วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 19, 2561

ทหารเกณฑ์รับใช้ใคร? แม้ “บิ๊กป้อม” จะออกมาย้ำว่าในกองทัพไม่มีระบบ “พลทหารรับใช้” แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับพบว่า มีการส่ง “พลทหาร” เวียนไปทำหน้าที่ตาม “บ้านนาย” แบบไม่ให้ขาดตอน





ทหารเกณฑ์รับใช้ใคร?


โดย ปกรณ์ พึ่งเนตร
กรุงเทพธุรกิจ


แม้ “บิ๊กป้อม” จะออกมาย้ำเมื่อวานนี้ (17 ก.ค.) ว่าในกองทัพไม่มีระบบ “พลทหารรับใช้” ซึ่งหมายถึงทหารเกณฑ์ที่ถูกส่งไปอยู่ตามบ้าน “นาย”

หรือบ้านผู้บังคับบัญชาระดับสูงของหน่วย หรือของกองทัพก็ตาม แต่ถ้าฟังดีๆ ก็จะพบว่า มีการนำทหารเกณฑ์ไปใช้งานตามบ้านนายจริงๆ แต่เป็นลักษณะ “ขอยืมตัว”

ข้อมูลที่ได้รับมาจากแหล่งข่าวในกองทัพ ยืนยันได้ว่ามีการจัดระบบ “พลทหารรับใช้” หรือที่เรียกภาษาทางการว่า “พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา” จริง ส่วนจะใช้คำว่า “ยืมตัว” หรือ “สมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย” หรือ “สั่งให้ไปอยู่บ้านนาย” อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

อย่างหน่วยทหารขนาดใหญ่หน่วยหนึ่ง มีการพูดคุยเป็นวาระการประชุมอย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชา กำหนดระเบียบการขอตัว “พลทหาร” ไปเป็น “พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา” สรุปได้ว่า นายทหารที่มีสิทธิ์ขอ ต้องมียศ “พันโท” ขึ้นไป และยังมีการกำหนดจำนวนเอาไว้ด้วยว่า หากเป็นนายทหารตั้งแต่ยศ “พลเอก” ลงมาถึง “พันโท” จะมี “พลทหารประจำตัว” ได้เพียง 1 คนเท่านั้น (แต่ถ้าเป็นนายทหารระดับ “จอมพล” ก็จะมี “พลทหารรับใช้” ได้มากกว่า 1 คน)

แม้ระเบียบจะกำหนดเอาไว้แบบนี้ แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับพบว่า มีการส่ง “พลทหาร” เวียนไปทำหน้าที่ตาม “บ้านนาย” แบบไม่ให้ขาดตอน เช่น พลทหารคนหนึ่ง ถูกส่งไปอยู่บ้านนายคนหนึ่ง เมื่อถึง “ผลัดพัก” หรือ “วันหยุด” ของพลทหารคนนั้น ซึ่งตามระเบียบกำหนดว่า ทำงาน 30 วัน ได้พัก 10 วัน เมื่อพลทหารคนแรกกลับไปพัก ก็จะมีการส่ง “พลทหาร” อีกคนไปทำหน้าที่แทน ไม่มีขาดตอนแม้แต่วันเดียว ระบบแบบนี้จะเรียกว่าใช้ พลทหาร 1 คน ต่อนาย 1 คนหรือเปล่า เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา

นอกจากนั้น การส่ง “พลทหาร” ไปช่วยงานที่บ้านผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มีเฉพาะผู้บังคับบัญชาที่อยู่ในราชการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้บังคับบัญชาที่เกษียณอายุไปแล้วด้วย โดยเฉพาะกับหน่วยทหารที่เป็นหน่วยรบ หรือหน่วยที่มีประเพณีการดูแล “นาย” ไปจนกว่าจะเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่รู้กันดีในหมู่ทหาร

ยังมีข้อมูลจากหน่วยทหารหน่วยหนึ่งระบุว่า มีพระวัดดังใน จ.นครปฐม ซึ่งเคยออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง จนมีเส้นสายคอนเนคชั่นในหมู่นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ขอตัว “ทหารเกณฑ์” ไปช่วยทำงานที่วัดซึ่งมีเนื้อที่หลายร้อยไร่ และมีสวนสมุนไพร โดยขอมาทั้งหมดถึง 60 นาย แถมมีระบบลงโทษเมื่อทำไม่ถูกใจ เหมือนฝึกทหารจริงๆ

เป็นทหารเกณฑ์ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด...จริงๆ ด้วย

...



http://www.komchadluek.net/news/hotclip/335153#.W06irOJqDvo.facebook

(คลิปข่าว) บิ๊กทหารเกษียณแล้วก็มี "พลทหารรับใช้" ดูแลยันตาย!

...
ooo


หยุด"ทหารรับใช้" เลิกเกณฑ์ทหาร สร้างกองทัพมืออาชีพ



https://www.youtube.com/watch?v=BK3U4jvSa48

jom voice
Published on Aug 23, 2015

กรณี ทหารเกณฑ์คนหนึ่ง เข้าร้องเรียน สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ถูกส่งตัวไปเป็น"ทหารรับใช้" นายทหารนอกราชการ ยศ พล.ร.ต. และถูกทำโทษด้วยการล่ามโซ่ล็อคกุญแจผูกเอวติดไว้กับล้อรถยนต์ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า ทหารรับใช้ เยี่ยงทาส ในบ้านของนายทหารทั้งในและนอกราชการนั้นควรจะมีอยู่ต่อไปหรือไม่ .

Thaisvoicemedia ได้สัมภาษณ์ "เอดมิน" เวปเพจที่รณรงค์ให้ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ชื่อเวปเพจว่า "ยกเลิกเกณฑ์ทหาร" โดยเอดมินได้ให้ความเห็นว่า สังคมไทยควรจะร่วมกันรณรงค์ยกเลิก"ทหารรับใช้" ซึ่งทำหน้าที่เหมือน ทาสรับใช้ ในบ้านนายทหารนอกราชการ หรือในราชการอย่างจริงจังได้แล้ว เพราะไม่ได้เป็นไไปตามเกณฑ์มาตรฐานของการฝึกทหาร แต่เป็นช่องทาง ให้นายทหารผู้ใหญ่เอาเปรียบ บังคับ ทารุณทหารชั้นผู้น้อย และเป็นช่องทางให้ลูกหลานคนมีเงิน มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลเป็นช่องทางไม่ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ของทหารเเกณฑ์ด้วย จะเห็นว่า การฝึกทหารในกองทัพไทย มีข่าวเรือ่งการกระทำอนาจาร ล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขู่ คุกคาม ทารุณทำร้าย จนบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิตมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่มีการตรวจสอบหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ดังนั้น สังคมไทย ควรจะเปลี่ยนค่านิยมเรือ่งการรับใช้ชาติเสียใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นทหารก็รับใช้ชาติได้ ทุกอาชีพมีหน้าที่รับใช้ชาติ ตอบแทนคุณแผ่นดินเท่าเทียมกัน ดังนั้นควรยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แต่เปลี่ยนเป็นการสมัครใจรับใช้ชาติแทน โดยเฉพาะการออกร่าง พรบ.เรียกกำลังพลสำรองซึ่งเป็นการบังคับอย่างชัดเจน ไม่เป็นผลดีต่อกองทัพ เพราะการบังคับจะทำให้ได้กำลังพลที่ไม่มีคุณภาพ แต่หากเป็นการสมัครใจ จะเป็นการสร้างกำลังพลที่มีคุณภาพ ทุ่มเท เสียสละ และได้ประโยชน์มากกว่า เรื่องนี้ถูกพิสูจน์มาแล้วในหลายประเทศที่ไม่มีการบังคับเกณฑ์ทหาร ทางกลุ่มจะรณรงค์คัดค้านการบังคับเกณฑ์ทหารต่อไป โดยจะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มีการหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกองทัพด้วย