วันศุกร์, เมษายน 08, 2565

หากยืนอยู่บนหลักการประชาธิปไตย การสะใจกับโทษที่ "ปารีณา" โดนนั้น อันตรายอย่างยิ่ง!


Noppakow Kongsuwan
11h ·

หากยืนอยู่บนหลักการประชาธิปไตย การสะใจกับโทษที่ "ปารีณา" โดนนั้น อันตรายอย่างยิ่ง!
.
.
อันตรายอย่างไร?
.
ก่อนอื่น ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ "ปารีณา" ทำนั้นถูกต้อง และไม่ควรถูกดำเนินคดี การรุกที่ของรัฐโดยไม่ถูกต้อง ต้องมีบทลงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ และ พฤติกรรมหลายครั้งของปารีณาก็นับว่าเลวร้าย สมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ และ ตรวจสอบ แต่สิ่งที่ปารีณาโดนนั้น ถือว่าหนักมาก และไม่สมเหตุสมผล เพราะ
.
- เราต้องอย่าลืมว่า จะดีชั่วระยำ "ปารีณา" มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จริงอยู่ที่ปารีณาต้องถูกดำเนินคดีถ้าหากผิด แต่องค์กรที่ใช้ดำเนินคดีกับ "ปารีณา" (หรือแม้กระทั่งนักการเมืองคนอื่นๆที่มาจากการเลือกตั้ง) คือ "ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่มีความยึดโยงใดๆ กับ "อำนาจประชาชน" ผ่านตัวแทนฝ่ายการเมือง ที่มาจากเลือกต้้งเลยแม้แต่น้อย จะไปจิ้ม "คนดี" ที่ไหนมาเป็นผู้พิพากษาก็ย่อมได้
.
- "โทษ" ที่ปารีณาโดนนั้น หนักเกินไป การตัดสิทธิไปเลือกตั้งถึง 10 ปี และสิทธิลงสมัครเลือกตั้ง-ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต ถือว่าโหดมาก นี่คือการประหารชีวิตทางการเมือง และเป็นการประหารชีวิตทางการเมือง นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดย "คนไม่กี่คน" ซึ่งในระยะยาว นี่คือผลร้ายต่อนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย และจะกลายเป็น "บรรทัดฐานใหม่ที่อันตราย" ในการจิ้มฆ่า "นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง" ที่เป็นฝ่ายเห็นต่างจากผู้ถืออำนาจกันแบบง่ายๆ และนี่คือ "ผลไม้พิษ" จากรัฐธรรมนูญ "ฉบับยาพิษ" ปี 2560
.
- คิดอีกแง่หนึ่ง คนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทั้งหลาย อย่าง "ประยุทธ์" และอดีต คสช.ทั้งหลาย ทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นการก่ออาชญากรรมทางการเมือง ที่ร้ายแรงกว่ากรณีปารีณาหลายเท่าตัว รวมถึงเหล่าตุลาการ ผู้พิพากษา ที่มีประวัติทุจริตประพฤติมิชอบ ผิดจริยธรรมร้ายแรงมากกว่านี้ กลับไม่ถูกดำเนินคดี และตัดสิทธิด้วยมาตรการร้ายแรงเท่า "นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง" เหมือนที่ปารีณา วัฒนา สิระ พรรคอนาคตใหม่ พรรคไทยรักษาชาติ หมอเลี้ยบ ฯลฯ โดนเลยแม้แต่น้อย ซึ่งบรรทัดฐานแบบนี้ มันไม่แฟร์
.
- "นักการเมือง" คือมนุษย์ จริงอยู่ที่ต้องถูกตรวจสอบหนักกว่าบุคคลทั่วไป แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่านักการเมือง จะต้องรับโทษหนักกว่าคนทั่วไป หรือ ข้าราชการ ถึงขั้น ต้องถูกตัดสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตยอย่าง "การใช้สิทธิเลือกตั้ง" และ "มาตรฐานจริยธรรมทางการเมือง" ประเภท "ดีฉัน แต่ เลวเธอ" หรือ "ควร-มิบังควร" ไม่ควรมีผลทางกฎหมาย ถึงขนาดตัดสิทธิตลอดชีวิต ส่วนเรื่องผิดอาญาแผ่นดินนั้น หากโทษของการรุกที่ของรัฐโดยไม่ถูกต้องเป็นอย่างไร ก็ควรถูกดำเนินคดีเช่นนั้น แต่ไม่ควรเอา "จริยธรรม" มานำหน้า
.
- สุดท้าย "องค์กรอิสระ" ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่า "ศาล" หรือองค์กรห่าเหวที่เอาความ "ดี-เลว" ของท่านๆ ไม่กี่คน เป็นบรรทัดฐาน ควรมีความยึดโยงกับประชาชน ถ้าประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย และประชาชน ควรมีอำนาจผ่าน "ผู้แทนราษฎร" ในการตรวจสอบ และสอยคนพวกนี้ลงจากตำแหน่งได้ หากทำผิดฏหมาย และใช้อำนาจโดยมิชอบ
.
.
ท้ายสุด "ประชาธิปไตย" ต้องไปต่อ และอำนาจ "องค์กรอิสระ" หากจะมาคานอำนาจ "นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง" ต้องมาจาก "ตัวแทน" ที่ยึดโยงจากอำนาจสูงสุด ที่มาจากประชาชน ไม่ใช่แต่งตั้งโดยหมาแมวกี่ตัวจากไหนก็ไม่รู้!