วันอังคาร, ธันวาคม 04, 2561

คลิปต้นเหตุที่ทำให้ท่านเสรีพิศุทธ์ ถูกออกหมายจับน่าจะเป็นคลิปนี้ กับคำพูดที่ว่า”โกงทุกวิถีทาง”



https://www.facebook.com/sereepisutht/videos/1559030957535880/

คลิปต้นเหตุที่ทำให้ท่านเสรีพิศุทธ์ ถูกออกหมายจับน่าจะเป็นคลิปนี้ กับคำพูดที่ว่า”โกงทุกวิถีทาง”
https://www.facebook.com/sereepisutht/videos/1559030957535880/


Free4thai news Station shared a video.

ooo

The Daily Dose - เสรีพิสุทธิ์เตือนวินธัย รู้จักเคารพผู้ใหญ่



VOICE TV 21
Published on Dec 3, 2018

...




คสช.แจงคดี 'เสรีพิศุทธิ์' ทำตามขั้นตอน-ไม่ใช่รายแรกที่วิจารณ์ คสช. แล้วโดนพ.ร.บ.คอมฯ
.
จากกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เปิดเผยว่า ทหารแอบแจ้งความดำเนินคดีกับเขา และเป็นความตั้งใจให้เขาต้องนอนคุกด้วยการบีบให้ตำรวจออกหมายจับบ่ายในช่วงบ่ายของวันเดียวกันซึ่งเป็นวันศุกร์
.
ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม 2561 พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. ชี้แจงว่า ทหารไม่ได้แอบร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์แต่ดำเนินการอย่างเปิดเผย เมื่อพบข้อมูลว่าบุคคลใดให้ข้อมูลเป็นเท็จก็จะดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษไว้กับเจ้าหน้าที่ตำตำรวตามขั้นตอนปกติของกฎหมาย และทหารก็ไม่ได้บีบบังคับตำรวจแต่อย่างใด ทุกฝ่ายทำตามหน้าที่ของตัวเอง ที่ผ่านมาไม่ใช่เฉพาะกรณีพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เท่านั้น กลุ่มการเมือง หรือ นักการเมืองคนอื่นก็ถูก คสช.ร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดี หากมีการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
.
ขณะเดียวกันในวันที่ 3 ธันวาคม 2561 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ก็ระบุว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยังไม่ได้ประสานขอเข้าพบพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด
.
สำหรับเหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2561 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ แสดงความคิดเห็นผ่านรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง วิพากษ์วิจารณ์คสช.มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า “ประชามติก็โกง รัฐธรรมนูญก็โกง” และต่อมานำมามีการนำวิดีโอคลิปของรายการดังกล่าวมาเผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊ก "พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส" ต่อมาเดือนกันยายน 2561 บก.ปอท. ออกหมายเรียกให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสและผู้ดูแลเฟซบุ๊กมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อหามาตรา 14(2) ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
.
ก่อนหน้าที่จะมีการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในปี 2560 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) มักจะถูกนำมาใช้ดำเนินคดีพ่วงกับกฎหมายหมิ่นประมาทเวลามีคนแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ในประเด็นสาธารณะและพาดพิงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนคนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการการเมือง กองทัพ หรือคสช. บนโลกออนไลน์ มักจะถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ) หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (ข้อหายุยงปลุกปั่น) ควบคู่กับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 (2) และ (3)
.
หลังมีการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แนวทางการร้องทุกข์กล่าวโทษคนที่แสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะกรณีของบุคคลที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง โดยแทนที่จะใช้วิธีฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคง เช่น มาตรา 112 หรือ มาตรา 116 พ่วงกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14 (2) และ (3) ก็เปลี่ยนมาเป็นดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14 (2) อย่างเดียวแทน โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 14 (3) หรือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคงเพิ่มเติม
.
ทั้งนี้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) ซึ่งมีการแก้ไขในปี 2560 ได้มีการขยายความเนื้อหาการกระทำผิดให้กว้างขึ้น เป็น "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" จากเดิมที่ฉบับปี 2550 กำหนดไว้ว่า "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน"
.
นอกจากกรณีของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็มีกรณีของผู้ถูกกล่าวหาในความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14(2) อื่นๆที่น่าสนใจได้แก่ กรณีของศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาจากการแชร์ภาพประกอบข้อความเกี่ยวกับกระเป๋าของภรรยาหัวหน้าคสช. กรณีเจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าแชร์โพสต์จากเพจ CSI LA เรื่องกรณีการข่มขืนหญิงชาวอังกฤษที่เกาะเต่า กรณีการออกหมายจับ แอดมิน แฟนเพจ “KonthaiUk” โพสต์ข้อความเรื่องการจัดซื้อดาวเทียม และต่อมามีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าแชร์โพสต์ดังกล่าวอีกอย่างน้อยเจ็ดคนและมีผู้ถูกออกหมายเรียกจากกรณีเดียวกันอีกอย่างน้อย 20 คน และมีกรณีของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และกรรมการบริหารพรรคอนาคใหม่อีกสองคน ที่ถูกกล่าวหาในข้อหาเดียวกันจากการจัดรายการเฟซบุ๊กไลฟ์ที่เพจของพรรคอนาคตใหม่วิจารณ์เรื่องการดูดผู้สมัคร ส.ส. ให้ย้ายพรรค
.
ตลอดสี่ปีที่ผ่านมามีประชาชนถูกกล่าวหาตามมาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯไม่น้อยกว่า 44 คนหรือ 23 คดี แต่เฉพาะปี 2561 มีไม่น้อยกว่า 25 คนหรือ 12 คดี

๐ อ่านสถิติมาตรา 14(2) ทั้งหมดที่นี่ : https://freedom.ilaw.or.th/blog/ART14-2-CAA-STAT


iLaw