กรณีผู้ต้องหาคดี ม.๑๑๒ คนล่าสุด ที่ศาลไม่ยอมให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ ด้วยข้ออ้างอย่างเดิมๆ “เป็นคดีมีโทษสูง...มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี” เป็นอีกตัวอย่างที่ตอกย้ำว่า เป็นการตัดสินเพื่อ ‘ข่มขู่ให้หวาดกลัว’
“หนูโดนแบบนี้ หนูอาจจะทำผิดก็จริง อาจจะทำให้หลายคนไม่พอใจ แต่ลงโทษเกินไปหรือเปล่า” เจ้าตัวบอกกับศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชน จากที่คุมขังในทัณฑสถานหญิงกลาง พร้อมเล่าถึงความขัดสน อาบน้ำลำบาก เบิกยาไม่ได้ ฯลฯ
“ตอนนี้หนูไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากนอนกินภาษีประชาชน หนูสามารถออกไปทำงานแล้วเสียภาษีให้ประชาชน อยู่ในนี้แค่นอนรอให้เวลาผ่านไปแค่นั้น มันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลยค่ะ” เป็นเหตุอ้างที่แหวกแนวยิ่งนัก
“หนูไม่ได้มีเจตนาร้าย และไม่เคยคิดว่าชีวิตต้องพังเพราะรูปๆ เดียว” รูปภาพตัดต่อ ร.๑๐ เปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตเป็นชุดราตรียาวสีม่วง ยี่ห้อ Sirivannavari “และมีภาพสุนัขผูกโบสีม่วงนั่งอยู่ด้านข้างๆ” ด้วย
“คดีนี้มีนพดล พรหมภาสิต เลขาธิการศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด ‘bully’ ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) เป็นผู้เข้าแจ้งความกับ ปอท.” เมื่อปี ๒๕๖๔ เป็นอีกข้อเท็จจริงทางคดี ที่ประหลาดตรงสังกัด “ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมาย”
เธอเป็น ‘ผู้ป่วยอารมณ์สองขั้ว’ (bi-polar) “เป็นคนทั่วไปที่ใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ได้เป็นนักกิจกรรมหรือมีบทบาททางการเมือง เธอมีชุมชนเพื่อนๆ อยู่ในเพจ ‘น้องง’ เป็นกลุ่มที่ make fun กับทุกเรื่อง” แม้กระทั่งล้อเลียน ‘หยก’ จนถูกตีตราว่า ‘นางแบก’
ศาลก็บ้องตื้นหรือไบโพล่าร์ตามไปด้วย แทนที่จะตัดสินให้ส่งตัวไปสถานบำบัดและเยียวยา กลับไม่ดูเหตุแห่งการที่เธอได้รับปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน เพียงเพราะเป็นคดี ๑๑๒ ที่ไม่รับฟังข้อสันนิษฐานเบื้องต้นแห่งความบริสุทธิ์
นี่ไง มันจึงไม่ใช่กระบวนยุติธรรม หากแต่เป็นการลงทัณฑ์โดยไม่มีการพิจารณาคดี
(