10 ปริศนาในซองจดหมาย ปรีดี 2024
10 AUG 2021
Author อิทธิพล โคตะมี
Illustrator ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
Way Magazine
ในปี 2024 นอกจากจะเป็นปีแห่งมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ของโลกอย่างโอลิมปิกครั้งถัดไปที่มหานครปารีส ฝรั่งเศส รับไม้ต่อจากญี่ปุ่นแล้ว ยังมีสิ่งที่น่าติดตามหลากหลายเรื่องราวที่ได้รับการกล่าวถึงในโลกออนไลน์ของไทย หนึ่งในนั้นคือการเปิดเผย ‘จดหมาย’ ของ ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ผู้ซึ่งได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็น ‘บุคคลสำคัญของโลก’ ในวาระครบ 100 ปีชาตกาลของเขา
เอกสารของ ปรีดี พนมยงค์ เป็นจดหมายที่เขามอบให้ไว้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศ โดยรัฐบาลฝรั่งเศสให้ข้อมูลว่าจะสามารถเปิดจดหมายนี้ได้ในปี 2024 ซึ่งเป็นที่น่าติดตามอย่างยิ่ง
เหตุผลเพราะในช่วงชีวิตทางการเมืองของปรีดีมีความพลิกผันมากมาย หลายกรณียังมีแง่มุมอีกหลายด้านที่ยังไม่เป็นที่รับรู้มากพอ อีกทั้งเรื่องราวเหล่านั้นยังมีนัยสำคัญที่เชื่อมโยงถึงคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบันโดยตรง
ปรีดีเกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ณ บ้านหน้าวัด ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวัยเยาว์เริ่มเรียนที่บ้านครูแสง และบ้านหลวงปราณีประชาชน (เปี่ยม ขะชาติ) ก่อนจะศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดรวก อำเภอท่าเรือ จนเมื่อกระทรวงธรรมการจัดหลักสูตรใหม่ จึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จนเมื่อสอบไล่ชั้นประถมผ่าน เขาก็เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เริ่มเรียนที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร โรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า และโรงเรียนสวนกุหลาบ เป็นลำดับ ก่อนจะลาออกกลับบ้านเกิดเพื่อช่วยบิดาทำนา
ปี 2460 เขากลับเข้ากรุงอีกครั้ง เพื่อศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม พร้อมๆ เรียนภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา โดยมี อาจารย์เลย์เดย์แกร์ (E. Ladeker) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นครูที่ปรีดีให้ความเคารพเป็นอย่างสูง แน่นอนการเป็นเด็กที่เรียนดีตั้งแต่ไหนแต่ไร ทำให้ปรีดีสอบไล่ได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
ก่อนจะเริ่มทำงานในกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2463 ความใฝ่รู้ของปรีดียังนำไปสู่การได้รับทุนจากกระทรวงยุติธรรมเพื่อไปศึกษาวิชากฎหมายที่ฝรั่งเศส ในปี 2467 ช่วงเวลาดังกล่าว ปรีดีเริ่มแสดงให้เห็นถึงความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ปรีดีก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยในกรุงปารีส ชื่อ ‘สามัคยานุเคราะห์สมาคม’ และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสมาคมคนแรก ภารกิจหนึ่งคือ การพยายามแปลงสมาคมให้เป็นสหภาพแรงงาน และการต่อสู้กับอัครราชทูตสยามสมัยนั้น ซึ่งเป็นตัวแทนของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ปรีดีสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย (docteur en droit) จากมหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 นอกจากนี้ยังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง และที่ฝรั่งเศสเองเขาเริ่มประชุมกับนักเรียนสยามในต่างแดนและร่วมกันก่อตั้ง ‘คณะราษฎร’ ขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ การก่อการนั้นสำเร็จได้ในปี 2475
ปรีดีนับเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงในคณะราษฎร โดยปณิธานที่สำคัญของเขาคือ การให้สยามบรรลุเป้าหมาย 6 ประการ หรือเรียกกันต่อมาว่า ‘หลัก 6 ประการของคณะราษฎร’ เขาได้รับมอบหมายให้ร่างนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อใช้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงตรงนี้เราจึงได้เห็นการก่อรูปความคิดและการปฏิบัติ ที่ส่งผลต่อบทบาทและผลงานอันเป็นคุณูปการต่อประเทศชาติในเวลาต่อมา
10 AUG 2021
Author อิทธิพล โคตะมี
Illustrator ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
Way Magazine
ในปี 2024 นอกจากจะเป็นปีแห่งมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ของโลกอย่างโอลิมปิกครั้งถัดไปที่มหานครปารีส ฝรั่งเศส รับไม้ต่อจากญี่ปุ่นแล้ว ยังมีสิ่งที่น่าติดตามหลากหลายเรื่องราวที่ได้รับการกล่าวถึงในโลกออนไลน์ของไทย หนึ่งในนั้นคือการเปิดเผย ‘จดหมาย’ ของ ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ผู้ซึ่งได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็น ‘บุคคลสำคัญของโลก’ ในวาระครบ 100 ปีชาตกาลของเขา
เอกสารของ ปรีดี พนมยงค์ เป็นจดหมายที่เขามอบให้ไว้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศ โดยรัฐบาลฝรั่งเศสให้ข้อมูลว่าจะสามารถเปิดจดหมายนี้ได้ในปี 2024 ซึ่งเป็นที่น่าติดตามอย่างยิ่ง
เหตุผลเพราะในช่วงชีวิตทางการเมืองของปรีดีมีความพลิกผันมากมาย หลายกรณียังมีแง่มุมอีกหลายด้านที่ยังไม่เป็นที่รับรู้มากพอ อีกทั้งเรื่องราวเหล่านั้นยังมีนัยสำคัญที่เชื่อมโยงถึงคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบันโดยตรง
ปรีดีเกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ณ บ้านหน้าวัด ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวัยเยาว์เริ่มเรียนที่บ้านครูแสง และบ้านหลวงปราณีประชาชน (เปี่ยม ขะชาติ) ก่อนจะศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดรวก อำเภอท่าเรือ จนเมื่อกระทรวงธรรมการจัดหลักสูตรใหม่ จึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จนเมื่อสอบไล่ชั้นประถมผ่าน เขาก็เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เริ่มเรียนที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร โรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า และโรงเรียนสวนกุหลาบ เป็นลำดับ ก่อนจะลาออกกลับบ้านเกิดเพื่อช่วยบิดาทำนา
ปี 2460 เขากลับเข้ากรุงอีกครั้ง เพื่อศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม พร้อมๆ เรียนภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา โดยมี อาจารย์เลย์เดย์แกร์ (E. Ladeker) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นครูที่ปรีดีให้ความเคารพเป็นอย่างสูง แน่นอนการเป็นเด็กที่เรียนดีตั้งแต่ไหนแต่ไร ทำให้ปรีดีสอบไล่ได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
ก่อนจะเริ่มทำงานในกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2463 ความใฝ่รู้ของปรีดียังนำไปสู่การได้รับทุนจากกระทรวงยุติธรรมเพื่อไปศึกษาวิชากฎหมายที่ฝรั่งเศส ในปี 2467 ช่วงเวลาดังกล่าว ปรีดีเริ่มแสดงให้เห็นถึงความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ปรีดีก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยในกรุงปารีส ชื่อ ‘สามัคยานุเคราะห์สมาคม’ และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสมาคมคนแรก ภารกิจหนึ่งคือ การพยายามแปลงสมาคมให้เป็นสหภาพแรงงาน และการต่อสู้กับอัครราชทูตสยามสมัยนั้น ซึ่งเป็นตัวแทนของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ปรีดีสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย (docteur en droit) จากมหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 นอกจากนี้ยังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง และที่ฝรั่งเศสเองเขาเริ่มประชุมกับนักเรียนสยามในต่างแดนและร่วมกันก่อตั้ง ‘คณะราษฎร’ ขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ การก่อการนั้นสำเร็จได้ในปี 2475
ปรีดีนับเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงในคณะราษฎร โดยปณิธานที่สำคัญของเขาคือ การให้สยามบรรลุเป้าหมาย 6 ประการ หรือเรียกกันต่อมาว่า ‘หลัก 6 ประการของคณะราษฎร’ เขาได้รับมอบหมายให้ร่างนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อใช้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงตรงนี้เราจึงได้เห็นการก่อรูปความคิดและการปฏิบัติ ที่ส่งผลต่อบทบาทและผลงานอันเป็นคุณูปการต่อประเทศชาติในเวลาต่อมา
photo: สถาบันปรีดี พนมยงค์
ช่วงเวลาถัดจากนี้คือบทบาทสำคัญของปรีดี มีการคาดการณ์กันว่าเอกสารที่ปรีดีมอบให้รัฐบาลฝรั่งเศสเก็บรักษาไว้และจะถูกนำมาเปิดเผยนั้น แบ่งเป็น 10 ประเด็นที่น่าสนใจติดตาม
- เบื้องลึกการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งต้องยอมรับกันว่าปรีดีเป็นเพียงตัวแทนคณะราษฎรคนเดียวที่อยู่ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น โดยแวดล้อมไปด้วยผู้ร่างที่เป็นตัวแทนของระบอบเก่า
- ปัญหาความขัดแย้งภายในคณะราษฎร เนื่องจากปีกหนึ่งเน้นการประนีประนอม ส่วนอีกปีกหนึ่งต้องการปฏิวัติโค่นล้มระบอบเก่าอย่างถอนรากถอนโคน บันทึกของปรีดีอาจเผยให้เห็นว่าเขาได้เสนอไว้อย่างไร
- ความยากลำบากในการเจรจากับมหาอำนาจของปรีดี และการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบูรพา ตรงจุดนี้จะแสดงให้เห็นความแตกต่างทางความคิดระหว่างปรีดี ในนาม หลวงประดิษฐ์มนูธรรม กับ หลวงพิบูลสงคราม หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- การก่อตั้งขบวนการเสรีไทย เพื่อปลดปล่อยประเทศจากการเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็นประเทศไม่แพ้สงคราม ซึ่งปรีดีเป็นผู้นำเสรีไทย จึงน่าสนใจว่าจดหมายฉบับนี้จะมีการบันทึกไว้อย่างไร อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้มีหลักฐานวิพากษ์ปรีดีว่า เขามิได้มีความสำคัญในขบวนการเสรีไทยมากเท่าที่มีการเปิดเผยหลักฐานนับตั้งแต่ปี 2489 เป็นต้นมา
- การร่างรัฐธรรมนูญ 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง และปรีดีเองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จนนำมาสู่การนิรโทษกรรมฝ่ายระบอบเก่าจำนวนมาก กรณีนี้ปรีดีบันทึกไว้เช่นไร
- กรณีสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งนำมาสู่การโค่นล้มอิทธิพลของกลุ่มปรีดี ในปี 2490 ที่แม้ว่าปรีดีจะพ้นมลทินจากข้อกล่าวหานี้ในภายหลัง แต่ข้อเท็จจริงนี้ยังคงเป็นปริศนาจวบจนถึงปัจจุบัน ประชาชนอาจจะได้เห็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงจากเอกสารดังกล่าว
- เป็นที่ยอมรับกันว่า ปรีดีมีความขัดแย้งกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ 2490 ทั้งความพยายามในการกลับประเทศของปรีดีที่ล้มเหลวในปี 2492 และ 2494 มีเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างไร เนื่องจากมีการเปิดเผยหลักฐานที่น่าสนใจ โดยเฉพาะจากหนังสือเรื่อง ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี เขียนโดย ณัฐพล ใจจริง ปี 2563 พบว่า มีกลุ่มการเมืองที่ต่อสู้กันมากกว่าแค่ กลุ่ม 3 ทหารเสือ ได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, จอมพลผิน ชุณหะวัณ และ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์
- จุดยืนของปรีดีในกรณีกบฏสันติภาพ ที่ยืนยันให้ไทยประกาศจุดยืนเป็นกลางในสนามการเมืองระหว่างประเทศ จนนำมาสู่การกวาดล้างนักการเมืองและมวลชนที่สนับสนุนปรีดีจำนวนมากในปี 2495
- ความพยายามช่วงท้ายของรัฐบาลจอมพล ป. ที่ต้องการคืนดีกับปรีดี มีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด ก่อนที่การรัฐประหาร 2500 โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะมาถึง จนปิดฉากอำนาจของจอมพล ป. นับแต่นั้น
- ปรีดีมองกรณีการเปลี่ยนย้ายฐานอำนาจของสังคมไทยอย่างไร ทั้งในกรณี 14 ตุลาคม 2516 และความรุนแรงในกรณี 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เผด็จการทหารทำลายความทรงจำเกี่ยวกับปรีดีไปแทบจะราบคาบ ก่อนจะได้รับการรื้อฟื้นในกลางทศวรรษ 2520 จนที่สุดมีการกลับมายกย่องเชิดชูปรีดีอย่างกว้างขวางในทศวรรษ 2530-2540
ขณะเดียวกัน การรื้อถอนความทรงจำต่อคณะราษฎรโดยผู้มีอำนาจในรอบหลายปีที่ผ่านมา อาทิ การย้ายอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญ การรื้อถอนหมุดคณะราษฎรแล้วแทนที่ด้วยหมุดหน้าใส ฯลฯ ต่างสะท้อนให้เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ที่มี ปรีดี พนมยงค์ ตั้งอยู่ใจกลางการต่อสู้ทางความคิดครั้งนี้