แต่ละคนดีแต่พ่น พวกผู้nump คสช. เนี่ย ทั่นรองฯ ฝ่ายกะลาโหม บ้วนออกมาเมื่อวานเรื่อง ‘อาเด็ม’ ผู้ต้องหาวางระเบิดศาลพระพรหม ราชประสงค์ โวยถูกซ้อม ‘เหมือนสัตว์’
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ปฏิเสธว่า “ไม่มี้ ไม่มีหรอกครับ” ครั้นนักข่าวย้ำว่า “แต่เขามีการถกเสื้อขึ้นมาให้ดูรอย” ทั่นก็ยังแย้งอยู่ว่า “ไม่มี มันทำเองมั้งงั้น”
อ่าว อารมณ์ขันเกินไปหน่อยมั้ย จะ sarcastic เซี้ยวเฮี้ยวพอได้อยู่ แต่ต้องให้ถูกกาละเทศะนะทั่น เรื่องแรงๆละเมิดสิทธิผู้ต้องหาต่างด้าวที่ต่างชาติจับตาอย่างนี้ พูดหยิกหยอก สับโขกเหมือนทำกับผู้ต้องหาไทยเสื้อแดงได้งัย
ทั่นบอก “ดูอยู่” เสร็จแล้วมาพูดไม่มีหูรูดเป็นไม้ปักขี้เลน เขาไม่เชื่อแล้วยังเห็นเป็นขี้ปดอีกล่ะ
ข่าวรอยเตอร์รายงานว่า “นายอาราแด็คผู้ต้องหาที่ถูกโกนหัว ใส่ตรวน เท้าเปล่า บอกกับผู้สื่อข่าว ‘ผมไม่ใช่สัตว์’ นะ”
ในศาลเขาถกเสื้อชี้ให้ดูรอยฟกช้ำจากการที่ถูกซ้อมสองครั้งระหว่างจองจำช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา อีกทั้ง ชูชาติ กันภัย ทนายของอาเด็มเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าลูกความเขาถูกทรมานเพื่อให้รับสารภาพ
(http://www.reuters.com/arti…/us-thailand-blast-idUSKCN0Y80FR)
คดีคนไทยชนิดที่ไม่ต้องตามกระบวนยุติธรรมสากล มีให้เห็นไม่เว้นแต่ละวันภายใต้การ ‘ครองเมือง’ ของ คสช. ล่าสุดเมื่อวานเหมือนกัน
‘ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน’ แจ้งข่าว “๑๗ พ.ค. ๒๕๕๙ ศาลทหารจำหน่ายคดีโพสต์ข่าวลือหมิ่นประมาทประยุทธ์ โอนเงินหมื่นล้าน หลังศาลอาญามีความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาล ในคดีนางรินดา พรศิริพิทักษ์
ไม่เข้าองค์ประกอบตาม ม.๑๑๖ เป็นเพียงคดีหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.๓๒๘ เท่านั้นคดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม”
(https://tlhr2014.wordpress.com/2016/05/17/rinda_116/)
การนี้ Yaowalak Anuphan ทนายคนหนึ่งของศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชน บ่นว่า “ในฐานะนักกฎหมาย เราถือว่าพนักงานสอบสวน อัยการทหาร ศาลทหารที่รับคำร้องฝากขัง และไม่ให้ประกันต้องพิจารณาตัวเองว่า ท่านเป็นนักกฎหมายที่เคารพนับถือในวิชาชีพของตนเองหรือไม่
ถ้าท่านเป็นนักกฎหมายที่เคารพหลักวิชาของท่าน คดีนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย
จำเลยซึ่งเป็นหญิงถูกทหารเข้าบุกจับ ถูกขังในค่ายทหารด้วยอำนาจพิเศษตามคำสั่งที่ ๓/๕๘ ถูกดำเนินคดีขังในเรือนจำ ตรวจภายใน กว่าจะได้รับการประกันตัว
เราเป็นนักกฎหมาย หากไม่เคารพนับถือในตัวเองแล้ว การใช้กฎหมายเพื่อเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนนั้นมันน่าละอายนัก (พูดให้สุภาพที่สุดแล้ว)”
เพราะอย่างนี้นี่ละ กระบวนการดำเนินคดีอาญาของไทยไม่เพียงน่ากลัวสำหรับนานาชาติอารยะแล้ว ข้อกังขาที่บรรดาชาติตะวันตกซักถามกันหนักตอนทบทวนเรื่องสิทธิมนุษยชนในไทยที่เจนีวาเมื่อไม่กี่วันมานี้ ก็ยิ่งเป็นที่หวาดหวั่นเข้าไปใหญ่
ตัวแทนรัฐสภาอียูจึงต้องเดินทางมาสอบถามอดีตนายกฯ หญิง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กันทั้งคณะถึงกรุงเทพฯ
คงจำกันได้ไม่กี่เดือนมานี้รัฐสภายุโรปเคยเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปซักถามเรื่องราวต่างๆ นานาที่เกิดกับรัฐบาลของเธอ ซึ่งต้องให้เจ้าทุกข์ตอบ จะให้คนที่ข่มเหงไปพูดแทนได้ที่ไหน คสช. ก็เลยไม่อนุญาตให้เธอไป คงหวังได้ปิดปากเธอทางอ้อม
แต่รัฐสภาอียูเขาไม่ยอมลดละ ยกขบวนมาคุยกับยิ่งลักษณ์พร้อมคณะ (อดีต) รัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยของเธอ ยังกับ ‘G to G’ และแน่นอน เรื่องที่คุยรวมถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยด้วย
“คนพรรคเพือไทย ต่างยิ้มเหมือนสะใจ เหมือนรัฐบาลตัวจริงกลับมาประชุม ครม.ทุกวันอังคาร ใครเป็นใคร ขอเชิญตรวจเช็คกันเอง” Sa-nguan Khumrungroj นักข่าวอิสระคอมเม้นต์ไว้
ใครเป็นใครนอกจากตัวอดีตนายกฯ หญิง ก็มี “นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรค นายโภคิณ พลกุล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ” และในรูปเห็น จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกฯ พงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ยุติธรรม และ กิติรัตน์ ณ ระนอง อดีตว่าการคลัง อยู่ด้วย
(http://www.matichon.co.th/news/138923)
อย่างไรก็ดี การเยือนของคณะผู้แทนอียู “นำโดย นายเวอร์เนอร์ แลงเก้น ประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภายุโรปด้านความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน พร้อมด้วยนายมาร์ค ทาราเบลล่า รองประธาน และนายเพียร์ อันโตนิโอ แปนซีรี คณะอนุกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน” นี้ ไม่ได้จงใจมาพบยิ่งลักษณ์อย่างเดียวนะ
“ได้เดินทางไปพบ สนช. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กรธ. ฯลฯ ด้วย”
ไหนๆ ก็ได้เอื้อนเอ่ยถึงพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ขอสาวความยืดอีกนิด ในฐานที่ใช้ ‘สิทธิพาดพิง’ ไปถึงเขาน่ะ ผู้อ่านท่านใดเห็นว่ามากความเกินไป ขอให้ตัดตอนตั้งแต่ตรงนี้ได้ ไม่ว่ากัน
ในการพบกับ ปชป. ก็หวังว่าตัวแทนอียูจะไม่ถามทั่นหัวหน้าถึงเรื่อง ‘พฤษภาทมิฬ’ (ที่เดี๋ยวนี้เรียก ‘พฤษภาประชาธรรม’ ก็ไม่รู้จะเรียกให้มันสับสน ทำปรื้อ) เพราะเป็นจังหวะครบรอบ ๒๔ ปี พอดี ซึ่ง นพ.เหวง โตจิราการ เขียนคอมเม้นต์บนเฟชบุ๊คไว้ ยาวนิด แต่ต้องใส่ใจ ว่า
“เห็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปแสดงปาฐกถาในงาน ๒๔ ปีพฤษภาทมิฬ วันที่ ๑๗ พ.ค. ๕๙ ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ก็เลยขออนุญาตทบทวนความทรงจำ ในฐานะเป็นหนึ่งในเจ็ดสมาพันธ์ประชาธิปไตยที่ร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์วันนั้น...
๑. ทันทีที่ทราบว่า สมาพันธ์ประชาธิปไตยตัดสินใจเคลื่อนพลออกจากสนามหลวงในเวลาบ่ายแก่ๆ17พค๒๕๓๕ กรรมการระดับสูงของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ก็หายสาปสูญไปจากพื้นที่สนามหลวงโดยพลัน มีข่าวลือกันว่า ข้ามฟากไปฝั่งธนบุรี ทางท่าช้างบ้าง ท่าพระจันทร์บ้าง
๒. ในระหว่างการต่อสู้กับทหารติดอาวุธของรสช.ไม่ปรากฏมีสส.ของประชาธิปัตย์แม้สักคนเดียวในสนามแห่งการเผชิญหน้า ไม่ทราบว่า ไปที่ไหนกันหมด
๓. ระยะภายหลังการต่อสู้สงบลงใหม่ ไม่พบการแสดงความเห็นทางการเมือง ไม่ว่าในเรื่องของผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย
๔. เมื่อเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง คำขวัญในการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ในยุคนั้นที่ โด่งดังมาก อย่างน้อยก็มีสามชุดดังนี้
๔.๑ “ไม่ต้องเสียน้ำตา ไม่ต้องเสียใจ เลือกพรรคประชาธิปัตย์”
๔.๒ “จำลองพาคนไปตาย”
๔.๓ มีการนำภาพสองปูชนียบุคคลของประชาธิปไตย คือ อ.ปรีดี พนมยงค์ และ อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์นั่งบนม้านั่งที่มีพนักพิงหลังเดียวกัน และมีการคัดข้อความที่ประณามการเคลื่อนไหวแบบ “อนาธิปไตย” ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจไปในทางที่การรวมตัวต่อสู้ของประชาชนในเดือนพฤษภาคม ๓๕ นั้น เป็นการเคลื่อนไหวแบบ “อนาธิปไตย”
ทำให้คะแนนเสียงของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และพรรคพลังธรรม ซึ่งคาดกันว่าจะนำโด่งแบบถล่มทลาย ปรากฏว่าใน กทม. ดับวูบลงไปอย่างน่าใจหาย
พรรคประชาธิปัตย์ประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเลือกตั้งในกทม.และภาคใต้ทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลชวนหลีกภัยขึ้นมาได้
๕. เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร เห็นว่ายังมีพิษร้ายของ รสช.เป็นมรดกตกทอดสืบต่อมา จึงเรียกร้องให้ ปฏิเสธรัฐธรรมนูญ รสช.และให้ สส.ในสภาร่างรัฐธรรมนูญกันเอง
ปรากฏว่านายกฯ ชวน หลีกภัย คัดค้านเห็นว่าทำไม่ได้ เพราะมีรัฐธรรมนูญและมีมาตราที่กำหนดในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ทำให้การอดข้าวประท้วงของฉลาดทำท่าจะขยายตัวและบานปลาย
สมาพันธ์ประชาธิปไตยจึงค้นประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย พบว่า อ.ปรีดี พนมยงค์ เคยนำพาการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับ ๒๔๘๙ ที่เป็นประชาธิปไตยมากฉบับหนึ่ง โดยตั้งคณะกรรมการรวบรวมเรียบเรียงเพื่อยกร่างเป็นรัฐธรรมนูญ (เรียกย่อว่ากรรมการเจ็ด ร.เรือ) ขึ้นมาร่างได้สำเร็จโดยที่มีรัฐธรรมนญูบังคับใช้อยู่และมีมาตราที่กำหนดในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่
นายกฯ ชวน หลีกภัย ไม่อาจคัดค้านได้อีกต่อไป แต่ขอให้สมาพันธ์ประชาธิปไตย (สปต.) ไปตกลงกับกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ในเช้าวันรุ่งขึ้น
สปต.ก็ทำตามที่นายกฯชวนแนะนำเพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์รัฐประหารและทหารใช้อาวุธสงครามสังหารประชาชนอีก
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ตอบตกลงท่ามกลางนักข่าวจำนวนมากในตอนเช้า ตกเย็น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน โทรแจ้งหมอสันต์และหมอเหวงว่า
ที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการรวบรวมเรียบเรียงเพื่อยกร่างเป็นรัฐธรรมนูญตามที่รับปากไว้ในตอนเช้าแล้ว
แต่ให้ประธานรัฐสภา มารุต บุนนาค ตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเมือง โดยมี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเมือง มาทำการศึกษาวิจัยเรื่องพัฒนาการเมืองกันต่อไป
เรื่องรวบรวมเรียบเรียงเพื่อยกร่างเป็นรัฐธรรมนูญโดย สส. ก็เป็นอันพับไป
“รับปากตอนเช้า ยกเลิกตอนเย็น แล้วไปเปลี่ยนเป็นกรรมการพัฒนาการเมืองที่มีหมอประเวศเป็นประธานแทน”
หมอประเวศและคณะทำงานระยะหนึ่งก็ได้หนังสือปกแข็งชุดใหญ่เป็นผลงาน แต่แล้วก็ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ใดๆในทางปฏิบัติ
ในระยะนั้นเกิดเรื่องอื้อฉาว “สปก. ๔-๐๑ ที่ไปออกโฉนด สปก. ๔-๐๑ ให้สามีหน้าห้องของรัฐมนตรีที่เป็นมหาเศรษฐีใหญ่ภูเก็ต และเอาภูเขาสูงริมทะเลงามมาออกเป็นโฉนด สปก. ๔-๐๑ ทำให้พรรคพลังธรรมประกาศไม่ยกมือสนับสนุนอีกต่อไป จึงเกิดการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
พรรคชาติไทยนำโดย นายบรรหาร ศิลปะอาชา ในระยะนั้น จึงได้นำเอาเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยเลือกตั้ง สสร.ขึ้นมา ซึ่งทำโดยการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๑ ขึ้นมาเป็นนโยบายหาเสียง
เป็นผลให้พรรคชาติไทยได้รับเลือกตั้งท่วมท้น จนเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลและนายบรรหาร ศิลปะอาชา ได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีแก้มาตรา ๒๑๑ สำเร็จ นำมาสู่การเลือกตั้ง สสร.และการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ได้สำเร็จในที่สุด
นี่แหละครับบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในกรณี ๑๗ พ.ค. ๓๕ จนมาถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือคนของพรรคประชาธิปัตย์ยังจะมีความชอบธรรมอะไรที่จะมากล่าวปาฐกถาเนื่องในวันรำลึกเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ ได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นปีไหนก็ตาม”
ooo
https://www.youtube.com/watch?v=cqFeG8pcjoM&feature=youtu.be
ไม่คิดสอบสวนหาความจริง?? รู้ยังว่าทำไมสหประชาชาติถึงประณามปัญหาความอยุติธรรมในไทย
bamboo network
Published on May 18, 2016
ประวิตร วงศ ์สุวรรณ 18 พฤษภา 2559