กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang
3h
·
หยุดอ้ำอึ้ง !!แล้วยกปัญหาปาตานีให้เป็นวาระแห่งชาติ เปลี่ยนเจรจาสันติสุขมาเป็นการเจรจาสันติภาพ นายกรัฐมนตรีก็จะเข้าร่วมประชุม UNGA อย่างสง่างาม
คำถามและข้อเสนอก่อนที่ ครม.จะพิจารณาต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นครั้งที่ 73 ในรอบเกือบ 20 ปี
การพิจารณาต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ปาตานี หรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หากรัฐบาลยังคงตีโจทย์รากเหง้าแห่งปัญหาไม่ได้ ซึ่งผมคาดว่าสุดท้ายรัฐบาลชุดใหม่ คงยังใช้สมมติฐานและสมการในการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ ที่ยังคงกดทับปัญหาให้เป็นเพียงแค่การแก้ไขปัญหาเชิงพื้น โดยต้องพึ่งกลไกแก้ไขด้วยหน่วยความมั่นคงเท่านั้น
ดูจากทั้งการตอบคำถามต่อพี่น้องสื่อมวลชนของ นายกรัฐมนตรี (นรม.) และ รมว.กระทรวงยุติธรรม ก็ยิ่งทำให้ผมมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ปาตานีจริงๆ เหมือนกับการแถลงนโยบายรัฐบาลอาทิตย์ที่แล้วที่ไม่มีเรื่องการสร้างสันติภาพปาตานีเลยในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล
นี่ยังไม่รวมการมอบหมายให้คุณสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นผู้นำการกุมบังเหียนการแก้ไขปัญหาปาตานีนะครับ !!
การที่ทุกคนเน้นว่ารัฐบาลนี้จะต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ปาตานีหรือไม่ ทำให้สารัตถะที่สำคัญที่สุดในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ถูกด้อยค่าและบดบังไปหมด ซึ่งจริงๆ มันคือ ความพยายามของรัฐบาลในการยกระดับการสร้างสันติภาพให้เป็นวาระแห่งชาติโดยด่วนที่สุด
เราต้องอย่าโฟกัสผิดจุดเพียงเพราะ นรม. จะไปเข้าร่วมและไปตอบหรือแชร์ให้การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) ในสัปดาห์นี้ แล้วไทยเราจะต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ 73 หรือไม่อย่างไร
เชื่อผมเถอะครับว่าหาก นรม. จำเป็นต้องไปแถลงต่อหน้าการประชุมสมัชชาใหญ่ฯ ผมว่าควรเสนอที่การแก้ไขปัญหาที่รากเหง้าครับ เสนอแนวทางการสร้างสันติภาพแบบยั่งยืนว่าท่านจะทำอย่างไร จัดลำดับความสำคัญให้ได้ว่าอะไรจำเป็นเร่งด่วนก่อนหลัง แจ้งเพื่อนสมาชิกเสียว่าเราตั้งสมมติฐานและสมการผิดมาเกือบ 20 ปี พูดออกไปแบบ อกผายไหล่ผึ่งนะครับ ว่าเราทราบปัญหาและเราจะทำอย่างนี้ โดยแจงมาเป็นข้อๆ ครับ จนกระทั่งสันติภาพที่แท้จริงมันจะเกิดได้
หากทำอย่างนี้แล้ว รับรองครับ การต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ จะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กน้อยเท่านั้น หากรัฐบาลโดย นรม. มีแผนงาน/แนวทาง/และนโยบาย ที่แท้จริงอยู่ในมือแล้ว ในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่โดยเร็ว แต่คงเป็นไปไม่ได้จริงๆ ครับ !!
ผมเสนอทางออกให้รัฐบาลไทยครับ เอาข้อเสนอที่ผมเคยเสนอไป คือ การสร้างสันติภาพควรทำอย่างไร โดยใช้หลักการทำงาน 3 ข้อ
1) ยกระดับการแก้ไขปัญหาให้เป็นวาระแห่งชาติ
2) หยุดการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในพื้นที่ และ 3) การปรับโครงสร้างระบบราชการในพื้นที่ปาตานี
รายละเอียดมีเยอะนะครับ เพราะเป็นการนำประสบการณ์จากเวทีสหประชาชาติมาปรับใช้ แล้วนำโมเดลการสร้างสันติภาพแบบยั่งยืนให้ตอบโจทย์ปัญหาในบริบทของปาตานีด้วย หากท่านจะนำไปใช้ทั้งในการแถลงต่อ UNGA หรือการแก้ไขในประเทศทันที ผมไม่ติดขัดนะตรับ ประสานมาได้ครับ !!
ตั้งโจทย์กันให้ดีครับทุกท่าน เวลาเราใช้มานานแล้วกับความพยายามให้สงบสุข ยังยังไม่รวมภาษีมากกว่า 5 แสนล้านบาท มาเกือบ 20 ปีแล้วนะครับ
หยุดอ้ำอึ้ง !!แล้วยกปัญหาปาตานีให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและถ่วงดุลรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา รวมทั้ง ให้การเจรจาสันติสุขที่รัฐบาลก่อนๆ มานั้นเปลี่ยนไปเป็นการเจรจาสันติภาพซะ โดยไม่เอาแค่ทหารมานั่งคุยกับทหาร เอาประชาชนและภาคประชาสังคมมานำการเจรจาให้ได้ นี่ยังไม่รวมการมี กม. รองรับการสร้างสันติภาพแบบองค์รวมซะด้วยครับ
ขอให้ทำตามข้อเสนอข้างต้นเสียก่อนนะครับ เพราะถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเป็นระดับต้นๆ ส่วนต่อไปขั้นแอดวานส์คงต้องรีบคุยโดยเร็วครับผม
กัณวีร์ สืบแสง
สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม
ภาพ : ลงพื้นที่ให้กำลังใจและติดตามการควบคุมตัวผู้ได้รับผลกระทบจาก พรก.ฉุกเฉิน ที่ จ.นราธิวาส เมื่อ 30 เมษายน 2566
.....หยุดอ้ำอึ้ง !!แล้วยกปัญหาปาตานีให้เป็นวาระแห่งชาติ เปลี่ยนเจรจาสันติสุขมาเป็นการเจรจาสันติภาพ นายกรัฐมนตรีก็จะเข้าร่วมประชุม UNGA อย่างสง่างาม
คำถามและข้อเสนอก่อนที่ ครม.จะพิจารณาต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นครั้งที่ 73 ในรอบเกือบ 20 ปี
การพิจารณาต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ปาตานี หรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หากรัฐบาลยังคงตีโจทย์รากเหง้าแห่งปัญหาไม่ได้ ซึ่งผมคาดว่าสุดท้ายรัฐบาลชุดใหม่ คงยังใช้สมมติฐานและสมการในการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ ที่ยังคงกดทับปัญหาให้เป็นเพียงแค่การแก้ไขปัญหาเชิงพื้น โดยต้องพึ่งกลไกแก้ไขด้วยหน่วยความมั่นคงเท่านั้น
ดูจากทั้งการตอบคำถามต่อพี่น้องสื่อมวลชนของ นายกรัฐมนตรี (นรม.) และ รมว.กระทรวงยุติธรรม ก็ยิ่งทำให้ผมมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ปาตานีจริงๆ เหมือนกับการแถลงนโยบายรัฐบาลอาทิตย์ที่แล้วที่ไม่มีเรื่องการสร้างสันติภาพปาตานีเลยในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล
นี่ยังไม่รวมการมอบหมายให้คุณสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นผู้นำการกุมบังเหียนการแก้ไขปัญหาปาตานีนะครับ !!
การที่ทุกคนเน้นว่ารัฐบาลนี้จะต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ปาตานีหรือไม่ ทำให้สารัตถะที่สำคัญที่สุดในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ถูกด้อยค่าและบดบังไปหมด ซึ่งจริงๆ มันคือ ความพยายามของรัฐบาลในการยกระดับการสร้างสันติภาพให้เป็นวาระแห่งชาติโดยด่วนที่สุด
เราต้องอย่าโฟกัสผิดจุดเพียงเพราะ นรม. จะไปเข้าร่วมและไปตอบหรือแชร์ให้การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) ในสัปดาห์นี้ แล้วไทยเราจะต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ 73 หรือไม่อย่างไร
เชื่อผมเถอะครับว่าหาก นรม. จำเป็นต้องไปแถลงต่อหน้าการประชุมสมัชชาใหญ่ฯ ผมว่าควรเสนอที่การแก้ไขปัญหาที่รากเหง้าครับ เสนอแนวทางการสร้างสันติภาพแบบยั่งยืนว่าท่านจะทำอย่างไร จัดลำดับความสำคัญให้ได้ว่าอะไรจำเป็นเร่งด่วนก่อนหลัง แจ้งเพื่อนสมาชิกเสียว่าเราตั้งสมมติฐานและสมการผิดมาเกือบ 20 ปี พูดออกไปแบบ อกผายไหล่ผึ่งนะครับ ว่าเราทราบปัญหาและเราจะทำอย่างนี้ โดยแจงมาเป็นข้อๆ ครับ จนกระทั่งสันติภาพที่แท้จริงมันจะเกิดได้
หากทำอย่างนี้แล้ว รับรองครับ การต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินฯ จะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กน้อยเท่านั้น หากรัฐบาลโดย นรม. มีแผนงาน/แนวทาง/และนโยบาย ที่แท้จริงอยู่ในมือแล้ว ในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่โดยเร็ว แต่คงเป็นไปไม่ได้จริงๆ ครับ !!
ผมเสนอทางออกให้รัฐบาลไทยครับ เอาข้อเสนอที่ผมเคยเสนอไป คือ การสร้างสันติภาพควรทำอย่างไร โดยใช้หลักการทำงาน 3 ข้อ
1) ยกระดับการแก้ไขปัญหาให้เป็นวาระแห่งชาติ
2) หยุดการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในพื้นที่ และ 3) การปรับโครงสร้างระบบราชการในพื้นที่ปาตานี
รายละเอียดมีเยอะนะครับ เพราะเป็นการนำประสบการณ์จากเวทีสหประชาชาติมาปรับใช้ แล้วนำโมเดลการสร้างสันติภาพแบบยั่งยืนให้ตอบโจทย์ปัญหาในบริบทของปาตานีด้วย หากท่านจะนำไปใช้ทั้งในการแถลงต่อ UNGA หรือการแก้ไขในประเทศทันที ผมไม่ติดขัดนะตรับ ประสานมาได้ครับ !!
ตั้งโจทย์กันให้ดีครับทุกท่าน เวลาเราใช้มานานแล้วกับความพยายามให้สงบสุข ยังยังไม่รวมภาษีมากกว่า 5 แสนล้านบาท มาเกือบ 20 ปีแล้วนะครับ
หยุดอ้ำอึ้ง !!แล้วยกปัญหาปาตานีให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและถ่วงดุลรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา รวมทั้ง ให้การเจรจาสันติสุขที่รัฐบาลก่อนๆ มานั้นเปลี่ยนไปเป็นการเจรจาสันติภาพซะ โดยไม่เอาแค่ทหารมานั่งคุยกับทหาร เอาประชาชนและภาคประชาสังคมมานำการเจรจาให้ได้ นี่ยังไม่รวมการมี กม. รองรับการสร้างสันติภาพแบบองค์รวมซะด้วยครับ
ขอให้ทำตามข้อเสนอข้างต้นเสียก่อนนะครับ เพราะถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเป็นระดับต้นๆ ส่วนต่อไปขั้นแอดวานส์คงต้องรีบคุยโดยเร็วครับผม
กัณวีร์ สืบแสง
สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม
ภาพ : ลงพื้นที่ให้กำลังใจและติดตามการควบคุมตัวผู้ได้รับผลกระทบจาก พรก.ฉุกเฉิน ที่ จ.นราธิวาส เมื่อ 30 เมษายน 2566
กัณวีร์ สืบแสง: ‘ความผิดปกติ’ ที่ไม่ควรเป็น ‘เรื่องปกติ’ ในดินแดนปาตานี
27 มิ.ย. 66
Thairath Plus
เรื่อง กัญมณฑ์ แต้มวิโรจน์
ภาพ จิตติมา หลักบุญ
Summary
- กัณวีร์ สืบแสง ส.ส. บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเป็นธรรม เริ่มอาชีพกับ สมช. และเคยประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ปี 2547 ช่วงเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์กรือเซะและตากใบ ทำให้เข้าใจปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้
- การทำงานกับ สมช. กัณวีร์เคยรับผิดชอบงานด้านผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดน จนทำให้เป็นหัวหน้างานภาคสนามของ UNHCR ประจำหลายประเทศ ก่อนมุ่งสู่เส้นทางการเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาปาตานี และพาไทยเป็นผู้นำเวทีนานาชาติ
- กัณวีร์เป็นตัวแทนของพรรคเป็นธรรม หนึ่งใน 8 พรรคที่ประกาศพร้อมจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และร่วมอยู่ในคณะทำงานแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ มีโจทย์สำคัญคือ ลดบทบาทอำนาจทหาร และผลักดันกฎหมายสร้างสันติภาพ
พรรคเป็นธรรม พรรคน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่การเมืองในการเลือกตั้ง 2566 เนื่องจากไม่ได้มีทรัพยากรเยอะเท่าพรรคอื่นในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงเน้นไปที่พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ หรือที่เรียกกันว่า ‘ปาตานี’
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส. บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ขับเคลื่อนและลงพื้นที่ชายแดนใต้มาตั้งแต่ก่อนลงสมัคร ส.ส. ปัจจุบันลงเล่นการเมืองครั้งแรก และได้เป็น ส.ส. คนเดียวในพรรค ทั้งยังเป็นหนึ่งในคณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
กัณวีร์เริ่มงานในหน่วยงานความมั่นคง และมองเห็นปัญหาของหน่วยงานนี้ ว่าขับเคลื่อนด้วยโครงสร้างแบบทหาร บริหารด้วยระบบรัฐราชการ ทำให้อำนาจถูกรวบอยู่ที่ศูนย์กลาง ซึ่งรัฐแบบนี้ มักมองความแตกต่างเป็นภัยต่อความมั่นคง
หลักคิดนี้ทำให้รัฐไทยมองปัญหามิติเดียว โดยเฉพาะ ‘ปาตานี’ พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งรัฐไทยตั้งสมการว่า ความแตกต่างนำไปสู่การสู้รบ หากไม่มีการสู้รบ ก็จะทำให้เกิดสันติภาพได้
แต่สมการนี้เป็นจริงหรือไม่ ผู้คนอยู่ตรงไหนในคำว่าสันติภาพ ที่ถูกครอบด้วยความมั่นคง และมองความแตกต่างเป็นภัยอันตราย
กัณวีร์ชวนยกตัวอย่างความลักลั่นของการมองความมั่นคงในมิตินี้ เช่น การมีอยู่ของ กอ.รมน. ‘กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร’
ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องภายในประเทศ และทุกประเทศความมั่นคงภายในต้องนำโดยพลเรือน หรือตำรวจ ส่วนทหารคือดูแลความมั่นคงบริเวณชายแดน ป้องกันอริราชศัตรู
ไทยรัฐพลัสชวน กัณวีร์ สืบแสง ส.ส. หนึ่งเดียวของพรรคเป็นธรรม พูดคุยถึงการทำงานที่ผ่านมา และปัญหาที่แท้จริงของปาตานี รวมถึงแนวทางการทำงานของคณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะเปลี่ยนจากผ่านการ ‘พูดคุยสันติสุข’ เป็น ‘พูดคุยสันติภาพ’ ด้วยการให้ประชาชนนำหน้า โดยทหารและกองทัพต้องลดบทบาทลง
จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง สู่นักมนุษยธรรม และเป้าหมายสร้างสันติภาพปาตานี
ย้อนไปปี 2545 กัณวีร์ สืบแสง เริ่มงานกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ดูแลงานด้านผู้ลี้ภัยและความมั่นคงบริเวณชายแดน นอกจากนี้ยังทำงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ การระดมสรรพกำลัง หากเกิดมีการต้องป้องกันประเทศต้องทำอะไรบ้าง ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จนสุดท้ายได้มาทำเรื่องภาคใต้
ระหว่างการทำงานที่ สมช. 8 ปี ทำให้กัณวีร์ได้เห็นอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับ ‘ความมั่นคง’ ที่มีความเป็นอนุรักษนิยมด้านการทหาร และกัณวีร์ก็ไม่เคยคิดว่า สมช. จะเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร เพราะขณะทำงานอยู่ สมช. เกิดรัฐประหาร 2 ครั้ง ทั้งปี 2549 และ 2557 ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงอย่าง สมช. เกี่ยวข้องทั้งสองครั้ง
“ปัจจุบันนโยบายความมั่นคงแห่งชาติต้องให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ คือต้องพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้เกิดขึ้นจริงๆ”
“วันแรกที่เข้าไป สมช. ก็มีความคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนผ่านเรื่องความมั่นคง ว่าจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ แต่พอทำไป 8 ปี แต่กลับทำให้ประเทศเดินต่อไปข้างหน้าไม่ได้ ไม่เคยให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์เลย จึงตัดสินใจว่าไม่เอาแล้ว ไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยดีกว่า”
จากนั้น กัณวีร์หันมาทำงานกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เริ่มที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และทำงานอยู่ภายในประเทศประมาณ 2 ปี ก่อนจะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ 12 ปี ในหลายประเทศ ทั้งซูดานใต้ ซูดานเหนือ ยูกันดา บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ พม่า และประเทศไทย
หลักการทำงานของกัณวีร์คือ นักมนุษยธรรมจำเป็นต้องเข้าใจหลักการทางด้านมนุษยธรรมอย่างถ่องแท้
“ต้องไม่เอนเอียง มีหลักอิสรภาพในการดำเนินงาน รวมถึงหลักเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางให้ได้ หลักการต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องเข้าไปอยู่ใจกลางของผู้ทำงานด้านมนุษยธรรม”
การทำงานโดยอาศัยหลักมนุษยธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะงานด้านผู้ลี้ภัยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างสันติภาพในพื้นที่ความขัดแย้ง โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษมายาวนาน อยู่ภายใต้ ‘ความมั่นคง’ ตามนิยามทหาร ทำให้ต่อมากัณวีร์เปิดมูลนิธิสิทธิเพื่อสันติภาพ เพื่อทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม โดยมีจุดประสงค์หนึ่งคือ การสร้างสันติภาพในพื้นที่ปาตานี
เมื่อ ‘ความผิดปกติ’ ถูกทำให้กลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ ในดินแดน ‘ปาตานี’
ช่วงการทำงานที่ สมช. กัณวีร์ได้ลงพื้นที่ภาคใต้ในปี 2547 ช่วงเดียวกับเหตุการณ์สำคัญที่โรงพักตากใบและมัสยิดกรือเซะ หลังจากนั้นเป็นต้นมา สถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ก็ไม่เคยเหมือนเดิม รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ และปัจจุบัน พื้นที่ปาตานียังอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษอีกสองฉบับ คือ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และกฎอัยการศึก
ไม่มีพื้นที่ไหนในประเทศไทยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษมานานเกือบ 20 ปีเหมือนจังหวัดชายแดนใต้
กัณวีร์บอกว่า เวลาผ่านไปเกือบ 20 ปี ปัญหาเรื่องสันติภาพย่ำแย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะภาวะที่ต้องอยู่กับกฎหมายพิเศษมายาวนาน จน ‘ความผิดปกติ’ กลายเป็น ‘ความปกติ’ ที่คนในพื้นที่ชาชิน
จากเหตุการณ์กรือเซะ มีการออกกฎหมายพิเศษ แล้วตอนนี้ก็ผ่านมาจะ 20 ปี มีทั้งเด็กที่เติบโตและใช้ชีวิตภายใต้กฎหมายพิเศษ คนในพื้นที่เองก็เริ่มจะมองเรื่องผิดปกติกลายเป็นปกติ อย่างการออกไปกินข้าว นั่งดื่มชา พูดคุยกัน แล้วมีทหารใส่ชุดเต็มยศ ถือปืนพร้อมที่จะใช้ตลอดเวลา แต่คนในพื้นที่บางคนก็เริ่มไม่สนใจ และบอกว่าเรื่องนี้คือเรื่องปกติ
ประวัติศาสตร์ 2547 ปล้นปืน กรือเซะ ตากใบ ต้นกำเนิดกฎหมายพิเศษ จังหวัดชายแดนใต้
"การที่คนเห็นว่าสิ่งผิดปกติเป็นเรื่องปกติ สิ่งนี้ต่างหาก ผิดปกติ เพราะกฎหมายพิเศษต่างๆ ที่ออกมาทำให้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งที่จริงมันไม่ปกติในเวทีโลก กลายเป็นเรื่องปกติในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้”
เพราะอยู่ในจังหวัดชายแดนใต้มาตั้งแต่ปีแรกที่ปัญหาระลอกใหม่เริ่มต้น กัณวีร์มองปัญหาในปาตานีว่า เกิดขึ้นจากสมการของรัฐที่ตั้งมาผิดตั้งแต่ต้น รัฐเห็นปัญหาหลักคือความไม่สงบ เห็นปัญหาการสู้รบของผู้ถืออาวุธ จึงตีโจทย์ว่า หากการสู้รบและการปะทะด้วยอาวุธหายไป แสดงว่าสันติภาพจะเกิดขึ้น
เมื่อรัฐมองปัญหาในรูปแบบนี้ จึงให้งบประมาณกับหน่วยความมั่นคงในการซื้ออาวุธและทำโครงการต่างๆ ด้านความมั่นคง สถิติการปะทะและเหตุรุนแรงอาจลดลงไปบางช่วงเวลา แต่ผลลัพธ์นั้นยังไม่ใช่สันติภาพ ประชาชนยังรู้สึกไม่มีความปลอดภัย และไม่มีใครอยากใช้ชีวิตภายใต้กฎหมายพิเศษต่างๆ
"หากถามว่ารัฐไทยกำลังสู้กับอะไรในพื้นที่ปาตานีตอนนี้ ผมคงบอกว่า สู้กับการปิดกั้นสิทธิการแสดงออกของประชาชน ไม่ใช่กองกำลังติดอาวุธต่างๆ แต่สู้กับการปิดกั้นและกดขี่ข่มเหงประชาชนไปเรื่อยๆ”
การสร้างสันติภาพใหม่ต้องเปลี่ยนใหม่ กัณวีร์มองว่าต้องยกระดับการสร้างสันติภาพในพื้นที่ปาตานีเป็นวาระแห่งชาติให้ได้ ทำให้ทุกคนรู้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ 19 ปีที่ผ่านมา งบกว่าล้านล้านบาท เป็นภาษีประชาชนที่ลงไปเพื่อสร้างสันติภาพ แต่ไม่เกิดผลลัพธ์อะไรนอกจากถนนและอาคารต่างๆ ของราชการเท่านั้นที่เกิดมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ ว่า งบประมาณหายไป แต่สันติภาพยังไม่เกิดขึ้น
เรื่องปาตานีไม่ใช่แค่หน้าที่ของ ส.ส. ในพื้นที่ที่จำจะต้องพูดเรื่องเหล่านี้เท่านั้น ต้องเป็น ส.ส. 500 คนในสภาให้ความเห็น ต้องให้ความสำคัญกับปาตานีในกระบวนการสร้างสันติภาพ
นอกจากคนในพื้นที่จะถูกปิดกั้นแล้ว คนภายนอกก็ยังรู้เรื่องราวปัญหาที่แท้จริงของจังหวัดชายแดนใต้น้อยมาก เพราะรัฐพยายามปิดกั้นข่าวสารและข้อมูลไม่ให้ไปถึงคนนอกพื้นที่ ข่าวสารที่คนทั่วไปมักจะทราบ เช่น เหตุระเบิดที่ไหน ระเบิดคนพุทธ ระเบิดทหาร และทหารเสียชีวิตเท่าไร แต่ไม่เคยได้รับข่าวสารว่าคนในพื้นที่ปาตานีต้องกำพร้าพ่อแม่กี่คน มีกี่คนที่ต้องหนีออกนอกประเทศเพราะใช้ชีวิตอยู่ในไทยไม่ได้
“ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่คนนอกพื้นที่จะไม่เข้าใจบริบทพื้นที่ในปาตานี เพราะไม่มีข้อมูลตรงไหนที่จะมอบให้กับคนทั่วประเทศเข้าใจในเรื่องนี้ได้”
นอกจากข้อมูลความสูญเสียที่ไม่ถูกเปิดเผยครบอย่างรอบด้าน การแก้ไขปัญหาก็เช่นกัน เช่นการพูดคุยเจรจา 'สันติสุข' ที่รัฐไทยคุยกับแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) ไม่มีการชี้แจงให้ประชาชนทราบว่าคุยอย่างไร วิธีการสร้างสันติสุขเป็นเช่นไร ได้เพียงคำตอบจากรัฐว่า สิ่งที่เขาทำคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว กัณวีร์ชี้ให้เห็นจุดสำคัญว่า “การที่ทหารคุยกับทหาร การเจรจาจะสร้างสันติภาพได้ยังไง”
ดังนั้น จึงมีการเสนอให้เปลี่ยนการเจรจา ‘สันติภาพ’ เป็นคำว่า ‘สันติสุข’ เพื่อให้การแก้ปัญหานำไปสู่ความสงบในพื้นที่
คณะทำงานสร้างสันติภาพชายแดนใต้ได้หารือกันถึงการยกระดับกระบวนการสร้างเสรีภาพให้เป็นวาระแห่งชาติ ว่าต้องมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยนจากการพูดคุยสันติสุข เป็นสันติภาพ กัณวีร์เล่าเหตุผลว่า “ตอนแรกเขาไม่ใช้คำว่าสันติภาพ เพราะกลัวจะมีการแทรกแซงจากต่างชาติเข้ามาในกระบวนการสร้างสันติภาพ”
กัณวีร์อธิบายว่า การพูดคุยสันติภาพกับกลุ่ม BRN นอกจากเปลี่ยนชื่อเป็นสันติสุข ควรมีการเจรจากันภายในประเทศไทย ไม่ใช่ที่ประเทศมาเลเซีย เพราะไม่มีใครยืนยันได้ว่า ตัวแทนที่มาเจรจาเป็นตัวแทนของ BRN จริงๆ ฉะนั้น การเปิดพื้นที่เจรจา ต้องให้ความคุ้มครองฝ่ายเจรจา ไม่ใช่การจับกุม ซึ่งการพูดคุยลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ และนั่นคือเป้าหมายของคณะทำงานสร้างสันติภาพที่เพิ่งตั้งขึ้นมา
“คณะทำงานสร้างสันติภาพชายแดนใต้มองกลุ่ม BRN เป็นคู่เจรจา ที่เดิมเป็นเพียงกลุ่มคนที่เขาไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีพื้นที่สาธารณะให้พูดหรือรับฟังเขา รัฐไปผลักไสเขาจนติดกำแพง เมื่อเจรจาไม่ได้ จึงสะท้อนเป็นการใช้กำลังแทน และนี่เป็นเรื่องที่รัฐไทยจะต้องเรียนรู้”
กัณวีร์เปิดเผยว่า คณะทำงานได้เริ่มวางแนวทางแก้ไขปัญหาแล้ว ซึ่งจะแบ่งเป็นระยะ 100 วัน 2 ปี และ 4 ปี แต่ภายใน 1 ปีแรกหลังการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อย จะเห็นความพยายามในการแก้ไขกฎหมายที่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน จากนั้นจะเริ่มเห็นรูปแบบการปฏิรูปโครงสร้าง ว่าจะมีแนวทางอย่างไร
สำหรับการแก้ไขปัญหา ประชาชนทุกคนจะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารความคืบหน้ามากขึ้นและเท่ากัน ผ่านระบบรัฐสภา เช่น การเจรจาสันติภาพ ต่อไปจะเปลี่ยนเป็นพลเรือนนำและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อการเจรจาผลเป็นอย่างไร จะมีการชี้แจงต่อรัฐสภา และทุกคนจะได้ฟังไปพร้อมกัน
อนาคตไทย พลเรือนนำการเมือง
ที่ผ่านมาจนตอนนี้ เราจะเห็นทหารนำการเมือง โดยเฉพาะรัฐบาลตั้งแต่ยุคหลังรัฐประหาร 2557 ยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังมีความเป็นรัฐราชการสูง ซึ่งกัณวีร์บอกว่า รัฐพยายามขยายระบบของตัวเองให้ใหญ่โต จนกลายเป็นระบบราชการที่มีชีวิตขึ้นมา แต่เมื่อรัฐราชการมีชีวิต มีอำนาจมากขึ้น การทำตามความต้องการกลับน้อยลง สวนทางกับความเป็นประชาธิปไตย ที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุด
“การเมืองประเทศไทยคือระบบประชาธิปไตย ฉะนั้นระบอบประชาธิปไตยประชาชนเป็นศูนย์กลางอำนาจต่างๆ”
เมื่อมองที่โครงสร้าง ปฏิเสธไม่ได้ว่ากองทัพคือส่วนหนึ่งของปัญหา ซึ่ง 8 พรรคการเมืองที่ร่วมจับมือกันเตรียมจัดตั้งรัฐบาล ได้พูดถึงการลดบทบาททหารมาโดยตลอด แต่กัณวีร์ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ทหารเป็นศูนย์กลางมีชีวิตขึ้นมาแล้ว เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีอำนาจหน้าที่และงบประมาณ แต่ประชาชนผู้เสียหาย ได้รับผลกระทบ ยังไม่ได้รับการเยียวยา
ฉะนั้น นโยบายสำคัญของพรรคเป็นธรรมและพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล คือการยุบ กอ.รมน. การปรับโครงสร้างภายใน ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ไม่ให้เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนด้วยทหาร
กัณวีร์ชวนคิดถึงความหมายของชื่อเต็ม กอ.รมน. ‘กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร’ ที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องภายในประเทศ และทุกประเทศความมั่นคงภายในต้องนำโดยพลเรือน หรือตำรวจ ส่วนทหารคือดูแลความมั่นคงบริเวณชายแดน ป้องกันอริราชศัตรู
“ตอนนี้สมการผิด เราเอาทหารเข้ามาใส่หมวก กอ.รมน. และเป็นคนของทหารเข้ามารับตำแหน่ง จึงทำให้เกิดโครงสร้างทหารใน กอ.รมน. เกิดขึ้น ก็มีงบประมาณและกฎหมายพิเศษต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องลดบทบาทลง”
กัณวีร์ยืนยันว่า การลดบทบาทครั้งนี้ไม่ใช่เพราะเกลียดทหาร แต่ต้องการให้กองทัพมีความทันสมัย ได้รับการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ ถ้าสามารถทำได้ ทหารจะกลับไปทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถแข่งในเวทีโลกได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงระดับใหญ่นี้ต้องใช้เวลา แต่หากดูเฉพาะในพื้นที่ปาตานี การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทหารสามารถทำได้
“อยากให้คนไทยมั่นใจว่า กระบวนการสร้างเสรีภาพในปาตานีต้องเป็นวาระแห่งชาติ ด่านจะลดลง และกระบวนการเจรจาสันติภาพจะนำมาซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้ประชาชนเชื่อใจว่ารัฐบาลชุดใหม่เอาจริง”
กฎหมายเพื่อคนทุกกลุ่ม
กัณวีร์หยิบยกการสร้างสันติภาพ ซึ่งพรรคเป็นธรรมให้คำมั่นไว้กับประชาชนปาตานี ว่าต้องมีการผลักดัน ‘พระราชบัญญัติการสร้างสันติภาพ’ หรือ ‘พระราชกำหนดฉุกเฉินเพื่อการสร้างสันติภาพ’ แต่การผลักดันกฎหมายฉบับดังกล่าว กัณวีร์ใช้คำว่า “เป็นงานช้าง” เพราะชายแดนภาคใต้ไม่ได้มีแค่เรื่องสันติภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายมิติ ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง วัฒนธรรม และการศึกษา ซึ่งจะอยู่ในรายละเอียดของกฎหมายที่คณะทำงานร่วมกันผลักดันเช่นกัน
อีกกฎหมายหนึ่งที่อยากผลักดันคือกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย กัณวีร์เน้นย้ำว่า “ยังไงก็ต้องทำ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เลือกเดินเข้าสู่เส้นทางเป็นนักการเมือง เพราะกฎหมายผู้ลี้ภัยเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ของประเทศไทยได้
“แม้หลายคนจะถามว่า สิ่งที่ผมอยากจะทำไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนที่สามารถโหวตเลือกผมได้ แต่ก็อยากจะทำให้ทุกคนเห็นว่า มนุษย์คือมนุษย์ และเมื่อคุณตื่นขึ้นมาจะเห็นจุดยืนของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป ไทยจะมีพื้นที่มากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ หากเราพูดสิทธิมนุษยชน เรื่องงานมนุษยธรรม สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับในเวทีนานาชาติ และสุดท้ายการลงทุนความร่วมมือต่างๆ จะเข้ามาเองโดยที่เราไม่รู้ตัว”
ส่วนนโยบายที่พรรคเป็นธรรมเสนอเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง เช่น ปาตานีจัดการตนเอง ซึ่งหมายถึงการกระจายอำนาจ ซึ่งหากว่ากันตามจริง ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา มีการบัญญัติเรื่องการปกครองตนเองและการกระจายอำนาจไว้อยู่แล้ว คือการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอำนาจบริหารจัดการตนเอง และผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง
เพราะฉะนั้น นโยบายจังหวัดจัดการตนเองก็สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และพรรคเป็นธรรมจะเริ่มต้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
“เพราะในพื้นที่นี้มีมูลค่าการส่งออกสินค้าชายแดนต่อปี 1.7 ล้านล้านบาท ถ้าสามารถนำเงินจำนวนนี้มาเป็นสารตั้งต้นในการจัดเก็บภาษีให้กับพื้นที่บริเวณชายแดน สามารถที่จะเป็นสารตั้งต้นในการบริหารจัดการตนเองได้ และอีกอย่างหนึ่งคือ ระเบียงเศรษฐกิจชายแดน ที่จะสร้างมูลค่าของสินค้าให้มีมิติทางวัฒนธรรม สังคม วิถีชีวิตของประชาชนชายแดน ที่มีความหลากหลาย ถูกส่งออกไป ก็จะยิ่งสร้างมูลค่ามหาศาลมากๆ”
แต่อุปสรรคสำคัญก็คือ แนวคิดของรัฐที่ยังเป็นรัฐราชการ และมองว่าการกระจายอำนาจเป็นภัยต่อความมั่นคงที่ยึดการรวมศูนย์อำนาจเป็นหลัก
“รัฐไทยยังมีแนวคิดว่า ความเป็นหนึ่งเดียวจะสร้างเอกภาพ โดยเฉพาะหน่วยความมั่นคง แต่พวกเขาอาจจะลืมไปว่าในปัจจุบันศตวรรษที่ 21 ความหลากหลายต่างหากที่จะเสริมสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้น”
ฝ่ายความมั่นคงมองทุกอย่างคือภัยคุกคาม
กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า โดย พลโทศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารเข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี ดำเนินคดีแก่ผู้จัดงาน การกำหนดอนาคตตนเองในสันติภาพปาตานี ที่จัดโดยนักศึกษากลุ่ม ขบวนนักศึกษาแห่งชาติเพื่อเป็นการเปิดตัวองค์กร เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน และผู้เข้าร่วมงานเสวนา ข้อกล่าวหาหลักๆ เช่น ละเมิดรัฐธรรมนูญ เตรียมการกบฏ ยุยงปลุกปั่น และอั้งยี่-ซ่องโจร
พรรคเป็นธรรมคือหนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งกัณวีร์กล่าวถึงข้อกล่าวหานี้ว่า พร้อมที่จะฟ้องกลับ “เพราะถือว่าหมิ่นประมาท ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างรุนแรง ไม่มีทั้งหลักฐาน การร่วมงานของพรรคเป็นธรรมเป็นเพียงการเข้าร่วมของปัจเจกเท่านั้น”
กิจกรรมของนักศึกษาเกิดขึ้นวันที่ 7 มิถุนายน ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดย ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Bangsa) ในงานมีการเสวนาเรื่อง สิทธิการกำหนดชะตากรรมของตนเอง หรือ RSD (Right to Self-determination) กับสันติภาพปาตานี และมีกิจกรรมจำลองการทำประชามติว่า "คุณเห็นด้วยกับสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองหรือไม่ ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย"
เมื่อภาพการทำประชามติจำลองถูกเผยแพร่ออกไป ฝ่ายความมั่นคงแสดงท่าทีไม่เห็นด้วย และตั้งข้อสังเกตว่า ไม่เหมาะสม เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ที่ระบุว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
กัณวีร์มองกิจกรรมของนักศึกษาว่า “เป็นคำถามว่าจะทำดีไหม ถ้าทำ จะทำแบบใด ด้วยคำถามแบบไหน ซึ่งยังมีอีกหลายขั้นตอน แต่ฝ่ายความมั่นคงมองเพียงขั้นตอนสุดท้าย ว่านักศึกษาต้องการแบ่งแยกดินแดน”
สิทธิการกำหนดชะตากรรมของตนเอง คือการที่แต่ละคนมีสิทธิที่จะคิดเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดชะตากรรมของตนเอง อย่างกัณวีร์เองก็มีสิทธิที่คิดว่าอยากเป็นทหารอยากจะกำหนดชะตากรรมของตนเอง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะสามารถไปถึงจุดนั้นได้ เพราะเป็นสิทธิของแต่ละคน ในการคิดที่จะกำหนดชะตากรรมตนเอง
หากอยากจะเป็น RSD เรื่องเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจริงๆ จะต้องนำความคิดตรงนี้เข้าไปสู่กรอบรัฐสภา ไปพูดภายใต้รัฐธรรมนูญ ว่ามีคนจำนวนเท่าใดต้องการแบ่งแยกดินแดน แต่การที่นักศึกษาใช้พื้นที่สาธารณะ มาพูดเรื่องนี้แล้วบอกว่านักศึกษาพยายามแบ่งแยกดินแดน ความคิดนี้ผิด
ส่วนการฟ้องยุบพรรค ก็พร้อมจะฟ้องหมิ่นประมาทเช่นกัน “เพราะการทำแบบนี้ทำให้ทุกคนเข้าใจผิด และการที่จะไปฟ้องนักศึกษาที่ต้องการแสดงความเห็นโดยใช้พื้นที่สาธารณะ ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยในการแสดงออกในประเด็นวิชาการ จะทำร้ายเด็กๆ ทำไมไม่คิดที่จะไปพูดกับเขา เรื่องนี้จริงๆ สามารถพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันได้ แต่คนที่ฟ้องกลับแอบฟัง แล้วก็จะไปฟ้อง”
กัณวีร์มองว่า ในมุมวิชาการ เรื่องนี้สามารถเรียนรู้ พูดคุย และถกเถียงกันได้ “ไม่อย่างนั้นหลักวิชาการอย่าสอนทฤษฎีด้านสังคมนิยม เพราะเป็นหลักวิชาการที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าสอนแสดงว่าหมิ่นเหม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างนั้นหรือ”
“ถ้าสังคมไทยเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เราจะทำความเข้าใจคนที่เห็นต่างได้ เราจะอยู่กับความเห็นต่างของคนได้”
กัณวีร์ยังวิเคราะห์ว่า อาจจะเป็นขบวนการล้างการจัดตั้งรัฐบาลในช่วงที่ยังไม่มีการรับรอง ส.ส. และกิจกรรมนี้มี ส.ส. จาก 3 พรรคการเมือง ซึ่งอยู่ใน 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล มาพูดคุยเสวนาวิชาการเรื่อง RSD ซึ่งในงานดังกล่าวมีการแยกกันระหว่างวงเสวนากับการทำกิจกรรม
“แต่คนฟ้องก็สามารถเอามารวมกันได้ และบอกว่า 3 พรรคนี้เป็นคนอยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งเหมือนจะเป็นขบวนการ เพราะจังหวะพอดีว่ากลุ่มพรรคการเมืองที่เชิญเป็นกลุ่มนี้ และประเด็นก็ได้”
หากนักศึกษาโดนฟ้องหรือโดนอะไรจากราชการ ผมก็พร้อมที่จะใช้ตำแหน่ง ส.ส. ในการช่วยเหลือประกันตัวออกมา เพราะคิดว่าหากรัฐทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ พื้นที่ในการแสดงออกของเราก็จะหายไป ซึ่งมันไม่ถูกต้อง
แม้ปัจจุบันจะมีการรับรอง ส.ส. แล้ว แต่กัณวีร์คิดว่า คงมีคนพยายามขุดขึ้นมาเพื่อหาเรื่องฟ้องอีก
“ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำขนาดนี้ ทำไมไม่ยอมให้พรรคที่ประชาชนมอบอำนาจให้จัดตั้งรัฐบาลได้ และถ้าพรรคเหล่านี้บริหารจัดการประเทศไม่ได้ ประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเอง พวกคุณเป็นใคร เป็นแค่กลุ่มคนเล็กๆ ที่พยายามขัดขวางทุกสิ่งทุกอย่างที่ประชาชน 14 ล้านเสียงเลือก
“ถ้ายังคิดทัน คิดได้ หยุดเถอะ ประชาธิปไตยในประเทศไทยจะได้งอกงาม”