World Press Freedom Day 2017
Critical Minds for Critical Times: Media’s role in advancing peaceful, just and inclusive societies
Every year, 3 May is a date which celebrates the fundamental principles of press freedom; to evaluate press freedom around the world, to defend the media from attacks on their independence and to pay tribute to journalists who have lost their lives in the exercise of their profession.
Every year, 3 May is a date which celebrates the fundamental principles of press freedom; to evaluate press freedom around the world, to defend the media from attacks on their independence and to pay tribute to journalists who have lost their lives in the exercise of their profession.
Video message by UN Secretary-General António Guterres
Source: UNESCO
1236 journalists have been killed since 1992.— Al Jazeera English (@AJEnglish) May 3, 2017
On #WorldPressFreedomDay we look at the state of press freedom today: pic.twitter.com/03tOCy3FCV
ooo
วันเสรีภาพสื่อโลก: สื่อเดิมกำลังถูกท้าทาย และเสรีภาพสื่อคือสมบัติของอนาคต
By กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
3 พฤษภาคม 2560
ผู้อำนวยการยูเนสโกระบุ สื่อรูปแบบดั้งเดิมกำลังถูกท้าทายอย่างหนักเพราะสื่อออนไลน์ แต่ข้อมูลปลอมก็เป็นเรื่องต้องเร่งสร้างความเท่าทัน ขณะที่ รองปธน. อินโดฯ ชี้ เสรีภาพสื่อต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ แต่ไม่ได้แปลว่าต้อง "เซนเซอร์" หรือ "ลงโทษ"
3 พ.ค. 2560
การจัดงานเสรีภาพสื่อโลกประจำปี 2560 ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย มีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกราว 1,500 คน นางอิรินา โบโควา ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโกระบุว่า สื่อรูปแบบดั้งเดิมกำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากสื่อในยุคดิจิทัล และสื่อออนไลน์เองก็ต้องเผชิญกับเส้นแบ่งระหว่างคุณค่าข่าวและโฆษณา การตั้งคำถามและแนวคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นพอๆ กับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดข้อมูลความรู้ไปต่อสู้กับปรากฎการณ์ Post Truth และข่าวปลอมที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน รวมถึงต้องสนับสนุนให้เกิดความรู้เท่าทันสื่อต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน
ด้านนาย ยูซุฟ คัลลา รองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย กล่าวเปิดงานเสรีภาพสื่อโลกประจำปี 2560 ว่าเสรีภาพนั้นไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ส่งเสริมการสร้างสันติภาพ สื่อวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้ รัฐบาลต้องการสื่อ แต่สื่อต้องมีความรับผิดชอบเช่นกัน หากปราศจากเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ สื่อกับรัฐบาลก็ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
เขาเชื่อว่า เสรีภาพสื่อนั้นเป็นประโยชน์ต่ออนาคต และนั้นจึงเป็นเหตุผลที่สื่อจะต้องปกป้องเสรีภาพสื่อเอาไว้
นายคัลลากล่าวว่าในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บรรยากาศเสรีภาพสื่อในอินโดนีเซียนั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมที่เป็นที่จับตา จากทั่วโลก แต่วันนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สื่อมีเสรี
นายคัลลากล่าวว่าในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บรรยากาศเสรีภาพสื่อในอินโดนีเซียนั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมที่เป็นที่จับตา จากทั่วโลก แต่วันนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สื่อมีเสรีภาพ และส่งเสริมบรรยากาศประชาธิปไตย และรัฐบาลประชาธิปไตยนั้นต้องการสื่อที่มีเสรีภาพเช่นกัน
“หนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่ต้องปกป้องก็คือเสรีภาพสื่อ”
นายคัลลาระบุด้วยว่า เมื่อพูดถึงสื่อ ไม่ได้แปลว่า ต้องมีเสรีภาพโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบ เพราะสื่อสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสันติภาพ การธำรงความเป็นธรรมและความยุติธรรม แต่การรับผิดชอบของสื่อ ไม่ได้หมายถึงต้องลงโทษหรือปิดกั้นการนำเสนอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีสื่อสาร การปิดกั้นสื่อเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
“เสรีภาพไม่ใช่เพื่อเสรีภาพโดยตัวเอง แต่เสรีภาพนั้นก็ต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบไม่ได้หมายความว่าต้องมีบทลงโทษ หรือปิดกั้นการนำเสนอ” รองประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าว
ผู้อำนวยการยูเนสโกระบุ สื่อรูปแบบดั้งเดิมกำลังถูกท้าทายอย่างหนักเพราะสื่อออนไลน์ แต่ข้อมูลปลอมก็เป็นเรื่องต้องเร่งสร้างความเท่าทัน ขณะที่ รองปธน. อินโดฯ ชี้ เสรีภาพสื่อต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ แต่ไม่ได้แปลว่าต้อง "เซนเซอร์" หรือ "ลงโทษ"
3 พ.ค. 2560
การจัดงานเสรีภาพสื่อโลกประจำปี 2560 ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย มีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกราว 1,500 คน นางอิรินา โบโควา ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโกระบุว่า สื่อรูปแบบดั้งเดิมกำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากสื่อในยุคดิจิทัล และสื่อออนไลน์เองก็ต้องเผชิญกับเส้นแบ่งระหว่างคุณค่าข่าวและโฆษณา การตั้งคำถามและแนวคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นพอๆ กับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดข้อมูลความรู้ไปต่อสู้กับปรากฎการณ์ Post Truth และข่าวปลอมที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน รวมถึงต้องสนับสนุนให้เกิดความรู้เท่าทันสื่อต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน
ด้านนาย ยูซุฟ คัลลา รองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย กล่าวเปิดงานเสรีภาพสื่อโลกประจำปี 2560 ว่าเสรีภาพนั้นไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ส่งเสริมการสร้างสันติภาพ สื่อวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้ รัฐบาลต้องการสื่อ แต่สื่อต้องมีความรับผิดชอบเช่นกัน หากปราศจากเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ สื่อกับรัฐบาลก็ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
เขาเชื่อว่า เสรีภาพสื่อนั้นเป็นประโยชน์ต่ออนาคต และนั้นจึงเป็นเหตุผลที่สื่อจะต้องปกป้องเสรีภาพสื่อเอาไว้
นายคัลลากล่าวว่าในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บรรยากาศเสรีภาพสื่อในอินโดนีเซียนั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมที่เป็นที่จับตา จากทั่วโลก แต่วันนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สื่อมีเสรี
นายคัลลากล่าวว่าในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บรรยากาศเสรีภาพสื่อในอินโดนีเซียนั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมที่เป็นที่จับตา จากทั่วโลก แต่วันนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สื่อมีเสรีภาพ และส่งเสริมบรรยากาศประชาธิปไตย และรัฐบาลประชาธิปไตยนั้นต้องการสื่อที่มีเสรีภาพเช่นกัน
“หนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่ต้องปกป้องก็คือเสรีภาพสื่อ”
นายคัลลาระบุด้วยว่า เมื่อพูดถึงสื่อ ไม่ได้แปลว่า ต้องมีเสรีภาพโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบ เพราะสื่อสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสันติภาพ การธำรงความเป็นธรรมและความยุติธรรม แต่การรับผิดชอบของสื่อ ไม่ได้หมายถึงต้องลงโทษหรือปิดกั้นการนำเสนอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีสื่อสาร การปิดกั้นสื่อเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
“เสรีภาพไม่ใช่เพื่อเสรีภาพโดยตัวเอง แต่เสรีภาพนั้นก็ต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบไม่ได้หมายความว่าต้องมีบทลงโทษ หรือปิดกั้นการนำเสนอ” รองประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าว