วันจันทร์, กรกฎาคม 03, 2566

หนังสือเรียกร้อง จากอดีตคณบดีนิติ มธ พนัส ทัศนียานนท์ ถึง ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ให้ไต่สวน สว. แต่งตั้ง จำนวนหนึ่งที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอันมี ลักษณะร้ายแรง


Panat Tasneeyanond
8h·
65/2 พระรามที่ 6 ซอย 28 ถนนพระรามที่ 6 แขวง/เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
2566
เรื่อง ขอให้ไต่สวนและมีความเห็นกรณีสมาชิกวุฒิสภา ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอันมี ลักษณะร้ายแรง
กราบเรียน ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ
สิ่งที่ส่งมาด้วย คลิปเสียงและเอกสารคำให้สัมภาษณ์ของ สมาชิกวุฒิสภาที่ขอให้ไต่สวน
ด้วยปรากฏว่ามี สมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งได้ออกมา แสดงจุดยืนและความคิดเห็นต่อสาธารณชนผ่านสื่อมวลชน และสื่อสังคม (Social Media) อันมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืน และไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอันมีลักษณะร้าย แรง ดังต่อไปนี้
1) มาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 กำหนดให้รัฐพัฒนาการบริหารราชการแผ่น
ดินทุกส่วนเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง
1
ที่ดี และในวรรคสามบัญญัติว่า “รัฐพึงจัดให้มี มาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้ เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้า หน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่า มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว” นอกจากนี้ ใน มาตรา 219 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้ศาล รัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ทางจริยธรรมขึ้นบังคับใช้ ซึ่งในการจัดทำต้องรับฟัง ความคิดเห็นของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะ รัฐมนตรี โดยเนื้อหาต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมี ลักษณะร้ายแรง ซึ่งมาตรฐานทางจริยธรรมบังคับใช้ กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กร อิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงาน ธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ รวมทั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะ รัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิก วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีก็สามารถออกมาตรฐาน ทางจริยธรรมเพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสมกับการ
ปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับมาตรฐาน
2
ทางจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระ กำหนด และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ ใช้บังคับได้ ทั้งนี้ มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวต้อง ครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ ของชาติ
ในส่วนของการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทาง จริยธรรม ในมาตรา 234 กําหนดให้คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) มีอํานาจ หน้าที่ ไต่สวน และมีความเห็นหากมีการกล่าวหาว่าผู้ ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตาม ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ�
กําหนด ส่วนขั้นตอนการดําเนินการของ ป.ป.ช. ถูก ระบุไว้ใน มาตรา 235 คือ ให้ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จ จริงและหากข้อสรุปเป็นเสียงที่ได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของกรรมการทั้งหมด จึงเสนอต่อศาลฎีกา เมื่อศาล ฎีการับฟ้อง ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และ หากผู้ถูกกล่าวหาถูกคําพิพากษาว่ามีความผิดจริง ต้องพ้นจาก�
3
ตําแหน่ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปีได้อีกด้วย
ตาม “มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวม ทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงาน ธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561” ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2561 (ราชกิจ จานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 5 ก หน้า 13) ซึ่งใช้บังคับ แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะ รัฐมนตรีด้วย ข้อ 27 กำหนดว่า “การฝ่าฝืนและไม่ ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 1 ให้ ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง” และในหมวด 1 ว่าด้วย มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 5 กำหนดว่า “ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุก ฉบับรวมทั้งฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 จะมิได้ ให้ความหมายของคำว่า “การปกครองระบบ ประชาธิปไตย” ไว้โดยตรง แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันโดย ทั่วไปว่าตามหลักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
4
หมายความถึง ระบบการปกครองที่ “อำนาจสูงสุดเป็น ของราษฎรทั้งหลาย”(รัฐธรรมนูญ 2475 มาตรา 1) และการปกครองโดยเสียงข้างมากของประชาชนที่ เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้ามาทำหน้าที่ปกครองบ้าน เมืองแทนตนในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งความหมายดัง กล่าวนี้มีนัยปรากฏอยู่ในมาตรา 159 วรรคท้าย ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่ บัญญัติว่า “มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการ แต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดย การลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนเสียงมากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้ แทนราษฎร” และในกรณีที่มีการขออภิปรายไม่ไว้ วางใจคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 151 วรรคสี่ ที่บัญญัติ ว่า “มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทน ราษฎร”
2) ในการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เมื่อ วันที่ 24มีนาคม 2562 ปรากฏว่า พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจำนวน 116 คน สามารถรวบรวมเสียงจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอื่นๆ รวมกันเป็นเสียง ข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จำนวน 252 คน จาก
5
จำนวนที่มีอยู่ทั้งหมด 500 คน จึงได้เสนอชื่อ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายก รัฐมนตรี ส่วนพรรคอื่น ๆ ที่รวมตัวกันเป็นฝ่ายเสียง ข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอชื่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เพื่อ ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ผลการลงมติปรากฏว่าพล เอกประยุทธ จันทร์โอชา ได้รับการลงมติให้ดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้รับคะแนนจากสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจำนวน 251 เสียง (งดออกเสียง 1 คน) จากสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 249 เสียง ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 99.6 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 250 คน ทั้งนี้โดยสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าวให้เหตุผลว่า การ ลงมติให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชาเป็นนายก รัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติตามหลักการปกครองระบบ ประชาธิปไตย เพราะพลเอกประยุทธ จันทร์โอชาได้รับ การลงมติด้วยเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เนื่องจากการลงมติของสมาชิกรัฐสภาทั้งสอง สภาเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดย พรรคการเมืองให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นครั้งแรกเพราะไม่เคยมี
6
รัฐธรรมนูญฉบับใดที่มีอยู่ก่อนหน้ามีบทบัญญัติเช่นนี้ การลงมติเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันโดยถือ เอาเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเป็นเกณฑ์ใน การพิจารณาลงมติจึงถือว่าเป็นประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขตามนัยมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ต่อมา ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่จัดให้มีขึ้นเนื่องจากมีพระราช กฤษฎีกาให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อนเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าสมาชิกพรรคก้าวไกลได้รับการเลือกตั้งมาก ที่สุด จึงได้เป็นผู้นำในการรวบรวมเสียงข้างมากเพื่อ จัดตั้งรัฐบาลตามประเพณีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ปรากฏว่าพรรคก้าวไกลสามารถเชิญ ชวนให้พรรคการเมืองอื่นเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยรวบรวมเสียงจากสมาชิกพรรคต่าง ๆที่ได้รับการ เลือกตั้งได้จำนวน 313 คน เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกสภาราษฎรทั้งหมด 500 คน แต่ปรากฏว่า มี สมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งออกมาประกาศต่อ สาธารณชนว่า ในการประชุมรัฐสภาเพื่อลงคะแนน เลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมือง
7
ต่าง ๆ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีจะไม่ยอมลงคะแนนเลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลให้เป็น นายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าจะสามารถรวบรวมผู้ได้รับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่างๆ รวมกันจนมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม โดยแต่ละคนมีข้ออ้างและเหตุผลที่สรุปได้ว่า จะไม่ ยอมรับการมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่เกิด จากการรวมตัวกันของพรรคการเมือง 8 พรรคซึ่ง พรรคก้าวไกลเป็นผู้รวบรวมมาได้ เพราะพรรคก้าว ไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์หัวหน้า พรรคมีพฤติการณ์ไม่จงรักภักดีและต้องการจะล้มล้าง สถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะได้ประกาศไว้ชัดเจนว่า จะเสนอแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่น พระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยว กับพระราชอำนาจและทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ และการดำเนินงานของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆ ที่การเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเป็นอำนาจของ คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารและเป็นสิทธิโดยชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรทุกคนซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่จะเสนอให้มีการ แก้ไขกฎหมายใดๆ ได้ตามครรลองของการปกครอง
8
ระบอบประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ โดยมี บางคนประกาศผ่านสื่อมวลชนอย่างตรงไปตรงมาว่า ไม่เชื่อมั่นศรัทธาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเห็นว่าไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด โดย เปรียบเปรยว่าหากประชาชนเสียงข้างมากเป็น แมลงวันก็ต้องบอกว่าอุจจาระหอม ส่วนประชาชนฝ่าย เสียงข้างน้อยเป็นผึ้งก็ต้องบอกว่าอุจจาระเหม็น มีการ อ้างอิงคำสั่งสอนและความคิดเห็นของบุคคลบางคนที่ เห็นว่า การปกครองระบอบเผด็จการดีกว่าระบอบ ประชาธิปไตย มีการนำข้อมูลเท็จมาแสดงต่อ สื่อมวลชนว่ามีการแทรกแซงจากต่างชาติด้วยการให้ เงินสนับสนุนพรรคก้าวไกลให้ชนะการเลือกตั้งเพื่อจะ ได้เข้าไปเป็นรัฐบาลแล้วดำเนินการล้มล้างสถาบันพระ มหากษัตริย์ต่อไป (ปรากฏตามหลักฐานการพูดให้ สัมภาษณ์สื่อมวลชนในคลิปเสียงและเอกสารที่ส่งมา ด้วย) ซึ่งการกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการแสดง เจตนาวาจะไม่ปฏิบัติตามประเพณีในการลงมติเลือก บุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยถือเอา เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเป็นเกณฑ์แล้ว ยัง เป็นการแสดงตนว่าไม่ “ยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการ ปกครองระบบประชาธิปไตย”ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนและไม่ ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอันมีลักษณะร้ายแรง
9
ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวม ทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงาน ธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 27 ประกอบกับข้อ 5 ซึ่งใช้บังคับแก่สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ด้วย โดยมีรายชื่อสมาชิกวุฒิสภาที่กระทำการอัน เป็นการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม
อันมีลักษณะร้ายแรงดังกล่าวข้างต้น ดังต่อไปนี้ (1) .....................................
(2) ..................................... (3)..............., .................... (4)..................................... (5)................,.,,,................. (6)..........................,..,,..,,.... (7)...................................... (...................................,
(9) ................................... (10) ..........................,,,..,,,,, (11) ................................ (12) .................................... (13)..................................... (14)..................................... (15)................................
10
............ฯลฯ...................
ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนชาวไทยผู้ได้รับความ
เสียหายจากการกระทำ ของสมาชิกวุฒิสภาตามรายชื่อข้างต้น ซึ่งเป็นการไม่ ยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอให้ประธาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติได้โปรดไต่สวนและมีความเห็นกรณีสมาชิก วุฒิสภาตามรายชื่อข้างต้นมีการกระทำอันเป็นการ ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอันมี ลักษณะร้ายแรงตามมาตรา 234 - 235 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และ ตามมาตรา 28 และมาตรา 87 ของพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ต่อไป
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(ลงชื่อ)
ผู้ร้อง