แถลงการณ์โดยโฆษกของนางเฟเดริกา โมเกรินี ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เกี่ยวกับความคืบหน้าในประเทศไทย
สหภาพยุโรปได้เรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้ประเทศไทยมีการยกเลิกกฎอัยการศึกและกลับเข้าสู่กระบวนการทางประชาธิปไตย การนำคำสั่งเลขที่ 3/2558 มาใช้แทนที่กฎอัยการศึก ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยคืบหน้าเข้าสู่การมีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยที่สามารถตรวจสอบได้
ศาลทหารนั้นไม่ควรถูกนำมาใช้ในการพิจารณาคดีกับพลเรือน ในฐานะมิตรและหุ้นส่วนของประเทศไทย สหภาพยุโรปขอย้ำว่าหลักนิติธรรมและการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ควรเป็นฐานในกระบวนการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย
Statement by the Spokesperson of the High Representative for Foreign Affairs and Security Policy and Vice-President of the Commission Federica Mogherini on developments in Thailand
"The EU has repeatedly called for martial law to be lifted and the democratic process to be restored in Thailand. The replacement of martial law by Order Number 3/2015 does not bring Thailand closer to democratic and accountable government.
Military courts should not be used to try civilians. As a friend and partner of Thailand, the EU reiterates that the rule of law and the protection and promotion of human rights should underpin progress towards full restoration of democratic governance in Thailand."
Official URL: http://eeas.europa.eu/statements-eeas/2015/150402_01_en.htm
ooo
ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วิจารณ์ มาตรา 44 อ้าง เพิ่มอำนาจไร้ขีดจำกัด เปิดประตูละเมิดสิทธิมนุษยชน
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ซาอิด ราอัด อัลฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกและการบังคับใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 ว่าจะยิ่งเป็นการเพิ่มโหดร้ายและเข้มงวด (Draconian)
"โดยปกติผมจะรู้สึกยินดีอย่างยิ่งกับการยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก แต่สำหรับประเทศไทย ผมรู้สึกตกใจอย่างยิ่งเมื่อกฎอัยการศึกกลับถูกแทนที่ด้วยกฎหมายบางสิ่งที่โหดร้ายทารุณ ซึ่งเพิ่มอำนาจอย่างไร้ขีดจำกัดให้กับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน โดยปราศจากการควบคุมจากฝ่ายตุลาการ" ฮุสเซน ระบุ
นอกจากนี้ ฮุสเซน ยังเสริมด้วยว่า การใช้มาตรา 44 จะเป็นการเปิดประตูให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2 เม.ย. 2558ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์วอตช์ ประจำประเทศไทย วิพากษ์ใช้อำนาจมาตรา 44 ไม่ต่างกฎอัยการศึก ด้านอดีต ส.ส.เพื่อไทย เรียกร้องนายกฯ กำหนดเลือกตั้ง ขณะที่อดีต ส.ส.ปชป. ย้ำมาตรา 44 ไม่เดือดร้อนคนปกติ กระตุ้นต่างชาติเข้าซื้อหุ้นในไทยเพิ่มขึ้น ...
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์วอตช์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า การยกเลิกกฎอัยการศึก มาใช้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งออกตามอำนาจมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวนั้น ไม่ต่างจากกฎอัยการศึก ดังนั้น สถานการณ์ของประเทศยังไม่ได้ดีขึ้น เพราะยังทำให้นานาชาติมองว่าประเทศไทยยังเป็นเผด็จการเช่นเดิม อีกทั้ง ฮิวแมนไรต์วอตช์ เคยเสนอว่าหากจะลดแรงกดดันเรื่องการประกาศใช้กฎอัยการศึก ทางออกที่ดีที่สุดคือ ควรใช้กฎหมายปกติ
ด้านนายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ระบุว่า เมื่อยกเลิกใช้กฎอัยการศึก ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้นกับนานาชาติ และทำให้กระตุ้นการท่องเที่ยวด้วย เพราะยุโรปจะไม่ประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทศไทย หากใช้กฎอัยการศึกอยู่ โดยนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการใช้มาตรา 44 คือเปลี่ยนอำนาจจากผู้บัญชาการทหารบกมาเป็นอำนาจของหัวหน้า คสช. ที่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุม คสช.ก่อน และต้องรับผิดชอบกันเป็นคณะ ซึ่งต่างจากการใช้มาตรา 17 ธรรมนูญการปกครอง สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ให้อำนาจเพียงคนคนเดียว และอำนาจมาตรา 44 มีมากกว่าการใช้กฎอัยการศึก แต่การยกเลิกกฎอัยการศึกเป็นการหวังผลจิตวิทยา พร้อมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีให้คำมั่นประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง เพื่อยืนยันว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ
ขณะที่ นายสามารถ มะลูลีม อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า การมีกฎอัยการศึกทำให้ต่างชาติมองว่า ประเทศไทยไม่เป็นประชาธิปไตย เมื่อยกเลิกกฎอัยการศึก ตลาดหุ้นขานรับ มีคนต่างชาติมาซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากยกเลิกกฎอัยการศึก ถ้าคนปกติ คนไม่มีความผิด ไม่ว่าจะใช้มาตราใดก็ไม่มีปัญหา เพราะปกติสุข ถ้าคนอยู่ดีๆ ไม่ได้เดือดร้อน แต่การยกเลิกกฎอัยการศึก คนต่างชาติก็รู้สึกยินดี และมาตรา 44 ยังให้อำนาจหัวหน้า คสช. แก้ปัญหาประเทศเร่งด่วน โดยเฉพาะใช้แก้ปัญหาประเทศญี่ปุ่นระงับเที่ยวบินเช่าเหมาลำจากไทย.