กำไรแบงก์ลดสวนทางหนี้เสียพุ่ง! ห่วงเศรษฐกิจทรุดสินเชื่อหด
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
15 พ.ค. 2558
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปีนี้ว่า แม้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อด้อยลง หนี้ที่เริ่มขาดส่ง รวมทั้งตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับเพิ่ม แต่ยังไม่กระทบฐานะการเงินและการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากมีการกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้สูงกว่าที่ ธปท.กำหนดมาก แต่ ธปท.ยังต้องติดตามต่อเนื่อง เพราะแนวโน้มที่เห็นขณะนี้กำไรธนาคารพาณิชย์มีโอกาสชะลอตัวต่อในไตรมาส 2 หลังไตรมาสแรกกำไรเพิ่มเพียง 1.4% ขณะที่เอ็นพีแอลมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 2 ขณะที่สินเชื่อไตรมาสแรกขยายตัวจากปีก่อน 4.3% ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 5% โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ชะลอตัวมากที่สุด ขยายตัวเพียง 1% จาก 4.6% ในไตรมาสก่อน เนื่องจากธุรกิจใหญ่หันไประดมทุนจากตลาดทุน
ขณะที่สินเชื่อผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย (เอสเอ็มอี) ขยายตัว 4.5% ในไตรมาสนี้ หลังจากที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 57 โดยธนาคารพาณิชย์หันมาปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น และธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภค แต่ภาพรวมสินเชื่ออุปโภคบริโภคไตรมาสนี้ยังขยายตัว 7.6% โดยเป็นการขยายตัวในสินเชื่อเพื่อการใช้จ่ายส่วนบุคคล 13% สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโต 11.6% สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 9.9% ขณะที่สินเชื่อรถยนต์หดตัวต่อเนื่องโดยหดตัว 4% จากผลการปล่อยสินเชื่อไปจำนวนมากช่วงก่อนหน้า แต่มีปัญหาการขาดส่งและหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น
ในส่วนของคุณภาพสินเชื่อ ธปท.เป็นห่วงเพิ่มขึ้นว่าจะกระทบต่อภาคครัวเรือน เนื่องจากพบคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง มาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ค้างชำระ 1-2 เดือน และการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล โดยไตรมาสแรก เอ็นพีแอลมียอดคงค้าง 298,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 21,100 ล้านบาท หรือ 2.29% ของสินเชื่อ เป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเอสเอ็มอีและสินเชื่ออุปโภคบริโภค เช่นเดียวกับสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือสินเชื่อที่ค้างชำระ 1-2 เดือน แต่ยังไม่เป็นเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในไตรมาสนี้มียอดคงค้าง 366,200 ล้านบาท จากสินเชื่อเกือบทุกประเภท.
ooo
Source: Singapore Business Review
Domestic recovery remains fragile.
A report by Moody's Analytics stated that Thailand's growth prospects are the "dimmest" among all ASEAN nations, on back of fragile domestic recovery and weak regional demand.
Moody's stated that a pickup in consumption and investment remains elusive, while the country's export competitiveness is stuck in secular decline.
"Thailand's woes are also cyclical, stemming from falling commodity prices, which have suppressed farm incomes and agriculture production; consumer spending continues to fall on a year-ago basis. Weak regional demand has compounded the issue, weighing on other export-oriented industries; electronic and hard-disk drive production continues to fall, while the auto sector is facing stiff regional competition as a result of the relatively strong Thai baht,” the report stated.
Domestic recovery remains fragile.
A report by Moody's Analytics stated that Thailand's growth prospects are the "dimmest" among all ASEAN nations, on back of fragile domestic recovery and weak regional demand.
Moody's stated that a pickup in consumption and investment remains elusive, while the country's export competitiveness is stuck in secular decline.
"Thailand's woes are also cyclical, stemming from falling commodity prices, which have suppressed farm incomes and agriculture production; consumer spending continues to fall on a year-ago basis. Weak regional demand has compounded the issue, weighing on other export-oriented industries; electronic and hard-disk drive production continues to fall, while the auto sector is facing stiff regional competition as a result of the relatively strong Thai baht,” the report stated.