วันจันทร์, กรกฎาคม 03, 2566

ประพันธ์ คูณมี โทษด้อมส้มเฉย ⁉️ มีหลักฐานมั้ย


 


Saiseema Phutikarn
10h·
ที่ "ประพันธุ์" บอกว่าไม่เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวนี้ก็คงไม่ผิด เพราะจริงๆแล้วสำนักข่าวที่สัมภาษณ์"ประพันธุ์"คือ Bloomberg ไม่ใช่ Japan Times แต่ส่วนที่อ้างว่าไม่เคยพูดข้อความดังกล่าวอันนี้น่าจะสร้างความเดือดร้อนให้ Patpicha Best คนสัมภาษณ์ต้องออกมาชี้แจงด่วนๆๆ
“It’s not our job to listen to the people, even if you got 100 million votes, I still wouldn’t pick you if I don’t like you or find you suitable.” Senator Prapanth Koonmee, said in an interview.
***อัพเดต***
ล่าสุด "ประพันธุ์" ออกมารับว่าให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg จริง แต่เนื้อหาในบทความที่เผยแพร่กันนั้น โดน "ด้อมส้ม" ทำการ "ตัดต่อบิดเบือน" ให้คนอ่านเข้าใจผิด
โดยแกบอกว่าคำว่า The People จริงๆมันต้องแปลว่า "เสียงของใครต่อใคร" ไม่ใช่ไปแปลว่า "เสียงประชาชน" แบบที่ด้อมส้มแชร์ๆกัน เพราะ
" (คนแปลภาษาไทย แปลเพี้ยนไปครับ เพราะเวลาเรา generalization ว่าเป็น “คนกลุ่มใหญ่ หรือคนทั่วๆ ไป” เราจะไม่ใช้ the people การใช้คำว่า the people ตามหลักไวยากรณ์ หมายถึง เฉพาะคนกลุ่มที่ผู้พูดต้องการจะพูดถึงเท่านั้น)" ซึ่งอันนี้อ่านแล้วก็งง เพราะเห็นปกติ The People มันก็หมายถึง the citizens of a country ราษฎรของประเทศ
ปล. ใน JPT ก็บอกอยู่ว่าเป็นบทความที่มาจากไหน แต่ไม่รู้ทำไมสื่อไทยกลับอ้างถึงแต่ JPT ไม่ยักพูดถึง Bloomberg
.....
 https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/6627112734022176?ref=embed_post
Thanapol Eawsakul
20h·
สำหรับคนอย่างประพันธ์ คูณมี
ครั้งหนึ่งเคยเป็นคอมมิวนิสต์ เข้าป่า จับอาวุธ มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายสงคราม"
ต่อมาก็ออกมาทำงานรับใช้ประสงค์ สุ่นศิริ "ซีไอเอ เมืองไทย"
อพยพตามประสงค์ สุ่นศิริ มายังพรรค ความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม แต่ก็ยังไปไม่ถึงดวงดาวไม่เคยได้เป็นส.ส.
ปี 2548 ลงส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังสอบตก
เมื่อเอาดีทางการเลือกตั้งไม่ได้ก็ เข้าสู่ขบวนการ ถวายคืนพระราชอำนาจ ของสนธิ ลิ้มทองกุล มาตั้งแต่ขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องรัฐประหาร
หลังรัฐประหาร 2549 ได้ดิบได้ดีเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมเพื่อนร่วมรุ่นอย่างสำราญ รอดเพชร
การเลือกตั้ง 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครในเขตกทม. แต่แพ้เลือกตั้ง แต่ก็ยังทำงานให้กับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อสนธิ ลิ้มทองกุลออกมาตั้งพรรคการเมืองใหม่ ประพันธ์ คูณมี ก็มาร่วมก่อตั้งแต่พรรคการเมืองใหม่
แต่ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า แพ้แม้กระทั่งการเลือกตั้ง สก. สข. ใน กทม.
เมื่อเอาดีทางการเลือกตั้งไม่รอด
ก็วิ่งกลับมาหาอำนาจรัฐประหารอีกครั้ง
เมื่อเป็นรายชื่อสำรองของวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร 2557
และกลายเป็นวุฒิสภา แทนที่สุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ที่ตายลงไปในปี 2565
สรุปเส้นทางของประพันธ์ คูณมี ได้ดีมากับการรัฐประหาร
เมื่อเข้าสู่การเลือกตั้ง ก็เป็นพวกสอบตกซ้ำซาก


Atukkit Sawangsuk
14h·
ถ้า Japan Times ขุดประวัติประพันธ์
คงได้เห็นความทุเรศกว่านี้อีก
อดีตนักศึกษา 14 ตุลา สมาชิกสหพันธ์นักศึกษาเสรี ซึ่งตอนนั้นกระจายกันออกไปทำงานเคลื่อนไหวชาวนา
ประพันธ์ไปทำงานที่ภูเขียว
พอ 6 ตุลาเข้าป่า “สหายสงคราม” ก็ไปตั้งเขตงานภูเขียวของตัวเอง
แต่พอออกจากป่า ก็กลายเป็นคนสนิทของประสงค์ สุ่นศิริ
:
คนออกป่าที่กลายเป็นพันธมิตรนกหวีดมีอยู่สองประเภท
หนึ่งคือ พวกที่เพี้ยนโดยทัศนะ เกลียดนักการเมือง เกลียดทุน ต้านโลกาภิวัตน์ ถลำไปในทัศนะแบบหมอประเวศ (แบบที่ อ.ธิกานต์ ศรีนารา ทำวิจัยไว้) จนเชื่อว่าต้องยืมมือศักดินาทำลายทุนผูกขาด
:
อย่างไรก็ตาม มันมีคนประเภทที่สอง
ประเภทที่ได้ประโยชน์ แสวงหาผลประโยชน์ และมี Agenda ตั้งแต่ต้น
:
ประพันธ์น่าจะบอกได้ว่าตัวเองอยู่ประเภทไหน