ที่มา ประชาไท
Tue, 2015-05-05 00:05
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างเสร็จแล้ว เข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)โดยมีกำหนดการที่จะพิจารณาให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยืนยันว่า จะผลักดันให้ผ่านสภานิติบัญญัติในเดือนกรกฎาคม และนำขึ้นทูลเกล้าถวายในวันที่ 4 กันยายน เพื่อให้มีการเลือกตั้งตามกำหนดการของ คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ปรากฏว่า ปัญหาที่เป็นที่ถกเถียงในขณะนี้ คือ ถ้าหากรัฐธรรมนูญนี้ผ่านการพิจารณาแล้วนำมาสู่การเลือกตั้ง ขบวนการประชาธิปไตยไทยควรจะมีท่าทีอย่างไร
มีการเสนอกันว่า ในเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง ควรที่จะผลักดันให้มีการบอยคอตไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง หรือที่สุดขั้วกว่านั้น คือ เสนอให้คัดค้านการเลือกตั้งไปเสียเลย ให้คณะทหาร คสช.ปกครองกันไปอย่างนี้ดีกว่าที่จะมีการเลือกตั้งแบบไม่เป็นธรรม ข้อเสนอที่เป็นระบบและชัดเจนที่สุด คือ กรณีของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ได้โพสเฟซบุ๊กในวันที่ 26 เมษายน โดยเสนอในทางยุทธวิธีเฉพาะหน้าสำหรับผู้ต้องการผลักดันการเมืองในทิศทางประชาธิปไตย คือ การพยายามเรียกร้อง กดดันให้พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ บอยคอต ไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่จะออกมา คือการไม่ส่งผู้สมัครเลย และเรียกร้องให้ประชาชนที่สนับสนุนพรรคทั้งหมด ไม่ไปลงคะแนนด้วย ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญของ คสช. เป็นการเลือกตั้งที่มีคนเข้าร่วมน้อย ไม่น่าจะถึงครึ่งของผู้ใช้สิทธิ์ ส่งผลให้สภาและรัฐบาลที่ได้มาขาดความชอบธรรมอย่างชัดเจน นายกรัฐมนตรีที่ได้มาใหม่ ก็อยู่ในฐานะ“ตัวตลก”ที่ปราศจากการยอมรับ และขาดความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิงบนเวทีโลก ระบอบปกครองของพวกเขาจะยิ่งลำบาก
สมศักดิ์เสนอต่อมาว่า เขาจงใจที่จะข้ามประเด็นเรื่องการผลักดันให้แก้รัฐธรรมนูญ และประเด็นเรื่องลงประชามติ เพราะเรื่องแรก ไม่คิดว่าจะมีทางเกิดขึ้นได้ เพราะ คสช.และนายบวรศักดิ์คงไม่มีทางผลักดันรัฐธรรมนูญที่ต่างออกไปจากนี้โดยพื้นฐาน ส่วนเรื่องการลงประชามติก็ไม่คิดว่าจะมี หรือถ้ามีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ก็ควรต้องตกลงที่จะลงมติคว่ำรัฐธรรมนูญ หรือกระทั่งบอยคอตไม่เข้าร่วมด้วย ในลักษณะเหตุผลแบบเดียวกัน
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างเสร็จแล้ว เข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)โดยมีกำหนดการที่จะพิจารณาให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยืนยันว่า จะผลักดันให้ผ่านสภานิติบัญญัติในเดือนกรกฎาคม และนำขึ้นทูลเกล้าถวายในวันที่ 4 กันยายน เพื่อให้มีการเลือกตั้งตามกำหนดการของ คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ปรากฏว่า ปัญหาที่เป็นที่ถกเถียงในขณะนี้ คือ ถ้าหากรัฐธรรมนูญนี้ผ่านการพิจารณาแล้วนำมาสู่การเลือกตั้ง ขบวนการประชาธิปไตยไทยควรจะมีท่าทีอย่างไร
มีการเสนอกันว่า ในเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง ควรที่จะผลักดันให้มีการบอยคอตไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง หรือที่สุดขั้วกว่านั้น คือ เสนอให้คัดค้านการเลือกตั้งไปเสียเลย ให้คณะทหาร คสช.ปกครองกันไปอย่างนี้ดีกว่าที่จะมีการเลือกตั้งแบบไม่เป็นธรรม ข้อเสนอที่เป็นระบบและชัดเจนที่สุด คือ กรณีของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ได้โพสเฟซบุ๊กในวันที่ 26 เมษายน โดยเสนอในทางยุทธวิธีเฉพาะหน้าสำหรับผู้ต้องการผลักดันการเมืองในทิศทางประชาธิปไตย คือ การพยายามเรียกร้อง กดดันให้พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ บอยคอต ไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่จะออกมา คือการไม่ส่งผู้สมัครเลย และเรียกร้องให้ประชาชนที่สนับสนุนพรรคทั้งหมด ไม่ไปลงคะแนนด้วย ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญของ คสช. เป็นการเลือกตั้งที่มีคนเข้าร่วมน้อย ไม่น่าจะถึงครึ่งของผู้ใช้สิทธิ์ ส่งผลให้สภาและรัฐบาลที่ได้มาขาดความชอบธรรมอย่างชัดเจน นายกรัฐมนตรีที่ได้มาใหม่ ก็อยู่ในฐานะ“ตัวตลก”ที่ปราศจากการยอมรับ และขาดความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิงบนเวทีโลก ระบอบปกครองของพวกเขาจะยิ่งลำบาก
สมศักดิ์เสนอต่อมาว่า เขาจงใจที่จะข้ามประเด็นเรื่องการผลักดันให้แก้รัฐธรรมนูญ และประเด็นเรื่องลงประชามติ เพราะเรื่องแรก ไม่คิดว่าจะมีทางเกิดขึ้นได้ เพราะ คสช.และนายบวรศักดิ์คงไม่มีทางผลักดันรัฐธรรมนูญที่ต่างออกไปจากนี้โดยพื้นฐาน ส่วนเรื่องการลงประชามติก็ไม่คิดว่าจะมี หรือถ้ามีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ก็ควรต้องตกลงที่จะลงมติคว่ำรัฐธรรมนูญ หรือกระทั่งบอยคอตไม่เข้าร่วมด้วย ในลักษณะเหตุผลแบบเดียวกัน
ข้อเสนอเช่นนี้ ถือว่าน่าสนใจมาก และสอดคล้องกับความรู้สึกของฝ่ายประชาธิปไตยจำนวนมากที่คิดไว้แล้ว ว่าจะคว่ำบาตรไม่ไปเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ แต่ปัญหาที่จะต้องพิจารณาทบทวนคงจะมีสองประเด็น คือ ควรจะสนับสนุนการคว่ำบาตรการเลือกตั้ง ตามเหตุผลของนายสมศักดิ์หรือไม่ และประการต่อมา คือ ท่าทีของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์จะตอบรับข้อเสนอในลักษณะนี้หรือไม่
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ในระยะที่ผ่านมา กลายเป็นพรรคการเมืองสำคัญที่อยู่ตรงข้ามกับขบวนการประชาธิปไตย ตั้งแต่การที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. ในขณะที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่นายสุเทพและประชาธิปัตย์กลับเสนอหลักการให้ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” เพื่อมาล้มการเลือกตั้ง และปูทางให้เกิดการรัฐประหาร ดังนั้น เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำกองทัพก่อการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ล้มรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย แล้วสร้างระบอบเผด็จการเพื่อการปฏิรูป ก็เป็นการดำเนินไปตามแนวทาง “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ของนายสุเทพนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่พรรคประชาธิปัตย์จะกำหนดท่าทีอย่างไร ต่อการเลือกตั้งครั้งหน้า ก็คงไม่มีผลอะไรกับการรื้อฟื้นประชาธิปไตย ไม่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะนำพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมหรือคว่ำบาตรการเลือกตั้ง ก็ไม่เกี่ยวกับขบวนการฝ่ายประชาชน
สำหรับพรรคเพื่อไทย ปัญหาสำคัญในระยะปีที่ผ่านมา คือ มีการเคลื่อนไหวและแสดงท่าทีที่ปฏิเสธและต่อต้านการรัฐประหารน้อยเกินไป ความจริงแล้ว แนวโน้มของการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและมุ่งขัดขวางพรรคเพื่อไทย เห็นได้ตั้งแต่แรก พรรคเพื่อไทยจึงควรแสดงท่าทีปฏิเสธรัฐธรรมนูญนี้มานานแล้ว และควรที่จะนำเสนอหลักการปฏิเสธการรัฐประหาร คือ การไม่ยอมรับการฉีกรัฐธรรมนูญทั้งหมด ด้วยการยืนยันการคงอยู่ของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ซึ่งโดยหลักการไม่ได้หมายความว่า รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 จะถูกต้องไปทั้งหมด เพียงแต่ปัญหาในรัฐธรรมนูญต้องแก้ไข โดยการเสนอแก้รัฐธรรมนูญผ่านสภาผู้แทนราษฎร ไม่ใช่การทำรัฐประหารแล้วฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับดังที่เป็นอยู่นี้
แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยไม่เคยนำเสนอหรือเคลื่อนไหวอะไรในหลักการนี้เลย ไม่เคยแม้กระทั่งการคัดค้านหรือประณามการรัฐประหาร ไม่ต่อต้านการลิดรอนสิทธิเสรีภาพและการกวาดล้างปราบปรามประชาชน และไม่เคยแม้แต่จะเรียกร้องให้ คสช.คืนอำนาจให้ประชาชนแล้วจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว และที่แย่มากคือการสนับสนุนการใช้มาตรา 44 ของธรรมนูญชั่วคราว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรรคเพื่อไทยจึงถูกบีบให้เลือกในลักษณะที่ สมศักดิ์เสนอ คือ จะร่วมในการเลือกตั้งในเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ ผมกลับเห็นว่าพรรคเพื่อไทยควรเข้าร่วมการเลือกตั้ง แต่รักษาหลักการในการปฏิเสธรัฐธรรมนูญฉบับ คสช.
เหตุผลสำคัญของการเข้าร่วมการเลือกตั้งก็คือ การเลือกตั้งเป็นกระบวนการสำคัญในระบอบประชาธิปไตย ถ้าหากรักษาในหลักการเดิมของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย ( สปป.) ที่เสนอหลักการสวนกับ กปปส.ว่า ต้อง “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” ก็ต้องพิจารณาการเลือกตั้งโดยแยกออกจากกติกาอันไม่เป็นธรรม แต่การเข้าร่วมเลือกตั้ง ต้องใช้วิธีการพลิกแพลงที่สุดในการเลี่ยงข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ แต่ต้องใช้กลไกการหาเสียงเลือกตั้ง ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้กับประชาชนในปัญหาเรื่องประชาธิปไตย และกติกาอันไม่เป็นธรรม และใช้รัฐสภาเป็นเวทีหนึ่งในการต่อสู้โดยสันติวิธี หรืออย่างน้อยก็คือการเข้าไปขัดขวางขบวนการทางการเมืองของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย เพราะการที่ขบวนการประชาธิปไตยคว่ำบาตรการเลือกตั้ง จะยิ่งเปิดทางให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเผด็จการสืบทอดอำนาจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
สรุปแล้ว การมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเลย ก็ยังทำให้สถานการณ์คืบหน้าไปกว่าการปกครองโดยเผด็จการทหารเต็มรูปที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ เพียงแต่ว่า พรรคเพื่อไทยคงจะต้องสรุปบทเรียนและต่อสู้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้ ด้วยการรักษาหลักการประชาธิปไตยและคุ้มครองประชาชน การเมืองไทยจึงจะพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปได้
สำหรับขบวนการประชาธิปไตยจึงต้องต่อสู้และผลักดันให้มีการเลือกตั้ง เพื่อปิดฉาก คสช. และสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจประชาชน โดยยืนยันความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อทำลายผลพวงรัฐประหารทั้งหมด และย้อนกลับไปสู่ประชาธิปไตย
เผยแพร่ครั้งแรกใน โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 512 วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2558
ooo
Mon, 2015-05-04 19:53
ที่มา ประชาไท
สื่อทางเลือกและองค์กรภาคประชาสังคม 4 แห่ง เปิดตัวเว็บไซต์ "ประชามติ" เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ และรวบรวมความคิดเห็นที่หลากหลาย ต่อประเด็นต่างๆ ที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในร่างรัฐรรมนูญ โดยผู้จัดทำเว็บเห็นว่าหน่วยงานที่มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญยังไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้
โดยเว็บไซต์ประชามติ หรือ www.prachamati.org เป็นการร่วมมือของสื่อทางเลือกและองค์กรภาคประชาสังคม อันประกอบด้วย สำนักข่าวประชาไท, สำนักข่าวไทยพับลิก้า, สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw.or.th) ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2558
ในเพจ "ประชามติ" ระบุว่า "หลังการรัฐประหารในปี 2557 วาระสำคัญคือการ "ปฏิรูปประเทศ" โดยเฉพาะการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวของสังคมที่อยากร่วมรับรู้และเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปี 2557 กลับไม่ได้กำหนดช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง เช่น การทำประชามติ เอาไว้ด้วย
17 เมษายน 2558 คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ส่งร่างฉบับแรกให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นำไปพิจารณา หลังการอภิปรายทั่วไปแล้วเสร็จ สภาปฏิรูปแห่งชาติยังมีเวลาอีก 30 วันในการยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม และคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีเวลาอีก 60 วัน ในการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ สปช. เสนอมา แม้ว่า คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะมีที่มาจากการคัดเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่องค์กรทั้งหลายก็ประกาศเสมอมาว่าพร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำไปจัดทำร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
ดังนั้น ช่วงเวลาระหว่าง 90 วันนี้ การส่งเสียงของประชาชนไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาจึงเป็นเรื่องที่มีความหมายอย่างยิ่ง
เว็บไซต์ประชามติ ขอเป็นพื้นที่รวบรวมความคิดเห็นที่หลากหลาย ต่อประเด็นต่างๆ ที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในร่างรัฐรรมนูญ ฉบับปี 2558"
โดยวันแรกของการเปิดเว็บประชามติ มีการตั้งคำถามแรกว่า "เห็นด้วยหรือไม่ รัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านการทำประชามติ?" โดยระบุว่า "แม้ว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้กำหนดว่าหากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องมีการทำประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชน แต่ก็มีหลายเสียงออกมาผลักดันให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ควรต้องทำประชามติ เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีความสำคัญต่อประเทศ จึงควรให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศตัดสิน และจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ ช่วยลดความขัดแย้งในสังคม ลดแรงกดดันจากนานาชาติ
ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ให้เหตุผลว่าการทำประชามติจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่สามารถสะท้อนเสียงของประชาชนได้จริง และอาจทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป" โดยสามารถแสดงความเห็นได้ที่https://www.prachamati.org/polls/42"