว่าได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนตำบลเขาหลวงก็พอใจแล้ว” นายสมัยกล่าว พร้อมระบุว่าเข้าใจสถานตัวเองดีว่ากำลังถูกกดดันให้พ้นจากตำแหน่ง แต่ก็มั่นใจว่าตัวเองทำทุกอย่างถูกต้องตามระเบียบ
“จริงๆ แล้วถ้าทำหน้าที่ประธานสภา ผมเป็นกลางที่สุด พยายามทำตามหน้าที่” นายสมัยตอบคำถามถึงความเป็นกลางในการทำหน้าที่
ทั้งนี้ นายสมัย ถูกตั้งคำถามจาก ส.อบต.เขาหลวง โซนบน 16 คน ว่าอยู่ฝั่งคนไม่เอาเหมือง ซึ่งหลักฐานเชิงประจักษ์ คือการถูกฟ้องคดีจากบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ถึง 9 คดี
(คลิกอ่าน: ประมวลคดีเหมืองแร่เมืองเลย VS กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ) แต่ถึงปัจจุบันยังคงมีคดีความอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล 5 คดี คือ
1. คดีอาญาข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกี่ยวกับกรณีการไม่บรรจุวาระการขอใช้พื้นที่ป่าไม้เข้าที่ประชุม สภา อบต.เขาหลวง ซึ่งศาลจังหวัดเลยนัดสืบพยานในวันที่ 17-19 พ.ค.นี้
2. คดีอาญาร่วมกับผู้ใหญ่บ้านบ้านนาหนองบงคุ้มใหญ่ โดยถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังในการทำซุ้มประตูปากทางเข้าหมู่บ้านโดยเขียนป้ายว่า 'หมู่บ้านนี้ไม่เอาเหมืองแร่' ทำให้บริษัทฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง แต่บริษัทฯ ยื่นอุทธรณ์
3. คดีแพ่งต่อเนื่องจากข้อ 2 ฟ้องเรียกค่าเสียหายร่วมกับชาวบ้านอีก 5 คน เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดเลยยกฟ้องจำเลยทั้ง 6 คน เนื่องจากเชื่อว่าชาวบ้านได้รับผลกระทบจริง ถึงแม้ไม่มีหน่วยงานใดระบุอย่างชัดเจนว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากเหมือง เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
1. คดีอาญาข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกี่ยวกับกรณีการไม่บรรจุวาระการขอใช้พื้นที่ป่าไม้เข้าที่ประชุม สภา อบต.เขาหลวง ซึ่งศาลจังหวัดเลยนัดสืบพยานในวันที่ 17-19 พ.ค.นี้
2. คดีอาญาร่วมกับผู้ใหญ่บ้านบ้านนาหนองบงคุ้มใหญ่ โดยถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังในการทำซุ้มประตูปากทางเข้าหมู่บ้านโดยเขียนป้ายว่า 'หมู่บ้านนี้ไม่เอาเหมืองแร่' ทำให้บริษัทฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง แต่บริษัทฯ ยื่นอุทธรณ์
3. คดีแพ่งต่อเนื่องจากข้อ 2 ฟ้องเรียกค่าเสียหายร่วมกับชาวบ้านอีก 5 คน เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดเลยยกฟ้องจำเลยทั้ง 6 คน เนื่องจากเชื่อว่าชาวบ้านได้รับผลกระทบจริง ถึงแม้ไม่มีหน่วยงานใดระบุอย่างชัดเจนว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากเหมือง เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
(คลิกอ่าน: ‘สู้อย่างสุจริต’ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีป้ายซุ้มประตู ‘หมู่บ้านนี้ไม่เอาเหมือง’)
4. คดีที่ทำสิ่งกีดขวางทางสาธารณะบริเวณสี่แยกของถนนเชื่อมหมู่บ้านนาหนองบงคุ้มใหญ่กับคุ้มน้อย ถูกฟ้องร่วมกับชาวบ้าน 22 คน โดยนายก อบต.เขาหลวงเป็นผู้ฟ้องคดีร่วมกับบริษัทฯ ปัจจุบันเรื่องยังอยู่ในชั้นอัยการ
5. คดีอาญาข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกี่ยวกับกรณีการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ และถอนการขออนุญาตใช้พื้นที่ สปก. ออกจากวาระการประชุมสภา นัดไต่สวนมูลฟ้อง 23 พ.ค. 2559
“ถือเป็นเรื่องที่ต้องไปสู้กันในศาล” นายสมัยกล่าวถึงคดีความที่ต้องประสบ
ประธานสภา อบต.เขาหลวง กล่าวด้วยว่า ชาวบ้านตั้งแต่แรกเห็นด้วยกับการมีเหมืองทอง เพราะไม่รู้ว่าสารตัวไหนที่ใช้ในกระบวนการสกัดทองแล้วเป็นอัตราย แต่เมื่อเหมืองเปิดมาผลกระทบที่มีทำให้ชาวบ้านตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่นี้
นายสมัยกล่าวว่า ตอนนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตื่นตัว ไม่เห็นด้วย เพราะสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม บ่อเก็บกักกากแร่ไปตั้งอยู่บนภูเขาทับแนวร่องน้ำ และห่างกับชุมชนเพียง 500 เมตร หากชาวบ้านจะยอมรับได้ก็ต้องมีมาตรฐานมากกว่านี้
“ชาวบ้านมองเห็นผลกระทบอย่างชัดเจน จึงลุกขึ้นเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐ” นายสมัยกล่าว
ภาพ: นายสมัย ภักดิ์ ประธานสภา อบต.เขาหลวง และสมาชิกสภา อบต.เขาหลวง จำนวนหนึ่งที่นั่งบนรถอีแต๋นเข้ามาในพื้นที่ อบต.เขาหลวง เพื่อเปิดการประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 2 เป็นวันสุดท้าย (การประชุมระหว่างวันที่ 12 - 13 พ.ค. 2559) โดยมีชาวบ้านกว่า 300 คน ตบมือให้กำลังใจ
4. คดีที่ทำสิ่งกีดขวางทางสาธารณะบริเวณสี่แยกของถนนเชื่อมหมู่บ้านนาหนองบงคุ้มใหญ่กับคุ้มน้อย ถูกฟ้องร่วมกับชาวบ้าน 22 คน โดยนายก อบต.เขาหลวงเป็นผู้ฟ้องคดีร่วมกับบริษัทฯ ปัจจุบันเรื่องยังอยู่ในชั้นอัยการ
5. คดีอาญาข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกี่ยวกับกรณีการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ และถอนการขออนุญาตใช้พื้นที่ สปก. ออกจากวาระการประชุมสภา นัดไต่สวนมูลฟ้อง 23 พ.ค. 2559
“ถือเป็นเรื่องที่ต้องไปสู้กันในศาล” นายสมัยกล่าวถึงคดีความที่ต้องประสบ
ประธานสภา อบต.เขาหลวง กล่าวด้วยว่า ชาวบ้านตั้งแต่แรกเห็นด้วยกับการมีเหมืองทอง เพราะไม่รู้ว่าสารตัวไหนที่ใช้ในกระบวนการสกัดทองแล้วเป็นอัตราย แต่เมื่อเหมืองเปิดมาผลกระทบที่มีทำให้ชาวบ้านตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่นี้
นายสมัยกล่าวว่า ตอนนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตื่นตัว ไม่เห็นด้วย เพราะสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม บ่อเก็บกักกากแร่ไปตั้งอยู่บนภูเขาทับแนวร่องน้ำ และห่างกับชุมชนเพียง 500 เมตร หากชาวบ้านจะยอมรับได้ก็ต้องมีมาตรฐานมากกว่านี้
“ชาวบ้านมองเห็นผลกระทบอย่างชัดเจน จึงลุกขึ้นเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐ” นายสมัยกล่าว
ภาพ: นายสมัย ภักดิ์ ประธานสภา อบต.เขาหลวง และสมาชิกสภา อบต.เขาหลวง จำนวนหนึ่งที่นั่งบนรถอีแต๋นเข้ามาในพื้นที่ อบต.เขาหลวง เพื่อเปิดการประชุมสมัยสามัญ สมัยที่ 2 เป็นวันสุดท้าย (การประชุมระหว่างวันที่ 12 - 13 พ.ค. 2559) โดยมีชาวบ้านกว่า 300 คน ตบมือให้กำลังใจ