https://www.youtube.com/watch?v=3vrz-XTKVHo&sns=em
FreeHarit Bring Him Home
Free Harit
Published on Jun 11, 2016
"พาปอนกลับบ้าน"
Tribute to Harit Mahaton.
The young novelist who still in jail was charged with Lese Majesty (Article 112) based on based on his private Facebook chatlog without providing any details or evidences. His family tried to apply for his bail unsuccessfully for many time.
Please help us free him, bring him home.
This video is made for humanitarian, non-commercial use only.
We do not own the copyright for pictures and music for this video clip.
Credit:
Bring Him Home. Josh Groban - Stages (2015)
Pictures: from Starless Night - Harit Mahaton FB page and his Friends
.....
มีเพื่อนสมาชิกเพจทำคลิปรวมภาพในเพจประกอบเพลง Bring Him Home มาให้ดูกันครับผม
"พาปอนกลับบ้าน"
https://youtu.be/3vrz-XTKVHo
Starless Night - Harit Mahaton
.....
ปฏิบัติการด่วน: ผู้ใช้เฟซบุ๊กแปดคนถูกตั้งข้อหาและรอการไต่สวน
ปฏิบัติการด่วน
ผู้ใช้เฟซบุ๊กแปดคนถูกตั้งข้อหาและรอการไต่สวน
บุคคลแปดคนซึ่งเกี่ยวข้องกับเพจล้อเลียนบนเฟซบุ๊ก ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นและมีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา พวกเขามีกำหนดต้องเข้ารับการไต่สวนโดยศาลทหารในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ โดยสองคนในนั้นยังคงถูกควบคุมตัวตามข้อหาเพิ่มเติมซึ่งเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ทหารได้บุกค้นบ้านในกรุงเทพฯ และขอนแก่น ทั้งยังได้เข้าควบคุมตัวนายหฤษฏ์ มหาทน, นายนพเก้า คงสุวรรณ, นายวรวิทย์ ศักดิ์สมุทรนันท์, นายโยธิน มั่งคั่งสง่า, นายธนวรรธน์ บูรณศิริ, นายศุภชัย สายบุตร, นายกัณสิทธิ์ ตั้งบุญธินา, และนางสาวณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ ทั้งแปดคนถูกแจ้งข้อหาในวันที่ 28 เมษายนฐานยุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา และฐานละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พวกเขามีกำหนดต้องเข้ารับการไต่สวนโดยศาลทหารในวันที่ 3 กรกฎาคม และพวกเขาอาจได้รับการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งอาจต้องโทษจำคุกอย่างน้อย 12 ปี โดยทางการไทยยืนยันว่าเพจบนเฟซบุ๊กของพวกเขาซึ่งใช้ชื่อว่า “เรารักพลเอกประยุทธ์” มักโพสต์ภาพตัดต่อและข้อความล้อเลียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ทั้งจากผู้ใช้งานทั่วไปและตัวแอดมินของเพจเองว่ามีเจตนา “ปลุกระดมให้เกิดความไม่สงบ”
หลังจากศาลอนุญาตให้ประกันตัวในการยื่นขอประกันตัวครั้งที่สองเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวบุคคลสองในแปดคนอีกครั้งคือ นางสาวณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ และนายหฤษฏ์ มหาทน และได้ควบคุมตัวพวกเขาด้วยข้อหาเพิ่มเติมอันเกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นผลมาจากการพูดคุยผ่านข้อความส่วนตัวบนเฟซบุ๊ก บุคคลทั้งสองยังคงถูกควบคุมตัวที่ทัณฑสถานหญิงกลางและเรือนจำพิเศษกรุงเทพ และอาจได้รับโทษจำคุกเพิ่มเติมอีกอย่างน้อยคนละสามปีจากการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมของศาลทหาร การที่ทางการไทยมุ่งปราบปรามบุคคลใดๆที่ถูกมองว่าเป็นผู้ต่อต้านรัฐบาล ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในแง่การเคารพและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ ทางการไทยกำลังใช้กฎหมายลงโทษผู้ใช้เฟซบุ๊กที่แสดงความคิดเห็นอย่างสงบมากขึ้นเรื่อยๆ เพียงเพราะทางการไทยได้มองการแสดงออกเหล่านี้ว่า "เป็นภัยคุกคาม" ต่อรัฐบาลของตนและต่อสถานภาพของสถาบันกษัตริย์
โปรดเขียนจดหมายเป็นภาษาไทยหรือภาษาของท่านเองโดยด่วน เพื่อ
แสดงความกังวลต่อกรณี “ผู้ใช้เฟซบุ๊กทั้งแปดคน” (นายหฤษฏ์ มหาทน นายนพเก้า คงสุวรรณ นายวรวิทย์ ศักดิ์สมุทรนันท์ นายโยธิน มั่งคั่งสง่า นายธนวรรธน์ บูรณศิริ นายศุภชัย สายบุตร นายกัณสิทธิ์ ตั้งบุญธินา และ นางสาว ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์) ซึ่งถูกลงโทษเพียงเพราะการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทางการไทยยกเลิกข้อกล่าวหาใด ๆ ต่อพวกเขาโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข
กระตุ้นให้มีการปล่อยตัวนายหฤษฏ์ มหาทน และนางสาว ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และให้ยกเลิกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแก่พวกเขา
กระตุ้นให้ทางการไทยปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ต้องคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการสมาคม รวมทั้งเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต และให้ปล่อยตัวผู้ใช้เฟซบุ๊กใด ๆ ที่ถูกควบคุมตัวหรือถูกจำคุกเพียงเพราะการใช้สิทธิเหล่านี้อย่างสงบ
กรุณาส่งจดหมายก่อนวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 ไปยัง
นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก ดุสิต
กรุงเทพฯ 10300 ประเทศไทย
โทรสาร +66 2 282-5131
อีเมล์: prforeign@gmail.com
คำขึ้นต้น: เรียน นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายดอน ปรมัตถ์วินัย
กระทรวงการต่างประเทศ ถ.ศรีอยุธยา
กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรสาร +66 2643 5320 / +66 2643 5314
อีเมล์ minister@mfa.go.th
คำขึ้นต้น: เรียน รัฐมนตรี
และส่งสำเนาจดหมายไปที่
อัยการสูงสุด ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร
สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ 10210 ประเทศไทย
โทรสาร: +66 2 143 9546
อีเมล์: ag@go.th
และให้ส่งสำเนาจดหมายไปยังผู้แทนการทูตในประเทศของท่าน
กรุณาตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของแอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลในประเทศของท่าน หากท่านส่งจดหมายหลังวันที่ระบุขั้นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
ความมั่นคงและการปกป้องสถาบันกษัตริย์ถูกนำเอามาอ้างเป็นเหตุผลเพื่อที่จะใช้ในการลงโทษจำคุกผู้ใช้เฟซบุ๊กอย่างรุนแรงและยาวนานขึ้น ผ่านการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมในศาลทหาร ซึ่งมีการสั่งจำคุกสูงสุดถึง 60 ปี ผู้ใช้เฟสบุ๊กหลายคนถูกดำเนินคดีและตัดสินว่ามีความผิดจริงโดยได้รับการลงโทษจำคุกตามความผิดทางคอมพิวเตอร์ โดยมีความผิดฐานยุยงปลุกปั้น และความผิดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ อันเนื่องมาจากการโพสต์สถานะ การคลิก “ไลค์” และการแชร์ รวมถึงการส่งข้อความส่วนตัวเป็นต้น นับตั้งแตทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557มีบุคคลอย่างน้อย 38 คนที่แล้วที่ถูกควบคุมตัว ถูกตัดสินลงโทษและถูกตั้งข้อหากระทำความผิดต่อความมั่นคงและความผิดต่อสถาบันกษัตริย์ จากการใช้เฟซบุ๊กเพื่อแสดงความเห็นอย่างสงบของพวกเขา
โดยช่วงก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของไทยในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 การปราบปรามมีความรุนแรงมากขึ้น มีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กถูกจับกุมในปี 2559 ตอนนี้เท่ากับ ปี 2558 รวมกันทั้งปี และในเร็ว ๆ นี้อาจจะมีการผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฏหมายที่อื้อฉาวและถูกใช้เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีและลงโทษผู้ใช้เฟซบุ๊กซึ่งใช้งานอย่างสงบ การแก้ไขเพิ่มเติมจึงเป็นการมองข้ามความไม่สอดคล้องของตัวกฎหมายกับพันธกรณีตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และยังให้อำนาจแก่ทางการไทยในการดักจับข้อมูลที่ส่งผ่านทางอินเตอร์เน็ตทั้งหมด รวมทั้งข้อมูลที่ส่งแบบเข้ารหัส ยกตัวอย่างเช่นกรณีการใช้อำนาจปิดบังข้อมูลและเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก การระงับการเผยแพร่ข้อความโดยไม่ต้องขอหมายศาล ทั้งยังสามารถลงโทษทั้งผู้ใช้คอมพิวเตอร์และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
ทางการไทยขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการเฟซบุ๊กและโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เพื่อระงับการเข้าถึงข้อความที่มองว่า “เป็นอันตรายต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม” เฟซบุ๊กซึ่งได้เปิดสำนักงานในไทยเมื่อเดือนกันยายน 2558 ได้ตอบรับตามคำขอจากทางการไทยประมาณ 30 ครั้งในการระงับการเข้าถึงข้อความที่โพสต์ออนไลน์และถูกมองว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อีกทั้งทางการไทยยังเพิ่มการสอดแนมข้อความส่วนบุคคลที่ส่งผ่านทางเฟซบุ๊ค มาตรการที่กำลังใช้งานกับเฟซบุ๊กกำลังเพิ่มขึ้นและขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นว่าป้องกันอาชญากรรมของทางการไทยนั้น ไม่สอดคล้องกับมาตรการจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกที่สามารถกระทำได้ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแม้แต่น้อย ซึ่งเปิดโอกาสให้จำกัดสิทธิเฉพาะกรณีที่เป็นความผิดทางอาญาเท่านั้น การจำกัดสิทธิดังกล่าวยังรวมถึงกรณีการโพสต์ภาพขันแดงที่ประชาชนได้รับแจกจากพรรคการเมือง การคลิกไลค์ภาพล้อเลียนสุนัขทรงเลี้ยง และการโพสต์ข้อความตำหนิการดำเนินงานของทหารที่อยู่ในรัฐบาล และข้อความใด ๆ ที่ทางการเห็นมองว่า “อาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน” ไปจนถึงสร้าง “ความเข้าใจผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์สถาบันกษัตริย์” นอกจากนี้ ทางการยังได้ตั้งข้อหาผู้ทำงานแม่บ้านอายุ 40 ปีเพียงเพราะการเพียงเพราะเขียนคำว่า “จ้า” ผ่านในข้อความส่วนตัวบุคคลบนเฟซบุ๊กโดยมองว่าเป็นการตอบกลับข้อความอีกข้อความหนึ่งซึ่งทางการไทยมองว่ามีลักษณะที่หมิ่นสถาบันกษัตริย์
ทางการไทยได้ควบคุมตัวบุคคลสาธารณะที่วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานและนโยบายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใช้การควบคุมตัวโดยพลการในค่ายทหารแบบไม่มีการตั้งข้อหา ใดๆ นายวัฒนา เมืองสุข นักการเมืองผู้ถูกควบคุมตัวอย่างน้อยสามครั้งในปี 2559 จากการเขียนข้อความในเฟซบุ๊ก โดยตอนที่เขาถูกควบคุมตัวเมื่อช่วงต้นปี 2559 นั้นรองนายกรัฐมนตรีไทยกล่าวว่าทหาร “จะปรับทัศนคติจนกว่าเขาจะเข้าใจว่าอะไรที่ควรพูด ไม่ควรพูดในตอนนี้ “หากพูดร้อยครั้ง เขาก็จะถูกเรียกตัวมาร้อยครั้งเช่นกัน”
นอกจากนี้ทางการไทยยังคงปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์เบื้องสูงตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นการส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวนั้นๆอย่างร้ายแรงใน กรณีที่บุคคลที่โดนจับนั้นเป็นเสาหลักผู้หาเลี้ยงครอบครัวการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกโดยพลการในช่วงทศวรรษของความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความแตกแยกของไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากภายหลังการก่อการทำรัฐประหารของโดยกองทัพ มีการปราบปรามและการใช้กำลังอย่างเต็มที่และต่อเนื่องต่อฝ่ายตรงข้าม ทั้งกลุ่มที่เป็นฝ่ายตรงข้ามจริงๆ และกลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นเช่นนั้น รวมทั้งการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์ระบอบทหารและผู้แสดงความเห็นอื่น ๆ ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นการหมิ่นสถาบันกษัตริย์ และมีการห้ามชุมนุม “ทางการเมือง” ของบุคคลห้าคนหรือมากกว่านั้น และยังมีการสั่งห้ามบุคคลหลายร้อยคนไม่ให้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง ในท้ายที่สุดแล้วทางการไทยยังคงพยายามที่จะปิดช่องทางในการประท้วงอย่างสงบ รวมทั้งการออกกฎหมายเพื่อจำกัดซึ่งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบอย่างกว้างขวางอีกด้วยด้วย
ชื่อ: นายหฤษฏ์ มหาทน (ช) นายนพเก้า (ช) คงสุวรรณ นายวรวิทย์ (ช) ศักดิ์สมุทรนันท์ (ช) นายโยธิน มั่งคั่งสง่า (ช) นายธนวรรธน์ บูรณศิริ (ช) นายศุภชัย สายบุตร (ช) นายกัณสิทธิ์ ตั้งบุญธินา (ช) และ น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ (ญ)
เพศสภาพ ช/ญ: ช
ที่มา Amnesty International Thailand
URGENT ACTION
JUNE 3, 2016
Eight persons linked to a satirical Facebook community page were charged with sedition and computer crimes on 28 April. They are scheduled to appear in a military court on 3 July. Two of them are still detained on the additional charge of offending the monarchy.
1) Please write immediately in Thai or your own language:
Expressing concern that the “Facebook Eight” (Harit Mahaton,Noppakao Kongsuwan, Worawit Saksamutnan, Yohtin Mangkhangsanga, Thanawat Buranasirim, Supachai Saibutr,Kannasit Tangboonthin and Natthika Worathaiyawich) have been penalised for their legitimate exercise of the right to freedom of expression, and urging that authorities immediately and unconditionally drop all charges against them;
Urging that Harit Mahaton and Natthika Worathaiyawich are immediately and unconditionally released from detention;
Urging authorities to uphold their international obligations to guarantee the rights to freedom of expression and, association, including online, and release any Facebook user detained or imprisoned on account of their peaceful exercise of these rights.
2) For the full Urgent Action, including appeal addresses and further information, please click on the Word or PDF version below.
3) Please let us know if you took action so that we can track our impact!
EITHER send a short email to uan@aiusa.org with “UA 132/16” in the subject line, and include in the body of the email the number of letters and/or emails you sent,
OR fill out this short online form to let us know how you took action
PDF version:
DOWNLOAD