วันเสาร์, มิถุนายน 30, 2561

อดีตปลัด พม.กินยาฆ่าตัวตาย คาดปมโกงเงินคนจน - ไล่เรียงเหตุการณ์ 2 ฮีโร่ชุดนักศึกษา เปิดโปงโกงเงินคนจน




https://www.youtube.com/watch?v=qVoYvWH8Xag

อดีตปลัด พม.กินยาฆ่าตัวตาย คาดปมโกงเงินคนจน | 29-06-61 | ไทยรัฐนิวส์โชว์

thairath
Published on Jun 29, 2018


อดีตปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสียชีวิตภายในบ้านพักที่จังหวัดปทุมธานี ส่วนภรรยาอาการสาหัสถูกนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งจากการตรวจสอบพบแก้วไวน์ที่ถูกดื่มไปแล้ววางอยู่บนหัวเตียงนอน คาดว่าผู้เสียชีวิตมีอาการเครียดจากการถูก ป.ป.ง.ร้องทุกข์กล่าวโทษกรณีทุจริตเงินสงเคราะห์คนยากจนไร้ที่พึ่งและถูกให้ออกจากตำรวจ จึงชักชวนภรรยากินยาฆ่าตัวตาย

ooo


ไล่เรียงเหตุการณ์ 2 ฮีโร่ชุดนักศึกษา เปิดโปงโกงเงินคนจน





6 มี.ค. 61
Sanook.com


สืบเนื่องจากการร่อนบัตรสนเท่ห์ร้องเรียนเรื่องการทุจริตเงินสงเคราะห์ หรือ เงินคนจน ของ น.ส.ปณิดา ยศปัญญา อายุ 23 ปี หรือ น้องแบม นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เข้าฝึกงานในศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดขอนแก่น

ไล่เรียงเหตุการณ์ ก่อนถึงขั้นเปิดโปง

วันที่ 7 สิงหาคม – ปลายเดือนกันยายน 2560 น้องแบม ได้เข้าฝึกงานพร้อมเพื่อนอีก 3 คน ที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดขอนแก่น น้องแบม พบความผิดปกติ ตั้งแต่วันแรกของการทำงาน เนื่องจาก ผอ.ศูนย์คุ้มครองฯ ดังกล่าวได้พา นักศึกษาฝึกงานไปที่บ้านพักส่วนตัว ซึ่งเมื่อถึงบ้าน ผอ.ศูนย์คุ้มครองฯ พบเจ้าหน้าที่ 2 คน กำลังนั่งทำเอกสารจำนวนมาก แต่ตนไม่ได้เอะใจ เพราะวันแรกได้ทำเพียงการเย็บมุม และ จัดเอกสาร





วันต่อมาได้ถูกสั่งให้กรอกเอกสาร ที่เรียกว่า ใบสอบประวัติผู้ประสบปัญหา ซึ่งใบดังกล่าวว่างเปล่า ไม่มีแม้แต่รอยปากกา โดยเอกสารเหล่านั้นถูกแนบมากับสำเนาบัตรประชาชนที่มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว น้องแบมจึงเกิดความสงสัยต่อการทำงาน เพราะตนไม่สามารถกรอกข้อมูล เช่น รายได้ สถานะทางครอบครัว หรือ ความต้องการ ได้ เนื่องจากไม่ได้ลงไปตรวจสอบหรือซักถาม ซึ่งจุดนี้เจ้าหน้าที่ได้บอกกับน้องแบมว่า ให้ทำตามที่ต้องการ ดูจากอายุ และเดาเอา

จุดที่ทำให้น้องแบม เอะใจยิ่งขึ้นอีก คือ ในใบสำคัญรับเงิน ไม่ปรากฏรายละเอียดอะไร มีเพียงแต่ การลงชื่อของผู้รับเงินไว้แบบลอยๆ บางแผ่นมีลายเซ็น แต่บางแผ่นก็ไม่มี และเจ้าหน้าที่ยังให้น้องแบมทำการปลอมลายเซ็นขึ้นมาด้วย โดยคนที่สั่งให้น้องแบมทำคือ นางพวงพะยอม ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและเจ้าหน้าที่อีก 3 คน

น้องแบมได้ไปถามเจ้าหน้าที่คนอื่นที่อยู่ในศูนย์ เรื่องที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำเอกสารที่บ้านผอ. ได้รับคำตอบจาก น.ส.ณัฐกานต์ หมื่นพล ซึ่งตอนนี้ กลายเป็นอดีตลูกจ้างศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขอนแก่น ว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายปลอมแปลงเอกสาร จึงตัดสินใจช่วยกันเปิดโปงขบวนการดังกล่าว

ต้นเดือนตุลาคม 2560 น้องแบมไม่นิ่งนอนใจ นำเรื่องนี้ไปปรึกษาอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่อาจารย์แนะนำให้เปลี่ยนที่ฝึกงาน และเหตุการณ์พลิกผัน อาจารย์กับเจ้าหน้าที่ศูนย์ที่ทำการทุจริตได้พูดคุยกัน และลงความเห็นว่าเป็นการเข้าใจผิด พร้อมให้น้องแบมและเพื่อนๆ คุกเข่าแล้วก้มกราบขอโทษ

11 ตุลาคม 2560 หลังจากเหตุการณ์นั้น น้องแบม ทำการเก็บข้อมูลหลักฐานทั้งหมดระหว่างการฝึกงาน ร่วมกับ น้องเกมส์ ณัฐกานต์ หมื่นพล ที่ได้ถูกสั่ง ให้ปลอมเอกสารราชการ กรอกข้อมูลสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย เอกสารผู้ติดเชื้อเอดส์ ลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงินรวมกว่า 2,000 ชุด เป็นเงินกว่า 6.9 ล้านบาท แล้วยื่นเรื่องต่อ สำนักงานเลขาธิการ คสช. จนนำไปสู่การขยายผลตรวจสอบทั้งใน จ.ขอนแก่น และจังหวัดอื่นทั่วประเทศ รวม 37 ศูนย์

แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ คสช. และ ป.ป.ท. เริ่มลงตรวจสอบ น้องแบมยังถูกอาจารย์เรียกเข้าไปพบ พร้อมบอกกับเธอว่า ถ้าจะร้องเรียนทำไมไม่ให้เรียนจบก่อน ทำแบบนี้ทำไม หน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบทำอะไรไม่ได้หรอก จากนั้นหัวหน้าภาควิชา ก็ใช้มือทุบหลังน้องแบม 2 ครั้งเหมือนจะระบายอารมณ์ ซึ่งเธอไม่เข้าใจการกระทำตรงนั้นเลย





เจอเพิ่มอีกเป็น 24 จังหวัด โกงเงินคนจน

ขณะนี้ พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ได้ตรวจสอบพบว่ามีจังหวัดที่เข้าข่ายการทุจริตศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งรวมแล้ว 24 จังหวัด คือ

1. ขอนแก่น ตรวจสอบพบมียอดเบิก 6.9 ล้านบาท (ที่ที่น้องแบมฝึกงาน)
2. สุราษฎร์ธานี 10.5 ล้านบาท
3. เชียงใหม่ 8.5 ล้านบาท
4. อุดรธานี 7.3 ล้านบาท
5. สระบุรี 2.58 ล้านบาท
6. หนองคาย 1.5 ล้านบาท
7. บึงกาฬ 1.5 ล้านบาท
8. อยุธยา 1.3 ล้านบาท
9. กระบี่ 1.2 ล้านบาท
10. ตรัง 1.2 ล้านบาท
11. น่าน 1 ล้านบาท
12. ตราด 9.2 ล้านบาท
13. ร้อยเอ็ด 7 แสนบาท
14. สระแก้ว 6.3 ล้านบาท
ส่วนอีก 10 จังหวัดที่เหลือยังอยู่ในขั้นการตรวจสอบ ได้แก่ 1.ยะลา 2.สงขลา 3.นราธิวาส 4.พัทลุง 5.ชุมพร 6.บุรีรัมย์ 7.สุรินทร์ 8.อ่างทอง 9.พิษณุโลก 10.ชัยภูมิ

พฤติกรรมการทุจริตของศูนย์ฯ 10 จังหวัด ที่พบล่าสุด จะเป็นรูปแบบใหม่ คือ มีการนำชื่อบรรดาข้าราชท้องถิ่น อาทิ ภรรยาผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันมาเบิกเงินทั้งที่คุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ เช่น ไม่ได้ยากไร้ เจ็บป่วย แต่กลับมีชื่อได้รับเงินดังกล่าวด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาตั้งอนุกรรมการไต่สวนต่อไป



ยอดการเบิกจ่ายเงินสงเคราะห์ที่ผ่านมา มาดูกันว่าแต่ละปีรัฐบาลจ่ายไปเท่าไหร่


ปีงบประมาณ 2559 มีผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ 298,022 คน ยอดเงินที่เบิก คือ 599.74 ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2560 มีผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ 246,872 คน ยอดเงินที่เบิก คือ 493.74 ล้านบาทปีงบประมาณ 2561งวดที่ 1 มีผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ 137,239 คน ยอดเงินที่เบิก คือ 274.47 ล้านบาทรวมย้อนหลังเพียง 3 ปีงบประมาณ มีผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ 682,133 คน ยอดเงินที่รัฐจ่ายไปก็อยู่ที่ 1,367.96 ล้านบาท

ด้าน พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. บอกว่า สำหรับใครที่ไม่ได้รับเงิน หรือได้ไม่ครบตามจำนวนที่ปรากฏในเอกสารการเบิกจ่าย สามารถมาแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ของตนได้เลย เจ้าหน้าที่จะทำการสืบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งจากพฤติกรรมที่ปรากฏจนเป็นข่าวแบบนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะถูกดำเนินคดี 3 ข้อหาหนัก ประกอบด้วย ม.157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดจำคุก 10 ปี และ ม.264 ปลอมแปลงเอกสารราชการ และ ม.352 ยักยอกทรัพย์ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำดังกล่าวหากไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็จะถูกจัดให้เป็นผู้ร่วมให้การสนับสนุนซึ่งจะมีความผิดเช่นเดียวกัน

...