Benz Waranyoo
16h ·
สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปี2050 (สำหรับ Top decile wealth)
1. ประชากร
World bank คาดการณ์ว่าประชากรไทยจะลดลงจาก 69ล้านคนในปี2020 เหลือ65ล้านคนในปี2050 แต่เป็น65ล้านคนที่เต็มไปด้วยคนแก่ช่วงอายุ50-80ปี ตามภาพ population pyramidภาพที่1และ2
ในปี2100 จำนวนประชากรไทยจะลดลงเหลือ 46ล้านคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามภาพที่3 แปลว่าคนไทยทุกๆ3คนจะหายไป1คน
แม้จะมีนโยบายรณรงค์ให้ผลิตลูกอย่างไรก็ไร้ผลเพราะทางออกเดียวคือการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเท่านั้นซึ่งก็ทำไม่ได้เช่นกัน โดยจะอธิบายในหัวข้อถัดไป
Source: 1) World bank
2) PopulationPyramid.net
*ทั้ง2แหล่งพบว่าตัวเลขใกล้เคียงกัน
2. เศรษฐกิจ
ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ GDP growth ส่งผลต่อ population growth หรืออธิบายภาษาบ้านๆคือ บ้านไหนรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีมีฐานะร่ำรวยขึ้นทุกปี ก็สามารถมีลูกหลานมาก และยิ่งไปกว่านั้น population growth ก็ส่งผลให้GDP growth ในระยะยาวเนื่องจากเด็กที่เกิดในวันนี้ก็จะสร้างผลผลิตในอีก20ปีข้างหน้า population growth จึงส่งผลต่อ GDP growth กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
ตลอด50ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยเติบโตโดยพึ่งพา2เครื่องยนต์หลักคืออุตสาหกรรมหนัก(Thailand 3.0) และการท่องเที่ยว ปัจจุบันเครื่องยนต์ตัวแรกใกล้จะดับ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติค่อยๆย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ค่าแรงงานถูกกว่าอย่างเวียดนาม ซึ่งเปิดประเทศและเริ่มemploy ระบบ decentralized (ผ่อนปรนและไม่รวบอำนาจอย่างเก่า)ตามจีนในช่วง2000s
ตามภาพที่4 Projected GDP ranking Pwc คาดการณ์ว่าภายในปี2050 เวียดนามจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศไทย เวียดนามซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจลำดับที่32ของโลกในปี2017 จะขยับขึ้นมาที่20ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยที่มีขนาดเศรษฐกิจลำดับที่20ของโลกในปี2017 จะถอยหลังไปอยู่อันดับที่25 และจะถดถอยต่อไปเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลก
สรุปได้ว่าตั้งแต่ปี2017เป็นต้นไปคือจุดเริ่มต้นของขาลงของเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับE7 หรือประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
Source: PricewaterhouseCoopers, The world in 2050
3. ความเหลื่อมล้ำ
ปัจจุบัน Credit Suisse Research Institute จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงอันดับ1ของอาเซียน และอันดับ4ของโลก ตามภาพที่5 Gini coefficient table
การวิเคราะห์ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะแบ่งประชากรเป็น4กลุ่มได้แก่ Top1% Top10% Middleclass40% และ bottom50% และแจกแจงว่าแต่ละกลุ่มครอบครองทรัพย์สินเท่าไหร่
ตามภาพที่6 การกระจายของทรัพย์สินของโลกในปี2019 ทรัพย์สินประมาณ80%ของทั้งโลกอยู่ในมือของ Top10% ขณะที่ทรัพย์สินประมาณ40%ของทั้งโลกอยู่ในมือของ Top1% แปลว่าถ้าในห้องมี100คน คนที่2ถึงคน10ถืออยู่40%
ตามภาพที่7 ระหว่างปี2007ถึงปี2018 Top10% ของประเทศไทยถือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 51% เป็น 85.7%
ตามภาพที่7และ8 ในปี2018 ทรัพย์สินประมาณ85.7%ของทั้งประเทศไทยอยู่ในมือของ Top10% ขณะที่ทรัพย์สินประมาณ66.9%ของทั้งประเทศไทยอยู่ในมือของ Top1% แปลว่าถ้าในห้องมี100คน คนที่2ถึงคน10ถืออยู่แค่18.8%
ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความคล้ายของการกระจายของทรัพย์สินในประเทศไทย ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการกระจายของทรัพย์สินของโลกก่อนส่งครามโลกครั้งที่1 ซึ่งในยุคนั้นกลุ่มelite ที่ได้สิทธิพิเศษทางด้านสังคม การบังคับใช้กฎหมาย และหลบเลี่ยงภาษีได้ ต้องเป็นถึงTop1% ไม่ใช่ Top10% อย่างเช่นประเทศอื่นๆในปัจจุบัน
Source: 1) Credit Suisse Research Institute
2) James Davies, Rodrigo Lluberas and Anthony Shorrocks, Global wealth databook 2019
3) Thomas Piketty, Capital in 21st century
บทความนี้เป็นการสรุปงานวิจัยสำนักใหญ่หลายสำนักตามที่ผมcitationข้างต้น วัตถุประสงค์ในการเขียนนี้เพื่อให้เพื่อนๆที่อยู่ในTop10% ตระหนักว่าเพื่อนๆกำลังค่อยๆเสียprevilegeไปจากการที่Top1%ครอบครองทรัพย์สินในสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆทุกปี โดยกินส่วนแบ่งของกลุ่มอื่นๆทุกกลุ่ม
งานวิจัยหลายสำนักชี้ไปในทางเดียวกันถึงการถดถอยทางเศรษฐกิจในอนาคต สำหรับเพื่อนที่มีลูก ผมแนะนำ2ทางเลือกคือ
1.สนับสนุนให้ประเทศกลับไปใช้ระบบdecentralized และให้เอกชนเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนประเทศอย่างที่เคยเป็นมา (แอบหวังว่าเราจะเป็นเสือตัวที่5เหมือนปี2531อีกครั้ง) แต่ถ้าไม่สำเร็จก็ย้ายประเทศ หรือ 2.ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศและย้ายตามไป
日本に滞在したい
https://www.facebook.com/morethan8lines/posts/315202839972188