https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid026t65GkTy22BtUTvwo6k2o26STtdezJVsr7FCyerv62RLnMwQQ4rPk7PuFGiewtgfl&id=100050353185853&ref=embed_post
ทนายมิ้นท์ Puangtip Boonsanong
Yesterday ·
จาก อาจารย์พันทิพา พงษ์เพียจันทร์
จากกรณีที่เอาข้าวเก่า ค้าง 10 ปี มาหุงรัปทานโชว์กัน ขอบอกว่าท่านได้รับสารพิษจากเชื้อราไปแล้วไม่น้อย หลายตัวหลายชนิดด้วย และใครที่ไปร่วมชิมเป็นสักขีพยานว่า ข้าวนั้นทานได้ ก็รับเคราะห์ไปด้วยค่ะ
1.ปกติอาหารสัตว์ เราจะเก็บพวกธัญเมล็ดต่างๆ (รวมถึงข้าว)ได้อย่างมาก 1 ปี ที่อุณหภูมิห้อง เช่นเดียวกับที่โรงสีที่โชว์เก็บ แต่ก่อนเก็บนอกจากรมควันแล้ว ความชื้นในเมล็ดธัญพืชจะต้องไม่เกิน 12% เพราะพวกนี้สามารถดูดซึมน้ำกลับได้ ซึ่งสภาพการเก็บของโรงสีที่เห็น ใส่ในกระสอบป่าน โอกาสดูดซึมน้ำกลับ ทำให้ความชื้นของเมล็ดข้าวสูงขึ้นแน่นอน
หากจะเก็บไว้นานกว่านี้ต้องเก็บในสภาพเย็นแบบแห้ง (Cold dry processing)* อุณหภูมิต้องไม่เกิน 13 °C ทำให้แมลงไม่ฟักออกเป็นตัว*
2.กระสอบป่านที่เก็บข้าว สภาพที่เห็น วางทับซ้อนกันสูงมาก อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่างๆ
3.แม้จะรมยาแต่สถาพการวางทับกระสอบ รมยาไม่ทั่วถึงแน่นอน เพราะข้าวที่เอามาหุงแสดง ขณะล้างฟ้องอยู่แล้วว่ามีมอดข้าว ด้วง
4.การที่เมล็ดข้าวมีความชื้น ส่งเสริมการเติบโตของมอด แมลงต่างๆ* หลักฐานประจักษ์ขณะซาวข้าว (15ครั้ง ตามข่าว ซึ่งข้าวปกติเราล้างไม่ถึง 3 ครั้ง)
5. การมีมอดแมลง มูลของแมลงเหล่านี้นำมาซึ่งการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรีย* ทำให้เน่าได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว
6.จากสภาพข้าวที่หุงออกมา จะมีข้าวจำนวนไม่น้อย ที่มีสีน้ำตาลตรงปลายเมล็ด นั่นคือเม็ดข้าวที่ขึ้นรา อย่างน้อยต้องตรวจพบสารพิษอะฟลา 1 ตัว ตรวจง่ายๆโดยใช้เทคนิค บี จี วาย ฟลูโอเรสเซนท์ (Bright Greenish-Yellow Fluorescent)** ซึ่งสารนี้ทนอุณหภูมิได้ถึง 250°C *** และยังจะมีสารพิษอื่นๆตามมาอีกหลายตัว อุณหภูมิข้าวที่เราหุงน้ำเดือด 100°C ไม่สามารถทำลายพิษจากเชื้อราได้ อาจได้แค่แบคทีเรียจากมูลของแมลง
เห็นเจตนาดีของท่านที่จะหาเงินกลับคืน ขอแนะนำว่า
๑.อย่าขายให้คนหรือสัตว์นำไปบริโภค ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะเราจะมีคนป่วยด้วยมะเร็งมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคโดยตรง
๒.กรณีนำไปเลี้ยงสัตว์ เราจะได้ผลิตภัณฑ์ เนื้อ นม ไข่ ที่มีสารพิษจากเชื้อราตกค้างในอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น
๓.การนำไปขายให้อัฟริกา ชื่อเสียงข้าวเน่าเสียของไทยจะกระจายไปทั่วโลก คู่แข่งเราจะได้เปรียบ กว่าเราจะกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาคงหลายปี เสียตลาดข้าวให้คู่แข่ง โดยเขาไม่ต้องออกแรงเลย และที่สำคัญบาปตกอยู่กับผู้คิด ผู้ขาย แน่นอน
๔.ขอแนะนำให้นำข้าวเหล่านี้ ไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ หรือน้ำส้มสายชู จะดีกว่า สอบถามนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การอาหารต่อไปค่ะ
หมายเหตุ:การตรวจสอบสารพิษเหล่านี้ มีตามมหาวิทยาลัยที่มีห้องแลปตรวจอาหารทั่วไปหรือกรมปศุสัตว์หรือบริษัทรับตรวจสารพิษในอาหาร
ทนายมิ้นท์ Puangtip Boonsanong
Yesterday ·
จาก อาจารย์พันทิพา พงษ์เพียจันทร์
จากกรณีที่เอาข้าวเก่า ค้าง 10 ปี มาหุงรัปทานโชว์กัน ขอบอกว่าท่านได้รับสารพิษจากเชื้อราไปแล้วไม่น้อย หลายตัวหลายชนิดด้วย และใครที่ไปร่วมชิมเป็นสักขีพยานว่า ข้าวนั้นทานได้ ก็รับเคราะห์ไปด้วยค่ะ
1.ปกติอาหารสัตว์ เราจะเก็บพวกธัญเมล็ดต่างๆ (รวมถึงข้าว)ได้อย่างมาก 1 ปี ที่อุณหภูมิห้อง เช่นเดียวกับที่โรงสีที่โชว์เก็บ แต่ก่อนเก็บนอกจากรมควันแล้ว ความชื้นในเมล็ดธัญพืชจะต้องไม่เกิน 12% เพราะพวกนี้สามารถดูดซึมน้ำกลับได้ ซึ่งสภาพการเก็บของโรงสีที่เห็น ใส่ในกระสอบป่าน โอกาสดูดซึมน้ำกลับ ทำให้ความชื้นของเมล็ดข้าวสูงขึ้นแน่นอน
หากจะเก็บไว้นานกว่านี้ต้องเก็บในสภาพเย็นแบบแห้ง (Cold dry processing)* อุณหภูมิต้องไม่เกิน 13 °C ทำให้แมลงไม่ฟักออกเป็นตัว*
2.กระสอบป่านที่เก็บข้าว สภาพที่เห็น วางทับซ้อนกันสูงมาก อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่างๆ
3.แม้จะรมยาแต่สถาพการวางทับกระสอบ รมยาไม่ทั่วถึงแน่นอน เพราะข้าวที่เอามาหุงแสดง ขณะล้างฟ้องอยู่แล้วว่ามีมอดข้าว ด้วง
4.การที่เมล็ดข้าวมีความชื้น ส่งเสริมการเติบโตของมอด แมลงต่างๆ* หลักฐานประจักษ์ขณะซาวข้าว (15ครั้ง ตามข่าว ซึ่งข้าวปกติเราล้างไม่ถึง 3 ครั้ง)
5. การมีมอดแมลง มูลของแมลงเหล่านี้นำมาซึ่งการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรีย* ทำให้เน่าได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว
6.จากสภาพข้าวที่หุงออกมา จะมีข้าวจำนวนไม่น้อย ที่มีสีน้ำตาลตรงปลายเมล็ด นั่นคือเม็ดข้าวที่ขึ้นรา อย่างน้อยต้องตรวจพบสารพิษอะฟลา 1 ตัว ตรวจง่ายๆโดยใช้เทคนิค บี จี วาย ฟลูโอเรสเซนท์ (Bright Greenish-Yellow Fluorescent)** ซึ่งสารนี้ทนอุณหภูมิได้ถึง 250°C *** และยังจะมีสารพิษอื่นๆตามมาอีกหลายตัว อุณหภูมิข้าวที่เราหุงน้ำเดือด 100°C ไม่สามารถทำลายพิษจากเชื้อราได้ อาจได้แค่แบคทีเรียจากมูลของแมลง
เห็นเจตนาดีของท่านที่จะหาเงินกลับคืน ขอแนะนำว่า
๑.อย่าขายให้คนหรือสัตว์นำไปบริโภค ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะเราจะมีคนป่วยด้วยมะเร็งมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคโดยตรง
๒.กรณีนำไปเลี้ยงสัตว์ เราจะได้ผลิตภัณฑ์ เนื้อ นม ไข่ ที่มีสารพิษจากเชื้อราตกค้างในอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น
๓.การนำไปขายให้อัฟริกา ชื่อเสียงข้าวเน่าเสียของไทยจะกระจายไปทั่วโลก คู่แข่งเราจะได้เปรียบ กว่าเราจะกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาคงหลายปี เสียตลาดข้าวให้คู่แข่ง โดยเขาไม่ต้องออกแรงเลย และที่สำคัญบาปตกอยู่กับผู้คิด ผู้ขาย แน่นอน
๔.ขอแนะนำให้นำข้าวเหล่านี้ ไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ หรือน้ำส้มสายชู จะดีกว่า สอบถามนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การอาหารต่อไปค่ะ
หมายเหตุ:การตรวจสอบสารพิษเหล่านี้ มีตามมหาวิทยาลัยที่มีห้องแลปตรวจอาหารทั่วไปหรือกรมปศุสัตว์หรือบริษัทรับตรวจสารพิษในอาหาร