วันพุธ, กรกฎาคม 10, 2567

ตุลาการละคร : “เมื่อข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในคดีดูหมิ่นเทพยดา ก็ได้พบว่าจำเลยในคดีต่างสามารถต่อสู้กับข้อกล่าวหาของทางฝ่ายปรักปรำได้อย่างเต็มที่ … แต่เป็นที่รับรู้และเชื่อกันโดยทั่วไปว่าสุดท้ายคำตัดสินที่เกิดขึ้นก็ล้วนแต่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน อย่างที่เราท่านรู้ๆกัน


The101.world
15 hours ago
·
สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึงอำนาจตุลาการในสารขัณฑ์ประเทศ โดยเฉพาะคดีดูหมิ่นเทพยดา ที่ตุลาการอาจยอมให้จำเลยเข้าถึงความยุติธรรมเชิงกระบวนการ แต่ความยุติธรรมเชิงเนื้อหาจนถึงคำตัดสินกลับเป็นที่กังขา
.
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/law-as-performance/
.
“เมื่อข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในคดีดูหมิ่นเทพยดา ก็ได้พบว่าจำเลยในคดีต่างสามารถต่อสู้กับข้อกล่าวหาของทางฝ่ายปรักปรำได้อย่างเต็มที่ … แต่เป็นที่รับรู้และเชื่อกันโดยทั่วไปว่าสุดท้ายคำตัดสินที่เกิดขึ้นก็ล้วนแต่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งทนายความ พยานที่มาเบิกความ รวมถึงจำเลย ต่างก็รู้สึกว่าคำตัดสินในคดีดูหมิ่นเทพยดานั้นไม่ใช่เรื่องของพยานหลักฐานและหลักวิชาแบบที่มักจะอวดอ้างกันแต่อย่างใด”
.
“ข้าพเจ้าจึงไม่รู้สึกแปลกใจในการให้ปากคำในชั้นศาลที่ได้รับโอกาสในการแสดงความเห็นและให้ปากคำอย่างเต็มที่…เพราะพวกเขาคงมั่นใจว่าในขั้นตอนสุดท้าย คำตัดสินก็ต้องพิพากษาลงโทษจำเลยอย่างแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ถือว่าคดีได้จบลงอย่างเรียบร้อยแล้ว”
.
“งานวิชาการของชาวต่างชาติได้ชี้ให้เห็นถึง ‘การแสดง’ ในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้วยการชี้ให้เห็นว่ากฎหมายไม่ใช่เพียงสิ่งที่บัญญัติเป็นอักขระเท่านั้น แต่การกระทำทั้งของบุคคลฝ่ายต่างๆ สถานที่ ผู้ชม ฯลฯ ล้วนแต่เป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างความหมายให้กับกฎหมาย”
.
“แม้จะอยู่ในยุคสมัยที่ถือว่าเป็นระบบกฎหมายแบบสมัยใหม่ แต่หากพิจารณากระบวนการชั้นศาลในสารขัณฑ์ประเทศแล้ว ก็น่าสนใจไม่น้อยว่าเอาเข้าจริงแล้วสิ่งที่เรียกว่าความยุติธรรมเชิงกระบวนการได้กลายสภาพเป็นเพียง ‘การแสดงละคร’ ที่มีบทกำหนดผลในบั้นปลายไว้อย่างชัดเจน แน่นอน อันไม่อาจผันแปรเป็นอย่างอื่นได้ใช่หรือไม่
“และถ้าคำตอบคือใช่ สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรในดินแดนสารขัณฑ์ประเทศที่ฝ่ายตุลาการได้รับการยกย่องมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึงความเป็นอิสระและยุติธรรม”
.
ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น