ส่วนหนึ่งจากบทความ
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ l เลือกตั้ง 2562 อย่าคิดว่าฝ่ายสืบทอดอำนาจจะชนะ
มติชนสุดส้ปดาห์
ในการเลือกตั้งกลางเทอมของอเมริกาครั้งที่ผ่านมา “คนรุ่นใหม่” อายุ 18-29 ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 31% ของผู้มีสิทธิในวัยนี้ทั้งหมด ตัวเลขนี้สูงกว่าจำนวนประชากรกลุ่มนี้ซึ่งไปใช้สิทธิเลือกตั้งกลางเทอมสี่ปีก่อนราวๆ 10%
ด้วยเหตุดังนี้ หนึ่งในโจทย์ที่พรรคการเมืองต้องทำในการเลือกตั้งปี 2562 คือการทำให้ “คนรุ่นใหม่” เห็นว่าการเลือกตั้งคือวิถีทางสร้างอนาคตที่ดีขึ้น, เชื่อมั่นว่าการลงคะแนนทำให้ประเทศเปลี่ยนได้ และความเชื่อมั่นนั้นต้องมีพลังให้คนไปเลือกตั้งท่ามกลางการล้างสมองว่าถึงอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ก็เป็นนายกฯ ต่อไป
เท่าที่เป็นอยู่จนปัจจุบัน พรรคการเมืองนำเสนอ “คนรุ่นใหม่” ด้วยภาพที่เป็นตัวแทนคนชนชั้นเดียวแทบทั้งหมด เครื่องแบบคนกลุ่มนี้ในพรรคเก่าหรือพรรคใหม่จึงเป็นเสื้อยืดขาวสไตล์คุณหนูที่ไม่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำอย่างคนทั่วไป จากนั้นก็ถ่ายรูปด้วยสายตาจิกกล้องเพื่อโชว์ความเป็นผู้นำ ปิดท้ายด้วยการบอกโลกว่าพ่อแม่ส่งเรียนที่ไหนมา
ถ้าถือว่าคนรุ่นใหม่คือคนที่อายุต่ำกว่า 30 ลงไป จะเป็นอาชีพไหนหรือชนชั้นอะไรก็มีคนวัยนี้ทั้งสิ้น คนรุ่นใหม่สไตล์นี้จึงไม่ใช่ตัวแทนคนวัยนี้อีกหลายล้านที่เป็นไทบ้าน, ลูกชาวสวนยาง, เด็กห้องแถว, เรียนอาชีวะ ฯลฯ จนไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ไปลงคะแนนอย่างกว้างขวางได้เลย
การเลือกตั้งอเมริกาในเดือนพฤศจิกายนเป็นตัวอย่างของการนำเสนอ “คนรุ่นใหม่” ที่ทำให้คนออกมาลงคะแนนมากขึ้น และตัวเลข “คนรุ่นใหม่” ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงกว่าในอดีตนั้นมีผลแน่ๆ
ต่อชัยชนะของ “คนรุ่นใหม่” ที่ทำให้รัฐสภาอเมริกาเดินหน้าสู่ความหลากหลายทางศาสนา/ชาติพันธุ์/เพศวิถี/ชนชั้น/สีผิว อย่างไม่เคยเป็น
ตรงข้ามกับประเทศไทยที่ “คนรุ่นใหม่” เป็นแบรนด์เพื่อชิงพื้นที่ทางการเมือง
“คนรุ่นใหม่” ในอเมริกานำเสนอตัวเองในฐานะตัวแทนชนผู้ไม่มีเสียงในระบบการเมืองทั้งหมด ผู้สมัครหน้าใหม่จำนวนมากจึงแสดงให้เห็นภูมิหลังที่มาจากครอบครัวกรรมกร, ถืออิสลาม, รักเพศเดียวกัน, มีเชื้อสายอินเดียนแดง, แม่เลี้ยงเดี่ยว ฯลฯ โดยไม่ลังเล
วิธีนำเสนอตัวเองแบบนี้ทำให้คนกลุ่มต่างๆ แห่ไปลงคะแนนให้ “คนรุ่นใหม่” จนผลเลือกตั้งทำให้ “โฉมหน้า” รัฐสภาอเมริกาเปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น Jahana Hayes กับ Ayanna Pressley เป็น ส.ส.หญิงผิวดำคนแรกของคอนเน็กทิคัตและแมสซาชูเซตส์ หรือ Rashida Tlaib กับ Ilhan Omar เป็น ส.ส.หญิงมุสลิมคู่แรกของอเมริกา
นอกเหนือจากนั้นSharice Davids กับ Deb Haaland เป็นคนเชื้อสายอินเดียนแดงคู่แรกที่ชนะเลือกตั้ง ส่วน Alexandria Ocasio-Cortez เป็นผู้หญิงอายุน้อยที่สุดที่ได้เป็น ส.ส. ทั้งที่อายุแค่ 29 และถูกโจมตีว่าเป็นสังคมนิยม
ท่ามกลางผู้นำบ้าอำนาจอย่างทรัมป์ พรรคการเมืองทำงานบนความเชื่อว่าประเทศเปลี่ยนได้ และ “คนรุ่นใหม่” เชื่อมโยงกับประชากรที่ไร้ปากเสียงจนสามารถระดมคะแนนสู่ผลเลือกตั้งที่ฝ่ายอำนาจนิยมผูกขาดประเทศไม่ได้ต่อไป
การเลือกตั้งปี 2562 ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสกัดไม่ให้ คสช.สืบทอดอำนาจ
การผลักดันให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิอย่างกว้างขวางคือปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการนี้
และการปลดแอกความเท็จว่าเลือกแบบไหนก็ได้ พล.อ.ประยุทธ์ คือภารกิจที่ทุกพรรคและคนรุ่นใหม่ทุกคนต้องสื่อสารกับประชาชน
ในการเลือกตั้งกลางเทอมของอเมริกาครั้งที่ผ่านมา “คนรุ่นใหม่” อายุ 18-29 ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 31% ของผู้มีสิทธิในวัยนี้ทั้งหมด ตัวเลขนี้สูงกว่าจำนวนประชากรกลุ่มนี้ซึ่งไปใช้สิทธิเลือกตั้งกลางเทอมสี่ปีก่อนราวๆ 10%
ด้วยเหตุดังนี้ หนึ่งในโจทย์ที่พรรคการเมืองต้องทำในการเลือกตั้งปี 2562 คือการทำให้ “คนรุ่นใหม่” เห็นว่าการเลือกตั้งคือวิถีทางสร้างอนาคตที่ดีขึ้น, เชื่อมั่นว่าการลงคะแนนทำให้ประเทศเปลี่ยนได้ และความเชื่อมั่นนั้นต้องมีพลังให้คนไปเลือกตั้งท่ามกลางการล้างสมองว่าถึงอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ก็เป็นนายกฯ ต่อไป
เท่าที่เป็นอยู่จนปัจจุบัน พรรคการเมืองนำเสนอ “คนรุ่นใหม่” ด้วยภาพที่เป็นตัวแทนคนชนชั้นเดียวแทบทั้งหมด เครื่องแบบคนกลุ่มนี้ในพรรคเก่าหรือพรรคใหม่จึงเป็นเสื้อยืดขาวสไตล์คุณหนูที่ไม่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำอย่างคนทั่วไป จากนั้นก็ถ่ายรูปด้วยสายตาจิกกล้องเพื่อโชว์ความเป็นผู้นำ ปิดท้ายด้วยการบอกโลกว่าพ่อแม่ส่งเรียนที่ไหนมา
ถ้าถือว่าคนรุ่นใหม่คือคนที่อายุต่ำกว่า 30 ลงไป จะเป็นอาชีพไหนหรือชนชั้นอะไรก็มีคนวัยนี้ทั้งสิ้น คนรุ่นใหม่สไตล์นี้จึงไม่ใช่ตัวแทนคนวัยนี้อีกหลายล้านที่เป็นไทบ้าน, ลูกชาวสวนยาง, เด็กห้องแถว, เรียนอาชีวะ ฯลฯ จนไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ไปลงคะแนนอย่างกว้างขวางได้เลย
การเลือกตั้งอเมริกาในเดือนพฤศจิกายนเป็นตัวอย่างของการนำเสนอ “คนรุ่นใหม่” ที่ทำให้คนออกมาลงคะแนนมากขึ้น และตัวเลข “คนรุ่นใหม่” ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงกว่าในอดีตนั้นมีผลแน่ๆ
ต่อชัยชนะของ “คนรุ่นใหม่” ที่ทำให้รัฐสภาอเมริกาเดินหน้าสู่ความหลากหลายทางศาสนา/ชาติพันธุ์/เพศวิถี/ชนชั้น/สีผิว อย่างไม่เคยเป็น
ตรงข้ามกับประเทศไทยที่ “คนรุ่นใหม่” เป็นแบรนด์เพื่อชิงพื้นที่ทางการเมือง
“คนรุ่นใหม่” ในอเมริกานำเสนอตัวเองในฐานะตัวแทนชนผู้ไม่มีเสียงในระบบการเมืองทั้งหมด ผู้สมัครหน้าใหม่จำนวนมากจึงแสดงให้เห็นภูมิหลังที่มาจากครอบครัวกรรมกร, ถืออิสลาม, รักเพศเดียวกัน, มีเชื้อสายอินเดียนแดง, แม่เลี้ยงเดี่ยว ฯลฯ โดยไม่ลังเล
วิธีนำเสนอตัวเองแบบนี้ทำให้คนกลุ่มต่างๆ แห่ไปลงคะแนนให้ “คนรุ่นใหม่” จนผลเลือกตั้งทำให้ “โฉมหน้า” รัฐสภาอเมริกาเปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น Jahana Hayes กับ Ayanna Pressley เป็น ส.ส.หญิงผิวดำคนแรกของคอนเน็กทิคัตและแมสซาชูเซตส์ หรือ Rashida Tlaib กับ Ilhan Omar เป็น ส.ส.หญิงมุสลิมคู่แรกของอเมริกา
นอกเหนือจากนั้นSharice Davids กับ Deb Haaland เป็นคนเชื้อสายอินเดียนแดงคู่แรกที่ชนะเลือกตั้ง ส่วน Alexandria Ocasio-Cortez เป็นผู้หญิงอายุน้อยที่สุดที่ได้เป็น ส.ส. ทั้งที่อายุแค่ 29 และถูกโจมตีว่าเป็นสังคมนิยม
ท่ามกลางผู้นำบ้าอำนาจอย่างทรัมป์ พรรคการเมืองทำงานบนความเชื่อว่าประเทศเปลี่ยนได้ และ “คนรุ่นใหม่” เชื่อมโยงกับประชากรที่ไร้ปากเสียงจนสามารถระดมคะแนนสู่ผลเลือกตั้งที่ฝ่ายอำนาจนิยมผูกขาดประเทศไม่ได้ต่อไป
การเลือกตั้งปี 2562 ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสกัดไม่ให้ คสช.สืบทอดอำนาจ
การผลักดันให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิอย่างกว้างขวางคือปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการนี้
และการปลดแอกความเท็จว่าเลือกแบบไหนก็ได้ พล.อ.ประยุทธ์ คือภารกิจที่ทุกพรรคและคนรุ่นใหม่ทุกคนต้องสื่อสารกับประชาชน
...
อ่านบทความเต็มได้ที่...
https://www.matichonweekly.com/column/article_157374
ooo
Why Students Are Walking Out of School on Election Day | NowThis
https://www.youtube.com/watch?v=1DUqVyc2J9A