วันอาทิตย์, กรกฎาคม 03, 2565

คนเหมือนกัน แดกข้าวเหมือนกัน เดินดินเหมือนกัน เจ็บตายเหมือนกัน ดันสร้าง “ประเพณี" เอาไว้ข่ม “คน”



วาทะประวัติศาสตร์
วาทะ ม.จ. สกลวรรณากร : สิ่งที่ “ข่ม” ไพร่เอาไว้ คือ “ประเพณี”

ที่มา ศิลปวัฒนธรรม

“การที่พวกเลก, พวกไพร่ ถูกผูกติดอยู่กับที่ดินนั้น ไม่ใช่ล่ามโซ่ไว้จริงๆ หรอก เขาเอาประเพณีนี่แหละข่มไว้ ตัวประเพณีนี่แหละที่อาจฆ่าคนได้ถึงเจ็ดชั่วโคตร”

วาทะหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ ปาฐกถาเรื่องนักเรียนกับสังคม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ พ.ศ. 2494 (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2550)

ข้อมูลจากหนังสือ “ประวัติ กับปาฐกถาของหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ” พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 บันทึกประวัติหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ ไว้ว่า

ประสูติที่วังวรวรรณ เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2431 เป็นโอรสใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4 กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา เป็นหม่อมมารดา คุณย่า เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 รับไปบำรุงเลี้ยงตั้งแต่แรกประสูติ

เข้าศึกษาเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเมื่อพ.ศ. 2440 จนถึงพ.ศ. 2447 จากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ในพ.ศ. 2451 เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

พ.ศ. 2457 เข้ารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย ขณะอายุได้ 26 ปี รับตำแหน่งหน้าที่การงานหลากหลายตั้งแต่ปลัดกรมสำรวจ, กองการต่างประเทศ, เจ้ากรมพยาบาล, เจ้ากรมประชาภิบาล, ผู้ช่วยอธิบดีกรมสาธารณสุข, อธิบดีกรมสาธารณสุข, หัวหน้ากองการโฆษณา, ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย

ท่านกราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานบำนาญ เมื่อ พ.ศ. 2484

เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 6 กันยายน 2559