Sun, 2016-06-05 20:17
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
ที่มา ประชาไท
หมายเหตุ Technical terms:
1. โหวตเยส Vote Yes คือการไปลงคะแนนเสียงประชามติว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ
2. โหวตโน Vote No คือการไปลงคะแนนเสียงประชามติว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
3. โนโหวต No Vote หรือ บอยคอตต์ Boycott คือการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการลงประชามติครั้งนี้
ขอบ่นก่อน
หลายคนอาจจะหงุดหงิดและสงสัยว่าพวกโหวตโนบางคน (โดยเฉพาะผม) มันอะไรกันนักกันหนาวะ ทำไมไม่ต่างคนต่างรณรงค์ไป อยากจะขอเรียนว่า ปัญหามันเกิดเมื่อมีการพูดพล่อยๆออกมาจากฝ่ายบอยคอตต์ประชามติว่า "พวกโหวตโนก็แค่ไปตี๊ดชึ่งเป็นหางเครื่องให้คณะรัฐประหารเท่านั้น"
เมื่อมีการทักท้วงทวงถามว่าผิดหรือไม่ กลับเงียบไปเหมือนยอมรับโดยดุษณีว่าผิด แต่ไม่ยอมรับผิด (มีอะไรไหม,,,?) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจมาก เพราะเมื่อฝั่งโหวตโน โดยเฉพาะผมได้ทำการโต้กลับ คนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ตามเรื่องนี้ตามลำดับเวลา หรือ Time Line เลยมักจะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าพวกโหวตโนเป็นกลุ่มที่ไปถล่มพวกบอยคอตต์ - ช่างมันเถอะครับ เอาไว้ก่อน วันนี้จะชวนมาแลกเปลี่ยนกัน ข้อเขียนนี้อาจจะยาวพอประมาณ แต่ใช้เวลาอ่านน้อยกว่านั่งฟังคำปราศรัยของแกนนำที่ไหนแน่ๆ
ความแตกต่างระหว่างบอยคอตต์กับโหวตโน
ก่อนที่จะให้พวกเราเข้าใจร่วมกันว่าทำไมต้องโหวตโนนั้น เราไปดูความแตกต่างโดยนัยยะสำคัญของพฤติกรรมของคำกล่าวเหล่านี้ก่อน
บอยคอตต์ หรือ Boycott ส่วนใหญ่ใช้ในมาตรการลงโทษทางการค้า การเมือง ฯลฯ ที่เราเห็นได้โดยทั่วไป คำๆนี้หมายถึงการไม่ร่วมกิจกรรมใดๆของอีกฝ่าย ด้วยเห็นว่าการกระทำที่ผ่านมาของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเลวร้าย
โหวตโน โดยนัยยะแล้วเป็นการพูดถึงเฉพาะเพียงกิจกรรมประชามติที่คณะกบฏ คสช.เป็นผู้จัดให้มีผ่านองคาพยพที่ตัวเองจัดตั้งขึ้น
แต่หากพิจารณาให้ครบถ้วนแล้วจะพบว่ากลุ่มที่ทำการโหวตโน คือกลุ่มที่ต่อต้านคณะกบฏมาตั้งแต่เริ่มต้น การออกมารณรงค์โหวตโนก็เป็นเพียงการปฏิเสธสิ่งที่คณะกบฏนี้หยิบยื่นให้อีกครั้งหนึ่งเท่านั้น หากเทียบพฤติกรรมของคำแล้วโหวตโน ก็คือการแทรกแซงหรือ sanction ในความหมายกว้าง หรือหมายถึงการต่อต้านคณะกบฏ คสช.นั่นเอง
หากเราเปรียบเทียบกรณีระหว่างประเทศสำคัญๆ เราจะพบว่าชาติมหาอำนาจมักจะมีการเลือกที่จะบอยคอตต์ก่อน หากไม่สำเร็จ การแทรกแซงหรือ sanction จึงจะตามมา เพราะขณะที่การบอยคอตต์คือการไม่ยอมยุ่ง ไม่ร่วมดัวยนั้น การแทรกแซงกลับเป็นการเข้าไปปัดแข้งปัดขาทำให้ยุ่งยากมากขึ้น
การที่รัฐบาลทหารพม่าอยู่มาได้นานถึง 50 ปีก็เพราะถูกบอยคอตต์จากนานาชาติ คือรัฐบาลต่างๆไม่ซื้อไม่ขายกับพม่า แต่เอกชนสามารถเข้าไปทำธุรกรรมได้ ต่างจากกรณีการแทรกแซงอิหร่านหรือรัสเซียโดยสิ้นเชิง (ผมขออนุญาตข้าม "ความเป็นการเมือง" ของการเลือกที่จะบอยคอตต์หรือแทรกแซง เพราะมันเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจที่จะเข้าไปตักตวง) สรุปสั้นๆว่าการบอยคอตต์คือการไม่ร่วมมือ ส่วนการแทรกแซงคือการลงโทษ
แต่การบอยคอตต์ทางการค้าในตัวอย่างที่ยกมานี้จึงไม่ต่างจากคำที่ว่า "ปากว่าตาขยิบ" นั่นเอง
ทำไมพวกโหวตโนต้องออกมาวิจารณ์พวกบอยคอตต์
อย่างที่บ่นไปข้างต้น แทนที่กลุ่มบอยคอตต์จะรณรงค์และยืนยันในแนวทางของตัวเองไป กลับใช้วิธีการทางการเมืองด้วยการออกมากล่าวพล่อยๆว่า
"...การออกไปเท่ากับไปติ๊ดชิ่งเป็นหางเครื่องให้วงดนตรีของเขาครบองค์ประกอบ..."
โดยเมื่อมีการทักท้วงทวงถามกลับเงียบหายไปเฉยๆ
อ่านที่นี่: สารจากคุณจิตรา คชเดช และพรรคพลังประชาธิปไตย ใครไปลงประชามติ คือการไปเป็นหางเครื่องให้กับระบอบรัฐประหาร
และล่าสุด ประแสง มงคลศิริ แกนนำพรรคพลังประชาธิปไตยซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีในการรณรงค์บอยคอตต์ได้ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า
1. โหวตเยส Vote Yes คือการไปลงคะแนนเสียงประชามติว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ
2. โหวตโน Vote No คือการไปลงคะแนนเสียงประชามติว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
3. โนโหวต No Vote หรือ บอยคอตต์ Boycott คือการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการลงประชามติครั้งนี้
ขอบ่นก่อน
หลายคนอาจจะหงุดหงิดและสงสัยว่าพวกโหวตโนบางคน (โดยเฉพาะผม) มันอะไรกันนักกันหนาวะ ทำไมไม่ต่างคนต่างรณรงค์ไป อยากจะขอเรียนว่า ปัญหามันเกิดเมื่อมีการพูดพล่อยๆออกมาจากฝ่ายบอยคอตต์ประชามติว่า "พวกโหวตโนก็แค่ไปตี๊ดชึ่งเป็นหางเครื่องให้คณะรัฐประหารเท่านั้น"
เมื่อมีการทักท้วงทวงถามว่าผิดหรือไม่ กลับเงียบไปเหมือนยอมรับโดยดุษณีว่าผิด แต่ไม่ยอมรับผิด (มีอะไรไหม,,,?) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจมาก เพราะเมื่อฝั่งโหวตโน โดยเฉพาะผมได้ทำการโต้กลับ คนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ตามเรื่องนี้ตามลำดับเวลา หรือ Time Line เลยมักจะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าพวกโหวตโนเป็นกลุ่มที่ไปถล่มพวกบอยคอตต์ - ช่างมันเถอะครับ เอาไว้ก่อน วันนี้จะชวนมาแลกเปลี่ยนกัน ข้อเขียนนี้อาจจะยาวพอประมาณ แต่ใช้เวลาอ่านน้อยกว่านั่งฟังคำปราศรัยของแกนนำที่ไหนแน่ๆ
ความแตกต่างระหว่างบอยคอตต์กับโหวตโน
ก่อนที่จะให้พวกเราเข้าใจร่วมกันว่าทำไมต้องโหวตโนนั้น เราไปดูความแตกต่างโดยนัยยะสำคัญของพฤติกรรมของคำกล่าวเหล่านี้ก่อน
บอยคอตต์ หรือ Boycott ส่วนใหญ่ใช้ในมาตรการลงโทษทางการค้า การเมือง ฯลฯ ที่เราเห็นได้โดยทั่วไป คำๆนี้หมายถึงการไม่ร่วมกิจกรรมใดๆของอีกฝ่าย ด้วยเห็นว่าการกระทำที่ผ่านมาของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเลวร้าย
โหวตโน โดยนัยยะแล้วเป็นการพูดถึงเฉพาะเพียงกิจกรรมประชามติที่คณะกบฏ คสช.เป็นผู้จัดให้มีผ่านองคาพยพที่ตัวเองจัดตั้งขึ้น
แต่หากพิจารณาให้ครบถ้วนแล้วจะพบว่ากลุ่มที่ทำการโหวตโน คือกลุ่มที่ต่อต้านคณะกบฏมาตั้งแต่เริ่มต้น การออกมารณรงค์โหวตโนก็เป็นเพียงการปฏิเสธสิ่งที่คณะกบฏนี้หยิบยื่นให้อีกครั้งหนึ่งเท่านั้น หากเทียบพฤติกรรมของคำแล้วโหวตโน ก็คือการแทรกแซงหรือ sanction ในความหมายกว้าง หรือหมายถึงการต่อต้านคณะกบฏ คสช.นั่นเอง
หากเราเปรียบเทียบกรณีระหว่างประเทศสำคัญๆ เราจะพบว่าชาติมหาอำนาจมักจะมีการเลือกที่จะบอยคอตต์ก่อน หากไม่สำเร็จ การแทรกแซงหรือ sanction จึงจะตามมา เพราะขณะที่การบอยคอตต์คือการไม่ยอมยุ่ง ไม่ร่วมดัวยนั้น การแทรกแซงกลับเป็นการเข้าไปปัดแข้งปัดขาทำให้ยุ่งยากมากขึ้น
การที่รัฐบาลทหารพม่าอยู่มาได้นานถึง 50 ปีก็เพราะถูกบอยคอตต์จากนานาชาติ คือรัฐบาลต่างๆไม่ซื้อไม่ขายกับพม่า แต่เอกชนสามารถเข้าไปทำธุรกรรมได้ ต่างจากกรณีการแทรกแซงอิหร่านหรือรัสเซียโดยสิ้นเชิง (ผมขออนุญาตข้าม "ความเป็นการเมือง" ของการเลือกที่จะบอยคอตต์หรือแทรกแซง เพราะมันเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจที่จะเข้าไปตักตวง) สรุปสั้นๆว่าการบอยคอตต์คือการไม่ร่วมมือ ส่วนการแทรกแซงคือการลงโทษ
แต่การบอยคอตต์ทางการค้าในตัวอย่างที่ยกมานี้จึงไม่ต่างจากคำที่ว่า "ปากว่าตาขยิบ" นั่นเอง
ทำไมพวกโหวตโนต้องออกมาวิจารณ์พวกบอยคอตต์
อย่างที่บ่นไปข้างต้น แทนที่กลุ่มบอยคอตต์จะรณรงค์และยืนยันในแนวทางของตัวเองไป กลับใช้วิธีการทางการเมืองด้วยการออกมากล่าวพล่อยๆว่า
"...การออกไปเท่ากับไปติ๊ดชิ่งเป็นหางเครื่องให้วงดนตรีของเขาครบองค์ประกอบ..."
โดยเมื่อมีการทักท้วงทวงถามกลับเงียบหายไปเฉยๆ
อ่านที่นี่: สารจากคุณจิตรา คชเดช และพรรคพลังประชาธิปไตย ใครไปลงประชามติ คือการไปเป็นหางเครื่องให้กับระบอบรัฐประหาร
และล่าสุด ประแสง มงคลศิริ แกนนำพรรคพลังประชาธิปไตยซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีในการรณรงค์บอยคอตต์ได้ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า
1
"อีกอย่างเราไปใช้วาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' ออกมาในความหมายเชิงลบ คือตำหนิผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิ ผมมองว่าใครก็มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้นโดยชอบ จะไปตำหนิเขาทำไม เขาเลือกจะไม่ใช้สิทธิ ระบอบประชาธิปไตยนะครับ The Sound of Silence เสียงแห่งความเงียบ ไงครับ"
แต่ขณะเดียวกัน
2
“การไปโหวตโน มีค่าเท่ากับการยอมรับกติกาที่เผด็จการกำหนดเอาเองอย่างขาดความชอบธรรม ย่อมจะกลายเป็นตราประทับให้กับผลพวงต่างๆ ที่จะเกิดตามมาโดยไม่อาจปฏิเสธได้”
อ่านที่นี่: คุยกับ ‘ประแสง’ ทำไมถึง บอยคอต ยัน ‘พลังประชาธิปไตย’ ไม่ลงเลือกตั้งใต้ รธน.นี้
แปลกดีไหมครับ ว่าการที่จะบอยคอตต์เป็นการใช้สิทธิ แต่การไปโหวตโนคือการไปประทับตราให้กับคณะกบฏ ตกลงใครตำหนิใครกันแน่ครับ ผมเริ่มสับสนกับวิธีคิดของประแสงเต็มที
ยิ่งกับคำกล่าวที่ว่า “เราเพียงหวังว่า หากประชาชนเขาไม่มาใช้สิทธิได้เกินครึ่ง ยิ่งดี พูดตรงๆ ถ้ามีพรรคใหญ่เอาแนวทางบอยคอตด้วย เพียงพรรคเดียว มันจะไปถึง 60-65% ด้วยซ้ำ คสช. จะหมดความชอบธรรมทันทีกับทุกสิ่ง ไม่เฉพาะร่างรัฐธรรมนูญมีชัย” (อ้างแล้ว)
เราคงต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า การลงสมัครรับเลือกตั้งคือทางเลือกเดียวของพรรคการเมือง การที่พรรคประชาธิปัตย์บอยคอตต์การเลือกตั้ง เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2557 ก็เพราะเขามีทางเลือกอื่นซึ่งเขาเป็นคนสร้างเงื่อนไขให้เกิดทางเลือกอื่นนั้นเอง ซึ่งนั่นก็คือการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ
หากเราไปดู สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 19 ส.ค. 2550 จำแนกตามรายภาค (ขอบคุณธนาพล อิ๋วสกุล สำหรับการสืบค้นข้อมูล) thprc.org/summary_of_referendum_thaicon50
เอาเฉพาะภาคอีสานที่เป็นฐานเสียงใหญ่ของพรรคเพื่อไทยแล้วกัน ผู้มีสิทธิออกเสียง 15,351,973 คน มาใช้สิทธิ 8,350,677 คน คิดเป็นร้อยละ 54.39
บัตรที่นับเป็นคะแนน 8,200,139 เห็นชอบ 3,050,182 คิดเป็น 36.53 % ไม่เห็นชอบ 5,149,957 คิดเป็น 61.6 %
นั่นคือคนอีสานปฏิเสธรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ด้วยการโหวตโนไม่รับนั่นเอง รัฐธรรมนูญ 2550 สำหรับคนอีสานก็คือการประกาศว่ารัฐประหาร 2549 มันไม่มีความชอบธรรม แล้วทำไมประแสงถึงจะชวนคนไม่ให้ไปใช้สิทธิ (เอาเถอะ คนไม่ไปใช้สิทธิอาจจะนอน ยืน เดิน หรือนั่งเฉยๆก็ได้) ซึ่งเสียงเหล่านี้จะไม่ถูกนับและเราไม่มีทางรู้เลยว่าเสียงที่ไม่ถูกนับนี้คืออะไร คนอีสานในปีนี้ที่หายไปไม่มาใช้สิทธิ อาจจะเพราะเขามากระเสือกกระสนหางานทำในกรุงเทพฯ เพราะรัฐบาลเผด็จการทหารไม่ได้ประกันราคาข้าวให้เขาก็เป็นได้
.
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวขอแสดงความเห็นใจและเข้าใจว่าการที่ประแสงและพรรคพลังประชาธิปไตยถูกกล่าวหาว่ารับเงิน คสช. มาตัดคะแนนโหวตโน ในการทำประชามตินั้น เป็นการใส่ความที่น่ารังเกียจมาก ไม่ต่างกับเมื่อตอนที่กลุ่มญาติผู้เสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง ปี 2553 ออกมาเคลื่อนไหวเสนอร่างฯ ฉบับประชาชน และค้าน ร่างฯเหมาเข่ง ก็เคยถูกกล่าวหาว่ารับเงินพรรคประชาธิปัตย์บ้าง รับเงิน คปท.บ้าง ซึ่งคนกล่าวหาก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกล แกนนำ นปช. กับนักวิชาการสายเสื้อแดงนี่แหละ อย่างที่บอก
และการที่ประแสงกับพรรคพลังประชาธิปไตยถูกกล่าวหา เพราะฝั่งนั้นเขาพร้อมที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเต็มที่แล้ว ไม่ว่าจะภายใต้รัฐธรรมนูญท็อปบู๊ทใดก็ตาม.
(เพื่อความเป็นธรรมมีกลุ่มนักวิชาการเล็กๆยืนยันมาก่อนหน้านี้นานแล้วว่าจะ No Vote ก่อนที่พรรคพลังประชาธิปไตยจะออกมารณรงค์บอยคอตต์ และสองกลุ่มนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน และมีความแตกต่างในรายละเอียดของวิธีคิด)
ทำไมต้องนับไม่นับไม่ได้หรือ
The Sound of Silence ตามที่ประแสงอ้างถึงคือชื่อเพลงที่อาจจะเก่าไปสักหน่อย เสด็จพ่อร็องซีแยร์ของผมสอนนักสอนหนาว่า "เราต้องทำให้คนที่ถูกนับแต่ไม่รวมกับส่วนที่ถูกนับให้ถูกนับให้ได้" นั่นคือคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมต้องออกมาส่งเสียง(สำนวน) คือทำให้มันปรากฏว่าสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่ต้องการคืออะไร หลังการลงประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 ที่คนอีสานโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญ การที่พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งถึง 233 เสียง มันก็ชัดอยู่แล้วว่านี่คือ the Silent Revolution - การปฏิวัติของความเงียบ แล้วมันไปกันได้กับสิ่งที่ประแสงเสนอหรือ
สิ่งที่ถูกต้องก็คือคนตัวเล็กตัวน้อยต้องออกมาแสดงพลังให้เห็นว่า "เราไม่รับ" "เราไม่เอา" ต่างหาก นั่นถึงจะทำให้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าประชาชนส่วนใหญ่ออกมาปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มกบฏ คสช นี่ต่างหากที่เป็นสิ่งที่เหล่ากบฏกลัวกันมาตลอด
การชิงคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ ยังไม่ได้บอกอะไรเราเลยหรือ...?
.
การไปลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของกบฏ คสช. ในครั้งนี้ ก็คือการแสดงตัวเองออกมาในที่สาธารณะให้ถูกนับว่าเราไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งหมายถึงเราไม่เอาคณะกบฏ คสช นี้ และเราจะไม่ยอมรับการรัฐประหารใดๆอีกต่อไป เพราะถ้าหากเราบอยคอตต์ คณะกบฏ คสช เสียตั้งแต่เมื่อสองปีก่อน ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆที่คณะกบฏนี้จะต้องมาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อมาทำประชามติให้วุ่นวายใจของพวกมัน
.
และแน่นอนครับ ต่อให้เราโหวตโนชนะถล่มทลาย อย่าหวังว่าพวกคณะกบฏมันจะ "ออกไป" เราทำได้เท่าที่ทำได้อย่างสงบและสันติแหละครับ
ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม การบอกว่า บอยคอตต์หรือโนโหวต ก็คือการบอกว่า "กูไม่เอาด้วย" ส่วนการบอกว่าโหวตโน ก็คือการบอกว่า "กูไม่กลัวมึง" นั่นเอง
เลือกที่จะพูดสักอย่างเถิดครับ สิทธิเป็นของเรา.
0000
หมายเหตุ: ช่วงระหว่างที่รอลงประชามติ ฟังเพลง "โหวตไม่เอา แล้วตีตก" ดัดแปลงจากเพลง"อย่างนี้ต้องตีเข่า" ของคุณทอม ดันดี ที่พลเมืองโต้กลับจัดทำขึ้นเพื่อคารวะความเป็นนักสู้ของแก แล้วช่วยพิจารณาหน่อยว่าบรรดาคนที่มาเล่นมิวสิควิดีโอใช่หางเครื่องของคณะรัฐประหารหรือเปล่าครับ.
#เพลงมา
#โฉมหน้าหางเครื่อง
หมายเหตุ (จากประชาไท):
จากบทความ 'ทำไมเราต้องโหวตโน' ที่เขียนและอนุญาตให้เผยแพร่ในประชาไทโดยคุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ประชาไทขอยอมรับว่า ได้มีการเสนอข้อความคลาดเคลื่อนจากการไดเรคโคว้ทากคำว่า
"...การออกไปเท่ากับไปติ๊ดชิ่งเป็นหางเครื่องให้วงดนตรีของเขาครบองค์ประกอบ..."
เป็นคำว่า
"พวกโหวตโนก็แค่ไปตี๊ดชึ่งเป็นหางเครื่องให้คณะรัฐประหารเท่านั้น"
ทางประชาไทต้องขออภัยคุณ จิตตรา คชเดช ที่ไม่ได้ตรวจสอบคำพูดจากต้นทางโดยยึดจากต้นฉบับของคุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ในการใช้ ไดเรคต์โคว้ท จนสร้างความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคุณจิตตรา และต้องขอขอบพระคุณ คุณเทวฤทธิ์ มณีฉาย เป็นอย่างสูงที่กรุณาท้วงติงเพื่อความถูกต้องตามต้นฉบับมา ณ ที่นี่
สำหรับบทความชิ้นนี้ทางประชาไทได้พิจารณาเนื้อหาโดยรวมแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการถกเถียงแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน และได้ปรึกษาขออนุญาตคุณพันธ์ศักดิ์ ผู้เขียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอแก้ไขไดเรคโคว้ทให้ถูกต้องตามต้นทาง พร้อมคำชี้แจงเหตุแห่งการแก้ไขในส่วนท้ายของบทความและทำการเผยแพร่ต่อไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
คุยกับ ‘ประแสง’ ทำไมถึง บอยคอต ยัน ‘พลังประชาธิปไตย’ ไม่ลงเลือกตั้งใต้ รธน.นี้
จิตตรา คชเดช: บอยคอต ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย
หมายเหตุ (จากประชาไท):
จากบทความ 'ทำไมเราต้องโหวตโน' ที่เขียนและอนุญาตให้เผยแพร่ในประชาไทโดยคุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ประชาไทขอยอมรับว่า ได้มีการเสนอข้อความคลาดเคลื่อนจากการไดเรคโคว้ทากคำว่า
"...การออกไปเท่ากับไปติ๊ดชิ่งเป็นหางเครื่องให้วงดนตรีของเขาครบองค์ประกอบ..."
เป็นคำว่า
"พวกโหวตโนก็แค่ไปตี๊ดชึ่งเป็นหางเครื่องให้คณะรัฐประหารเท่านั้น"
ทางประชาไทต้องขออภัยคุณ จิตตรา คชเดช ที่ไม่ได้ตรวจสอบคำพูดจากต้นทางโดยยึดจากต้นฉบับของคุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ในการใช้ ไดเรคต์โคว้ท จนสร้างความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคุณจิตตรา และต้องขอขอบพระคุณ คุณเทวฤทธิ์ มณีฉาย เป็นอย่างสูงที่กรุณาท้วงติงเพื่อความถูกต้องตามต้นฉบับมา ณ ที่นี่
สำหรับบทความชิ้นนี้ทางประชาไทได้พิจารณาเนื้อหาโดยรวมแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการถกเถียงแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน และได้ปรึกษาขออนุญาตคุณพันธ์ศักดิ์ ผู้เขียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอแก้ไขไดเรคโคว้ทให้ถูกต้องตามต้นทาง พร้อมคำชี้แจงเหตุแห่งการแก้ไขในส่วนท้ายของบทความและทำการเผยแพร่ต่อไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
คุยกับ ‘ประแสง’ ทำไมถึง บอยคอต ยัน ‘พลังประชาธิปไตย’ ไม่ลงเลือกตั้งใต้ รธน.นี้
จิตตรา คชเดช: บอยคอต ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย
ooo
https://www.youtube.com/watch?v=uUC0PFkliyM
ปลายทาง : อาเล็ก กงลี่ อ้อม แก้ว ซัน ศิรินันทร์
SHTV
Published on Jun 3, 2016
ติดต่อเราได้แล้วทุกช่องทาง
YouTube : www.youtube.com/thaipeacetv