๑๕ องคมนตรีในรัชกาลที่ ๑๐ ภาพโดย Wassana Nanuam |
แม้แต่กรณีที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ
อยากให้ยกเลิกคำสั่งแก้ไขปัญหาประมงที่เดิมไม่คิดจะยกเลิก เพียงเป็นเรื่องหลงหูหลงตาเล็กน้อย
ที่ต้องเงี่ยฟังเป็นเรื่องที่พวกเขาจะถกกันเกี่ยวกับการลาออกของรัฐมนตรีและสมาชิก
สนช. แบบ ‘en masse’ ยกขบวน นั่นต่างหาก
เนื่องจากจะมีทีมงานรัฐบาล
คสช.ลาออกกันในวันที่ ๗ พ.ค.นี่อีก ๑๐ คน รวมเป็นทั้งหมดราว ๒๐ คน เหลืออยู่เป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์จนกว่ารัฐบาลจะเข้าบริหารงานอีกแค่สิบกว่าคน
รัฐมนตรีเหล่านี้เห็นว่าล้วนได้รับแต่งตั้งให้เป็น สว. ซึ่งจะประกาศชื่อในวันที่
๑๑ พ.ค.
ส่วนพวก สนช.นั้นไม่เหมือน ครม. คาดว่าจะประชุมอย่างมีอำนาจเต็มที่ครั้งสุดท้ายในวันที่
๗ นี้เช่นกัน
หลังจากนั้นจะเป็นเพียงอยู่โยงรักษาการณ์จนกว่าสภาชุดใหม่จะเริ่มเปิดประชุม
ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่าจะไปเป็น สว. วิป สนช. สมชาย แสวงการ เตือนให้จัดการลาออกเสียแต่วันนี้
ป้องกันผิดพลาดวันหน้า
ทางด้าน
กกต.ก็แน่นอนแล้วว่าประกาศรับรองรายชื่อ ส.ส.เขตแน่ๆ วันนี้
เพียงแต่ตอนเช้าขอตรวจซ้ำครั้งสุดท้ายแล้วไปประกาศตอนบ่ายเท่านั้น
เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้ประกาศชื่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้อย่างคล่องๆ
ไม่ต้องถามหาเครื่องคิดเลข
ตรงรายชื่อ
ส.ส.บัญชีนี่ละที่ยังไม่สะเด็ดน้ำดี ที่เพิ่มพรรคปลาสร้อยนั้นไม่พอยาไส้
ครั้นจะสอยพรรคไม่เอาทหารเรื่อง ‘หุ้นสื่อ’ มันให้ติดขัดเหลือหลาย เพราะมีทั้งพวกประชารัฐและพรรคที่รอเป็นกิ๊ก ‘concubines’
ติดร่างแหนับสิบ
ข่าวว่าเลยต้องหยวนปล่อยไปก่อน เช่น
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ “มีแนวโน้มว่า...จะถูกประกาศรับรองเป็น
ส.ส.บัญชีรายชื่อไปก่อน...แล้วค่อยมาสอยทีหลัง” เนื่องจากคดีที่ธนาธรโดน
กกต.ฟันยังคาราคาซังอยู่
คดีเรื่องการถือครองหุ้นสื่อมวลชนของธนาธรนี้
“ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นให้ตีความพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
ส.ส.มาตรา ๑๒๘ ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๑ หรือไม่ ในวันที่ ๘ พ.ค.”
กรณีนี้ทั้งนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ กับนายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย
ได้ยื่นร้องเรียนไว้ นายเรืองไกรขอ กกต.รอหน่อยเดียวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเสร็จเสียก่อน
ทางนายสามารถชี้ชัด ‘ตีกัน’ สองมาตรฐานไว้ว่า อย่าหลีกเลี่ยง ‘สกลนครโมเดล’ นะ ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยโดนไปแล้ว
คนอื่นๆ ที่เข้าข่ายอีหรอบเดียวกันก็ต้องโดนด้วย ส่วนนายเรืองไกรนั้นส่งหลักฐานลายลักษณ์อักษรไปให้
กกต.แล้วว่ามีใครบ้าง
พรรคพลังประชารัฐ ๓ คน (ผู้สมัคร กทม.เขต ๘
และ ๑๓ กับณัฏฐพล ทีปสุวรรณ บัญชีรายชื่อ) พรรคภูมิใจไทย ๒ คน (เขต ๑ สตูลกับเขต ๑
สุรินทร์) และพรรคประชาธิปัตย์ ๕ คน (ส.ส.เขตระนอง สงขลา กระบี่
กับบัญชีรายชื่อสองคน รวมทั้งพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
(https://www.khaosod.co.th/election-2019/news_2489462 และ https://www.thairath.co.th/news/politic/1561816)
เหล่านั้นเป็นเค้าลางของ ‘ความปั่นป่วน’ ทางการเมืองที่จะตามมา จนทำให้ตู่ถอดใจ
แต่ก็ไม่ยอมให้กลุ่มสัตยาบันตั้งรัฐบาล พวก สว.ดันให้ไปสู่ ‘นายกฯ
คนนอก’ ที่มาจากองคมนตรีเป็นการชั่วคราว มาแก้ไขกฎหมายเพื่อปลดล็อคแล้วรีบไป
ทั้งนี้คิดสาระตะเอาจาก ‘scenario’
แนวทางต่างๆ ที่ Thanapol Eawsakul อุตส่าห์เรียงมาให้ดูกัน ๔ กรณีหลัก ๙ ประเด็นย่อย เช่น
จำเป็นต้องตัดสิทธิ ส.ส. ที่มีหุ้นสื่อเป็นจำนวนมาก โดยไม่สามารถเลือกที่รักมักที่ชังได้
หรือ “ความชงักงันของการเลือกตั้งทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่
รัฐบาลตัดสินใจอะไรไม่ได้เนื่องจาก ครม. เกินครึ่งลาออกไปเป็นวุฒิสมาชิก” ซึ่งกรณีนี้มีความลักลั่นกันอยู่ในตัวเล็กน้อย
ในเมื่อรัฐมนตรีที่ลาไปเป็น สว.จำนวนมากเป็นทหารที่สวมหมวก คสช.ด้วย
ส่วนใหญ่เข้าไปคุมกระทรวงต่างๆ
ก็เพียงกำกับข้าราชการประจำไม่ให้ออกนอกลู่คณะรัฐประหาร การบริหาร การพัฒนาตกอยู่กับข้าราชการประจำทั้งนั้น
ส่วนมากก็เป็นงาน ‘รูทีน’ ที่เคยทำกันมา (นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เศรษฐกิจย่ำแย่ไม่ยอมฟื้น)
มูลเหตุหลักหากจะต้องไปสู่นายกฯ
คนนอกน่าจะเกิดจาก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ คสช. รู้ตัวว่าถึงที่สุดปัญหาการเมืองวัวพันหลัก
การบ้านท้องกิ่วหิวโซ ไม่มีปัญญาดันนาวารัฐให้ไปได้ดีกว่าที่เป็นมา ๕ ปี
ขืนดึงดันอยู่ต่อ รังแต่จะพังมากกว่านี้
ถอยลงไปยืนข้างเวที ‘กำขี้ดีกว่ากำตด’ พอคุยได้ว่ามือเปื้อนเพราะได้ทำอะไรมาบ้าง
ถ้าพังแหลกราญก็จะไม่มีอะไรให้อวดได้เลย