ผู้เข้าฟังงานเสวนารัฐศาสตร์ จุฬาฯวิเคราะห์รธน. ชูป้ายโหวต “NO” ทั้งห้อง
ที่มา มติชนออนไลน์
9 ก.พ. 59
เมื่อวันที่ (8 ก.พ.) ในการเสวนา หัวข้อ “อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559” จัดโดยโครงการรัฐศาสตร์เสวนา ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการจัดการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “#อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559” ร่วมเสวนาโดย นายศุภชัย ยาวะประภาษ กรธ.และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรธ.และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ น.ส.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นายประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
โดยนายอมร ระบุว่า ตนเข้าไปเป็นกรธ.โดยไม่ทราบมาก่อน กรธ.มี21ท่านก็ไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน วันนี้ได้ไปนั่งรับฟังความเห็นจาก สปท. พบว่ายังมีความไม่เข้าใจอยู่บางเรื่อง ตนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองโดยตรง แต่รับงานเป็นกรรมาธิการหรือที่ปรึกษาในทุกรัฐบาล มองว่าการร่างรัฐธรรมนูญเป็นงานวิชาการมากกว่างานการเมือง ทุกคนทำการบ้านหนัก ก่อนร่างแต่ละมาตรา ต้องตอบให้ได้ถึงสิ่งที่รัฐธรรรมนูญอื่นมีแล้วเราไม่มี หรือสิ่งที่เรามีมากกว่าคนอื่น
ขณะที่ นายศุภชัย กล่าวว่า ตอนประชุมครั้งแรกๆคุยว่าหลักการร่างรัฐธรรมนูญ 1.ตั้งใจเขียนเฉพาะหลักการให้อยู่ได้นาน อะไรที่เปลี่ยนตามยุคสนมัย จะให้รัฐบาลเป็นคนเปลี่ยนแปลงตามสมควรในแต่ละสมัย 2. อยากเห็นรัฐธรรมนูญที่วางกรอบกติกาแล้วปฏิบัติได้จริงไม่ใช่เขียนแล้วปฏิบัติไม่ได้ 3. รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับปราบโกง ถึงอย่างไรก็ต้องมีนักการเมือง แต่ต้องการไม่ให้นักการเมืองที่ได้ชื่อว่าขี้โกงเข้ามา รัฐธรรมนูญจะเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าไม่ปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย ในบทเฉพาะการจึงพูดเรื่องการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายโดยเริ่มที่ตำรวจ
ด้าน น.ส.สิริพรรณ กล่าวว่า แบ่งการวิเคราะห์แยกประเด็น คือ ความเป็นสถาบันการเมืองอ่อนแอลง เสียงกลืนหาย ประสิทธิภาพระบบการเมืองเบี้ยวเอียงจนถูกคว่ำได้
เรื่องการลดการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐบาลจะถูกทำให้อ่อนแอ รัฐจะเข้มแข็ง รัฐธรรมนูญ40-50จะรองรับสิทธิ แต่รัฐธรรมนูญนี้ถอดสิทธิหลายอย่างเช่น สิทธิการถอดถอน สิทธิในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิการทำประชามติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลต่อการทำให้รัฐสภาอ่อนแอจนแทบไม่เป็นสถาบันทางการเมือง นักการเมืองจะเลวร้ายยังไงแต่ขาดไม่ได้ แต่เราต้องตรวจสอบได้ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมมากที่สุด แต่ระบบเลือกตั้งจะทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป เบื้องต้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการลดอิทธิพลพรรคใหญ่ ซึ่งเห็นด้วย เพราะระบบเลือกตั้งที่ผ่านมาเอื้อพรรคใหญ่มาก แต่การลดอิทธิพลพรรคใหญ่ต้องไม่ทำให้เกิดการจัดสรรคะแนนไม่เป็นธรรมอย่างในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่มีบัตรเลือกตั่้งใบเดียว เป็นส.ส.เขต นำคะแนนไปรวมทั้งประเทศถูกทำให้เป็นคะแนนที่นั่งพรรคการเมือง ทั้งที่การเลือกส.ส.เขตเป็นการเลือกตัวบุคคล ต่างกับการเลือกพรรค ถ้าจะลดอิทธิพลพรรคใหญ่ระบบเลือกตั้งในร่างฉบับอ.บวรศักดิ์จะเป็นเหตุเป็นผลกว่า รัฐธรรมนูญนี้พรรคเล็กก็แทบจะแข่งไม่ได้เลยเพราะต้องหาส.ส.เขตมาลงสมัคร ถ้าไม่มีเงินโอกาสส.ส.เขตจะชนะได้ยาก ผลของระบบเลือกตั้งแบบนี้จะทำให้การซื้อเสียงมากขึ้น เพราะจะเกิดการแข่งขันในส.ส.เขต พรรคจะกว้านซื้อคนเด่น และพรรคมีแรงจูงใจเสนอนโยบายน้อยลง และระบบนี้ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯพรรคละสามชื่อ เป็นชื่อใครก็ได้
ในทางปฏิบัติ พรรคที่มีสิทธิโหวตชื่อผู้สมัครนายกฯต้องได้ที่นั่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของการเลือกตั้ง จากการเลือกตั้งที่ผ่านมามีเพียง3พรรคเท่านั้น กลไกนี้เมื่อไม่มีพรรคใดกุมเสียงข้างมาก พรรคอันดับสามจะเป็นตัวแปรว่าจะร่วมกับพรรคใดแล้วจะเป็นรัฐบาล พรรคขนาดกลางจึงมีอำนาจต่อรองเยอะ ระบบเลือกตั้งนี้ทำให้เสียงของประชาชนถูกบิดเบือน และจำนวนที่นั่งส.ส.จะแกว่งเป็นปี เพราะจะถูกกำหนดด้วยจำนวนที่นั่งส.ส.เขต ถ้าถูกใบแดงคะแนนที่นั่งพรรคก็หายไปด้วย คะแนนจะนิ่งก็ต่อเมื่อ1ปีผ่านไป ช่วงก่อน1ปีจะมีเรื่องร้องเรียนเต็มไปหมด ในทางสากลระบบนี้มีจุดอ่อนมากเกินไป
นายพรสันต์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบมาไม่ได้ดุลยภาพทางการเมือง อำนาจเทให้องค์กรตุลาการเสียมาก สร้างระบบการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีองค์กรตุลาการเป็นองค์กรหลัก โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านนายประภาส กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือความถดถอยทางการเมืองภาคประชาชน ไร้จินตนาการในฐานคิดของการเมืองภาคประชาชนโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้ในช่วงท้ายผู้ดำเนินรายการได้ให้นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่เข้าร่วมฟังการเสวนา เลือก โหวต Yes หรือ NO ให้กับร่างรัฐธรีรมนูญฉบับนี้ ซึ่งทั้งหมดของห้องเสวนาต่างชูคำว่า “NO”
เสวนา อวสานโลกสวย วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559
เมื่อวันที่ (8 ก.พ.) ในการเสวนา หัวข้อ “อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559” จัดโดยโครงการรัฐศาสตร์เสวนา ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการจัดการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “#อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559” ร่วมเสวนาโดย นายศุภชัย ยาวะประภาษ กรธ.และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรธ.และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ น.ส.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นายประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
โดยนายอมร ระบุว่า ตนเข้าไปเป็นกรธ.โดยไม่ทราบมาก่อน กรธ.มี21ท่านก็ไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน วันนี้ได้ไปนั่งรับฟังความเห็นจาก สปท. พบว่ายังมีความไม่เข้าใจอยู่บางเรื่อง ตนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองโดยตรง แต่รับงานเป็นกรรมาธิการหรือที่ปรึกษาในทุกรัฐบาล มองว่าการร่างรัฐธรรมนูญเป็นงานวิชาการมากกว่างานการเมือง ทุกคนทำการบ้านหนัก ก่อนร่างแต่ละมาตรา ต้องตอบให้ได้ถึงสิ่งที่รัฐธรรรมนูญอื่นมีแล้วเราไม่มี หรือสิ่งที่เรามีมากกว่าคนอื่น
ขณะที่ นายศุภชัย กล่าวว่า ตอนประชุมครั้งแรกๆคุยว่าหลักการร่างรัฐธรรมนูญ 1.ตั้งใจเขียนเฉพาะหลักการให้อยู่ได้นาน อะไรที่เปลี่ยนตามยุคสนมัย จะให้รัฐบาลเป็นคนเปลี่ยนแปลงตามสมควรในแต่ละสมัย 2. อยากเห็นรัฐธรรมนูญที่วางกรอบกติกาแล้วปฏิบัติได้จริงไม่ใช่เขียนแล้วปฏิบัติไม่ได้ 3. รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับปราบโกง ถึงอย่างไรก็ต้องมีนักการเมือง แต่ต้องการไม่ให้นักการเมืองที่ได้ชื่อว่าขี้โกงเข้ามา รัฐธรรมนูญจะเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าไม่ปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย ในบทเฉพาะการจึงพูดเรื่องการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายโดยเริ่มที่ตำรวจ
ด้าน น.ส.สิริพรรณ กล่าวว่า แบ่งการวิเคราะห์แยกประเด็น คือ ความเป็นสถาบันการเมืองอ่อนแอลง เสียงกลืนหาย ประสิทธิภาพระบบการเมืองเบี้ยวเอียงจนถูกคว่ำได้
เรื่องการลดการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐบาลจะถูกทำให้อ่อนแอ รัฐจะเข้มแข็ง รัฐธรรมนูญ40-50จะรองรับสิทธิ แต่รัฐธรรมนูญนี้ถอดสิทธิหลายอย่างเช่น สิทธิการถอดถอน สิทธิในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิการทำประชามติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลต่อการทำให้รัฐสภาอ่อนแอจนแทบไม่เป็นสถาบันทางการเมือง นักการเมืองจะเลวร้ายยังไงแต่ขาดไม่ได้ แต่เราต้องตรวจสอบได้ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมมากที่สุด แต่ระบบเลือกตั้งจะทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป เบื้องต้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการลดอิทธิพลพรรคใหญ่ ซึ่งเห็นด้วย เพราะระบบเลือกตั้งที่ผ่านมาเอื้อพรรคใหญ่มาก แต่การลดอิทธิพลพรรคใหญ่ต้องไม่ทำให้เกิดการจัดสรรคะแนนไม่เป็นธรรมอย่างในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่มีบัตรเลือกตั่้งใบเดียว เป็นส.ส.เขต นำคะแนนไปรวมทั้งประเทศถูกทำให้เป็นคะแนนที่นั่งพรรคการเมือง ทั้งที่การเลือกส.ส.เขตเป็นการเลือกตัวบุคคล ต่างกับการเลือกพรรค ถ้าจะลดอิทธิพลพรรคใหญ่ระบบเลือกตั้งในร่างฉบับอ.บวรศักดิ์จะเป็นเหตุเป็นผลกว่า รัฐธรรมนูญนี้พรรคเล็กก็แทบจะแข่งไม่ได้เลยเพราะต้องหาส.ส.เขตมาลงสมัคร ถ้าไม่มีเงินโอกาสส.ส.เขตจะชนะได้ยาก ผลของระบบเลือกตั้งแบบนี้จะทำให้การซื้อเสียงมากขึ้น เพราะจะเกิดการแข่งขันในส.ส.เขต พรรคจะกว้านซื้อคนเด่น และพรรคมีแรงจูงใจเสนอนโยบายน้อยลง และระบบนี้ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯพรรคละสามชื่อ เป็นชื่อใครก็ได้
ในทางปฏิบัติ พรรคที่มีสิทธิโหวตชื่อผู้สมัครนายกฯต้องได้ที่นั่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของการเลือกตั้ง จากการเลือกตั้งที่ผ่านมามีเพียง3พรรคเท่านั้น กลไกนี้เมื่อไม่มีพรรคใดกุมเสียงข้างมาก พรรคอันดับสามจะเป็นตัวแปรว่าจะร่วมกับพรรคใดแล้วจะเป็นรัฐบาล พรรคขนาดกลางจึงมีอำนาจต่อรองเยอะ ระบบเลือกตั้งนี้ทำให้เสียงของประชาชนถูกบิดเบือน และจำนวนที่นั่งส.ส.จะแกว่งเป็นปี เพราะจะถูกกำหนดด้วยจำนวนที่นั่งส.ส.เขต ถ้าถูกใบแดงคะแนนที่นั่งพรรคก็หายไปด้วย คะแนนจะนิ่งก็ต่อเมื่อ1ปีผ่านไป ช่วงก่อน1ปีจะมีเรื่องร้องเรียนเต็มไปหมด ในทางสากลระบบนี้มีจุดอ่อนมากเกินไป
นายพรสันต์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบมาไม่ได้ดุลยภาพทางการเมือง อำนาจเทให้องค์กรตุลาการเสียมาก สร้างระบบการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีองค์กรตุลาการเป็นองค์กรหลัก โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านนายประภาส กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือความถดถอยทางการเมืองภาคประชาชน ไร้จินตนาการในฐานคิดของการเมืองภาคประชาชนโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้ในช่วงท้ายผู้ดำเนินรายการได้ให้นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่เข้าร่วมฟังการเสวนา เลือก โหวต Yes หรือ NO ให้กับร่างรัฐธรีรมนูญฉบับนี้ ซึ่งทั้งหมดของห้องเสวนาต่างชูคำว่า “NO”
เสวนา อวสานโลกสวย วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559
https://www.youtube.com/watch?v=1ciGJyeDocQ
thinkbox007
Published on Feb 8, 2016
เสวนา หัวข้อ "อวสานโลกสวย: วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559" จัดโดยโครงการรัฐศาสตร์เสวนา ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมชั้น 13 ตึกเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีนักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนจำนวนมากที่สนใจเข้าร่วม รวมถึงวรัญชัย โชคชนะ นักกิจกรรมทางการเมืองอาวุโสที่นำพานรัฐธรรมนูญและ ม.44 ไปด้วยทุกงานเสวนา
เพิ่มเติม :
ฟังความเห็นผู้ร่วมงานเสวนา อวสานโลกสวย : วิเคราะห์ร่าง รธน. 2559
รายงานเสวนา: #อวสานโลกสวย วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ 2559
ฟังความเห็นผู้ร่วมงานเสวนา อวสานโลกสวย : วิเคราะห์ร่าง รธน. 2559
ที่มา เวป ประะชาไท