วันเสาร์, พฤษภาคม 16, 2558

อันเนื่องมาแต่การถกเถียงเรื่องประชามติในฝ่ายประชาธิปไตย วันนี้ผู้รู้ (วิชาการ) เขียนความเห็นไว้ ๕ ข้อน่าฟังทีเดียว โดยเฉพาะข้อ ๔





อันเนื่องมาแต่การถกเถียงเรื่องประชามติในฝ่ายประชาธิปไตย

(ย้อนไปดู 'Dilemma' ได้ที่ http://thaienews.blogspot.com/2015/05/dilemma.html)

วันนี้ผู้รู้ (วิชาการ) ท่านหนึ่งที่บทความเอ่ยถึง เขียนความเห็นไว้ ๕ ข้อน่าฟังทีเดียว โดยเฉพาะข้อ ๔


"สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
5 hrs ·

ท่าทีต่อเรื่อง ประชามติ

เรื่องรณรงค์กันให้มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ ที่พวกเราพยายามผลักดันกัน ผมมีความเห็นเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยน ดังนี้

๑. สนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีการนำรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ไปลงประชามติ เพื่อเคลื่อนไหวคว่ำรัฐธรรมนูญ

๒. ในขณะที่เคลื่อนไหว ผมเห็นว่าต้องตั้งข้อเรียกร้องสนับสนุนให้นำรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ มาปรับแก้ หรือ ถึงขนาดยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ซึ่งเท่ากับเป็นการปฏิเสธการรัฐประหารทั้งมวลว่าไม่มีความชอบธรรม

๓. ผมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่อีก แม้ว่าจะร่างโดยฝ่ายประชาธิปไตยก็ตาม ด้วยเหตุผลคือ ประเทศไทยมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่มากเกินไปแล้ว เราควรจะเรียนรู้ที่จะชัดเจนก็คือ ขณะที่เราปฏิเสธการล้มรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่ด้วยรถถัง เราก็ควรปฏิเสธการร่างใหม่ด้วยกลุ่มคนเจตนาดีทั้งหลาย (รวมทั้งพวกเราเอง) ควรสนับสนุนการแก้ไขด้วยหลักประชาธิปไตย

๔. รณรงค์เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งโดยแยกจากรัฐธรรมนูญ เพราะยึดในหลักการ ‘เลือกตั้งก่อนปฏิรูป’ ให้ถือว่าเป็นการเลือกตั้งทดแทนการเลือกตั้งที่ถูกลัก ๒ กุมภา ๒๕๕๗ โดยไม่ต้องเอาไปโยงกับรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์

๕. ดังนั้น ถ้ามีการจัดการเลือกตั้ง ไม่ควรจะคว่ำบาตร ควรจะเข้าร่วมไม่ว่ากติกาจะเป็นอย่างไร เพื่อใช้เวทีการเลือกตั้งในการให้การเคลื่อนไหวการเมือง และแลกเปลี่ยนกับประชาชน หมายความว่า ถ้ามีการเลือกตั้งด้วยกติกาเฮงซวย วางผลเลือกตั้งไว้แล้ว ก็ยังต้องเข้าร่วมเคลื่อนไหว

การคว่ำบาตรไม่ให้ผลอะไรเลย เพราะชนชั้นปกครองไทยหน้าด้าน ก็จะแถสร้างความชอบธรรมแบบหน้าด้าน ขอยกตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งเป็นแบบสมัยถนอม กิตติขจร หรือ สมัย เปรม ติณสูลานนท์ ที่ผลเลือกตั้งไม่มีความหมาย เพราะกำหนดรัฐบาลล่วงหน้า ผมก็ยังเห็นว่าจะต้องร่วม ขึ้นกับว่าเราจะร่วมการเลือกตั้งด้วยเป้าหมายใด"