วันจันทร์, มิถุนายน 13, 2559

รัฐเตรียมทุ่ม 5.5 ล้านล้านกระตุ้นลงทุน 5 ปี ด้านคลังจ่อรีด VAT 10% คนใช้เงินสด!!?? คำถามคือเงินจำนวนมากขนาดนี้ รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อมาลงทุนใช่หรือไม่?





การประกาศลงทุนจำนวนมหาศาลถึง 5.5 ล้านล้านบาทของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ซึ่งทำขึ้นเพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยนายสมคิดกล่าวว่าคาดหวังให้เอกชนกล้าลงทุนเช่นเดียวกับรัฐบาล

คำถามคือเงินจำนวนมากขนาดนี้ รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อมาลงทุนใช่หรือไม่?

อย่าลืมว่าในอดีตรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เคยกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท แต่กลับถูกผู้หลักผู้ใหญ่ระดับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประชาชนบางส่วนกล่าวว่าเป็นการสร้างหนี้จำนวนมหาศาลใช้คืนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานก็อาจยังไม่หมด

นอกจากนี้การที่กระทรวงการคลังเตรียมแผนการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) จาก 7% เป็น 10% สำหรับผู้ใช้เงินสดซื้อสินค้า เพื่อกระตุ้นการใช้ e-Payment การทำเช่นนี้เป็นการบีบบังคับและซ้ำเติมประชาชนในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้หรือไม่????

แม้รัฐจะสามารถเกิบภาษีได้มากขึ้น แต่ภาระก็ตกที่ประชาชนซึ่งต้องรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น จากราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นตามภาษี!!!

http://www.ispacethailand.org/economy/8714.html


iSpace Thailand


ooo


รัฐเตรียมทุ่ม 5.5 ล้านล้านกระตุ้นลงทุน 5 ปี ด้านคลังจ่อรีด VAT 10% คนใช้เงินสด!!??


BY BOURNE
JUNE 10, 2016
Ispace Thailand





ถือว่าน่าจับตามองมากกับการออกมาประกาศเพิ่มการลงทุนภาครัฐของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ในงาน “อนาคตประเทศไทยกับทศวรรษใหม่แห่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน” โดยมีเงินลงทุนมหาศาลถึง 5.5 ล้านล้านบาท โดยจะเน้นการลงทุนที่โครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนระบบดิจิตอล โครงการพลังงาน

นายสมคิด ระบุว่า มั่นใจประเทศไทยจะดีขึ้นหากทุกฝ่ายร่วมมือกัน แม้ว่าจีดีพีจะไม่โตแบบก้าวกระโดด โดยช่วงเดือนที่ผ่านมา มีข่าวดีตัวเลขอัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาส 1/2559 ที่ออกมาโต 3.2% แต่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หวังพึ่งพิงไม่ได้ ไทยจึงต้องพึ่งตัวเอง การดำเนินงานทั้งหมดเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยหวังให้หน่วยงานรัฐ และเอกชนเร่งลงทุนทั้งระบบ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการอย่างเข้มข้นตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป

เริ่มต้นจากการเปิดประมูลโครงการรถไฟ 3 เส้นทางเดือนมิถุนายนนี้ ได้แก่ สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 53,490 ล้านบาท สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 51,810 ล้านบาท และสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร วงเงิน 82,907 ล้านบาท ซึ่งวันที่ 10 มิถุนายน จะเดินทางร่วมกับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า





“รัฐบาลวางโครงการระยะ 5 ปี ทั้งการลงทุนระบบดิจิตอล จากวงเงินทั้งหมด 500,000 ล้านบาท แต่จะมีการเบิกจ่ายลงทุนปีนี้ 15,000 ล้านบาท โครงการพลังงาน วงเงิน 2.5 ล้านล้านบาท และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีก 2.5 ล้านล้านบาท รวมแล้ว 5.5 ล้านล้านบาท เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ดังนั้น หวังว่าเอกชนจะกล้าลงทุนตามภาครัฐ เพราะปีนี้รัฐบาลมีมาตรการลดหย่อนภาษีให้ 2 เท่าสำหรับเอกชนที่ลงทุนปีนี้เท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยต่ำมากเอื้อต่อการลงทุน ทั้งหมดนี้หากดำเนินการร่วมกันเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นได้” นายสมคิดกล่าว





สอดคล้องกับกระทรวงการคลังที่มีแนวคิด เรื่องการสนับสนุนให้ประชาชนหันไปใช้จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดย นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่า กระทรวงการคลังมีแนวคิดปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเรื่องแรกที่ทำในเวลานี้คือ การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์(National e-Payment) ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมประเทศไทย ในการลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสด โดยหากระบบสมบูรณ์จะลดต้นทุนได้ถึง 75,000 ล้านบาทต่อปี และลดการใช้เอกสาร รวมทั้งจะทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีได้เพิ่มปีละ 100,000 ล้านบาท





“ต่อไปบัตรประชาชนใบเดียวนำไปใช้ได้ทุกที่ หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือก็โอนเงินได้ ดังนั้น เมื่อระบบพร้อมแล้ว การจูงใจให้คนไทยใช้ e-Payment คือ ถ้าใครชำระเป็นเงินสด จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 10% แต่ถ้าจ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะเสีย VAT แค่ 7%” นายสมชัยกล่าว





อย่างไรก็การประกาศเพิ่มการลงทุนจำนวนมหาศาลถึง 5.5 ล้านล้านบาทของนายสมคิด ยังคงน่าติดตามว่าจะหาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาจากที่ไหน จะต้องกู้เงินใช่หรือไม่? และหากว่ารัฐบาลต้องกู้เงินจำนวนมากมายขนาดนั้นมาเพื่อการลงทุน จะไปกู้ที่ไหน? ในช่วงแรกที่รัฐบาลคสช. เข้ามาบริหารประเทศก็มีแนวคิดที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกันมาแล้ว แต่ก็ยังคงไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นปัญหาจากต้นทุนที่สูงเพราะประเทศที่สนใจลงทุนมีไม่มาก อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้อีกด้วย





ที่สำคัญโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลคสช. ที่ประสบปัญหาดังกล่าวยังใช้งบประมาณไม่ถึง 5.5 ล้านล้านบาท ด้วยซ้ำ และการลงทุนภาครัฐครั้งนี้ นายสมคิด ก็กล่าวเองว่า คาดหวังให้เอกชนกล้าลงทุน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกิดเอกชนไม่ลงทุนตามที่นายสมคิดคาดหวัง???

นอกจากนี้ การที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) สำหรับผู้ใช้เงินสดจาก 7% เป็น 10% นั้น เป็นการซ้ำเติม และบังคับประชาชนมากไปหรือไม่? เศรษฐกิจในวันนี้ถือว่ายังไม่ดี ค่าครองชีพสูงเกินกว่ารายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 3% ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ภาระย่อมตกเป็นของประชาชนผู้บริโภค เพราะสินค้าย่อมต้องขึ้นราคาตามภาษีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเท่ากับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แม้จะมีทางเลือกให้ประชาชนหันไปใช้ e-Payment แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ต้องใช้เงินสดอยู่ดี





แนวคิดนี้ย่อมทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้นอย่างแน่นอน แต่เมื่อประชาชนต้องรับภาระจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจของไทยในวันนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรทำแล้วอย่างนั้นหรือ???

อย่าลืมว่าในอดีตผู้หลักผู้ใหญ่ระดับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงประชาชนบางกลุ่มยังเคยออกมาให้ความเห็นเรื่องการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าเป็นการสร้างหนี้สินจำนวนมหาศาลจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานก็ยังชดใช้ไม่หมด แต่วันนี้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนของรัฐบาลคสช.อาจมากกว่านั้นถึง 2 เท่าตัว!!!

Reference

http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000057497

http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1465375787