ที่มา ศนปท.
แถลงการณ์จากกลุ่มนิสิตที่โปรยใบปลิว
นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กระทำการรัฐประหาร ได้มีการเรียกผู้ตัวคนจำนวนหลายร้อยคนให้มารายงานตัว และคุกคามคนอีกเป็นจำนวนมาก ตลอดจนสร้างภาวะความหวาดกลัวขึ้นในสังคม จากตลอดช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา
การแสดงออกต่อต้านเพียงเล็กน้อยในสถานการณ์ธรรมดาอย่างการชูสามนิ้ว กินแซนด์วิช การโปรยใบปลิว
และอ่านหนังสือ ฯลฯ กลับดูเป็นภัยคุกคามอย่างยิ่งของเหล่าทหารหาญแต่ขี้ขลาดเหล่านั้น
ภายในมหาวิทยาลัยเองกลายเป็นพื้นที่เงียบเหงาทั้งกิจกรรมทางปัญญา และยอมจำนนต่ออำนาจของกองทัพ
ยิ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ถือว่าตนเป็น “เสาหลักแห่งแผ่นดิน” นั้นพบเห็นว่าผู้บริหารและอาจารย์บางส่วนได้ดีจากการเข้าไปมีตำแหน่งในสภาปฏิรูปแห่งชาติแทนที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แต่เดิม โดยมิได้พึงสำเหนียกต่อการกระทำนี้ได้เหยียบย่ำสิทธิบนบ่าของประชาชนแต่อย่างใด
รัฐบาล คสช. ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ปัญหาทุจริตของผู้นำกองทัพ ทั้งล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง กับยังสร้างความร้าวฉานให้เกิดขึ้นในสังคมวงกว้าง นำพาประเทศไปสู่ความมืดมน
รูปการณ์ยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นจากพฤติกรรมของประยุทธ์ จันทร์โอชาที่พิสูจน์ได้ว่าด้อยความสามารถในการบริหารประเทศ มีพฤติกรรมอันธพาลจนเป็นที่เอือมระอาแก่ประชาชน ไม่เพียงแต่ รัฐบาล คสช ไม่อาจเอาชนะใจประชาชน สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นได้ แต่ยังต้องอาศัยอำนาจอาวุธมาบังคับข่มขู่ ให้สยบยอม
ทำให้ทางออกของประเทศดูมืดมัว การออกมาแถลงของทีมโฆษก คสช. จึงเป็นแค่การกลบเกลื่อนข้อเท็จจริง
การต่อต้านของผู้ที่คิดต่างยังจะต้องเกิดขึ้นอยู่เสมอ ตราบใดที่ คสช. ยังไม่ล่มสลาย
กลุ่มนิสิตเห็นควรว่าจะมีการต่อต้านรัฐบาล คสช. ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและให้ผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ได้เข้าร่วมกับรัฐบาลเผด็จการทหารทบทวนตัวเอง มีการโปรยข้อความ อาทิเช่น “จุฬาฯตายแล้ว” “เกียรติภูมิจุฬาคือเกียรติแห่งการรับใช้เผด็จการ” “ยกเลิกกฎอัยการศึก” “สุชาดาทำผัดหมี่” “คืนความทุกข์” “ไม่มีปืนก็กาก” เป็นต้น โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน หรือกลุ่มอื่นใด
เป็นเพียงการต่อต้านที่กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ยอมรับต่ออำนาจ คสช. โดยขอเรียกร้องให้
1. จากความไร้น้ำยาของกองทัพในการบริหารประเทศ และนำพาประเทศไปสู่ความเดือดร้อน ขอให้ยุบกองทัพทิ้งในฐานะที่เป็นภัยคุกคามของประชาชน และเป็นเงื่อนไขสร้างความขัดแย้งทางการเมือง
2. จากความเสื่อมถอยลงของมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรจะต้องทบทวนบทบาทของตนเองครั้งใหญ่