ตัวเลขที่อันตรายยิ่งกว่าเงินคงคลังเหลือน้อย คือดุลการชำระเงินติดลบ ซึ่งสะท้อนว่าเงินไหลออกแรงมาก วิษณุ โชลิตกุล เคยเขียนลงข่าวหุ้นไว้แล้ว ตอนนั้น ยังเห็นตัวเลขแค่ 3 เดือน บัดนี้ออกมาถึงเดือนธันวาคม 2559 แล้วครับ ลบมากกว่าเดิมอีก
ดูได้เลยนะครับ เดือนกันยายน -38,472.6 ล้านบาท
เดือนตุลาคม -19,053.15 ล้านบาท
เดือนพฤศจิกายน -55,691.84 ล้านบาท
เดือนธันวาคม โกโซบิ๊ก -125,439.09 ล้านบาท
http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=643&language=TH
"การพิจารณาฐานะการคลังของประเทศ และเศรษฐกิจ จะต้องพิจารณา 3 ตัวแปรคือ 1)ดุลงบประมาณ 2)ดุลการค้า 3)ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งทั้งหมดจะไปรวมรวบยอดในดุลชำระเงิน"
http://www.kaohoon.com/online/content/view/56357/ดุลชำระเงินติดลบพลวัต2017
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1314805521910169&set=a.1032187020172022.1073741827.100001422025545&type=3&theater
ที่มา FB
Atukkit Sawangsuk
ooo
ตื่นรึยัง? อันตรายรอหน้าประตูบ้านแล้ว!
ตัวเลขดุลชำระเงินของประเทศไทย สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2559 ออกมาแล้ว โดยธนาคารแห่งประเทศไทย สะท้อนว่าทุนไหลออกแรงมาก ต่อเนื่อง 4 เดือนรวด
แม้ดุลการค้า และ ดุลบัญชีเดินสะพัดยังบวก แต่ไม่ใช่ตัวเลขที่ดีเลย
Vishnu Cholitkul
...
ดุลชำระเงินติดลบ
พลวัต 2017
2017-01-31
โดย วิษณุ โชลิตกุล
ที่มา ข่าวหุ้น
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมานั่งในตำแหน่งแห่งอำนาจนี้ ด้วยท่าทีแข็งขันประหนึ่งรู้สารพัดเรื่อง จนกระทั่งมาถึงวันนี้ เพิ่งจะยอมรับไม่ถนัดในเรื่องเศรษฐกิจ พร้อมกับเปรยว่า อย่าเพิ่งหาทางขับไล่รัฐบาล
ถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาด แต่ทำไมเพิ่งจะมายอมรับในยามที่ประเทศกำลังมีปัญหารุมเร้ารอบด้าน ทั้งที่ในตอนที่ปัญหายังไม่เยอะ ใครวิจารณ์รัฐบาล มักจะมีอันต้องเดือดร้อน เพราะมีทหารมาเยี่ยมบ้านบ่อยครั้ง จนไม่มีเสียงวิจารณ์ให้รกหู
ในยามนี้ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ตาจนทุกขณะ ปัญหาใหม่ที่แทรกเข้ามาและรัฐบาลรวมทั้งแบงก์ชาติไม่ยอมกล่าวถึงคือตัวเลขของการขาดดุลชำระเงินที่ติดลบต่อเนื่อง 3 เดือนรวดตั้งแต่เดือนกันยายน 2559-พฤศจิกายน 2559
ที่น่าสนใจตรงที่ว่า ปัญญาชนและนักคิดจำนวนมากที่ทั้งสนับสนุนหรือเป็นกลาง หรือคัดค้านรัฐบาลนี้ ก็พากันเอ่ยถึงเรื่องนี้น้อยเหลือเกิน จนน่าประหลาดใจ แต่ไปมุ่งที่ประเด็นของการขาดดุลงบประมาณ ไม่ใช่สา ระสำคัญหลัก แม้จะเป็นประเด็นที่สำคัญเช่นกัน
เรื่องมันเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ เมื่อการประชุมที่สำนักงบประมาณของ 4 หน่วยงานเพื่อพิจารณาวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะ ที่ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 2.9 ล้านล้านบาท งบรายได้ 2.45 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุล 4.5 แสนล้านบาทคิดเป็น 2.9% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากปีงบฯ 2560 ที่ขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.6% ของจีดีพี แถมยังระบุว่า งบประมาณของไทยยังจำเป็นต้องขาดดุล เนื่องจากต้องการให้งบประมาณรัฐไปสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2561 จีดีพีอยู่ในระดับ 3.8% เงินเฟ้อ 2%
เหตุผลคือ แม้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น แต่ยังวางใจไม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง โดยงบประมาณที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นจะนำไปเพิ่มในงบลงทุน ให้มีสัดส่วน 23% ของงบประมาณรายจ่าย (6.67 แสนล้านบาท) จากปีงบประมาณ 2560 มีสัดส่วน 21-22% ของงบประมาณรายจ่าย โดยงบประมาณที่ขาดดุลเพิ่มนั้นส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีอยู่ที่ 45% ยังต่ำ และอยู่ในระดับมาตรการฐาน ไม่ทำให้ประเทศอยู่ในฐานที่เสี่ยง
ตัวเลขการขาดดุลดังกล่าว หากคิดให้ถูกต้องถือว่าขาดดุลงบประมาณลดลง ในปีงบประมาณ 2560 ตั้งเป้างบรายจ่ายไว้ 2.733 ล้านล้านบาท ขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท แต่มีการเพิ่มงบกลางปีอีกทำให้ขาดดุลทั้งปีอยู่ที่ 5.52 แสนล้านบาท
คำถามคือ งบประมาณที่ขาดดุลมากมายนี้ จะทำให้มีปัญหาการคลังภาครัฐมากแค่ไหน
คำตอบคือ จะไม่เลวร้ายเพราะการพิจารณาฐานะการคลังของประเทศ และเศรษฐกิจ จะต้องพิจารณา 3 ตัวแปรคือ 1)ดุลงบประมาณ 2)ดุลการค้า 3)ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งทั้งหมดจะไปรวมรวบยอดในดุลชำระเงิน
ในทางทฤษฎี หากมีเกินดุลทั้ง 3 เศรษฐกิจจะดีมากจนต้องเร่งเรื่องเงินเฟ้อ
ในกรณีเกินดุล 2 ขาดดุล 1 ถือเป็นปกติ เพราะเป็นเรื่องชั่วคราว โดยเฉพาะขาดดุลงบประมาณ ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในยามเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศลดการลงทุน
ในกรณี เกินดุล 1 ขาดดุล 2 ยังไม่มีปัญหา หากว่าดุลชำระเงินเป็นบวก
บางกรณี ประเทศเช่นสหรัฐฯ ในบางช่วง มีปัญหา 3 ขาดดุล แต่ดุลชำระเงินเป็นบวก ก็ยังถือว่าไม่ได้เลวร้ายจนเสียหาย เพียงแต่ต้องแก้กันหนัก
กรณีของไทย มีดุลการค้าเป็นบวกยาวนาน ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก แต่ขาดดุลงบประมาณมานานต่อเนื่องหลายปีจนเรื้อรัง แก้ไม่ตก
ตัวเลขล่าสุดของไทยสิ้นเดือนพฤศจิกายนจากแบงก์ชาติ มีความน่าสนใจมาก และผิดปกติมาก คือ แม้ดุลงบประมาณติดลบ แต่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ยังเป็นบวก แต่ที่ผิดปกติที่สุดคือ นับแต่เดือนกันยายน 2559 เป็นต้นมา ดุลชำระเงินของไทยกลับติดลบ 3 เดือนรวด
ดุลชำระเงินที่ติดลบ หากดำเนินไปต่อเนื่องเรื้อรัง คือสัญญาณอันตรายที่น่าสยดสยองยิ่งกว่าดุลงบประมาณติดลบหลายเท่า
ข้อเท็จจริงนี้ คนที่ตั้งคำถามเรื่องดุลงบประมาณ แต่หลงลืมดุลชำระเงิน อาจถูกลากจูงให้หลงทางได้
เมื่อวานนี้ ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการคลังอย่างนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ออกมาพูดถึงความงามเช่นนี้ต่อไปอีก เมื่อระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือน ธ.ค.59 และไตรมาส 4/59 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดีในหลายภูมิภาค สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี
ตัวเลขจากข้าราชการที่พูดแต่เรื่องที่สวยงามเช่นนี้คนอย่างนายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสหลงผิดในกับดัก ไม่เห็นว่าตัวเลขดังกล่าวเชื่อมโยงเข้ากับดุลชำระเงินที่ติดลบได้อย่างไร จึงไม่น่าประหลาด และไม่ใช่ความปิดปกติ เกิดขึ้นได้ไม่ยากและน่าจะเกิดขึ้นไปเรื่อยยๆ ไม่ใช่ครั้งแรก และครั้งสุดท้าย
2017-01-31
โดย วิษณุ โชลิตกุล
ที่มา ข่าวหุ้น
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมานั่งในตำแหน่งแห่งอำนาจนี้ ด้วยท่าทีแข็งขันประหนึ่งรู้สารพัดเรื่อง จนกระทั่งมาถึงวันนี้ เพิ่งจะยอมรับไม่ถนัดในเรื่องเศรษฐกิจ พร้อมกับเปรยว่า อย่าเพิ่งหาทางขับไล่รัฐบาล
ถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาด แต่ทำไมเพิ่งจะมายอมรับในยามที่ประเทศกำลังมีปัญหารุมเร้ารอบด้าน ทั้งที่ในตอนที่ปัญหายังไม่เยอะ ใครวิจารณ์รัฐบาล มักจะมีอันต้องเดือดร้อน เพราะมีทหารมาเยี่ยมบ้านบ่อยครั้ง จนไม่มีเสียงวิจารณ์ให้รกหู
ในยามนี้ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ตาจนทุกขณะ ปัญหาใหม่ที่แทรกเข้ามาและรัฐบาลรวมทั้งแบงก์ชาติไม่ยอมกล่าวถึงคือตัวเลขของการขาดดุลชำระเงินที่ติดลบต่อเนื่อง 3 เดือนรวดตั้งแต่เดือนกันยายน 2559-พฤศจิกายน 2559
ที่น่าสนใจตรงที่ว่า ปัญญาชนและนักคิดจำนวนมากที่ทั้งสนับสนุนหรือเป็นกลาง หรือคัดค้านรัฐบาลนี้ ก็พากันเอ่ยถึงเรื่องนี้น้อยเหลือเกิน จนน่าประหลาดใจ แต่ไปมุ่งที่ประเด็นของการขาดดุลงบประมาณ ไม่ใช่สา ระสำคัญหลัก แม้จะเป็นประเด็นที่สำคัญเช่นกัน
เรื่องมันเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ เมื่อการประชุมที่สำนักงบประมาณของ 4 หน่วยงานเพื่อพิจารณาวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะ ที่ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 2.9 ล้านล้านบาท งบรายได้ 2.45 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุล 4.5 แสนล้านบาทคิดเป็น 2.9% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากปีงบฯ 2560 ที่ขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.6% ของจีดีพี แถมยังระบุว่า งบประมาณของไทยยังจำเป็นต้องขาดดุล เนื่องจากต้องการให้งบประมาณรัฐไปสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2561 จีดีพีอยู่ในระดับ 3.8% เงินเฟ้อ 2%
เหตุผลคือ แม้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น แต่ยังวางใจไม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง โดยงบประมาณที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นจะนำไปเพิ่มในงบลงทุน ให้มีสัดส่วน 23% ของงบประมาณรายจ่าย (6.67 แสนล้านบาท) จากปีงบประมาณ 2560 มีสัดส่วน 21-22% ของงบประมาณรายจ่าย โดยงบประมาณที่ขาดดุลเพิ่มนั้นส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีอยู่ที่ 45% ยังต่ำ และอยู่ในระดับมาตรการฐาน ไม่ทำให้ประเทศอยู่ในฐานที่เสี่ยง
ตัวเลขการขาดดุลดังกล่าว หากคิดให้ถูกต้องถือว่าขาดดุลงบประมาณลดลง ในปีงบประมาณ 2560 ตั้งเป้างบรายจ่ายไว้ 2.733 ล้านล้านบาท ขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท แต่มีการเพิ่มงบกลางปีอีกทำให้ขาดดุลทั้งปีอยู่ที่ 5.52 แสนล้านบาท
คำถามคือ งบประมาณที่ขาดดุลมากมายนี้ จะทำให้มีปัญหาการคลังภาครัฐมากแค่ไหน
คำตอบคือ จะไม่เลวร้ายเพราะการพิจารณาฐานะการคลังของประเทศ และเศรษฐกิจ จะต้องพิจารณา 3 ตัวแปรคือ 1)ดุลงบประมาณ 2)ดุลการค้า 3)ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งทั้งหมดจะไปรวมรวบยอดในดุลชำระเงิน
ในทางทฤษฎี หากมีเกินดุลทั้ง 3 เศรษฐกิจจะดีมากจนต้องเร่งเรื่องเงินเฟ้อ
ในกรณีเกินดุล 2 ขาดดุล 1 ถือเป็นปกติ เพราะเป็นเรื่องชั่วคราว โดยเฉพาะขาดดุลงบประมาณ ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในยามเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศลดการลงทุน
ในกรณี เกินดุล 1 ขาดดุล 2 ยังไม่มีปัญหา หากว่าดุลชำระเงินเป็นบวก
บางกรณี ประเทศเช่นสหรัฐฯ ในบางช่วง มีปัญหา 3 ขาดดุล แต่ดุลชำระเงินเป็นบวก ก็ยังถือว่าไม่ได้เลวร้ายจนเสียหาย เพียงแต่ต้องแก้กันหนัก
กรณีของไทย มีดุลการค้าเป็นบวกยาวนาน ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก แต่ขาดดุลงบประมาณมานานต่อเนื่องหลายปีจนเรื้อรัง แก้ไม่ตก
ตัวเลขล่าสุดของไทยสิ้นเดือนพฤศจิกายนจากแบงก์ชาติ มีความน่าสนใจมาก และผิดปกติมาก คือ แม้ดุลงบประมาณติดลบ แต่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ยังเป็นบวก แต่ที่ผิดปกติที่สุดคือ นับแต่เดือนกันยายน 2559 เป็นต้นมา ดุลชำระเงินของไทยกลับติดลบ 3 เดือนรวด
ดุลชำระเงินที่ติดลบ หากดำเนินไปต่อเนื่องเรื้อรัง คือสัญญาณอันตรายที่น่าสยดสยองยิ่งกว่าดุลงบประมาณติดลบหลายเท่า
ข้อเท็จจริงนี้ คนที่ตั้งคำถามเรื่องดุลงบประมาณ แต่หลงลืมดุลชำระเงิน อาจถูกลากจูงให้หลงทางได้
เมื่อวานนี้ ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการคลังอย่างนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ออกมาพูดถึงความงามเช่นนี้ต่อไปอีก เมื่อระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือน ธ.ค.59 และไตรมาส 4/59 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดีในหลายภูมิภาค สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี
ตัวเลขจากข้าราชการที่พูดแต่เรื่องที่สวยงามเช่นนี้คนอย่างนายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสหลงผิดในกับดัก ไม่เห็นว่าตัวเลขดังกล่าวเชื่อมโยงเข้ากับดุลชำระเงินที่ติดลบได้อย่างไร จึงไม่น่าประหลาด และไม่ใช่ความปิดปกติ เกิดขึ้นได้ไม่ยากและน่าจะเกิดขึ้นไปเรื่อยยๆ ไม่ใช่ครั้งแรก และครั้งสุดท้าย