ภายใต้การปกครองของเผด็จการ คสช. ไทยถูกมองว่าเป็นแหล่งรวมตัวอย่างของความวิปริตผิดเพี้ยนในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเล่นงานคนเห็นต่าง https://t.co/ovu7mL6DPO pic.twitter.com/aGBlkA8Sth— Sunai (@sunaibkk) January 10, 2018
ooo
'อานนท์ นำภา' รับทราบข้อหาหมิ่นศาล ปมโพสต์วิจารณ์ศาล เพื่อนทนายหลายสิบร่วมให้ใจกำลังใจ
2018-01-10
ที่มา ประชาไท
ทนายอานนท์ นำภา เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา ดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กับ ปอท. ปมโพสต์วิจารณ์ศาล หลังจากมีการพิพากษาคดีนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลจากการวางดอกไม้และอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัว 'ไผ่ ดาวดิน'
เพื่อนๆ นักกฎหมาย ทนายความหลายสิบคนร่วมเดินทางมาใจกำลังใจ
ทนายอานนท์ นำภา เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา ดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กับ ปอท. ปมโพสต์วิจารณ์ศาล หลังจากมีการพิพากษาคดีนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลจากการวางดอกไม้และอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัว 'ไผ่ ดาวดิน'
เพื่อนๆ นักกฎหมาย ทนายความหลายสิบคนร่วมเดินทางมาใจกำลังใจ
(ที่มาภาพ เพจ Banrasdr Photo)
10 ม.ค. 2561 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Lawyers Association)รายงานว่า วันนี้ (10 ม.ค. 61) เวลาประมาณ 10.00 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามนัดหมาย พร้อมด้วยทนายความ และเพื่อนๆ นักกฎหมาย ทนายความหลายสิบคนร่วมเดินทางมาใจกำลังใจ
รายงานข่าวระบุว่า อานนท์ ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟสบุ๊ค 2 ข้อความ คือ ข้อความว่า ““ทั้งยังสั่งห้ามคบค้าสมาคม....” ศาลเอาอำนาจอะไรไปสั่งใครห้ามคบกับใคร ตลกจริงๆ” และข้อความว่า “ศาลทำตัวเองแท้ๆ ถ้าการทำหน้าที่ของท่านจะถูกชาวบ้านชื่นชมหรือดูแคลน พึงรู้ไว้ว่ามันเกิดจากท่านทำตัวท่านเอง ผมหมายถึงศาลจังหวัดขอนแก่นนั่นหล่ะครับ” ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสในวันที่ 2 พ.ย. 2560 หลังจากมีการพิพากษาคดีที่สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือนิว และนักศึกษาดาวดินรวม 7 คน ถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลจากการวางดอกไม้และอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ซึ่งขณะนั้นถูกคุมขังด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยคดีนี้ พ.ต.ท.สุภารัตน์ คำอินทร์ เป็นผู้แจ้งความต่อ ปอท.
อานนท์ ให้การปฏิเสธ และจะยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรตามมาภายใน 30 วัน หากไม่ยื่นจะถือว่าไม่ประสงค์ให้การ และได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีประกัน และเจ้าหน้าที่นัดมาพบครั้งหน้าทุกๆ 12 วัน วันที่ 22 ม.ค., 2 ก.พ., 15 ก.พ. และ 27 ก.พ. เวลา 10.00 น.
จันทรจิรา จันทร์แผ้ว ทนายความที่เดินทางมาร่วมให้กำลังใจ กล่าวว่า การที่เพื่อนๆนักกฎหมาย ทนายความเดินทางมาให้กำลังใจอานนท์ในวันนี้ เนื่องมาจากเห็นว่า การถูกดำเนินคดีดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องของอานนท์เพียงคนเดียว แต่เป็นเรื่องการใช้อำนาจกฎหมายในการคุกคามทนายความและการใช้เสรีภาพในแสดงออก ซึ่งการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน การเป็นนักกฎหมายหรือทนายความด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากจะทำหน้าที่ว่าความในศาลแล้ว บางกรณีเราต้องมีบทบาทในการช่วยพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมด้วย ซึ่งการแสดงออกให้สาธารณะได้เห็นถึงปัญหา ความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการยุติธรรมหรือคนในกระบวนการยุติธรรมก็ถือเป็นหน้าที่ในการช่วยพัฒนากระบวนการยุติธรรมรูปแบบหนึ่ง การที่อานนท์โพสต์ข้อความเชิงวิพากษ์กระบวนการยุติธรรมแล้วทำให้ถูกดำเนินคดี ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
เลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนจากภาคเหนือ เห็นว่ากรณีนี้ทนายความถูกแจ้งข้อกล่าวหาอันเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะประเด็นสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามที่ควรจะเป็น ซึ่งสถานการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทนายความทุกคนที่ต้องทำงานเผชิญหน้ากับตำรวจ อัยการ หรือผู้พิพากษา โดยเฉพาะคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการต่อสู้กันเข็มข้น ซึ่งบางทีอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกระทบกระทั่งกันจนเกิดความไม่พอใจกันเกิดขึ้น แล้วมีการหาช่องทางกฎหมายมาเล่นงานกัน เราจึงต้องมาแสดงจุดยืนในวันนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ควรมีการนำกฎหมายมาใช้เล่นงานทนายความหรือปิดกั้นการแสดงออกของทนายความ
กฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้ บอกว่า ตั้งใจมาให้กำลังใจทนายอานนท์ เพราะอานนท์เป็นทนายความที่อุทิศตนเพื่อรักษาหลักการ และทำงานช่วยเหลือชาวบ้านมาโดยตลอด และเห็นว่าการดำเนินคดีครั้งนี้น่าจะเข้าข่ายเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้อง มีการบิดเบือนกฎหมายเพื่อปิดกั้นการแสดงออก ดังนั้น เราในฐานะนักกฎหมายต้องออกมายืนยันในหลักการว่าทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกและการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
สุรชัย ตรงงงาน ทนายความด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการมาให้กำลังใจอานนท์วันนี้ว่า สิ่งที่ทนายอานนท์ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก เป็นเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย การต่อสู้เพื่อยนยันในหลักการของเขา เป็นเหตุทำให้เขาถูกดำเนินคดีนี้ เราทราบกันดีว่าทนายความเราเป็นวิชาชีพ เราไม่ได้เป็นแค่อาชีพเพื่อทำมาหากิน แต่เป็นวิชาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งที่อานนท์ทำก็เป็นไปเพื่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอยู่ในหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งมีความสำคัญมากในสังคมไทยปัจจุบัน
10 ม.ค. 2561 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Lawyers Association)รายงานว่า วันนี้ (10 ม.ค. 61) เวลาประมาณ 10.00 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามนัดหมาย พร้อมด้วยทนายความ และเพื่อนๆ นักกฎหมาย ทนายความหลายสิบคนร่วมเดินทางมาใจกำลังใจ
รายงานข่าวระบุว่า อานนท์ ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟสบุ๊ค 2 ข้อความ คือ ข้อความว่า ““ทั้งยังสั่งห้ามคบค้าสมาคม....” ศาลเอาอำนาจอะไรไปสั่งใครห้ามคบกับใคร ตลกจริงๆ” และข้อความว่า “ศาลทำตัวเองแท้ๆ ถ้าการทำหน้าที่ของท่านจะถูกชาวบ้านชื่นชมหรือดูแคลน พึงรู้ไว้ว่ามันเกิดจากท่านทำตัวท่านเอง ผมหมายถึงศาลจังหวัดขอนแก่นนั่นหล่ะครับ” ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสในวันที่ 2 พ.ย. 2560 หลังจากมีการพิพากษาคดีที่สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือนิว และนักศึกษาดาวดินรวม 7 คน ถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลจากการวางดอกไม้และอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ซึ่งขณะนั้นถูกคุมขังด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยคดีนี้ พ.ต.ท.สุภารัตน์ คำอินทร์ เป็นผู้แจ้งความต่อ ปอท.
อานนท์ ให้การปฏิเสธ และจะยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรตามมาภายใน 30 วัน หากไม่ยื่นจะถือว่าไม่ประสงค์ให้การ และได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีประกัน และเจ้าหน้าที่นัดมาพบครั้งหน้าทุกๆ 12 วัน วันที่ 22 ม.ค., 2 ก.พ., 15 ก.พ. และ 27 ก.พ. เวลา 10.00 น.
จันทรจิรา จันทร์แผ้ว ทนายความที่เดินทางมาร่วมให้กำลังใจ กล่าวว่า การที่เพื่อนๆนักกฎหมาย ทนายความเดินทางมาให้กำลังใจอานนท์ในวันนี้ เนื่องมาจากเห็นว่า การถูกดำเนินคดีดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องของอานนท์เพียงคนเดียว แต่เป็นเรื่องการใช้อำนาจกฎหมายในการคุกคามทนายความและการใช้เสรีภาพในแสดงออก ซึ่งการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน การเป็นนักกฎหมายหรือทนายความด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากจะทำหน้าที่ว่าความในศาลแล้ว บางกรณีเราต้องมีบทบาทในการช่วยพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมด้วย ซึ่งการแสดงออกให้สาธารณะได้เห็นถึงปัญหา ความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการยุติธรรมหรือคนในกระบวนการยุติธรรมก็ถือเป็นหน้าที่ในการช่วยพัฒนากระบวนการยุติธรรมรูปแบบหนึ่ง การที่อานนท์โพสต์ข้อความเชิงวิพากษ์กระบวนการยุติธรรมแล้วทำให้ถูกดำเนินคดี ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
เลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนจากภาคเหนือ เห็นว่ากรณีนี้ทนายความถูกแจ้งข้อกล่าวหาอันเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะประเด็นสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามที่ควรจะเป็น ซึ่งสถานการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทนายความทุกคนที่ต้องทำงานเผชิญหน้ากับตำรวจ อัยการ หรือผู้พิพากษา โดยเฉพาะคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการต่อสู้กันเข็มข้น ซึ่งบางทีอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกระทบกระทั่งกันจนเกิดความไม่พอใจกันเกิดขึ้น แล้วมีการหาช่องทางกฎหมายมาเล่นงานกัน เราจึงต้องมาแสดงจุดยืนในวันนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ควรมีการนำกฎหมายมาใช้เล่นงานทนายความหรือปิดกั้นการแสดงออกของทนายความ
กฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้ บอกว่า ตั้งใจมาให้กำลังใจทนายอานนท์ เพราะอานนท์เป็นทนายความที่อุทิศตนเพื่อรักษาหลักการ และทำงานช่วยเหลือชาวบ้านมาโดยตลอด และเห็นว่าการดำเนินคดีครั้งนี้น่าจะเข้าข่ายเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้อง มีการบิดเบือนกฎหมายเพื่อปิดกั้นการแสดงออก ดังนั้น เราในฐานะนักกฎหมายต้องออกมายืนยันในหลักการว่าทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกและการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
สุรชัย ตรงงงาน ทนายความด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการมาให้กำลังใจอานนท์วันนี้ว่า สิ่งที่ทนายอานนท์ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก เป็นเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย การต่อสู้เพื่อยนยันในหลักการของเขา เป็นเหตุทำให้เขาถูกดำเนินคดีนี้ เราทราบกันดีว่าทนายความเราเป็นวิชาชีพ เราไม่ได้เป็นแค่อาชีพเพื่อทำมาหากิน แต่เป็นวิชาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งที่อานนท์ทำก็เป็นไปเพื่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอยู่ในหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งมีความสำคัญมากในสังคมไทยปัจจุบัน
รายงานข่าวระบุด้วยว่า หลังจากนั้น ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ ได้เป็นตัวแทนของนักกฎหมายและทนายความที่มาให้กำลังใจ อ่านแถลงการณ์แสดงถึงความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ ดังต่อไปนี้
1. ความผิดฐานดูหมิ่นศาล มีเจตนารมณ์เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเรียบร้อยไม่ถูกขัดขวาง และเพื่อให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และเป็นธรรม ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาจึงควรเป็นศาลหรือผู้พิพากษา แต่กรณีนี้กลับเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้กล่าวหา จึงมีคำถามว่า กรณีนี้ศาลหรือผู้พิพากษาเองมีความประสงค์จะดำเนินคดีหรือไม่
2. การใช้การตีความกฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมา รวมถึงฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยวางหลักการไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเสมอ การใช้การตีความกฎหมายอาญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดและใช้ด้วยระมัดระวัง มิเช่นนั้นแล้วกฎหมายจะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพและรังแกกลั่นแกล้งประชาชน
3. การใช้การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด การที่จะกล่าวหาบุคคลใดว่ามีความผิดอาญาดังเช่น ความผิดฐานดูหมิ่นศาลนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่ามีการใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูหมิ่นศาล ซึ่งในทางวิชาการการดูหมิ่น หมายถึง การกระทำอันเป็นการเหยียดหยาม ลดคุณค่าของศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี เช่น กล่าวหาว่าผู้พิพากษารับสินบนจึงทำให้ตนแพ้คดี หรือกล่าวหาว่าผู้พิพากษาลำเอียงไม่มีความยุติธรรมในการพิจารณาคดีของตน เป็นต้น หากยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอ เจ้าหน้าตำรวจก็ต้องไม่ใช้อำนาจไปดำเนินคดี ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นการตีความกฎหมายอาญาโดยขยายความออกไปจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการตีความกฎหมายอาญา
4. การใช้การตีความกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐต้องกระทำโดยสุจริต เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ การใช้อำนาจย่อมต้องมุ่งประโยชน์สาธารณะเป็นหลักโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่อาจมีความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ดังนั้น การบังคับใช้และการตีความกฎหมายอาญาเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลใดจะต้องมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เพียงพอ และสามารถแสดงเห็นหรืออธิบายได้อย่างชัดแจ้งและมีเหตุผลว่าการกระทำตามข้อเท็จจริงนั้นฝ่าฝืนกฎหมายใดอย่างชัดเจน
การดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับ อานนท์ นำภา รวมทั้งทนายความด้านสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ทนายความเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน อาทิ ทนายศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความของนักศึกษากลุ่มดาวดินและกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ตลอดจนการดำเนินคดีกับชาวบ้านและนักเคลื่อนไหวที่ออกมาทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยตลอดระยะที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นการเคลื่อนไหว การแสดงออก การชุมนุมอย่างสันติ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งแล้วว่าเป็นการบังคับใช้และตีความกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรมที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นการใช้กฎหมายที่มุ่งจะยับยั้งการแสดงออก การมีส่วนร่วมหรือขัดขวางการทำหน้าที่เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติหน้าที่ทนายความ ดังนั้น การดำเนินคดีในลักษณะเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทั้งทนายความ ตำรวจ อัยการและศาล รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต้องให้ความสำคัญและติดตามตรวจสอบให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้และตีความกฎหมายให้ถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของตนเองหรือชุมชน และทนายความสามารถใช้ความรู้ความสามารถและวิชาชีพปกป้องสิทธิของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากทนายความไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ประชาชนที่ตกเป็นลูกความก็ย่อมไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมและปกป้องสิทธิของตนเองได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า “การละเมิดสิทธิเสรีภาพของทนายความ คือ การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน” ซึ่งสังคมไทยต้องไม่ยินยอมให้เกิดขึ้น
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอานนท์ ด้วยว่า เขามีอาชีพเป็นทนายความ แต่คนทั่วไปอาจจะรู้จักเขาในฐานะนักกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหว หรือบางครั้งก็ศิลปิน เขาจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาทำกิจกรรมทางสังคมและร่วมเคลื่อนไหวกับภาคประชาชนมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา
เมื่อเขาจบการศึกษา เขาก็ประกอบอาชีพเป็นทนายความ และทำงานช่วยเหลือคดีชาวบ้านและคดีด้านสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่องในหลากหลายประเด็น อาทิ คดีชาวบ้านชุมนุมค้านโรงถลุงเหล็ก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านค้านท่อแก๊สที่ อ.จะนะ จ.สงขลา คดีแกนนำชาวบ้านคัดค้านการทำเหมืองหินที่บ้านกลาง อ่าวลึก กระบี่ ถูกฟ้อง รวมทั้งคดีบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปด้วย
ในช่วงที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองสูง โดยเฉพาะในปี 2553 เป็นต้นมา อานนท์ กับเพื่อนทนายจำนวนหนึ่ง กระโดดเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือทางกฎหมายและคดีความแก่ชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองจำนวนมาก รวมทั้งช่วยเหลือคดีที่ใครๆไม่อยากยุ่งอย่างคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เช่น คดีอากง เอสเอ็มเอส ด้วยความปรารถว่าทุกคนต้องสามารถเข้าถึงความยุติธรรมและได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม รวมถึงเหยื่อที่ถูกกระทำต้องได้รับความยุติธรรม การเยียวยาและผู้ที่กระทำผิดต้องถูกลงโทษ
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 อานนท์เข้าร่วมทีมทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแล้ว ในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกจับกุม ควบคุมตัว ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายพิเศษของรัฐบาลทหาร คสช.
อีกบทบาทหนึ่งที่เด่นชัดของอานนท์ในช่วงหลักรัฐประหารคือ การเป็นนักกิจกรรม ผลจากการเคลื่อนไหวอย่างเข็มข้นของเขาภายหลักการรัฐประหาร ทำให้เขาถูกดำเนินคดีไม่น้อยกว่า 6 คดี ซี่งคดีส่วนใหญ่เกิดจากการจัดกรรมอย่างสงบ เช่น จัดกิจกรรม เลือกตั้งที่(รัก)ลัก ที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 คดียืนเฉยๆที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้คสช.ปล่อยตัวประชาชน 9 คนที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารบุกควบคุมตัวเพราะทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ วันที่ 27 เม.ย. 2559 คดียืนเฉยๆ"ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้ คสช.ปล่อยตัววัฒนา เมืองสุขที่ถูกควบคุมตัวในค่ายทหารตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 2559 เป็นต้น