บิ๊กอีเวนต์การเมือง 19 พ.ค. ทักษิณเคลื่อน-ประยุทธ์ขยับประชามติ
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
16 พ.ค. 2558การเมืองในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมล้วนน่าติดตาม ตื่นใจเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป้าหมายเตรียมเดินทางไปบรรยายที่ประเทศเกาหลีใต้ เพราะในวันเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอดีตนายกฯ คนที่ 28 ในฐานะน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเดินทางขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนัดแรก ในคดีปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในโครงการจำนำข้าว
และในวันเดียวกันคณะรัฐมนตรี และ คสช.ที่มี "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" เป็นหัวขบวน จะนัดหารือกันในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติ
ในวันเดียวอีกเช่นกัน ยังมีอีเวนต์การเมืองที่ทำให้ฝ่ายความมั่นคงประมาทไม่ได้ เพราะเป็นวันครบรอบ 5 ปีของการที่รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กำลังทหารเข้ากระชับพื้นที่-ขอคืนพื้นที่แยกราชประสงค์คืนจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ปฏิทินการเมืองจึงตกลงมาในวันที่ 19 พฤษภาคมพอดิบพอดีโดยการไปปาฐกถาพิเศษด้านเศรษฐกิจที่สาธารณรัฐเกาหลี ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" นั้น ถือเป็นครั้งแรกที่อดีตนายกฯอาจส่งสัญญาณทางการเมืองถึงผู้มีอำนาจในเมืองไทย
เพราะหลังการเข้ายึดอำนาจ 22 พ.ค. 2557 ความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ส่งสัญญาณทางการเมืองแบบชัด ๆ มีเพียงครั้งเดียว คือครั้งที่ "ยิ่งลักษณ์" ขออนุญาต คสช.เดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกหลังการยึดอำนาจ เดินทางไปพร้อมลูกชายไปพบ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ที่ญี่ปุ่น ก่อนควงกันมาทำบุญต่อที่อินเดีย
การปาฐกถาของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" สร้างความกังวลให้แก่ คสช.ไม่น้อย "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม พี่ใหญ่ใน คสช.บอกว่า "จะพูดอะไรก็พูดไป แต่อย่าทำให้กระทบกระเทือนต่อประเทศไทย พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ใหญ่แล้ว และเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมาแล้ว ก็ควรรู้ว่าจะทำอย่างไร รวมถึงคงรู้ว่ารัฐบาลและ คสช.กำลังดำเนินการสิ่งใดอยู่"
ขณะเดียวกัน "พ.ต.ท.ทักษิณ" ยังโพสต์อินสตาแกรมส่วนตัว @thaksinlive ย้ำความเคลื่อนไหว เป็นรูปภาพหลานสาวฝาแฝด "น้องเอมิ" และ "น้องนานิ" ของ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว และนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ บุตรเขย พร้อมเขียนข้อความว่า "ลูก ๆ ส่งรูปหลานตามาให้ดูทุกวัน จนเห็นผ่าน ๆ ก็รู้แล้วคนไหนเอมิ คนไหนนานิ ตาได้รับเชิญไปพูดที่ประเทศเกาหลีวันที่ 19 พ.ค.นี้ หลังจากนั้น จะไปรอเจอหลานตาเป็นครั้งแรก คิดขึ้นมาว่าจะได้อุ้มทั้ง 2 คน ก็เป็นความสุขอันยิ่งใหญ่ของคนเป็นคุณตาแล้ว รีบมาหาตาน่ะ มาให้ตารับขวัญหน่อย"
ดังนั้น การปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณครั้งนี้ จึงน่าจับตายิ่งนัก
ในเวลาไล่เลี่ยกัน ที่เมืองไทย "ยิ่งลักษณ์" จะต้องเดินขึ้นสู้คดีในชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 ที่ระบุว่า เมื่อได้มีคำสั่งประทับฟ้องแล้วให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลย และนัดคู่ความมาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก
เป็นขั้นตอนที่ "ยิ่งลักษณ์" จะต้องปฏิบัติในวันนั้น โดยมีทีมทนายความของ "พิชิต ชื่นบาน" หมอกฎหมายประจำครอบครัวทำหน้าที่ดูแลด้านคดี ซึ่งคำให้การต่อศาลทุกบรรทัดของ "ยิ่งลักษณ์" จะถูกกลั่นกรองโดย "พิชิต"
การเดินขึ้นศาลในวันนั้น จะทำให้ "ยิ่งลักษณ์" เป็นนายกฯคนที่ 2 ในเมืองไทย และคนที่ 2 ในตระกูลชินวัตร ต้องขึ้นว่าความในชั้นศาลต่อจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ"
ขณะที่ "ทำเนียบรัฐบาล" มีการประชุมร่วม ครม.และ คสช. วาระร้อนที่จะเสิร์ฟเข้าสู่ห้องประชุมฝ่ายบริหาร คือประเด็นการพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งไปให้กับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปปรับแก้
โดย "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จะให้ กมธ.ตัดสมัชชาชุดต่าง ๆ และคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ออกไป เพราะก่อให้เกิดปัญหาโดยไม่จำเป็น และยังสิ้นเปลืองงบประมาณ ตัดเนื้อหาบางส่วนในร่างรัฐธรรมนูญไปไว้ในกฎหมายลูก เพื่อลดการตีความในอนาคต
แต่ไฮไลต์สำคัญคือ ครม.และ คสช.จะสุมหัวกันยกร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อเปิดช่องให้ทำประชามติ หลังก่อนหน้านี้ทั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติเห็นพ้องให้จัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีอีเวนต์ทางการเมืองสำคัญอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ยังไม่ปรากฏแน่ในปฏิทิน คือ การครบรอบ 5 ปี กระชับพื้นที่การชุมนุมคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์เมื่อ 19 พ.ค. 2553
ในช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศ ทุกวันที่ 19 พ.ค.เป็นวันที่ นปช.มักระดมพลจัดชุมนุมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์กระชับพื้นที่แยกราชประสงค์ และถือเป็นงานสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในบางปีมี "พ.ต.ท.ทักษิณ" วิดีโอลิงก์มายังเวทีการชุมนุมด้วย
แต่ในยุคที่ คสช.สั่งห้ามไม่ให้มีความเคลื่อนไหวทางการเมือง ทำให้ "จตุพร" ระบุว่า ขณะนี้แกนนำยังไม่ได้มีการหารือกัน
เป็นบิ๊กอีเวนต์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 พ.ค.นี้
ooo
ยิ่งลักษณ์ยืนยันไปศาล 19 พฤษภาคม 16 5 58
https://www.youtube.com/watch?v=C4JrOozan5A
Published on May 16, 2015
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิเสธแสดงความเห็นหลัง ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหากรณีเยียวยาผู้ชุมนุม
ปี 2548-2553 ยืนยัน จะเดินทางไปศาลฎีกาคดีโครงการรับจำนำข้าว วันที่ 19 พฤษภาคมนี้
ooo
ข่าวฝรั่งบอกว่านายกยิ่งลักษณ์จะเผชิญกับการสอบสวนไต่สวนแบบทำลายกันทางการเมืองไปเลย....
คำว่า Ruin หมายถึง ย่อยยับ..ทำให้พินาศ...ทำให้ล่มจม...ฉิบหาย..บรรลัย..มลาย..ล่มสลาย...
บ๊ะ.. ฝรั่งนี่รู้ดีและก็รู้จักใช้คำมาเปรียบเทียบเสียด้วย...
ข่าวยังบอกว่านายกยิ่งลักษณ์อาจจะถูกจำคุกเป็นสิบปีแล้วยังไม่ให้ครอบครัว “ชินวัตร” ไม่ได้ผุดได้เกิดในทางการเมืองอีก...
จากข่าวที่ผมเห็นนักข่าวถามนายกยิ่งลักษณ์ว่า ” จะไปศาลวันที่ 19 พค.นี้หรืเปล่า “ เธอยิ้มแล้วตอบอย่างไม่สะทกสะท้านว่า “ไปสิ “....
ดูจิ....ช่างกล้าหาญชาญชัยยิ่งกว่าชายอกสามศอก....
นายกยิ่งลักษณ์...บอกว่าจะสู้และจะอยู่เคียงข้างประชาชนที่รักประชาธิปไตย...อย่างไม่กลัวภัยอันตรายใดๆ...
แบบนี้แล้ว....พวกเราคนรักประชาธิปไตย..จะไม่รักและทิ้งเธอได้ลงคอหรือ...
เชิญอ่านข่าวครับ:
akausa
http://nanasara.org/forum/showthread.php?tid=824
Thailand's Yingluck faces trial and political ruin
By Jerome Taylor
AFP
Thailand's first female prime minister Yingluck Shinawatra faces court Tuesday at the start of a negligence trial which could see her jailed for a decade and deliver a hammer blow to the political dominance of her family.
It is the latest legal move against Yingluck -- sister of fugitive billionaire ex-premier Thaksin Shinawatra -- whose administration was toppled in a military coup nearly a year ago.
She is accused of criminal negligence over a populist but economically disastrous rice subsidy scheme, which paid farmers in the rural Shinawatra heartland twice the market rate for their crops.
Yingluck is not accused of corruption but of failing to prevent alleged graft within the programme, which cost billions of dollars and galvanised the protests that eventually felled her elected government leading to last May's coup.
Thailand's military-appointed parliament impeached Yingluck in January over the scheme, a move which banned her from politics for five years.
But the criminal case could see her jailed for up to a decade, an outcome that could ruin any chance of an imminent political comeback if and when the military eventually hand back power.
Thailand's first female prime minister Yingluck Shinawatra faces court Tuesday at the start of a negligence trial which could see her jailed for a decade and deliver a hammer blow to the political dominance of her family.
It is the latest legal move against Yingluck -- sister of fugitive billionaire ex-premier Thaksin Shinawatra -- whose administration was toppled in a military coup nearly a year ago.
She is accused of criminal negligence over a populist but economically disastrous rice subsidy scheme, which paid farmers in the rural Shinawatra heartland twice the market rate for their crops.
Yingluck is not accused of corruption but of failing to prevent alleged graft within the programme, which cost billions of dollars and galvanised the protests that eventually felled her elected government leading to last May's coup.
Thailand's military-appointed parliament impeached Yingluck in January over the scheme, a move which banned her from politics for five years.
But the criminal case could see her jailed for up to a decade, an outcome that could ruin any chance of an imminent political comeback if and when the military eventually hand back power.
Analysts say the trial is the latest move by Thailand's military rulers to neuter the Shinawatra clan since they seized power.
"This trial is being brought in order to permanently remove Yingluck from the political scene," said Paul Chambers, director of research at the Institute of South East Asian Affairs in Chiang Mai.
"But placing her behind bars -- a friendly, female ex-prime minister -- would make her look like a martyr," he told AFP.
Pavin Chachavalpongpun, a Thai politics expert at Kyoto University in Japan, said convicting Yingluck risked enraging the Shinawatra's "Red Shirt" support base, who have largely remained quiescent since the coup.
"Putting her in jail may unnecessarily resurrect the Red Shirts and force them to come out and fight against the NCPO," he said, referring to the junta's official name, the National Council for Peace and Order.
A "Red Shirt" protester, holding a portrait of ousted Thai prime minister Yingluck Shinawatra, at a Bangkok rally in support of the government on May 11, 2014 (AFP Photo/Pornchai Kittiwongsakul) |
- Play nice Thaksin -
However Thitinan Pongsudhirak, a Thai politics expert at Chulalongkorn University, believes the military intend to use the threat of Yingluck's prosecution as a way to keep the Shinawatra clan subdued, rather than push for an actual conviction.
"The criminal and other charges against her will be bogged down in red tape as long as she and other forces loyal to her brother Thaksin behave and play nice. If they agitate and mobilise against the coup, then the noose will tighten on her," he told AFP.
Yingluck herself has defended the controversial rice scheme as one which "lifted the quality of life for rice farmers" in the poor northeast of a country where subsidies to farmers have long been a cornerstone of Thai politics.
"As prime minister I was always honest and served the Thai people, who voted for my government. I have not done anything wrong at all," she wrote in a Facebook statement in February after the charges against her were first announced.
A pro-government "Red Shirt" protester (L) holds a portrait of fugitive ex-premier Thaksin Shinawatra during a rally in Bangkok on April 5, 2014 (AFP Photo/Pornchai Kittiwongsakul) |
The army takeover last year was the latest twist in a decade of turbulent politics in Thailand.
Thaksin, who was toppled by a previous coup in 2006 and now lives in self-exile to avoid jail on a corruption charge, sits at the heart of the political rupture.
His influence persists with Shinawatra-allied parties drawing the loyalty of the rural north as well as many among the urban working and middle class for recognising changing social and economic aspirations.
The Shinawatras, or parties allied to them, have won every Thai election since 2001.
But the policeman-turned-telecoms tycoon is loathed by much of the country's royalist elite, which is backed by parts of the military and judiciary.
The Shinawatra family have faced two coups and the removal of three of their premiers by the Thai courts while several deadly rounds of protests have rocked Bangkok and dragged on the Thai economy.
The junta will also this week discuss whether to hold a referendum on a new constitution billed as necessary to heal the country's divides, curb corruption and expunge cronyism.
It has said it will hold fresh elections in early 2016 but a referendum could see the timescale pushed back by months.