วันอังคาร, กรกฎาคม 09, 2567

มองมุมต่าง #saveทับลาน ปมเฉือน ‘ป่าทับลาน’ 2.6 แสนไร่


Somnuck Jongmeewasin
7 hours ago
·
ย้อนรอย ‘อช.ทับลาน’ ริดรอนสิทธิ์ประชาชน:
แม้หลายฝ่ายในสังคมเวลานี้จะเห็นสอดคล้องกับ #Saveทับลาน แต่อีกด้านมุมมองจากเครือข่ายภาคประชาชน อย่าง กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch THAI) ก็อยากให้สังคมทำความเข้าใจในอีกมิติของปัญหาที่ดินในพื้นที่ทับลานด้วย
พรพนา​ ก๊วยเจริญ​ ผู้อำนวยการ Land​ ​Watch​ THAI เปิดเผยกับ The Active ว่า กรณีพื้นที่ทับลานที่เป็นประเด็นอยู่ในเวลานี้ต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ เรื่อง ที่ดิน ส.ป.ก. ในพื้นพื้นที่ทับลาน ซึ่งมีความแตกต่างจากที่ดิน ส.ป.ก.ในพื้นที่ทั่วไป โดยอ้างถึง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2536 ให้นำป่าสงวนแห่งชาติ มาจัดเป็นที่ดิน ส.ป.ก. โดย พื้นที่ทับลานเป็นพื้นที่ที่ ส.ป.ก. จัดสรรในโครงการปฏิรูปที่ดินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2520 ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลไทยไปกู้เงินธนาคารโลกเพื่อมาจัดสรรที่ดิน โดยเริ่มในปี 2521 กระทรวงเกษตรฯ มีโครงการปฏิรูปที่ดิน ในพื้นที่ป่าวังน้ำเขียวและป่าภูหลวง โดยจะต้องมีการเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลขณะนั้น
พรพนา ระบุอีกว่า สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นพื้นที่ที่มีการให้สัมปทาน และเป็นปกติของพื้นที่ให้สัมปทานที่จะมีผู้คนเข้าไปอยู่หลังจากให้สัมปทานตัดไม้ไปแล้ว เข้าไปทำการเกษตรปลูกพืช ทับลานก็เช่นเดียวกัน โดยระหว่างอยู่ในขั้นตอนของการจัดสรรปี 2520 ต้องเพิกถอนป่าสงวนฯ เพราะยังไม่มี มติคณะรัฐมนตรี 2536 ที่ให้กรมป่าไม้มอบที่ดินป่าสงวนให้ ส.ป.ก. ไปจัดสรร เหมือนที่เห็นในปัจจุบัน ทำให้ต้องใช้วิธีการเพิกถอนป่าสงวนฯ เพื่อที่จะจะได้จัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. ให้กับเกษตรกร
ผู้อำนวยการ Land​ ​Watch​ THAI บอกอีกว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน อ.วังน้ำเขียว จ. นครราชสีมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนมือเรื่องที่ดินไป ซึ่งเชื่อว่าไม่ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ ส.ป.ก. อย่างเดียว แต่เกิดขึ้นโดยทั่วไป และปัญหา คือ พอเปลี่ยนรัฐบาลนโยบายก็เปลี่ยนใหม่ และล้มอันเก่า โดยเฉพาะเรื่อง 30 มิ.ย. 2541 เกิดขึ้นทั่วประเทศ และเป็นปัญหาการแก้ไขแก้ไขปัญหาในอดีตที่เป็นข้อยุติ กลายว่ามาเป็นการล้มกระดาน คนที่อยู่ในกระบวนการเขาก็รู้สึกว่าแก้กันเกือบจะได้แล้ว ถ้าแก้ตามกระบวนการที่ผ่านมาปัญหาจะจบ แต่พอกลับไปใช้ 30 มิ.ย. 2541 เหมือนกลับมาเริ่มต้นใหม่และชาวบ้านที่อยู่ในกระบวนการเดิมก็ถูกลบหายไปเลย เป็นต้น
พรพนา​ เสนอว่า ควรหาแนวทางในการจัดการ เพราะอย่างที่หลายฝ่ายออกมาบอกว่า แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นรีสอร์ท มีอยู่ 150,000 ไร่ นั้นจริงหรือไม่ โดยสภาพตอนนี้เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินไปแล้ว ฉะนั้นต้องมีแนวทางที่จะบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกับอุทยานว่าจะเป็นเรื่องการเช่าหรือไม่มีการลงทะเบียนให้ถูกต้อง มีการควบคุมการใช้พื้นที่ เป็นต้น
ผู้อำนวยการ Land​ ​Watch​ THAI ระบุทิ้งท้ายว่า การนำ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมจาก 2504 แล้วนำไปย้อนใช้กับพื้นที่ที่มีการแก้ไขปัญหา ส.ป.ก. มาตั้งแต่ในอดีต โดยการลบของเก่า ใช้ของใหม่ แล้วนำไปย้อนใช้นั้นไม่ถูกต้อง โดยมาตรา 64 หรือมาตรา 121 ของ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เป็นโครงการทุก 20 ปี และยังมีกฎหมายลำดับรองมาบังคับใช้ และกระบวนการในการออกกฏหมายลำดับรองก็มีส่วนร่วมก็เป็นการเป็นการกำหนดเองจากกรมอุทยานฯ
.....
อ่านต่อ
https://theactive.net/news/agriculture-20240708/
ooooo

Theerapat Charoensuk
10 hours ago
·
เรื่อง #saveทับลาน นี่
เห็นชื่อคนออกมาเรียกร้องตอนแรกแล้วก็แหม่งๆ
ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร (กับมูลนิธิสืบด้วย)
กระแสโซเชียลคงลืมง่ายหรือไม่จำ ขุดเฉพาะตอนที่ตัวเองพอใจอย่างว่า
ไม่รู้เอา #saveบางกลอย #saveปู่คออี้ กับ #บิลลี่พอละจี ไปอยู่ที่ไหนกันแล้ว แค่ไม่ถึง 5 ปีแท้ๆ
กับปัญหาสมัย คสช.แรกๆ ไล่จับชาวบ้านที่อยู่มาก่อนประกาศเขตป่า ติดคุกกันนับหลง เผาบ้านคน ทุบไร่นาโค่นสวน แต่ปล่อยให้รีสอร์ทสร้างได้ในที่ทหารและกรมอุทยาน
เรื่องการกันแนวเขตให้เหมาะสม ทำพื้นที่ป่าฟื้นฟูเพิ่ม ไม่มีใครเน้น ส่วนพื้นที่ป่าสงวนที่ประกาศทีหลังการจัดสรรที่ทำกิน 2524 ก็ไม่มีใครตามอ่าน
ไหลกันไปเรื่อย ด่าไปถึงนายทุน เอื้อครม.รัฐบาล โน่น นี่ขนาดมติเป็นของครม. 66 ประยุทธ์นะเนี่ย
เหมือนพอมีเรื่องที่จะเอามาปั่นทำลายกันได้ ก็สร้างขึ้นมาเรื่อยๆ คนที่เห็นว่าด่ารัฐบาลได้ก็เฮโลสาระพา ชีวิตชาวบ้านไม่ต้องสนใจกันล่ะ
ส่วนตัวคิดว่า เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างกระทรวงเกษตร (สปก.) กับกระทรวงทรัพย์ฯ (กรมอุทยานฯ) มากกว่าเรื่องอื่น