https://www.facebook.com/trinsrinin2016/posts/2496544920459357
ต้นตระกูล บุนนาค ที่มีความสำคัญกับสยาม
บุนนาค เป็นตระกูลเก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่มีความสำคัญเเละค้ำจุนราชสำนักสยามจากรุ่นสู่รุ่น ที่ให้สยามเป็นสยามจวนถึงทุกวันนี้ตระกูลคนธรรมสามัญที่ “เคย” ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศคือตระกูลบุนนาค ที่ว่า “เคย” นั้นเพราะพอถึงรัชกาลที่ 5 ความยิ่งใหญ่ก็ลดลง ยิ่งพอหลังการเปลี่ยนเเปลงแล้ว บทบาทของคนในตระกลูนี้ก็น้อยลงจนเป็นตระกูลอื่น ๆ ทั่วไป
ความยิ่งใหญ่ของผู้คนในตระกูลนี้คือในบางยุคสมัย สมาชิกในตระกูลนี้เป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดทางการทหาร บางสมัยเป็นผู้กุมอำนาจทางการเงินการคลังของสยามบางสมัยเป็นผู้กุมอำนาจทางการเมืองเหมือนรัฐมนตรี บางสมัยมีบทบาทสำคัญในการ “ตั้งพระเจ้าเเผ่นดิน” บางสมัยถึงขนาดเป็นผู้ใช้อำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดินด้วยซ้ำ บางสมัยมีสิทธิเด็ดขาดประหารชีวิตคนได้ทั่วราชอาณาจักร ตำแหน่งเสนาบดีที่ว่ายิ่งใหญ่นักหนาในอดีต คนในตระกูลบุนนาคหรือเครือญาติของตระกูลนี้ก็ครองเสียไม่น้อย พ.ศ 2475 ยังเป็นรัฐมนตรีอีกหลายคน ใหญ่อีกหลายคนต้นตระกูลนี้เป็นแขกเปอร์เซียชื่อซีค อะหมัดหรือเฉกอะหมัดลงเรือสำเภาจากเมืองกุม อิหร่านเข้ามาเป็นพ่อค้าในกรุงศรีอยุธยาตั้งเเต่สมัยพระเอกาทศรถ น้องสมเด็จพระนเศวร ต่อมามั้งคั่งร่ำรวยขึ้นเเละคุ้นเคยกับเจ้านายขุนนางมากหน้าหลายตาจนได้เป็นผู้นำมุสลิม
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ช่วยทางราชการปราบขบถถือว่ามีความดีความชอบจึงได้เป็นเจ้าพระยาบวรราชาชนายกเทียบเท่าเสนาบดีว่าเฉกอะหมัดผู้นี้เป็นปฐมบรรพบุรุษของสกุลบุนนาคก็ได้ เมื่อเสียชีวิตศพได้ฝังไว้ที่อยุธยา ณ ป่าช้าแขกตามธรรมเนียมมุสลิม ผู้สืบสกุลบุนนาคยังได้ไปชุมนุมระลึกถึงทุกปี
ลูกหลานของท่านเฉกอะหมัดนับถือศาสนาอิสลามมาจนถึง พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ถือเป็นตระกูลเฉกอะหมัดชั้นที่ ๔ ท่านเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และท่านให้ลูกชายท่าน ๒ คน คือ เสน กับ หนู เปลี่ยนมาเป็นพุทธ ส่วนคนโตคือ เชน ให้นับถืออิสลามต่อไปซึ่ง “เชน” บุตรพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ ๔ แห่งอยุธยา และบุตรของท่านชื่อ “ก้อนแก้ว” ต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑
ผู้สืบเชื้อสายท่านเฉกอะหมัดในชั้นที่ ๖ นั้นมีท่านหนึ่งที่ถือเป็นต้นสกุลบุนนาค คือ “นายบุนนาค” เป็นบุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) เมื่อตอนเด็ก ๆ นั้นนายบุนนาคเคยเป็นเพื่อนสนิทกับ นายสินบุตรจีนแต้ไหฮอง (ซึ่งต่อมาได้ขึ้นขึ้นครองราชเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี)
ผู้สืบเชื้อสายท่านเฉกอะหมัดในชั้นที่ ๖ นั้นมีท่านหนึ่งที่ถือเป็นต้นสกุลบุนนาค คือ “นายบุนนาค” เป็นบุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) เมื่อตอนเด็ก ๆ นั้นนายบุนนาคเคยเป็นเพื่อนสนิทกับ นายสินบุตรจีนแต้ไหฮอง (ซึ่งต่อมาได้ขึ้นขึ้นครองราชเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี)
ส่วนเพื่อนอีกคนคือนายทองด้วง บุตรหลวงพินิจอักษร (ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งผู้ที่เคยทำความดีความชอบให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ นายบุนนาค หลานพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม และ นายก้อนแก้ว หลานพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑
บุตรชายสองคนของเจ้าพระยา (บุนนาค) และเจ้าหญิงนวลได้เป็นใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 คนโตชื่อ ดิศ ต่อมาได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ คนทั้งปวงเรียกว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ อีกคนชื่อชื่อ ทัต ต่อมาได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ คนเรียกว่า พระยาองค์น้อยทั้งสองท่านมิใช่เจ้าเเต่เป็นอำมาตย์ที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น กุมอำนาจทางการทหาร การปกครอง การค้า การคลัง เเละการต่างประเทศ ฝรั่งจะเข้ามาเจรจาความเมืองต้องเจรจากับท่านก่อน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2331 เดิมชื่อ ดิศ เป็นบุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล) รับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รับพระราชทานตำแหน่งเป็นนายสุดจินดา หุ้มแพรมหาดเล็ก ได้รับการเลื่อนตำแหน่งตามลำดับ จนถึงรัชกาลที่ 4 จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่” สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เป็นสมเด็จเจ้าพระยาองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ มีหน้าที่สำเร็จราชการแผ่นดิน ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ใช้ตราสุริยมณฑลเทพบุตรชักรถ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งตระกูลบุนนาค ท่านเป็นผู้สร้างวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ได้ถึงแก่พิราลัยในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2398 ขณะอายุ 67 ปี ด้วยสาเหตุเป็นแผลที่หลังเท้าซ้ายจากการถูกเสี้ยนตำ เป็นพิษลามจนถึงแก่ชีวิต
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2334 เดิมชื่อ ทัต เป็นบุตรคนที่สิบของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล (คุณนวล น้องสาวของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระอัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) และเป็นน้องชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เริ่มรับราชการในรัชกาลที่ 1 ตำแหน่งนายสนิทหุ้มแพรมหาดเล็ก ต่อมารัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นจมื่นเด็กชา หัวหมื่นมหาดเล็กวังหน้า รับราชการในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และย้ายกลับมารับราชการตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์สวรรคตในปี พ.ศ. 2360 และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ ในเวลาต่อมา
ในรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ตำแหน่งจางวางพระคลังสินค้า ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดให้เรียกพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาว่า เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ และโปรดเกล้าให้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ให้สำเร็จราชการทุกสิ่งในพระนคร รวมทั้งว่าที่พระคลังสินค้า คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า “สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย” (เรียกสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ พี่ชายของท่านว่าว่า “สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่”)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เป็นแม่กองสร้างวัดสุทัศน์เทพวราราม สร้างพระปรางค์ภูเขาทอง วัดสระเกศ สร้างวัดปทุมวนาราม สร้างพระอภิเนาว์นิเวศน์และพระที่นั่งไชยชุมพล ซ่อมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ในพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถในการเดินเรือ เป็นผู้ต่อเรือบาร์จ (เรือท้องแบน) ขนาด 300 ตัน และเรือสกูนเนอร์ ขนาด 200 ตัน ใช้เดินทางติดต่อค้าขายถึงศรีลังกา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2400 อายุ 66 ปี ขณะเป็นแม่กองสร้างสวนนันทอุทยานเป็นผลงานชิ้นสุดท้าย
วัดพิชัยญาติการาม หรือ วัดพิชัยญาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยาเขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษาได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ พ.ศ. 2372 – 2375 ในรัชกาลที่ 3 เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยขณะนั้นเป็นจางวางพระคลังสินค้า มีเรือสำเภาค้าขายกับจีน จึงได้นำอับเฉาเรือ กระเบื้องสี และหินมาจากจีน สถาปัตยกรรมวัดนี้มีลักษณะแบบไทยผสมจีน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยนั้น เมื่อบูรณะวัดเสร็จแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า “วัดพระยาญาติการาม” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดพิชยญาติการาม” หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “วัดพิชัยญาติ”
ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยาเขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษาได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ พ.ศ. 2372 – 2375 ในรัชกาลที่ 3 เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยขณะนั้นเป็นจางวางพระคลังสินค้า มีเรือสำเภาค้าขายกับจีน จึงได้นำอับเฉาเรือ กระเบื้องสี และหินมาจากจีน สถาปัตยกรรมวัดนี้มีลักษณะแบบไทยผสมจีน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยนั้น เมื่อบูรณะวัดเสร็จแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า “วัดพระยาญาติการาม” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดพิชยญาติการาม” หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “วัดพิชัยญาติ”
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มีนามเดิมว่า “ช่วง” เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์ เกิดปีมะโรง วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ ตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2351 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 9 คน แต่มีชีวิตจนเติบใหญ่มาพร้อมกับท่านเพียง 4 คน ได้แก่ เจ้าคุณหญิงแข (เจ้าคุณตำหนักใหม่), เจ้าคุณหญิงปุก (เจ้าคุณกลาง), เจ้าคุณหรุ่น (เจ้าคุณน้อย) และพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)การศึกษาในวัยเยาว์ของท่านนั้น คงเล่าเรียนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เนื่องจากการเล่าเรียนของผู้ดีสมัยก่อนนั้นมักจะเรียนกันที่วัด เมื่อเติบใหญ่จึงเล่าเรียนวิชาที่บ้านจากบุคคลในตระกูลของท่านเอง โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ บิดาของท่านนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระยาพระคลังเสนาบดีว่าการต่างประเทศและได้ว่าการปกครองหัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันออก ดังนั้น ท่านจึงได้ศึกษาราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศและการปกครองมาจากบิดาของท่านเอง
ท่านสมรสกับท่านผู้หญิงกลิ่น มีบุตรธิดา 4 คน เป็นบุตรชาย 1 คน ได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นบิดาของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์และเจ้าจอมมารดาโหมด เจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนธิดาอีก 3 คน ได้แก่ คุณหญิงกลาง ภรรยาพระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม บุณยรัตพันธุ์) คุณหญิงเล็ก และคุณหญิงปิ๋ว นอกจากนี้ ท่านยังสมรสกับ ท่านผู้หญิงพรรณและท่านผู้หญิงหยาด (บุตรีพระยาวิชยาธิบดี เจ้าเมืองจันทบุรี ต่อมาเป็นพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) ต้นสกุลบุรานนท์) และ ท่านปราง บุตรี พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน
การรับราชการ
บิดาได้นำท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชื่อว่า มหาดเล็กช่วง โดยช่วยบิดาทำงานด้านการคลังและกรมท่า รวมทั้งติดต่อกับต่างประเทศด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กช่วงได้เลื่อนเป็น นายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร ซึ่งท่านเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่วัยเยาว์ และได้เลื่อนเป็น หลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก เรียกกันทั่วไปว่า หลวงนายสิทธิ์ ตามลำดับ หลวงนายสิทธิ์ได้ชื่อว่าเป็นพวก “หัวใหม่” ในสมัยนั้น เป็นผู้สนใจศึกษาวิชาการของชาวตะวันตก เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่โลกตะวันออกและประชิดเขตแดนสยามมากขึ้น หากไม่ปรับตัวให้รู้เท่าทันฝรั่ง สยามอาจถูกยึดครองเป็นอาณานิคมได้ในช่วงเดียวกันนี้ก็มีผู้เล็งเห็นการณ์ไกลในแนวเดียวกัน ได้แก่ วชิรญาณภิกขุ (พระนามขณะนั้น) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระยศขณะนั้น) กรมหลวงวงศาธิราชสนิท และท่าน ซึ่งท่านสนใจที่จะศึกษาในวิชาการต่อเรือกำปั่นเป็นพิเศษและได้ศึกษาภาษาอังกฤษพอประมาณ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ หลวงนายสิทธิ์ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และในปี พ.ศ. 2384 จึงมีการเพิ่มสร้อยนามของท่านเป็น จมื่นไวยวรนาถภักดีศรีสุริยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2393 ในปลายรัชกาลที่ 3 นั้น ท่านได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก
บิดาได้นำท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชื่อว่า มหาดเล็กช่วง โดยช่วยบิดาทำงานด้านการคลังและกรมท่า รวมทั้งติดต่อกับต่างประเทศด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กช่วงได้เลื่อนเป็น นายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร ซึ่งท่านเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่วัยเยาว์ และได้เลื่อนเป็น หลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก เรียกกันทั่วไปว่า หลวงนายสิทธิ์ ตามลำดับ หลวงนายสิทธิ์ได้ชื่อว่าเป็นพวก “หัวใหม่” ในสมัยนั้น เป็นผู้สนใจศึกษาวิชาการของชาวตะวันตก เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่โลกตะวันออกและประชิดเขตแดนสยามมากขึ้น หากไม่ปรับตัวให้รู้เท่าทันฝรั่ง สยามอาจถูกยึดครองเป็นอาณานิคมได้ในช่วงเดียวกันนี้ก็มีผู้เล็งเห็นการณ์ไกลในแนวเดียวกัน ได้แก่ วชิรญาณภิกขุ (พระนามขณะนั้น) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระยศขณะนั้น) กรมหลวงวงศาธิราชสนิท และท่าน ซึ่งท่านสนใจที่จะศึกษาในวิชาการต่อเรือกำปั่นเป็นพิเศษและได้ศึกษาภาษาอังกฤษพอประมาณ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ หลวงนายสิทธิ์ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และในปี พ.ศ. 2384 จึงมีการเพิ่มสร้อยนามของท่านเป็น จมื่นไวยวรนาถภักดีศรีสุริยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2393 ในปลายรัชกาลที่ 3 นั้น ท่านได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก
ในจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ ได้บันทึกไว้ว่า หลวงสิทธิ์นายเวรสนใจในการศึกษาวิชาต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่ง เป็นนายช่างไทยคนแรกผู้สามารถต่อเรือแบบฝรั่งได้ ท่านได้ต่อเรือกำปั่นรบ เรียกว่าเรือกำปั่นบริค ลำแรกเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โปรดพระราชทานชื่อว่า “เรือแกล้วกลางสมุทร” (แต่ฝรั่งเรียกว่าเรืออาเรียล) และได้ต่อเรือรบอีกหลายลำมีน้ำหนักถึง ๓๐๐ – ๔๐๐ ตัน สำหรับลำเลียง ทหารไปรบกับญวน ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๗๘ได้ต่อเรือขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อว่า “ระบิลบัวแก้ว” (ภาษาอังกฤษว่า คองเคอเรอ) ซึ่งใหญ่กว่าเรือลำแรก ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอู่ต่อเรือขึ้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ หลายอู่ เรือกำปั่นลำแรกที่ต่อเสร็จในอู่กรุงเทพฯ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า เรือแคลิโดเนีย เป็นเรือที่ต่อค้างจากจันทบุรี หลวงนายสิทธิได้นำมาต่อเพิ่มเติมจนแล้วเสร็จในอู่กรุงเทพฯ เมื่อต่อเรือลำนี้เสร็จ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้หลวงนายสิทธิเป็นช่างต่อเรือหลวงและเป็นผู้บัญชาการอู่หลวงปี พ.ศ. ๒๓๗๙ หลวงนายสิทธิได้ต่อเรือกำปั่นเสร็จอีก ๔ ลำ ได้แก่ เรือรบวิทยาคม เรือรบวัฒนานาม (แอโร) เรือจินดาดวงแก้ว (ประเภทเรือบาร์ก ชื่อว่า ซักเซส) เรือลำที่สี่ชื่อ เทพโกสินทร์ (ประเภทเรือขิป ซึ่งเป็นเรือของแม่ทัพหน้าคราวยกไปตีเมืองบันทายมาศ) เนื่องจากมีเรือกำปั่นใบแบบฝรั่งหลายลำ จึงจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศ มาช่วยฝึกสอนวิชาเดินเรือให้แก่คนไทย ใน พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวอังกฤษชื่อ กัปตันทริกซ์ มาสอนวิชาเดินเรือทั้งเรือรบและเรือเดินสินค้า ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ หลวงนายสิทธิได้สร้างเรือกำปั่นแบบฝรั่งขึ้นอีกหลายลำ ได้แก่ เรือราชฤทธิ (พ.ศ. ๒๓๘๔) เรือสยามภพ (พ.ศ. ๒๓๘๕) เรือโผนเผ่นทะเล (พ.ศ. ๒๓๙๒) และเรือจรจบชล (พ.ศ. ๒๓๙๓)
หลวงสิทธินายเวร (ช่วง บุนนาค) รับราชการมี ความดีความชอบมากจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นโดยลำดับ ได้เลื่อนเป็นจมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก พ.ศ. ๒๓๘๔ เพิ่มสร้อยนามของท่านเป็นจมื่นไวยวรนาถภักดีศรีสุริยวงศ์
ในปีนี้ได้เกิดสงครามกับญวน รัชกาลที่ ๓ ได้ให้จัดกองทัพเรือกำปั่นที่ต่อใหม่ โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่ทัพหลวง และจมื่นไวยวรนาถฯ เป็นทัพหน้ายก ไปตีเมืองบันทายมาศ
พ.ศ. ๒๓๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นมหาดเล็ก “คู่บุญ” ในรัชกาลที่ ๓ เพราะท่านเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด เมื่อตอนประชวรหนักทรงรับสั่งฝากแผ่นดินไว้ว่า ” การภายหน้าเห็นแต่เองที่จะรับราชการเป็นอธิบดี ผู้ใหญ่ต่อไป การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้…” ซึ่ง “ท่านพระยาศรีสุริยวงศ์รับพระราช โองการแล้วก็ร้องไห้ ถอยออกมาจากที่เฝ้า “
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การเจรจากับประเทศมหาอำนาจ ความสามารถในการรักษาเอกราชไว้ได้ และการวางรากฐานของการพัฒนาให้ทันสมัย เริ่มจากส่วนของพระราชสำนัก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาเป็นต้น ข้าราชสำนักเริ่มสนใจเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้หนึ่งที่สนใจในภาษาอังกฤษ ท่านได้ศึกษาตำราที่มีอยู่แพร่หลาย ในสมัยนั้นจนสามารถเจรจาทำสัญญาทางไมตรีกับฝรั่งชาติต่างๆ ได้ นอกจากนั้นท่านยังสนใจศึกษาพงศาวดารจีน เมื่อท่านเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ได้ให้ประชุมนักปราชญ์ทางภาษา แปลวรรณคดีจีนออกเป็นภาษาไทยถึง ๑๙ เรื่อง เช่น เรื่องน่ำซ้อง ซ้องกั๋ง ไต้อั้งเผ่า เป็นต้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (ทัต) ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาตินั้น ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระยาศรีสุริยวงศ์เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหพระกลาโหม และทรงเลื่อนจมื่นราชามาตย์ (ขำ บุนนาค) น้องชายของท่านขึ้นเป็นเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ผู้ช่วยราชการในกรมท่า ทรงพระราชทานตราสุริยมณฑลแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และตราจันทรมณฑลแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นตราประจำสำหรับสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสององค์ แต่สมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ยังคงถือตราคชสีห์สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม กับตราบัวแก้ว สำหรับตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังอยู่ตามเดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตราศรพระขรรค์อีกดวงหนึ่งพระราชทานแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ต่อมาเมื่อท่านได้เป็นสมุหพระกลาโหมเต็มตำแหน่งแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านใช้ตราศรพระขรรค์เป็นคู่กับตราคชสีห์เหมือนกับตราจักรเป็นคู่กับตราพระราชสีห์สำหรับตำแหน่งสมุหนายก
เรียบเรียง :: Maybe
ขอบคุณข้อมูล :: ชมรมสายสกุลบุนนาค
ขอบคุณข้อมูล :: ชมรมสายสกุลบุนนาค
“บุนนาค” ตระกูลสำคัญที่ค้ำจุนราชสำนักสยาม