วันอาทิตย์, สิงหาคม 06, 2566

ขณะที่เรายังไม่มี ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง และ ฝ่ายตุลาการก็ไม่ยึดโยงกับประชาชน ประชาชน ขอเรียกร้องให้ ประธานรัฐสภาได้แสดงบทบาทด้วยความกล้าหาญยืนยันอำนาจและความเป็นอิสระของสถาบันนิติบัญญัติ เป็นเสาหลักให้กับระบอบประชาธิปไตยในช่วงเวลาอันสำคัญยิ่งนี้


Muhammad Ilyas Yahprung
10h
·
สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้เรายังไม่มี ฝ่ายบริหาร (นายกฯและครม) ฝ่ายตุลาการก็ไม่ยึดโยงกับประชาชน และมีความพยายามที่จะลากให้สถานการณ์ไปสู่ทางตันทางการเมืองเพื่อภาคส่วนที่ไม่ได้มาจากประชาชนได้เข้ามาแทรกแซง

แต่เรามีฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เรามีอำนาจนิติบัญญัติที่มีความชอบธรรม และเป็นหนึ่งในสามอำนาจหลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เรามีประมุขฝ่ายนิติบัญญัตินั่นคือประธานรัฐสภาที่มีสถานะเท่าเทียมกับประมุขฝ่ายบริหาร และตุลาการ
 
แต่การทำงานที่ผ่านมาของประธานรัฐสภาจากการประชุมสภาทั้ง 2 ครั้งดูเหมือนไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ทั้งยังได้สร้างความเคลือบแคลงสงสัย และกัดกร่อนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสถาบันนิติบัญญัติภายใต้การนำของท่าน
 
ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนขอเรียกร้องให้ ประธานรัฐสภาได้แสดงบทบาทด้วยความกล้าหาญยืนยันอำนาจและความเป็นอิสระของสถาบันนิติบัญญัติ และได้ใช้รัฐสภาอันทรงเกียรติ สภาอันมีที่มาจากอำนาจของประชาชน เป็นเสาหลักให้กับระบอบประชาธิปไตยในช่วงเวลาอันสำคัญยิ่งนี้

ด้วยความนับถือ
ประชาชน



ทำดีที่สุดแล้ว !! #วันนอร์ เผยปิด #ประชุมสภา เพราะรังสิมันต์ โรม เสนอญัตติด่วนเรื่องทบทวนมติสภา เสนอชื่อ #พิธา ซ้ำ เพราะอยู่ในการพิจารณาของ #ศาลรัฐธรรมนูญ หากสุดท้ายมติสภากับคำวินิจฉัยศาลไม่ตรงกันใครจะเสียหาย ยันไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง ไม่ได้ปิดสภาหนี แต่การเลื่อนถือเป็นทางออกที่ดีของบ้านเมือง
.....

Lanner @Lanner2022

สมชายจี้ ‘วันนอร์’ ไม่เหมาะตำแหน่งประธานสภา ชี้ความผิดพลาดกระทบอำนาจหน้าที่รัฐสภา 

วันนี้ (5 สิงหาคม 2566) เฟสบุ๊คเพจศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง เผยแพร่ข้อความจาก สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติงานของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือ ‘วันนอร์’ ในฐานะประธานรัฐสภา พร้อมเสนอเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นเข้าทำหน้าที่แทนหากไม่สามารถปรับปรุงการทำงานได้ 

โดยความผิดพลาดที่ สมชาย กล่าวถึงนั้นมีอยู่ 2 ประเด็น 

1. การวินิจฉัยให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาเลือกการเสนอญัตติมีสถานะที่ใหญ่กว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในกรณีเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี กรณีนี้ถือเป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรงที่ไม่มีความเข้าใจต่อความสูงสุดของรัฐธรรมนูญในระบบการเมือง 

2. การปิดประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 อย่างปราศจากเหตุผล ทั้งที่มีสมาชิกมาเข้าร่วมประชุมจนครบองค์ประชุมเรียบร้อยและมีญัตติที่จะต้องพิจารณากันต่อไป โดยไม่มีการชี้แจงว่าเพราะเหตุใดจึงต้องปิดประชุม จนเป็นที่ครหาว่าการปิดประชุมเนื่องจากเกรงว่ามี ส.ว. มาประชุมน้อยและจะทำให้ญัตติหลายเรื่องต้องพ่ายแพ้แก่เสียงของ ส.ส. 

สมชาย ยังชี้ด้วยว่าในระยะแรกของการเสนอชื่อ วันนอร์ เป็นประธานสภา มีความคาดหวังเกิดขึ้นจากการที่ วันนอร์ มีทั้งวัยวุฒิ และประสบการณ์การทำงานอย่างยาวนาน ย่อมช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยเป็นไปอย่างราบรื่น แต่จากการประชุมสภาไม่กี่ครั้งที่ผ่านมา และความผิดพลาดที่ถูกกล่าวถึงทั้งสองประเด็น ก็ทำให้เห็นได้ว่าการปฏิบัติงานของประธานสภาคนนี้ไม่เป็นไปตามคาด