วันพุธ, เมษายน 16, 2568

แพทย์อินเทิร์นลาออก (กรณีบึงกาฬ) เป็นปัญหาโครงสร้างร้ายแรง ที่สาธารณสุขรู้ดี แต่ “ไม่แก้ที่ต้นตอของปัญหา”

เสียงบ่นของแพทย์อินเทิร์น โดยเฉพาะ อินเทิร์น ๑ ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ขณะนี้ แม้จะเป็นเสียงบ่นของไม่กี่คน แต่เนื้อความที่เขาบรรยายกันยาวเหยียด ชี้ให้เห็นปัญหาโครงสร้างร้ายแรงต้องตระหนัก ไม่ใช่ปากพล่อยโดย คอมเม้นต์รายหนึ่ง

ที่อ้างว่าหมออินเทิร์นคนนั้น “น่าจะเห็นแก่ตัว (และ) ระบบผลิตแพทย์ล้มเหลว...ทั้งๆ ที่คนสอบเข้าเก่งๆ มากมาย ไม่หาที่เรียนให้เขามากๆ อ้างโน่นอ้างนี่” อันเป็นการมองปัญหาอย่างสำเร็จรูป และโลกทัศน์แคบ ซึ่งบังเอิญโผล่มาในฟี้ด

อย่างไรก็ดี เนื้อหาที่ ชินภัทร ตันศรีสกุล เล่าไว้เกี่ยวกับแพทย์อินเทิร์นที่จังหวัดบึงกาฬ ๑๐ ใน ๑๖ คน ขอลาออกเมื่อใกล้จะหมดเวลาใช้ทุน (ราว ๓ ปี) และนี่เป็นปรากฏการณ์แทบจะปกติเกือบทุกปี อันทำให้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ใน รพ.รัฐต่างจังหวัดพอกพูนเรื่อยมา

การลาออกเพื่อไปศึกษาต่อเฉพาะทาง “เพื่อเพิ่มทักษะทางวิชาชีพและรายได้ให้สูงขึ้น” หรือไปอยู่ใกล้บ้านใกล้ครอบครัว เป็นสิทธิเมื่อใช้ทุนครบ ไม่ใช่เรื่องเห็นแก่ตัวแต่อย่างใด กระนั้นการลาออกไปทำให้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ทวีคูณ

แพทย์ที่มีอยู่ “จะยิ่งทำงานหนักมากขึ้น...จนร่างกายและจิตใจอ่อนล้า มนุษย์ที่ต่อให้มีอุดมการณ์แน่วแน่แค่ไหนก็ตาม สักวันก็ไม่สามารถรับมือกับภาระงาน และระบบราชการที่ไม่เอื้อ” ต่อไปได้อยู่ดี ทั้งที่กระทรวงสาธารณสุขรับรู้ปัญหา

แต่การแก้ไขกลับ “ไม่แก้ที่ต้นตอของปัญหา แต่ยังพยายามบีบ รีด ขยี้ให้แพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดและกำลังบอบช้ำหนักต้องแบกระบบที่กำลังพังลงต่อไป” ด้วยการเกลี่ย หรือเฉลี่ยแพทย์อินเทิร์นที่มีอยู่ไปทั่วๆ เขตสาธารณสุข เฉพาะบึงกาฬมี ๘ เขต

“การแก้ไขปัญหาแพทย์ขาดแคลนนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การผลิตแพทย์เพิ่มเยอะๆ ซึ่งในความจริงแล้วก็ผลิตเยอะไม่ได้เนื่องจากการจะสร้างคนๆ หนึ่งให้เป็นแพทย์ต้องใช้เงินงบประมาณไม่น้อย” แต่ละปีจะสามารถผลิตแพทย์ออกมาได้ราว ๓-๕ พันคนเท่านั้น

จำนวนแพทย์ทั่วประเทศทั้งหมดประมาณ ๕-๖ หมื่นคน เท่ากับภาระงาน หมอ ๑ คนต่อประชากร ๒ พันคน แล้วปัญหาที่ตามมาทับถมก็คือ “พยาบาล และเจ้าหน้าที่เทคนิค ก็กำลังลาออกจากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศเป็นจำนวนมากไม่แตกต่างกัน”

Sirisak Chanprasert เล่าความหลังเมื่อครั้งเป็นหมออินเทิร์น ว่าเป็นบุคคลากรการแพทย์ที่ต้องรับงานหนักมาก ข้อสำคัญ “เป็นการเอาแรงงานระดับประสบการณ์ต่ำสุดไปใช้ที่ต่างจังหวัด ให้คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นตาสีตาสายายมียายมา รับการบริการตามมีตามเกิด”

แล้วก็มาถึงปัญหา “เงินรายได้น้อยเมื่อเทียบกับภาระงาน” พวกหมอระดับนี้จึงพากัน “เปิดคลินิกส่วนตัวควบกับทำงานในโรงพยาบาล” ซึ่ง “ปฏิเสธไม่ได้ว่ามี conflict of interest เต็มไปหมด” รายนี้เขาว่าระบบการทำงานของวงการแพทย์ไทย

จึงเป็นแนว กงสีไม่มีการจัดแจงภาระงานที่แน่ชัด

(https://www.facebook.com/sirisak.chanprasert/posts/JUaV3kxjuWB และ https://www.facebook.com/chin.phathr.tan.sri.skul/posts/fxEDKPU8tW) 

นี่ครับ"ใหญ่"ของจริง สร้างพระพุทธรูปในชื่อตัวเองเลย


Somsak Jeamteerasakul
2 hours ago
·
นี่ครับ"ใหญ่"ของจริง สร้างพระพุทธรูปในชื่อตัวเองเลย "พระพุทธปิยนาฏวชิรพัทธิ์" ในฐานะตัวแทนของวชิราลงกรณ์ด้วย
ป.ล. ชื่อ "พระพุทธปิยนาฏวชิรพัทธิ์" เคยทำมาก่อนแล้ว ผมมัวตื่นเต้นคราวออกงานครั้งก่อนเลยมองข้ามไป https://www.facebook.com/share/p/1XsG6gSL4C/ ขอบคุณ"มิตรสหาย"ที่บอกมา


สยามมุรธาธร
November 10, 2024
·
พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงอรอนงค์ ปิยนาฏวชิรพัทธ์
วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 น.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงอรอนงค์ ปิยนาฏวชิรพัทธ์ เป็นผู้แทนพระองค์ ไปถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน และ พิธีเททองหล่อยอดพระเกศพระพุทธปิยนาฏวชิรพัทธ์ การนี้คุณแม่หนูเพียร สรภูมิ มารดาในท่านผู้หญิงเข้าร่วมพิธีด้วย
พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน จังหวัดกาฬสินธุ์ รับนิมนต์นั่งภาวนาอธิษฐานจิต พิธีเททองหล่อยอดพระเกศพระพุทธปิยนาฏวชิรพัทธ์
ณ วัดท่าสะแบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
Cr. ภาพ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท

https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/9435984039788124
https://www.facebook.com/share/p/1XsG6gSL4C/



ตึกสตง. พังถล่ม ใครต้องรับผิดชอบจ่ายคืน

แจงชัด "ตึก สตง. ถล่ม" ใครต้องรับผิดชอบ | ข่าววันศุกร์ | สำนักข่าววันนิวส์

ข่าวช่องวัน

Apr 11, 2025 

ส่วนประเด็นที่ถามว่า หลังเกิดเหตุตึกถล่มขึ้น “ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ” อดีต ผู้ว่าฯ สตง.ระบุว่า ตอนนี้อาคารยังอยู่ในความรับผิดชอบของผู้คุมงาน ผู้ก่อสร้างและผู้ออกแบบ ซึ่งสามกลุ่มนี้ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ก็ต้องรอกระบวนการตรวจสอบหาสาเหตุว่ามันเกิดจากอะไร ผิดพลาดในขั้นตอนไหน 

https://www.youtube.com/watch?v=jTarpS2GWSo
https://x.com/pang_punn/status/1911607860955623637





 


เคยสงสัยบ้างมั้ย ทำไมชนชั้นนำไทยจึง ‘หน้าด้าน’ เพิ่มมากขึ้น อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล ชวนคิด



ทำไมชนชั้นนำไทยจึง ‘หน้าด้าน’ เพิ่มมากขึ้น

28 Jul 2024
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
101 World

ผมเดาเอาเองว่าคนจำนวนไม่น้อยน่าจะมีอารมณ์ความรู้สึกคล้ายๆ กันและมีความสงสัยว่าทำไมบรรดาชนชั้นนำของไทย (ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นนำที่ศูนย์กลางหรือชายขอบ) จึงมีพฤติกรรม ‘หน้าด้าน’ แสดงออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดและบ่อยครั้งมากขึ้น

ตามพจนานุกรมให้ความหมายของคำนี้ไว้ว่า ‘มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย โดยปริยายหมายความว่าไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย‘ แต่สำหรับในที่นี้อยากจะให้นิยามคำว่า ‘หน้าด้าน’ ให้มีความหมายครอบคลุมไปถึงการกระทำบางอย่างที่ตรงกันข้ามต่อหลักคุณค่า หลักการ หรือความเป็นจริงที่ตนเองได้ป่าวประกาศหรือแสดงออกต่อผู้คนให้รับรู้ โดยปราศจากความละอายต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป

ลองนึกถึงข่าวต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง การกลับกลอกคำพูดของบรรดาแกนนำนักการเมืองภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคลุง, การแสดงตนว่าเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัดแต่กลับพัวพันกับการเรียกสินบนจากเว็บไซต์พนัน, การพร่ำด่าผู้อื่นที่ได้ตำแหน่ง สว. ว่าเป็นสภาผัวเมียขณะที่ตนเองก็ทำในทำนองเดียวกัน, การแสร้งเจ็บป่วยปางตายแต่ภายหลังพ้นระยะเวลาหนึ่งก็แข็งแรงเหมือนโคถึก, การลอกผลงานวิชาการเพื่อตำแหน่ง ดร. ของตนเองแล้วยังหาญกล้าไปวิจารณ์วุฒิการศึกษาปริญญาเอกของผู้อื่น เป็นต้น

นี่เป็นตัวอย่างของความหน้าด้านจำนวนหยิบมือหนึ่งจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างถี่ยิบที่ชนชั้นนำไทยได้กระทำให้ประจักษ์ต่อสาธารณะ

หากเปรียบเทียบกับหลายประเทศ เราจะพบว่าชนชั้นนำในบางประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือนักการเมือง) เมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาว ไม่ว่าจะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบน การคุกคามทางเพศต่อลูกน้อง การโกงกินที่เกี่ยวพันกับอำนาจหน้าที่ แม้จะยังไม่มีคำตัดสินของศาลเกิดขึ้น แต่ชนชั้นนำเหล่านั้นก็เลือกจะใช้วิธีการยอมรับผิดและขอลาออกจากตำแหน่งไปเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้น

แต่สำหรับชนชั้นนำไทย จำนวนมากล้วนแต่จะยืนยันว่าตราบเท่าที่ยังไม่มีคำตัดสินของศาลก็ต้องถือว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์ (รวมทั้งศาลที่ทำหน้าที่ตัดสินความผิดนี้ก็ต้องเป็นศาลไทยด้วยนะครับ แม้จะถูกกล่าวหาในการค้ายาและถูกตัดสินว่าผิดในต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องอับอายแต่อย่างใด)

กรณีของ สว. หญิงท่านหนึ่งที่มีคุณวุฒิสูงส่ง แม้จะถูกเปิดโปงเบื้องหลังกระทั่งแทบไม่แน่ใจว่าเหลืออะไรที่เป็นความจริงอยู่ในตัวเธอบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากการลบโปรไฟล์ที่เป็นปัญหาออกไป

การอ้างอิงถึงหลักการทางกฎหมายย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้ แต่ว่าการดำรงอยู่อย่างชอบธรรมของสถาบันการเมืองรวมถึงบุคคลที่อยู่ในสถาบันเหล่านั้น ไม่ใช่อาศัยเพียงการค้ำยันจากความถูกต้องทางกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวมิใช่หรือ เช่น หากรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนชอบไปจ้าง ‘เด็กเอน’ มาสร้างความบันเทิงเริงโลกีย์ในงานเลี้ยงของตนเองอย่างเปิดเผย เขาก็ไม่ได้กระทำอะไรผิดกฎหมาย ดังนั้น เขาย่อมสามารถกระทำได้ใช่หรือไม่

ถ้าพวกเขากิน ขี้ ปี้ นอน เช่นเดียวคนเดินดินทั่วไป ก็ไม่จำเป็นที่สามัญชนทั้งหลายต้องก้มหัวให้กับบรรดาคนเหล่านี้

แต่การดำรงอยู่ของชนชั้นนำในสังคม ไม่ได้วางอยู่บนอำนาจบังคับอย่างเป็นทางการหรือที่เรียกว่า ‘กฎหมาย’ ในห้วงเวลาปัจจุบันแต่เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องมีการสร้างคุณลักษณะที่สะท้อนให้เห็นว่ามีความแตกต่างอย่างสำคัญ อันจะทำให้ได้รับการยอมรับนับถือโดยไม่จำเป็นต้องใช้ปืนจี้หัว

ทศพิธราชธรรมคือตัวอย่างหนึ่งของการแสดงให้เห็นคุณลักษณะของผู้ปกครองในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ไม่ว่าคุณลักษณะดังกล่าวจะมีอยู่ในบุคคลนั้นหรือไม่ก็ตาม) อันทำให้ตนเองมีสิทธิธรรม (legitimacy) เหนือกว่าบุคคลอื่น จำเป็นต้องมีการสร้างประเพณีขึ้นมารองรับเพื่อตอกย้ำถึงสิทธิธรรมดังกล่าวนี้อย่างต่อเนื่อง

ในระบอบประชาธิปไตย คำมั่นสัญญาของนักการเมืองในการป่าวประกาศระหว่างการเลือกตั้งไม่ใช่เพียง ‘คำสัญญา’ ของนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น แต่นั่นคือ ‘พันธสัญญา’ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากไม่กระทำตามก็จะต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองแสดงให้ปรากฏ มิใช่นั้นแล้ว การเลือกตั้งครั้งหน้าใครจะยังเชื่อต่อคำโฆษณาที่เกิดขึ้นในการหาเสียงว่ามันไม่ใช่เพียง ‘เทคนิคการหาเสียง’ ที่พร้อมจะคายทิ้งไปได้อย่างสบายปาก

สังคมไทยก็เฉกเช่นกันกับสังคมอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้เฉพาะกฎหมายเป็นกลไกในการกำกับพฤติกรรมของผู้คน มีการสร้างกฎเกณฑ์กติกาแบบที่ไม่เป็นทางการ มีการใช้ความคิดทางศาสนาเข้ามากำกับ หรือการวางบรรทัดฐานต่างๆ ให้เกิดขึ้น ซึ่งอยากจะเรียกรวมๆ ว่า ‘หลักคุณค่า’ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเกรงกลัวและละอายต่อบาป หรือแม้กระทั่งความพอเพียง ก็คือส่วนหนึ่งของความจำเป็นในการกำกับพฤติกรรมในหมู่ชนชั้นนำ หากใครละเมิดต่อหลักคุณค่าเหล่านี้ก็อาจต้องเผชิญกับการลงโทษ ไม่ว่าการขับออกจากตำแหน่ง การติดคุก การตัดออกจากเครือข่าย

แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ไม่ใด้มุ่งหมายให้พวกเขาเป็นคนดีขึ้นมาจริงๆ อาจเป็นเพียงแค่ไม่ให้มีการกระทำแบบประเจิดประเจ้อและจะสั่นคลอนต่อความชอบธรรมของชนชั้นไทยให้อ่อนแอลง

คำถามประการหนึ่งที่อยากทำความเข้าใจเป็นอย่างมากก็คือ ทำไม่ชนชั้นไทยจึงมีพฤติกรรมหน้าด้านเพิ่มมากขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแสดงออกซึ่งความหน้าด้านนั้นย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือความไม่สำคัญของหลักคุณค่าในช่วงจังหวะเวลานั้น หากพิจารณาถึงการกระทำที่หน้าด้านในทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็จะพบว่าจำนวนไม่น้อยอยู่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยม

เช่น การใช้เฮลิคอปเตอร์ไปล่าสัตว์เพื่อความบันเทิงใจก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516, การโกงกินค่าหัวคิวแบบมโหฬารของผู้นำรัฐประหารในการซื้อเครื่องบินก่อนเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535, หรือการเลี่ยงภาษีในการขายหุ้นของนักการเมืองยุคที่มีอำนาจแทบเบ็ดเสร็จ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าปรากฏการณ์หน้าด้านสัมพันธ์กับระบอบอำนาจนิยมอย่างไม่อาจปฏิเสธ

ระบอบอำนาจนิยมไม่มีการถกเถียง ไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีสายตาของสาธารณะเข้าไปกำกับ หรือกล่าวได้ว่าภายใต้ระบอบอำนาจนิยม ความคิดเห็นหรือหลักคุณค่าไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดหรืออาจมีก็เบาบางเต็มทน การดำรงอยู่ของระบอบอำนาจนิยมก็คือ การใช้อำนาจบังคับหรืออำนาจทางกฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมเป็นหลัก ยิ่งยุคสมัยที่สามารถเข้าไปกำกับกระบวนการยุติธรรมได้ก็ยิ่งทำให้ความหน้าด้านสามารถแพร่กระจายออกไปในหมู่ชนชั้นนำอย่างกว้างขวาง ไม่มีอะไรที่จะต้องเกรงกลัว จะเป็น สว. ที่ไม่ต้องไปประชุมเลยก็ได้ จะใช้บ้านพักของราชการเป็นที่ตั้งบริษัทส่วนตัวก็ได้ จะตั้งลูกเมียมาเป็นที่ปรึกษาก็ไม่เป็นไร จะแสดงอากัปกริยาต่ำช้าแบบไหนก็ไม่มีอำนาจใดมาแตะ ฯลฯ

ขณะที่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ความคิดเห็นของผู้คนมีอิทธิพลไม่เพียงในทางสาธารณะแต่ยังรวมไปถึงการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชนชั้นสูง

ยิ่งชนชั้นนำในศูนย์กลางไม่ตระหนักถึงการดำรงอยู่ของสิทธิธรรม ใช้อำนาจในการดำรงอยู่อย่างดิบๆ ก็ยิ่งทำให้ความหน้าด้านแพร่กระจายออกไปสู่ชนชั้นนำชายขอบมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าสถานะในชายขอบอาจทำให้ต้องมีความรับผิดชอบเกิดขึ้นบ้าง แต่ทางรอดของพวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่การยึดหลักคุณค่าในวิถีชีวิต แต่กลับเป็นความพยายามขยับเข้าไปให้ใกล้กับศูนย์กลางของอำนาจมากขึ้น

ความหน้าด้านที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจึงไม่ใช่เรื่องความชั่วช้าของปัจเจกบุคคล หากแต่สัมพันธ์กับระบอบทางการเมืองอย่างใกล้ชิด นอกจากความพยายามในการลงโทษต่อตัวบุคคลที่หน้าไม่อายแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปก็คือระบอบการเมืองที่เปิดโอกาสให้ความหน้าด้านสามารถเกิดขึ้นและกระจายตัวอออกไปได้กว้างขวางเฉกเช่นที่กำลังดำเนินอยู่ในสังคมไทยในห้วงเวลานี้

https://www.the101.world/why-thai-elites-are-shameless/



”จุดอ่อน“ และ วงจรอุบาทว์ของการรับเหมางานราชการ


หนุ่มเมืองจันท์
18 hours ago
·
กรณีอาคารของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่ม
ตอนที่มีการพุ่งเป้าไปที่ “เหล็ก” ไม่ได้คุณภาพ
ผมจำได้ว่า “พี่ด้วง” ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดัง เคยตั้งข้อสังเกตไว้ประมาณ 10 วันที่ผ่านมา
เขาบอกว่าวงการสถาปนิกที่รับงานราชการรู้ว่า ”จุดอ่อน“ ของงานราชการคือ ”ผู้ควบคุมงาน“
และอธิบายวงจรอุบาทว์ของการรับเหมางานราชการมาเป็นฉากๆ
ตอนนั้นผมก็งงอยู่ว่า ”ผู้ควบคุมงาน“ จะมีผลมากขนาดนั้นจริงหรือ
จนวันนี้ชัดเจนแล้วว่ามีการแก้แบบก่อสร้าง
และปลอมลายเซ็น ”วิศวกรผู้ควบคุม“
(กรณี ”ปลอมลายเซ็น“ คงต้องดูดีๆ เพราะผู้เสียหายไม่แจ้งความเอาผิดบริษัทผู้รับเหมา เรื่องนี้อีกสักพักคงชัดเจนขึ้น)
เมื่อวาน เพิ่งโพสต์อีกครั้งว่าถ้าตามดีๆจะพบเรื่อง “เงินทอน 30%”
ต้นทางของกรณี “ตึกถล่ม” อยู่ตรงนี้
ก่อนจะตามกันต่อ ลองอ่านโพสต์เก่าของ “พี่ด้วง” เมื่อ 10 กว่าวันก่อนหน้านี้
ถ้าเป็น“ หมอดู”
ก็ต้องบอกว่า “แม่นจริงๆ”

”ในกรณีที่อาคารโดยทั่วไปเกิดปัญหาวิบัติในทางโครงสร้าง ความรับผิดชอบแรกจะต้องพุ่งไปที่ “ผู้ควบคุมงาน” หรือที่เราเรียกว่า CM หรือ Construction Management ครับ
กฎหมายกำหนดให้การก่อสร้างอาคารทุกแห่งต้องมีผู้ควบคุมงานที่มีใบประกอบวิชาชีพ เพื่อควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ
เพื่อนฝูงที่เป็นสถาปนิกแล้วรับงานราชการ จะรู้กันดีว่าจุดอ่อนสำหรับการคอรัปชั่นอยู่ตรงนี้เลย เพราะ“ผู้ควบคุมงาน”จะต้องดูแลให้การก่อสร้างนั้นเป็นไปตามแบบที่ออกไว้
ผู้รับเหมาที่มีเจตนาจะเอาเปรียบ ก็จะพยายามสร้างให้ไม่ตรงแบบ พยายามจะลดข้อกำหนดคุณภาพของวัสดุ (specification) หรือวิธีการก่อสร้าง เพื่อลดปริมาณงานลงเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด
ในกรณีของงานราชการ วงจรอุบาทว์จะเริ่มต้นจากการที่ผู้บริหารของหน่วยงาน มีการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้รับเหมาที่จะได้งาน
ในสมัยรัฐบาล คสช. เป็นยุคที่การเรียกรับผลประโยชน์ หรือ “เงินทอน” นี้ เบ่งบานที่สุด ไม่มีหน่วยงานของรัฐหน่วยใดเลยที่มีการก่อสร้างแล้วไม่มีระบบเงินทอน ต้องทอนกันทุกงาน
เมื่อเป็นรัฐบาลทหารที่ไม่มีการตรวจสอบ จึงเป็นโอกาสที่หน่วยงานราชการจะทำงบก่อสร้างกันอย่างเพลิดเพลิน เพราะการจ่ายเงินทอนนี้ ทำได้ง่ายดายเหลือเกิน
ในบางโครงการก็ย่ามใจมาก จากที่เรียกกัน 10% บางทีสูงไปถึง 30% ก็มี ผู้รับเหมาที่อยากได้งานก็จำเป็นต้องรับงานกันไปทั้งๆที่รู้ว่าสร้างไม่จบแน่ เพราะเงินโดนหักไปแล้ว 30% ก็ต้องไปจบที่การทิ้งงาน
จึงเห็นเป็นตึกราชการที่สร้างไม่เสร็จให้เราเห็นโดยทั่วไป
ผู้รับเหมาที่ทิ้งงานแล้วก็จะถูก black list กลับมารับงานไม่ได้อีก ถ้าอยากรับงานราชการงานอื่น ก็ต้องไปตั้งบริษัทใหม่ แต่งตัวกันเข้ามาใหม่
บริษัทที่ไม่อยากติด black list ก็ต้องพยายามสร้างงานให้จบ โดยพยายามลดต้นทุนให้มากที่สุด
ซึ่งการลดต้นทุน ผู้ควบคุมงานก็จะเป็นคนที่เซ็นอนุมัติหรือไม่เซ็นให้ ผู้ควบคุมงานจึงเป็น factor สำคัญมาก
เจ้าของโครงการที่เป็นหน่วยงานราชการรู้ความจริงข้อนี้ดี จึงต้องเลือกจ้างผู้ควบคุมงานที่ตนกำกับดูแลได้ สมยอมกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ให้ลดงานก่อสร้างลงไปจากแบบ
หรือจัดทำ shop drawing ที่แตกต่างไปจากแบบที่ออกไว้ เพื่อให้ผู้ควบคุมงานอนุมัติ และสามารถก่อสร้างไปได้โดยมีสัดส่วนกำไรที่เพิ่มขึ้น เพื่อมาชดเชยกับ “เงินทอน” ที่ต้องจ่ายไป
ในกรณีของผู้รับเหมาบางกลุ่มจากต่างประเทศ ก็จะเข้ามาทำสัญญาในลักษณะที่มี +F คือมี “package ของการกู้เงิน” เข้ามาด้วย
ทำให้ผู้รับเหมาหลายคนที่รับงานราชการมักจะทำงานร่วมกันกับผู้รับเหมาจากต่างประเทศเหล่านี้
เพราะเขาจะมาสร้างให้ก่อน จ่ายเงินทีหลัง ซึ่งทำให้สามารถหมุนเวียนกระแสเงินได้ดีขึ้น
บางทีก็ต้องไปรับงานราชการอื่นอันใหม่เพื่อเอาเงินมาโปะงานเก่า หมุนเวียนไปเช่นนี้เป็นวงจรอุบาทว์
ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นมาจากที่มีคนเรียกรับเงินทอนคนแรกครับ มันไม่ได้ผิดที่คนออกแบบเลย ผิดที่ “คนคุมงาน” ที่น่าจะสนิทสนมกับ “คนที่เรียกรับเงิน” อันนี้น่าสืบต่อไปได้ ไม่ยากเท่าไหร่
เรื่อง “ก่อสร้างผิดจากแบบ” เป็นความผิดของผู้ควบคุมงานโดยตรง ความผิดถัดมาก็ผู้รับเหมา ที่จะเป็นจำเลยสังคมต่อไป
จะวิเคราะห์เรื่องการออกแบบ specification ของเหล็กเส้น คนที่อยู่ในวงการก่อสร้างเราก็ออกจะขำ เพราะเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นไปจากต้นเหตุคือการคอรัปชั่นอย่างไม่ต้องสงสัย
ในกรณีนี้ ผู้ออกแบบทั้งสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ต้องนับได้ว่าซวย เพราะในงานราชการ จะไม่อนุญาตให้ผู้ออกแบบเข้าไปตรวจสอบเลย
ราชการเขากำหนดเรื่องนี้ไว้โดยมีวัตถุประสงค์ให้การตรวจสอบอยู่ในมือผู้ควบคุมงานอย่างเดียว จะได้จัดการเบ็ดเสร็จทั้งต้นน้ำปลายน้ำได้ง่าย
มันก็เป็นเช่นนี้มาช้านาน ผมถึงไม่ค่อยได้งานราชการ เพราะจะเข้าไปจับผิดเขาอยู่เรื่อย
ยิ่งอาคารราชการส่วนใหญ่ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเสียด้วย ท้องถิ่นหรือ กทม. ก็ไม่มีโอกาสได้เข้าไปตรวจสอบเลย ก็เลยทำให้อาคารราชการต่างๆ เป็นแหล่งรายได้หลักในการคอรัปชั่น โดยที่ระบบราชการเองก็ถูกออกแบบไว้ให้การคอรัปชั่นนั้นราบรื่นและเป็นระบบที่สุด
ผลกระทบคือ อาคารราชการทุกแห่งที่ประมูลไว้ด้วยราคากลางที่ใกล้เคียงราคาตลาด ออกแบบไว้อย่างมีคุณภาพ แต่พอสร้างเสร็จก็จะกลายเป็นเรื่องเศร้าทุกที ก็เพราะเหตุนี้
สมัย คสช. คือเป็นยุคที่การคอรัปชั่นในลักษณะนี้มีมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะข้าราชการมีอำนาจเต็ม และตึกที่เกิดปัญหาก็เป็นตึกของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเสียด้วยสิ
ผมว่าผลกระทบที่เห็นมันก็น่าจะชัดเจน เวรกรรมมีจริงแหละ หน่วยงานตรวจสอบถ้าคอรัปชั่นเอง ก็ไม่มีใครตรวจสอบได้อีก ก็สันนิษฐานไว้ตามนั้นครับ
เรื่องนี้ สถาปนิกที่รับงานราชการเป็นประจำ เขาก็ไม่กล้าเล่าหรอกนะครับ เขาก็หลับตากันไปเดี๋ยวกลัวไม่ได้งาน
คนพูดความจริงอย่างผม ที่ควรจะได้งานเขาก็เลยไม่ให้ ก็ไม่แปลกใจ แต่ก็ทิ้งไว้เป็นความเห็น“
 
https://www.facebook.com/photo?fbid=1248832393269889&set=a.211819566971182



ตึกจะถล่มได้ขนาดนี้ สามคนนี้ต้องเต็มที่อะ บอกเลย #ประเทศนี้ไม่เหลืออะไรแล้วจริงๆ สามคนไหนบ้าง

https://www.instagram.com/climate.apocalypse/reel/DHvO0C3z8Z-/

.....

Rachaporn Choochuey
7 hours ago
·
สถาปนิกที่เคยผ่านงานราชการทุกคนรู้ว่า เราไม่มีอำนาจอะไรเลย เมื่อส่งแบบไปให้ผู้ว่าจ้าง หลังจากนั้น ผู้ควบคุมงานจะเอาไปทำอะไรเราไม่เคยได้รับรู้ ตอนทำงานเล็กๆ ของราชการหนแรก ตกใจมากกับกระบวนการนี้ และไม่ยอม จะเข้าไปประชุมการก่อสร้างทุกครั้ง โชคดีที่ผู้ควบคุมงานเข้าใจและยินยอม ต้องตบตีกับทีมผู้ตรวจรับงานที่แก้ต่างให้กับผู้รับเหมา เหมือนกับว่าทำงานให้เค้า ด้วยความเอ๋อของเรา เราถามไปกลางที่ประชุมว่า ตกลงคุณ XX อยู่ในหน่วยงานไหนกันแน่คะ งงไปหมดแล้ว ก็เกิด dead air และมีคนมาถามว่าเราจะเอาเท่าไหร่ เพื่อจะให้เลิกมาประชุม (โอ้) หลังจากนั้นก็แทบไม่ได้ทำงานราชการใดๆ อีก เพราะเข็ดในระบบอันแสนจะเหลือเชื่อนี้ #สตง
อยากจะบอกว่าตอนก่อสร้างงงานราชการมีตัวละครสามตัวหลัก คือ
1. ผู้รับเหมาก่อสร้าง
2. ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
3. กรรมการตรวจรับงาน
ตึกจะถล่มได้ขนาดนี้ สามคนนี้ต้องเต็มที่อะ บอกเลย #ประเทศนี้ไม่เหลืออะไรแล้วจริงๆ ความทุเรศขั้นสูงสุดของ สตง คือการโทษคนออกแบบ นี่ไม่เคยรู้ระบบการก่อสร้างของราชการเหรอ ไอ้ระบบวิบัตินี้ที่คุณตรวจสอบมาทั้งชี้วิตอะ

https://www.facebook.com/rachaporn/posts/10162271768559857
https://www.instagram.com/climate.apocalypse/reel/DHvO0C3z8Z-/


เพียง 8 วินาที หลังเหตุแผ่นดินไหว อาคารของ สตง. ก็ถล่มลงมาทั้งหมด ศาสตราจารย์กิตติคุณ วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา ทำคลิปอธิบายถึงเหตุการณ์นี้ โดยไม่ต้องเป็นวิศวกร ก็สามารถเข้าใจกลไกการพังราบเป็นขนมชั้นได้


8 วินาทีวิกฤติ: กลไกการถล่มตึก 30 ชั้นจนราบเป็นขนมชั้น

DrWorsak

Apr 14, 2025

ผู้สนใจเพิ่มเติม อ่านการสนทนาและ Comments ได้ที่่่ 

------------------------
 
เหตุการณ์การพังทลายโดยสิ้นเชิงแบบแพนเค้ก (หรือขนมชั้น) ของอาคาร สตง. ได้ผ่านมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว ภารกิจเร่งด่วนเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและกู้ร่างผู้เสียชีวิตได้ดำเนินการไปแล้ว ประเด็นสำคัญต่อไปคือ การหาสาเหตุของการวิบัติของอาคารซึ่งทำสถิติโลกใหม่เป็นอาคารสูงที่สุดที่เกิดวิบัติแบบแพนเค้กโดยธรรมชาติ (ไม่นับกรณี WTC ที่เกิดจากการก่อการร้าย)
 
แม้รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุโดยมีกำหนดเสร็จภายใน 7 วัน แต่ยังไม่มีผลการสอบสวนออกมา ผมเป็นกังวลว่าอาจเกิดความสับสนในประเด็นหลัก ทำให้หลงไปสอบสวนในประเด็นย่อยที่ไม่มีผลต่อการถล่มของอาคาร
 
สิ่งที่สังคมต้องการทราบคือ อาคารถล่มลงมาเป็นแพนเค้กภายในเวลาเพียง 8 วินาทีได้อย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อยู่ในอาคารแทบไม่มีโอกาสรอด การวิบัติลักษณะนี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามที่สุดในหลักการออกแบบก่อสร้างอาคารสูง ส่วนประเด็นการวิบัติเฉพาะที่ (Local Failure) หรือประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการถล่มแบบแพนเค้ก ถ้าต้องการควรจะแยกนำไปพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในสังคม
 
ในเชิงนิติวิศวกรรม (Forensic Engineering) ก่อนที่เราจะหาผู้รับผิดชอบ เราต้องสันนิษฐานจากข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อสร้างความเข้าใจว่า กลไกการเกิดการถล่มแบบแพนเค้กเกิดอย่างไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้คณะกรรมการสอบสวนทางการนำไปใช้หาสาเหตุที่ทำให้เกิดกลไกนี้ได้ต่อไป
 
จากข้อมูลต่างๆที่ได้มาเพิ่มเติม หลังจากผมได้ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นในเฟซบุ๊กและการสนทนากับคุณสุทธิชัย หยุ่น ผมยังยืนยันโดยไม่เปลี่ยนแปลงว่า กลไกการถล่มเกิดจากการบิดตัวของอาคาร ที่องค์อาคารชั้นล่างสุดไม่สามารถรับมือได้ จึงถล่มลงมาด้วยอำนาจทำลายมหาศาลของน้ำหนักอาคารเอง ส่วนสาเหตุใดที่องค์อาคารถึงรับมือกับแรงบิดไม่ได้ ผมพยายามจะไม่แตะต้อง เพราะถือเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่จะต้องสอบสวนเป็นทางการต่อไป
ในคลิปที่ผมทำใหม่นี้ ผมได้อธิบายกลไกการถล่มของอาคาร สตง. อย่างละเอียด โดยพิสูจน์จากคลิปวิดีโอสามมุมที่ซิงค์เวลาตรงกันและลดความเร็วเหลือ 10% เป็น Slow Motion อีกทั้งสนับสนุนข้อวินิจฉัย ด้วยทฤษฎีการรับแรงบิดแบบ St. Venant Torsion และผลการทดลองจากบทความวิชาการด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ที่แสดงการวิบัติของแท่งคอนกรีตเสริมเหล็กเมื่อได้รับแรงบิดกลับไปกลับมา (Cyclic Torsion)
 
สุดท้าย ผมขอยืนยันว่า การสันนิษฐานกลไกการเกิดวิบัตินี้เป็นไปตามหลักนิติวิศวกรรมที่ปราศจากอคติ โดยอาศัยหลักฐานและข้อมูลตามหลักวิชาการเท่านั้น

https://www.facebook.com/worsak.ait/posts/2775444089307208
https://www.youtube.com/watch?v=1bREnfbwq78





 

ขีดเส้น 19 เม.ย. ถ้า รมว.พลังงาน ไม่ชะลอลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้า คนไทยต้องจ่าย #ค่าไฟแพง อีก 25 ปี


พรรคประชาชน - People's Party 
8 hours ago
·
[ ขีดเส้น 19 เม.ย. ถ้า รมว.พลังงาน ไม่ชะลอลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้า คนไทยต้องจ่าย #ค่าไฟแพง อีก 25 ปี ]
.
ปลายปีที่แล้วจำได้หรือไม่? ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และ ศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ถึงปัญหาความไม่โปร่งใสและไม่คุ้มค่า โดยถามในสภาฯ 2 ครั้ง เรียกร้องให้นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ใช้อำนาจยกเลิกโครงการ แต่นายกฯ ไม่เคยมาตอบ ในที่สุดเสียงคัดค้านของประชาชนทั่วประเทศทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เคาะมติ กพช. ให้ชะลอการรับซื้อออกไปก่อน
.
แต่นี่ไม่ใช่โครงการเดียวที่มีปัญหา! ก่อนหน้ารอบ 3,600 เมกะวัตต์ ยังมีรอบ 5,200 เมกะวัตต์ เป็นการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเหมือนกัน ซึ่ง สส.ศุภโชติ ได้ตั้งคำถามหลายครั้งถึงปัญหาที่มีเหมือนการรับซื้อรอบสอง (3,600 เมกะวัตต์) ไม่ว่าจะเป็น
ไม่เปิดให้มีการประมูล ผลการคัดเลือกออกมามีเอกชนกลุ่มทุนไม่กี่รายที่ได้สัมปทานไปเกือบทั้งหมด
กำหนดราคารับซื้อ แพงกว่าที่ควรเป็น
ไม่ได้กำหนดวิธีการให้คะแนนเอกชน
ศาลปกครองยังพูดถึงโครงการนี้ ว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นส่อให้เกิดการทุจริต
.
มีการคำนวณไว้ว่าหากปล่อยให้มีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้านี้ จะทำให้ประชาชนคนไทยต้องจ่ายค่าไฟแพงกว่าที่ควรเป็นกว่า 1 แสนล้านบาทตลอดระยะเวลา 25 ปี
.
ดังนั้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 10 เม.ย. ศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน จึงตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาต่อนายกรัฐมนตรีว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งนายกฯ มอบหมายให้ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.พลังงาน มาเป็นผู้ตอบกระทู้แทน
.
[ รัฐบาลซุ่มเงียบให้เอกชนเซ็นสัญญา 19 เม.ย. ]
.
ศุภโชติกล่าวว่า แทนที่รัฐบาลจะสั่งให้มีการชะลอการลงนามซื้อขายไฟฟ้าเฟสแรก 5,200 เมกะวัตต์ เหมือนกรณีเฟสสอง 3,600 เมกะวัตต์ รัฐมนตรีกลับทำตรงกันข้ามให้เอกชนเข้ามาลงนามสัญญาแบบเงียบๆ โดยที่รู้ว่ารัฐบาลมีสิทธิที่จะยกเลิกได้เฉพาะโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามสัญญาเท่านั้น
.
ดังนั้น คำถามแรก
- ทำไมรัฐมนตรีถึงไม่สั่งชะลอการลงนามสัญญา เหมือนที่ทำกับโครงการเฟสสอง ทั้งที่เป็นโครงการที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน
- รัฐมนตรีจะสั่งให้ชะลอหรือยกเลิกการลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในเฟสแรก ในส่วนของโครงการที่เหลือที่ยังไม่ได้ลงนามได้หรือยัง เพราะจากกำหนดการรัฐบาลจะให้เอกชนเข้ามาลงนามทั้งหมดภายในวันที่ 19 เมษายน 2568 นี้
- โครงการที่ได้ลงนามซื้อขายไฟฟ้าไปแล้ว รัฐบาลจะเอาอย่างไร จะกลับไปแก้ไขได้หรือไม่
.
ด้านพีระพันธุ์ระบุว่า ทั้ง 2 โครงการตนและนายกฯ ไม่เคยเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น แต่ก็ปฏิเสธที่จะไม่ทำอะไรไม่ได้ ตนไม่เอาด้วยกับอะไรที่ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ตนและคณะกรรมการที่นายกฯ ตั้งขึ้นมาพบในขณะนี้ คือความสับสนเรื่องกฎหมายและอำนาจหน้าที่ กกพ. มีการกำหนดระเบียบเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างไฟฟ้าเป็นการเฉพาะเป็นของตัวเอง มีอำนาจออกกฎเกณฑ์กติกาเป็นครั้งๆ โดยไม่อิงกับระเบียบกลางได้ ซึ่งตนก็ไม่เคยเจอและขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้คณะกรรมการก็กำลังดูกฎหมายอื่นที่เป็นกฎหมายกลางประกอบด้วย เช่น กฎหมายป้องกันการสมยอมในการเสนอราคา หากมีลักษณะเช่นนั้นก็ทำไม่ได้ ถ้าพบสิ่งที่ผิดปกติก็จะเป็นเหตุให้รัฐบาลดำเนินการยกเลิกหรือดำเนินการอย่างอื่นให้ถูกต้องต่อไป
.
ในส่วนของ 5,200 เมกะวัตต์ ทั้งหมดมี 175 โครงการ แบ่งเป็นของ กฟผ. 94 โครงการ ลงนามสัญญาไปแล้ว 84 โครงการ เหลือประมาณ 19 ราย ซึ่งตนก็มีความกังวล แต่จากการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พบว่ามีความแตกต่างจากโครงการที่ตนสั่งชะลอไปแล้ว 3,600 เมกะวัตต์ เพราะกรณี 5,200 เมกะวัตต์มีการลงนามสัญญาไปแล้วในส่วนของ กฟผ. 84 โครงการ จะทำให้เกิดปัญหาถ้าไปสั่งชะลอแบบเดียวกัน แต่หากตรวจพบขึ้นมาเมื่อไหร่ว่ามีความผิดปกติ ก็จะมีการหาช่องทางดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
.
ทั้งนี้ ในส่วนที่เหลือตนได้แจ้งไปทาง กฟผ. แล้วว่าสัญญาต่างๆ ที่จะต้องลงนามต่อไปนี้ หากตรวจพบว่าโครงการใดไม่ชอบด้วยระเบียบกฎหมาย ต้องมีเงื่อนไขในสัญญาให้ กฟผ. มีสิทธิยกเลิกได้ ดังนั้น ในส่วนของ 5,200 เมกะวัตต์ หากมีการตรวจพบก็จะมีการช่องทางตามกฎหมายเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
.
[ ขั้นต่ำควรชะลอลงนามสัญญา ]
.
ศุภโชติถามต่อว่า การระบุว่าโครงการรับซื้อ 5,200 เมกะวัตต์ไม่เหมือนรอบ 3,600 เมกะวัตต์นั้น ตนไม่เห็นด้วยเสียทีเดียว ปัญหามีลักษณะเดียวกันคือการกำหนดนโยบายในส่วนเดียวกัน อัตราการรับซื้อก็เป็นอัตราเดียวกัน หากยกเลิกโครงการหนึ่งได้แต่ยกเลิกอีกโครงการหนึ่งไม่ได้ ตนเห็นว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จนเกินไป ทั้งๆที่ระเบียบของการรับซื้อไฟฟ้าแต่ละรอบก็ระบัไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานสามารถออกมติระงับหรือยกเลิกการรับซื้อไฟฟ้าได้ หากยังไม่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
.
ทั้งนี้ ตนไม่ได้เห็นว่าต้องมีการยกเลิกทั้งหมดทีเดียว กลุ่มที่ยังไม่ได้ลงนามสัญญาควรจะใช้มาตรฐานเดียวกับกลุ่ม 3,600 เมกะวัตต์ด้วยซ้ำ ส่วนกลุ่มที่มีการลงนามไปแล้วใช้อีกวิธีการหนึ่งได้ แต่อย่างน้อยต้องมีการออกมติมาให้ชะลอก่อน รัฐมนตรีในฐานะรองประธาน กพช. ก็เป็นเลขานุการ สามารถชงวาระเข้าที่ประชุม กพช. ได้เลย แต่จนถึงวันนี้รัฐมนตรียังไม่ทำ
.
ตนจึงมีคำถามเกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ซึ่งได้มีการสั่งชะลอและมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นมาแล้ว ถ้าดูกระบวนการตามกฎหมาย การรับซื้อไฟฟ้าในรอบใดก็ตามอาจไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมายเลย ทำตามกฎหมายทุกอย่าง แต่ที่จะผิดคือการที่รัฐมนตรียอมให้มีการเอื้อกำไรให้กลุ่มทุนพลังงานมากเกินไป ประชาชนแบกรับต้นทุนไฟฟ้าตรงนี้ไปแล้ว 1 แสนล้านบาทจากโครงการ 5,200 เมกะวัตต์ และกำลังจะต้องแบกรับอีก 1 แสนล้านบาทจากโครงการ 3,600 เมกะวัตต์
.
จึงกังวลว่าคณะกรรมการที่รัฐมนตรีตั้งขึ้นมา เมื่อไปตรวจสอบแล้วสุดท้ายอาจไม่มีความผิดตามกฎหมายเลย ยิ่งเมื่อไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเฟสแรก จะปล่อยให้เรื่องนี้เงียบแล้วค่อยมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ คำถามคือรัฐมนตรีจะเอาอย่างไร จะยกเลิกการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์หรือไม่
.
ในส่วนของพีระพันธุ์ ระบุว่าที่ยืนยันว่าแตกต่างกันเพราะในส่วนของ 5,200 เมกะวัตต์มีการลงนามสัญญาไปแล้ว 84 โครงการ แต่ในส่วน 3,600 เมกะวัตต์ยังไม่มีการลงนามแม้แต่สัญญาเดียว
.
ขณะเดียวกัน รัฐบาลเองกำลังตรวจสอบว่าเงื่อนไขราคาทำไมไม่เปลี่ยนแปลง และตนยังได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าทำไมไม่กำหนดเงื่อนไขใหม่ แต่สิ่งที่ได้รับคำชี้แจงคือเป็นการขยายจากโครงการเดิมจึงต้องใช้ราคาเดิม ซึ่งตนไม่เห็นด้วย และคณะกรรมการที่กำลังพิจารณาอยู่ก็ไม่เห็นด้วย อีกทั้งตนกำลังตรวจสอบต่อไปว่ามีลักษณะเป็นการผิดกฎหมายฮั้วประมูลด้วยหรือไม่ ไม่ได้มีแค่เรื่องราคาที่เป็นที่โต้เถียงกัน ที่ กกพ. ยืนยันว่าถูกต้อง
.
.
สรุปตอนนี้…
รับซื้อรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ รัฐบาลลงนามไปแล้วบางโครงการ ส่วนที่เหลือได้นัดเอกชนมาลงนามทั้งหมด วันที่ 19 เม.ย. ที่จะถึง
รับซื้อรอบสอง 3,600 เมกะวัตต์ รัฐบาลสั่งชะลอเมื่อปลายปี 2567 ให้เหตุผลว่า “เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง” แต่ไม่ได้บอกกรอบเวลาว่าจะชะลอถึงเมื่อไร ศุภโชติเคยเสนอแล้วว่า นายกฯ รมว.พลังงาน และ กพช. ควรออกมติยกเลิกการรับซื้อครั้งนี้ แล้วเพิ่มโควตา Direct PPA หรือการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้าหรือโรงงานที่ผลิตสินค้ากับผู้ผลิตไฟฟ้าสะอาดแทน
.
ประชาชนต้องจับตาใกล้ชิด นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร จะแสดงภาวะผู้นำจัดการเรื่องนี้อย่างไร หรือจะปล่อยจอยลอยตัว เพิกเฉยให้นโยบายที่เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนสูบเงินจากคนไทยผ่านบิลค่าไฟต่อไปอีกนับสิบปี

https://www.facebook.com/photo/?fbid=122148261014480817&set=a.122093096804480817


ปัญหาน่าคิด ถ้ารัฐและท้องถิ่น มีความจริงใจที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมประชาชน ตามเจตนารมณ์ของเทศกาลอย่าง "ยั่งยืน" จริงๆ ควรวางแผนเลิกทำเทศกาลเอง แล้วส่งไม้ต่อให้เอกชน หรือชุมชน ได้แล้ว


Supakorn Sirisoontorn
18 hours ago
·
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการจัดงานเทศกาล/มหกรรม คือการที่หน่วยงานรัฐวางตัวเป็นเจ้าของเทศกาล ทั้งในเชิงแบรนด์เทศกาล การบริหารจัดการ และสถานที่จัดงาน
งานสงกรานต์ถนนข้าวเหนียวซึ่งเทศบาลนครเป็นเจ้าของ ปีนี้กลับกร่อยอย่างน่าใจหายเมื่อเจอพิษการเมืองท้องถิ่นและห้วงเวลาก่อนเลือกตั้ง แต่การจัดงานโดยเอกชนรอบๆ พื้นที่กลับคึกคักอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนตอนนี้เรียกได้ว่าขอนแก่นปิดเมืองเล่นสงกรานต์ก็ว่าได้ ถนนทุกเส้นที่ไม่ใช่ถนนข้าวเหนียว เนืองแน่นไปด้วยผู้คนหลายแสนคนทุกวัน สร้างหมุดหมายใหม่ "สงกรานต์เมืองขอนแก่น" ขึ้นมาแทน ในขณะที่ถนนข้าวเหนียวปลอดเหล้า หยุดกิจกรรมบันเทิงกันตั้งแต่สองทุ่ม
ที่จริงการริเริ่มปลุกปั้นงานเทศกาลขึ้นมานั้นเป็นเรื่องดี และกว่างานเหล่านี้จะติดตลาดจนเป็นที่นิยม ก็ต้องอาศัยเวลาและการทำงานอย่างหนักรวมถึงใช้งบประมาณไม่น้อยด้วย
แต่พวกเราคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าองค์กรของรัฐ มีข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นระเบียบต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ การติดอยู่กับพิธีการรุงรัง ไปจนถึงการต้องแบกมาตรฐานความดีงาม เช่นการปลอดสุรา การแต่งกายสุภาพ การอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม ฯลฯ ยังไม่รวมเรื่องคอรัปชั่นและเงินทอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นอุปสรรคของงานเทศกาล และลดคุณภาพของเทศกาล จนผู้คนไม่อยากมาร่วมงานในที่สุด
สิ่งที่ควรจะเป็นที่รัฐควรทำคือมี exit plan ไว้แต่แรก โดยรัฐควรจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่หมายมั่นปั้นมือจะให้เป็นผู้สานต่อเทศกาล ซึ่งหลายครั้งก็เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกับเทศกาล เช่น สมาคมผู้ประกอบการในย่านจัดงาน กลุ่มอาสาชุมชน/ย่าน สมาคมนักสร้างสรรค์ เป็นต้น และเมื่องานสำเร็จแล้ว ติดตลาดแล้ว รัฐก็ค่อยๆ ลดบทบาทของตนเองลงแล้ว ให้องค์กรเหล่านี้เข้ามา Lead เทศกาลแทน โดยองค์กรของรัฐอาจทำหน้าที่เพียงสนับสนุนงบประมาณ ประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกเท่านั้น
ตัวอย่างงานที่เมื่อไปอยู่ในมือเอกชน แล้วประสบความสำเร็จ คือ งานเคาท์ดาวน์ราชประสงค์ ที่ดำเนินการโดยสมาคมผู้ประกอบการในย่านที่ลงขันกัน สร้างสรรค์งานจนเป็นหมุดหมายสำคัญระดับโลกได้ กทม. เป็นเพียงผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกเท่านั้น
ในฐานะคนที่ได้ไปท่องเที่ยว รวมไปถึงมีส่วนร่วมกับหลายๆ เทศกาล ทั้งดีไซน์วีค ปีใหม่สงกรานต์ ถึงจุดนึงเรามักได้เห็นงานเหล่านี้ไม่มีไอเดียใหม่ๆ ในการจัดงานอีกต่อไป พื้นที่กลายเป็นเหมือนตู้โชว์ ที่เอาคอนเท้นต์มาดิสเพลย์ใหม่ไปเรื่อยๆ หรือกระทั่งสร้างสถิติจำนวนนับให้มากขึ้นทุกปี จ่ายเงินให้กินเนสบุ๊คแพงๆ เพื่อให้ได้เป็นหน้าสถิติ ในที่สุดเมื่อคนเบื่อมุขนี้ เทศกาลก็จะเหลือเพียงความจืดชืด ไม่สามารถดึงดูดคนเดิมให้มาซ้ำ ส่วนคนใหม่ๆ ก็ไม่อยากจะเข้ามา
สรุป ถ้ารัฐและท้องถิ่น มีความจริงใจที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมประชาชน ตามเจตนารมณ์ของเทศกาลอย่าง "ยั่งยืน" จริงๆ ควรวางแผนเลิกทำเทศกาลเอง แล้วส่งไม้ต่อให้เอกชน หรือชุมชน ได้แล้ว

https://www.facebook.com/supakorn.sirisoontorn/posts/10228069708789907


เพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดตำหนิทรัมป์ ปฏิเสธที่จะรับเงื่อนไขการได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์







The Promise of American Higher Education

Dear Members of the Harvard Community,

For three-quarters of a century, the federal government has awarded grants and contracts to Harvard and other universities to help pay for work that, along with investments by the universities themselves, has led to groundbreaking innovations across a wide range of medical, engineering, and scientific fields. These innovations have made countless people in our country and throughout the world healthier and safer. In recent weeks, the federal government has threatened its partnerships with several universities, including Harvard, over accusations of antisemitism on our campuses. These partnerships are among the most productive and beneficial in American history. New frontiers beckon us with the prospect of life-changing advances—from treatments for diseases such as Alzheimer’s, Parkinson’s, and diabetes, to breakthroughs in artificial intelligence, quantum science and engineering, and numerous other areas of possibility. For the government to retreat from these partnerships now risks not only the health and well-being of millions of individuals but also the economic security and vitality of our nation.

Late Friday night, the administration issued an updated and expanded list of demands, warning that Harvard must comply if we intend to “maintain [our] financial relationship with the federal government.” It makes clear that the intention is not to work with us to address antisemitism in a cooperative and constructive manner. Although some of the demands outlined by the government are aimed at combating antisemitism, the majority represent direct governmental regulation of the “intellectual conditions” at Harvard.

I encourage you to read the letter to gain a fuller understanding of the unprecedented demands being made by the federal government to control the Harvard community. They include requirements to “audit” the viewpoints of our student body, faculty, staff, and to “reduc[e] the power” of certain students, faculty, and administrators targeted because of their ideological views. We have informed the administration through our legal counsel that we will not accept their proposed agreement. The University will not surrender its independence or relinquish its constitutional rights.

The administration’s prescription goes beyond the power of the federal government. It violates Harvard’s First Amendment rights and exceeds the statutory limits of the government’s authority under Title VI. And it threatens our values as a private institution devoted to the pursuit, production, and dissemination of knowledge. No government—regardless of which party is in power—should dictate what private universities can teach, whom they can admit and hire, and which areas of study and inquiry they can pursue.

Our motto—Veritas, or truth—guides us as we navigate the challenging path ahead. Seeking truth is a journey without end. It requires us to be open to new information and different perspectives, to subject our beliefs to ongoing scrutiny, and to be ready to change our minds. It compels us to take up the difficult work of acknowledging our flaws so that we might realize the full promise of the University, especially when that promise is threatened.

We have made it abundantly clear that we do not take lightly our moral duty to fight antisemitism. Over the past fifteen months, we have taken many steps to address antisemitism on our campus. We plan to do much more. As we defend Harvard, we will continue to: nurture a thriving culture of open inquiry on our campus; develop the tools, skills, and practices needed to engage constructively with one another; and broaden the intellectual and viewpoint diversity within our community;
affirm the rights and responsibilities we share; respect free speech and dissent while also ensuring that protest occurs in a time, place, and manner that does not interfere with teaching, learning, and research; and enhance the consistency and fairness of disciplinary processes; and
work together to find ways, consistent with law, to foster and support a vibrant community that exemplifies, respects, and embraces difference. As we do, we will also continue to comply with Students For Fair Admissions v. Harvard, which ruled that Title VI of the Civil Rights Act makes it unlawful for universities to make decisions “on the basis of race.”

These ends will not be achieved by assertions of power, unmoored from the law, to control teaching and learning at Harvard and to dictate how we operate. The work of addressing our shortcomings, fulfilling our commitments, and embodying our values is ours to define and undertake as a community. Freedom of thought and inquiry, along with the government’s longstanding commitment to respect and protect it, has enabled universities to contribute in vital ways to a free society and to healthier, more prosperous lives for people everywhere. All of us share a stake in safeguarding that freedom. We proceed now, as always, with the conviction that the fearless and unfettered pursuit of truth liberates humanity—and with faith in the enduring promise that America’s colleges and universities hold for our country and our world.

Sincerely,
Alan M. Garber

https://www.harvard.edu/president/news/2025/the-promise-of-american-higher-education/



มีคนสรุปปาฐกถาเรื่อง Trump tariff โดยอดีตนายก ลีเซียนลุง พูดไว้เมื่อวานน่าฟังและน่าคิดตามมาก 🤔


Lee Hsien Loong on Trump's tariffs: "Biggest shock the global trading system has ever faced"
.....

manopsi
@manopsi

สรุปปาฐกถาเรื่อง Trump tariff โดยอดีตนายก ลีเซียนลุง พูดไว้เมื่อวานน่าฟังและคิดตามมาก 

1. Liberation day tariff ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายในมุมมองรัฐบาลสิงคโปร์ ทุกคนทราบว่า Trump ต้องการใช้ tariff มาตั้งแต่สมัยแรกและตอนหาเสียงสมัยสอง แต่สิ่งที่เหนือความคาดหมายคือ tariff หว่านไปทุกประเทศทั่วโลกและเก็บในอัตราสูงมาก สิ่งนี้ก่อให้เกิดความปั่นป่วนต่อระบบการเงินทั่วโลกทั้งตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ แม้จะมีการเลื่อน reciprocal tariff ไป 90 วันและเว้นการเก็บกับสินค้า IT ก็ตาม แต่ basic tariff 10% rate ยังอยู่และใช้กับทุกประเทศ

2. การเลื่อนออกไป 90 วันไม่ใช่เรื่องน่ายินดี เพราะทุกอย่างหยุดชะงักหมดใน 90 วันนี้ (limbo) เป้าหมายของ Trump ที่จะลดการขาดดุลการค้าและดึงภาคการผลิตกับเข้าประเทศเป็นสิ่งที่ยากจะสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เราต้องคาดว่าทีม Trump จะยังคงดำเนินการตามแนวทางนี้อยู่ดี แม้ว่าผลออกมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แทนที่จะหยุดหรือเปลี่ยนแผน เราคาดว่าเขาจะออกมาตรการที่หนักกว่าเดิม และส่งผลต่อประเทศต่าง ๆ มากขึ้น
3. แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนอยู่ในช่วง 90 วันนี้ เราควรคาดหวังได้อย่างแน่นอนว่าทุกอย่างจะไม่กลับไปเป็นเหมือนก่อนหน้านี้

4. US-China trade เกิดความเสียหายไปแล้ว ตัวเลข 145% หรือ 125% ไม่ใช่เรื่องน่าสนใจอีกต่อไปแล้ว เพราะกำแพงภาษีสูงมากจนการค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้แทบจะหยุดและไม่สามารถทำต่อได้อีก ต่อให้ขึ้นไป 200-300% ก็ไม่มีผลอะไร

5. US-China relation เกิดจากมุมมองขัดแย้งกัน ด้าน US พยายามสกัดไม่ให้จีนขึ้นมาเป็นผู้นำ ในขณะที่จีนมองว่าตัวเองเจริญก้าวหน้ามาจนถึงตอนนี้ก็ควรจะมีที่ยืนอย่างเหมาะสม แม้ว่า tariff จะเล่นงานจีนเป็นหลัก ผลกระทบจากความขัดแย้งนี้ไม่จำกัดวงเฉพาะ 2 ประเทศ

6. แล้วเราควรทำยังไงดี บางคนบอกว่าอย่ากระต่ายตื่นตูม กังวลเกินเหตุ แต่ลีเซียนลุงย้ำกว่า เราจำเป็นต้องกังวล (need to be concerned) และเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นและส่งผลอะไรกับเรา เพราะในหนนี้ บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญ มันแตกต่างไปจากเดิม ที่ผ่านมาเราผ่านวิกฤติมาได้หมดทั้งวิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติ subprime หรือแม้กระทั่ง COVID แต่สิ่งนึงที่เราต้องเข้าใจคือ ทุกวิกฤติที่เราผ่านมาได้ เรามี 2 ปัจจัยหลักที่เกื้อหนุนเรา ปัจจัยแรกคือ เราร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหาวิกฤติเหล่านั้น และปัจจัยที่สองคือ เราเป็นส่วนนึงระบบการเงินและการค้าโลก ไม่ว่าประเทศใหญ่หรือเล็ก เราเล่นในสนามเดียวกัน กฎเดียวกัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ (most favored nation: MFN system) เราเป็นประเทศเล็กก็จริง แต่มีประสิทธิภาพสูงในระบบการค้าและการเงินเสรีทำให้เราได้ประโยชน์ในประเด็น MFN นี้

7. ความแตกต่างในหนนี้คือ US ต้องการทำลาย MFN ไปเลย คือตั้ง tariff มาต่อรองรายประเทศ ใช้อำนาจต่อรองของการเป็นประเทศใหญ่มาบีบประเทศคู่ค้า แนวทางนี้ไม่มี win-win แต่เป็น win-lose สิ่งนี้ส่งผลกระทบใหญ่ต่อทั้งประเทศเราและต่อโลก ผลต่อโลกคือ แต่ละประเทศจะเจอกฎระเบียบแตกต่างกัน ประเทศเล็กจะเสียเปรียบมากเพราะไม่มีอำนาจต่อรองมากพอ ส่วนประเทศใหญ่จะมีอุปสรรคในการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก

8. Tariff จะส่งผลให้การค้าลดลง, ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น และอัตราการเติบโตของแต่ละประเทศลดลง นับตั้งแต่ปี 2000 US tariff rate เฉลี่ยราว 1% ตอนนี้ขึ้นไปอยู่ที่ 10% ซึ่งสูงสุดในรอบ 80 ปี และถ้า reciprocal tariff กลับมาหลัง 90 วัน จะทำให้ tariff สูงสุดย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อน WW1 (และหนนั้นก่อให้เกิด great depression)

9. Farmer และ semiconductor tariff มาแน่ แม้ตอนนี้ยังไม่มา ซึ่งส่งผลต่อสิงคโปร์มาก และ tariff retaliation เช่นที่จีนและแคนาดาออกมาแล้ว (EU หยุดรอช่วง 90 วันนี้) จะยิ่งทำให้ส่งผลเสียหนักขึ้น

10. Tariff ไม่ได้ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตน้อยลง แต่มัน disruptive เพราะ supply chain ของสินค้าทุกอย่างจะหยุดชะงัก ส่งผลต่อเป็นลูกโช่ โรงงานของคุณอาจจะต้องหยุดผลิตเพราะคุณเป็นส่วนนึงของห่วงโซ่การผลิตที่โดน tariff แผนธุรกิจพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ แผนทุกอย่างจะหายไปในพริบตา และนำไปสู่ recession อย่างรวดเร็ว

11. ขอให้คาดหวังไว้ได้เลยว่า ปัญหานี้จะไม่หายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่จะอยู่กับเราไปอีกนาน เพราะเมื่อประเทศตั้ง tariff เพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศแล้ว จะยกเลิกมันได้ยากมาก ๆ นี่คือโลกแห่งความเป็นจริง เมื่อ tariff พุ่งขึ้นไปแล้ว ในอดีตจะไม่ไปหายไปทันที อย่างมากแค่ทยอยลดลงเป็นขั้น ๆ ซึ่งอาศัยการเจรจาต่อรองเป็นรอบ ๆ หลายรอบ กินเวลาหลายสิบปี

บ้านเรายังไม่เห็นใครออกมาสื่อสารเรื่องนี้แบบจริงจัง ผมคิดว่าลองศึกษาจากเพื่อนบ้านก่อนก็ไม่เลวครับ ใครทำธุรกิจควรฟังมาก https://youtube.com/watch?v=D0PBM1

สรุปภาคต่อปาฐกถา ลีเซียนลุง เกี่ยวกับ Trump tariff เน้นผลกระทบกับสิงคโปร์และแผนรับมือครับ 

1. ผลกระทบที่เกิดทันทีคือ อัตราการเติบโต สิงคโปร์ลดตัวเลขการเติบโต (GDP growth) เหลือแค่ 0-2% จากเดิม 1-3% จากตัวเลขในมือตอนนี้ ลีเซียนลุงมองว่าสิงคโปร์ไม่น่าเข้าสู่ recession แต่ก็ไม่แน่ เพราะมีหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ ไม่รู้ว่ากิจการในสิงคโปร์เกิด supply chain disruption มากแค่ไหน ไม่รู้ว่าจะมีนโยบายใหม่อะไรออกมาอีก ไม่รู้ว่าประเทศอื่น ๆ จะตอบโต้ยังไง ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นปัญหาเพราะอะไรก็ไม่แน่นอนไปหมด
2. ลีเซียนลุง บอกให้ทุกคนรู้ว่าจงคาดหวังว่าปีนี้ GDP growth จะลดลงแน่ และอาจจะเจอ recession ต่อไปในภายหน้า และที่แน่ ๆ ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าเราต้องเจอโลกที่เป็นมิตรน้อยลง (less friendly world) สิ่งสำคัญคือเราต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อนในโลกยุคใหม่นี้

3. เราคาดหวังว่า US-China tension จะเพิ่มขึ้น geopolitics ในภูมิภาคแถบนี้จะมีเสถียรภาพน้อยลง ทีมบริหารต้องทำงานหนักมากที่จะสร้างสมดุลในการเป็นพันธมิตรกับทั้งสองฝ่าย เลือกเดินตามเส้นทางที่ทำให้เรามุ่งไปข้างหน้าได้โดยไม่ติดกับดักปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศนี้

4. ลีเซียนลุงเน้นอีกทีว่า หนนี้ไม่เหมือนเดิม และผลกระทบหนักหน่วง แล้วเราต้องทำอะไรบ้าง เขามองเป็น 2 ระดับ คือระดับโลก และภายในประเทศ ในระดับโลก สิงคโปร์ยังคงสนับสนุนตลาดเสรี แม้ว่า US จะไม่เดินตามกติกาเดิมแล้วก็ตาม ประเทศอื่นยังคงยึดมั่นในตลาดเสรี สิงคโปร์ยังมี TPP (ที่ไม่มี US) เขายกตัวอย่างประสบการณ์เรื่อง TPP ที่ US ประกาศถอนตัว แต่ประเทศอื่น 11 ประเทศยัง commit เรื่องนี้ต่อแม้ว่าจะไม่มี US สิงคโปร์ยังผลักดันการทำ FTA กับประเทศหรือกลุ่มประเทศอื่น ๆ ทั้งระดับประเทศ หรือทั้งกลุ่ม ASEAN เช่นกับ EU, Canada, Mexico เราควรใช้โอกาสนี้สร้าง momentum ในการผลักดัน FTA ให้เกิดมากขึ้น, ในส่วน AFTA สิงคโปร์เน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย

5. ในระดับภายในประเทศ เราต้องเตรียมพร้อมสนับสนุนคนของเราเองใน 3 ด้าน ได้แก่ทางปฏิบัติ, ทางจิตใจ, และทางการเมือง การสนับสนุนทางปฏิบัติ เราจะช่วยครอบครัวคนสิงคโปร์ผ่านกลไกต่าง ๆ ราว 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อครอบครัว, เราจะช่วยคนที่ตกงาน (ซึ่งเราคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นแน่ ๆ) ทั้งในช่วงตกงาน & การ reskill, เราตั้ง economic resilience taskforce เพื่อรับมือความไม่แน่นอน และ transform ธุรกิจที่มีความเสี่ยง ใช้โอกาสนี้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือสร้างความสามารถการแข่งขันในระยะยาว

6. ด้านที่ 2 เราต้องเตรียมพร้อมทางจิตใจ เราต้องเตรียมใจรับมือโลกที่มีปัญหามากขึ้น เราต้องรู้ว่าพายุกำลังมา แต่เราอาจจะสบายใจได้บ้างว่าในขณะที่ทุก ๆ ประเทศเจอพายุใหญ่นี้ เราเตรียมพร้อมรับมือเรื่องนี้ได้ดีกว่าประเทศส่วนใหญ่ เพราะเรามีแผน มีประสบการณ์ มีทรัพยากร และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และลีเซียนลุงเน้นมากเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (unity) เพราะมันไม่ใช่แค่การใส่เสื้อทีมเหมือนกัน แต่คือการที่เราดูแลกันและกันให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะไม่ถูกทอดทิ้ง เมื่อคุณช่วยตัวเองรัฐบาลจะช่วยคุณ เพราะ We are in this together เหตุที่ลีเซียนลุงเน้นเรื่องนี้มากเพราะ US เล่นเกม tariff จากการเกิดปัญหากลุ่ม blue collar ในภาคการผลิต โรงงานอุตสาหกรรมถูกทอดทิ้งและเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ โดยยกตัวอย่าง Rust Belt ซึ่งกลายเป็นฐานเสียงของ Trump จนนำมาซึ่งนโยบายนี้ ซึ่งเราจะไม่ยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นในสังคมของเรา ไม่ว่าเรื่อง supply chain disruption, AI & robotic disruption แล้วทำให้คนของเราตกงาน เราช่วยคนของเราให้กลับมาได้ดี และในหนนี้เราจะทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า เพื่อไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นกับสิงคโปร์

7. ด้านการเมือง เราต้องมีรัฐบาลที่แข็งแรงและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้สามารถต่อรองในระดับโลกได้ โดยลีเซียนลุงยกประสบการณ์การประชุมระดับนานาชาติ ที่แต่ละครั้งเจอผู้นำ/ตัวแทนประเทศเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ซึ่งหลายคนจะเจอคำถามจากภาคธุรกิจว่า อีก 5 ปีคุณจะยังอยู่ไหม หรืออีก 5 ปีนโยบายจะยังเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนอีกแล้ว (อันนี้มี bias อยู่ไม่มากก็น้อย) ถ้าเขาจะเข้ามาลงทุน คุณจะ commit แค่ไหน เพราะเขาเข้ามาลงทุนตั้งโรงงาน กว่าจะเดินเครื่องได้ 2-3 ปี กว่าจะคืนทุนก็ 10 ปี เขาต้องมั่นใจว่านโยบายจะยังคงมีเสถียรภาพ ประเทศต่าง ๆ เขาก็ต้องประเมินเสถียรภาพทางการเมืองของสิงคโปร์ ก่อนจะตัดสินใจลงทุนเช่นกัน เขาต้องการให้สิงคโปร์เป็น safe heaven สำหรับธุรกิจ

8. ช่วงหลัง ๆ ของ speech เป็นเรื่องการเมือง เน้นเรื่องพรรคฝ่ายค้าน เขาเน้นเรื่อง election outcome ที่ทำให้รัฐบาลแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ .. to run a good team you need a good leader(อันนี้แน่นอนว่า bias เพราะลีเซียนลุงเป็นรัฐบาล และการเลือกตั้งหนก่อน PAP ได้คะแนนเสียงน้อยสุด)

ตามไปชมคลิปเต็มได้ที่นี่ครับ https://youtube.com/watch?v=hI1Fr5eg0Xg


https://x.com/manopsi/status/1912051668382044273
https://www.youtube.com/watch?v=D0PBM1o2qn8

มีคนเตือนให้ระวัง สวรรค์การท่องเที่ยวไทย กำลังจะเหมือนเม็กซิโก กรุงเทพ-พัทยา จะเหมือนอะคาปูลโก


Pongprom Yamarat
10 hours ago
·
ปีนี้เป็นปีที่ทดสอบประเทศไทยว่าจะเป็น Mexico 2
หรือ Acapulco 2 หรือไม่?
จำได้มั้ยครับ ก่อน และหลังโควิด นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาไทย
หลายคน “เคลิ้ม” กับคำว่าเมืองไทยดีที่สุดในโลก
หลายคน “เคลิ้ม” กับคำว่าใครๆก็ต้องมาเมืองไทย
แต่ลืมดูความจริงว่า
ทำไมเศรษฐกิจไทยจึงตกต่ำ จากที่เคยพองงกหัวได้ครั้งสุดท้ายปี 59-63
ลืมดูความจริงว่าอุตสาหกรรมอื่นๆของเรา ทั้งรถยนต์ อิเลคโทรนิคส์ หรือ นวัตกรรมต่างๆเรา “แป้ก” หมด
ตั้งแต่ข่าวการลักพาตัว “ดาราจีน” และ “คนจีน” มาทำคอลเซ็นเตอร์ โดยใช้ไทยเป็นทางผ่านแบบดูก็รู้ว่า “คนใหญ่คนโตในไทยมีหุ้น”
จนเริ่มมีข่าวชัดว่า ข้าราชการระดับสูงไทยนี่แหละที่อยู่ในขบวนการลักพาตัวด้วย พร้อมภาพคนหลายชาติที่โดนลักพาตัวไปพม่า-เขมร โดยผ่านไทยทั้งสิ้น
ตามด้วยข่าวใหญ่ “ห่างแผ่นดินไหวนับ 1,000 กม. แต่ตึกกลางกรุงเทพยังถล่มได้”
ภาพงานสงกรานต์สีลมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 1.5 แสนคนนั้น เป็นแค่ “ผักชี” ปิดมะเร็งการท่องเที่ยวไทยครับ
1. ตั้งแต่ข่าวว่านักท่องเที่ยวมักเจอ “มาเฟีย” อุ้มบ้าง ไถบ้าง ฆ่าบ้างอย่างสม่ำเสมอในไทย
2. ทั้งดาราจีน คนจากหลายสิบชาติถูกลักพาตัวผ่านไทย
3. ความไม่มั่นใจเรื่องมาตรฐานการก่อสร้างในไทย
4. ในสังคมโซเชียล ทั้งจีน สิงคโปร์ ต่างเขียนกันแล้วว่า “ภาคเหนือไทย“ เป็นอีกพื้นที่ที่ ”ห้ามมาเที่ยว“ ปีละ 4-5 เดือนเพราะอากาศพิษ
5. ข่าวมาเฟียรัสเซีย จีน ครองเมือง
3 เดือนที่ผ่านมา จึงเกิดปรากฏการณ์นักท่องเที่ยว “ยกเลิก” Booking มาไทยไปแน่ๆกว่า 65-85% (vary ตามประเทศต้นทาง และกลุ่มโรงแรม)
ภาพสงกรานต์สีลม จึงเป็นภาพ “ผักชี” กลบปัญหาใหญ่ด้านล่าง
3 วันนี้ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ประกอบการท่องเที่ยง 2-3 sector
รายได้ปีนี้ ขอซัก 30% ของปีที่แล้วก็บุญแล้ว
นักท่องเที่ยวตกหนักอย่างมาก
คนจีน เกาหลีมองว่า
ภาครัฐคือตัวปัญหาที่ทำให้การท่องเที่ยวไม่ปลอดภัย 5 ข้อข้างบน
1. ไม่จริงจังในการปราบมาเฟียอุ้ม ฆ่าคนจีน
2. ไม่จริงจังในการปราบข้าราชการ นักการเมือง ทหาร ตำรวจไทยในธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ ข่าวในจีนเองก็ออก แต่วันนี้ยังจับ “คนไทย” ไม่ได้แม่แต่ 1 คน
3. ภาครัฐไทยหละหลวมขนาดตึก “ตัวเอง” ถล่มทั้งที่ห่างจากจุดแผ่นดินไหวถึง 1,000 กว่า กม.
4. ปัญหา PM2.5 โดยเฉพาะภาคเหนือที่เป็นปัญหาระดับวิกฤติ
5. ปัญหามาเฟียขยายวงทั่วทุกหัวเมือง
นักท่องเที่ยวที่ “ลดลงฮวบ” เหลือเพียง “ไม่ถึง 40%” จากเดิม เป็นตัวเตือนคนไทยว่า
คนที่ Acapulco ก็เคยหลงตัวเองแบบนี้แหละครับ
จากเมืองท่องเที่ยวติด 1 ใน 5 ของโลก
วันนี้เป็นเมืองเกือบร้าง
เพราะปล่อย “มาเฟีย” เครือข่ายทหาร ตำรวจ นักการเมืองมาคุมระบบราชการ
ถ้านับว่าปัญหาที่ Acapulco คือ 10/10
ตอนนี้ไทยมาที่ 2/10
หากเติม “คาสิโน” ที่เด็กๆมันก็รู้ว่า คุมไม่อยู่หรอก เพราะจะเอามาฟอกเงินนั่นแหละ
มันก็จะเริ่มโดดเป็น 6-7/10
คราวนี้มาเฟียจะกรูเข้ามายึดไทยแลนด์เป็นแดนเถื่อน
เหตุเพราะเรามีรากปัญหา 4 ปัญหาที่เหมือน Mexico ที่เคยเป็นสวรรค์นักท่องเที่ยวเหลือเกินก็คือ
1. นักการเมือง ข้าราชการ 85% ซื้อได้หมด
2. การท่องเที่ยวดี จนเกิดภาพลวงตาด้านเศรษฐกิจ
3. ไม่พัฒนาการศึกษา
4. ไม่พัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศ
Thailand จึงคล้าย Mexico
และ Bangkok/Pattaya จึงคล้าย Acapulco แห่งที่ 2 เป็นอย่างมาก
นักท่องเที่ยวที่หล่นฮวบแบบ free fall ใน 4 เดือนแรกนี้ พิสูจน์คำๆนี้ได้ดี
ไม่มีนักท่องเที่ยวชาติใด อยากไปเที่ยวในดินแดนมาเฟียครับ


ผู้ประกอบการร้านค้าแพเปียกแม่น้ำกก โอด ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเที่ยวที่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก สารหนูพ่นพิษทำลูกค้าหาย ผู้ประกอบการร้านค้าริมแม่น้ำกกเริ่มยื้อต่อไม่ไหว








ผู้ประกอบการร้านค้าริมแม่น้ำกกเริ่มยื้อต่อไม่ไหว สารหนูพ่นพิษทำลูกค้าหาย



15 Apr 68
Chiangmai News

ผู้ประกอบการร้านค้าริมแม่น้ำกกเริ่มยื้อต่อไม่ไหว สารหนูพ่นพิษทำลูกค้าหาย ด้านผู้ว่าเผย หากผลตรวจสารปนเปื้อนยังเกินค่ามาตรฐาน ก็ยังจำเป็นต้องสั่งห้ามอุปโภคบริโภคเหมือนเดิม

วันที่ 15 เม.ย. 68 ผู้สื่อข่าวติดตามกรณีการตรวจพบสารหนูและสารโลหะหนักอื่นๆ ในปริมาณที่เกินกว่าค่ามาตรฐานในแม่น้ำกก ตั้งแต่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ยาวมาจนถึง อ.เมืองเชียงราย จนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาประกาศงดการสัมผัสและใช้น้ำกกเพื่ออุปโภคบริโภคโดยตรง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว ผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านค้า ตามริมแม่น้ำกกที่เคยค้าขายช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปีก่อนหน้าซึ่งมีนักท่องเที่ยวแวะมาเล่นน้ำและอุดหนุนเป็นจำนวนมาก และได้เงินเป็นกอบเป็นกำ แต่ปีนี้บรรยากาศกลับเงียบสงัด ลูกค้าแทบจะหายเกลี้ยง บางร้านไปต่อไม่ไหว พากันมารื้อร้านและซุ้มตามริมน้ำกันแล้ว

ที่บริเวณสะพานหนองด่าน พื้นที่บ้านป่าอ้อ ม.5 ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย ซึ่งเป็นที่ตั้งของแพเปียกแม่น้ำกก ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเที่ยวที่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ทุกปีแต่ละร้านจะมีร้านได้ประมาณ 3-4 หมื่นบาท แต่ปีนี้หลังมีข่าวการตรวจพบสารหนูในแม่น้ำกกออกมา บรรยากาศร้านค้ากลับตรงกันข้ามกับปีก่อนๆ แต่ละร้านเงียบเหงา แทบจะไม่มีลูกค้า บางร้านไปต่อไม่ไหวพากันมารื้อร้านและซุ้มนั่งทานอาหาร เพื่อกลับไปหาช่องทางทำกินอย่างอื่นแทน

น.ส.สุชานาฏ โพธิ์ทอง อายุ 51 ปี เจ้าของร้าน “ครัวเจ๊พร 131” กล่าวว่า ตนค้าขายอยู่ที่ใต้สะพานหนองด่านแห่งนี้มากว่า 32 ปี ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์แบบนี้ ตนจะมีรายได้ประมาณวันละ 3-4 หมื่นบาท แต่ปีนี้หลังจากมีข่าวการตรวจพบสารหนูในแม่น้ำกก ลูกค้าก็หายไปหมดเลย ทั้งที่ก่อนหน้าจะมีการเปิดเผยผลตรวจ ตนก็ยังมีรายได้วันละประมาณ 3,000 บาท แต่พอมีการเปิดเผยผลตรวจว่าพบสารหนู ลูกค้าก็แทบจะไม่มาเลย บางวันได้เงินแค่ 400 กว่าบาท และวันนี้ซึ่งเป็นวันสงกรานต์แต่ลูกค้าก็ยังแทบจะไม่มี วันนี้ได้เงินยังไม่ถึง 2,000 บาทเลย ก็ไม่รู้ว่าจะยื้อไปได้นานแค่ไหน จะปิดร้านไปเลยก็ไม่ได้ เพราะซื้อของเอาไว้แล้ว และช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลด้วย หากเรายังเปิดร้านอยู่ ก็ยังหวังว่าจะมีลูกค้าแวะมาอุดหนุนบ้าง ให้พอได้ทุนคืนก็ยังดี แต่หากยื้อไม่ไหวจริงๆ ก็คงต้องปิดร้าน และกลับไปทำร้านอาหารในหมู่บ้านตามเดิม

เจ้าของร้านเผยอีกว่า พวกตนเคยมานั่งคุยกันในกลุ่มพ่อค้าแม้ว่าจะทำยังไงกันต่อ แต่ก็ไม่มีทางออก เคยพากันไปยื่นหนังสือร้องทุกข์ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงรายมาแล้ว แต่เขาก็บอกว่าไม่รู้ว่าจะช่วยเหลืออย่างไรในเรื่องนี้ พวกตนก็ต้องกลับมามือเปล่าอยู่ดี ตอนนี้มีหลายร้านที่ไปต่อไม่ไหวก็เริ่มพากันมารื้อร้านและซุ้มนั่งทานอาหารกันบ้างแล้ว ในส่วนของตนคิดว่าก็คิดว่าคงจะเปิดไปได้อีกไม่นาน แต่คิดว่าช่วงนี้มันเป็นช่วงสงกรานต์ อีกอย่างมันได้ลงทุนไปแล้ว ถ้าเอากลับไปก็เน่าเสียหมด พวกเหล้าเบียร์ก็ไปซื้อเชื่อเขามาก่อน ก็จำเป็นจะต้องเปิดร้านต่อไป ได้วันละ 1-2 พันก็ยังดี อย่างน้อยก็ได้ทุนคืนมาบ้าง ทำยังไงก็ได้ให้อยู่รอด

ด้านนายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวถึงปัญหาในเรื่องนี้ว่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 จ.เชียงใหม่ ได้ออกมาเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อไปตรวจคุณภาพน้ำ ตั้งแต่เขต อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และมาเก็บในพื้นที่ จ.เชียงราย ซึ่งผลตรวจก็ออกมาว่า ในพื้นที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ มีการตรวจพบสารหนูและสารโลหะหนักอื่นๆ เกินค่ามาตรฐานไปค่อนข้างสูง ส่วนในพื้นที่ จ.เชียงราย พบว่าตรวจพบสารหนูเกินกว่าค่ามาตรฐานไปเล็กน้อย เมื่อพบว่าตรวจพบสารปนเปื้อนเกินกว่าค่ามาตรฐานไปเล็กน้อย ส่วนราชการต่างในพื้นที่ซึ่งมีความห่วงใยพี่น้องประชาชน ก็ต้องบอกข้อเท็จจริงให้พี่น้องประชาชนให้ได้รับทราบ ซึ่งสิ่งที่เราทำนอกจากแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนว่าไม่ควรสัมผัส เล่นน้ำ หรืองดกิจกรรมที่เกี่ยวกับแม่น้ำกกโดยตรง 

ลำดับต่อไปก็คือการตรวจคุณภาพน้ำถูกนำไปใช้อุปโภคบริโภค เช่น การประปาส่วนภูมิภาค จ.เชียงราย ซึ่งมีการตรวจคุณภาพน้ำแล้ว และยืนยันว่าน้ำที่ผ่านกระบวนการผลิตเป็นน้ำประปาได้มาตรฐาน ในขณะเดียวกัน ประปาของทางเทศบาล อบต. หรือประปาหมู่บ้าน ตลอดลำน้ำกก ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจคุณภาพน้ำ และส่งไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 1/1 จ.เชียงราย เนื่องจากมีความเป็นห่วงว่าพี่น้องประชาชนจะใช้น้ำประปาเหล่านี้ด้วยความปลอดภัยหรือเปล่า และผลตรวจในเบื้องต้นพบว่าน้ำประปาในทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นประปาของเทศบาล อบต. หรือของหมู่บ้าน ได้มาตรฐาน คือปริมาณสารหนูหรือโลหะหนักอื่นๆ หลังจากได้ผ่านกระบวนการผลิตน้ำประปาออกมาแล้ว อยู่ในระดับไม่เกินค่ามาตรฐาน นี่คือสิ่งที่เราทำเพื่อให้พี่น้องประชาชนเกิดความปลอดภัย 

ในอนาคตทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 จะต้องมาเก็บตัวอย่างน้ำตลอดลำน้ำกกในพื้นที่ จ.เชียงราย รวมไปถึงแม่น้ำสาย ในพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุกสัปดาห์ เพื่อให้เห็นแนวโน้มคุณภาพของแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย ว่ามันจะดีขึ้นหรือมันจะมีทิศทางที่แย่ลง และจุดไหนบ้างที่วิกฤติ จุดไหนบ้างที่ไม่วิกฤติ ในขณะเดียวกัน เราได้ขอความร่วมมือจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ช่วยสนับสนุนการหาสาเหตุของการที่มีสารหนูปนเปื้อนลงมาในแม่น้ำกก เราสามารถหาสาเหตุได้ในพื้นที่ของ จ.เชียงราย แต่นอกเขตพื้นที่ จ.เชียงราย ก็จะเป็นหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษที่จะต้องช่วยเราหาสาเหตุ

ผวจ.เชียงราย เผยอีกว่า ที่ผ่านมา ทางประมงจังหวัดเชียงราย ได้ลงพื้นทั่ไปตรวจสัตว์น้ำในแม่น้ำกก ในเบื้องต้นผลการตรวจสัตว์น้ำก็ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แค่ในประเด็นสุขภาพของพี่น้องประชาชน วันนี้เราให้โรงพยาบสลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ที่อยู่ในพื้นที่ตลอดริมน้ำกกทั้งสาย เป็นศูนย์รับแจ้งในกรณีที่พี่น้องประชาชนมีอาการไม่ปกติเนื่องจากการอุปโภคบริโภคแม่น้ำกก ไม่ว่าจะเป็นผดผื่นคัน โรคผิวหนัง หรือจะเป็นเรื่องสุขภาพที่ชาวบ้านอาจวิตกกังวลว่ามีสาเหตุมาจากสารหนู สามารถไปแจ้งที่ รพ.สต.ใกล้บ้านตลอดลำน้ำกก ซึ่ง อบจ.เชียงราย เป็นผู้ดูแลอยู่ และเมื่อพบความไม่ปกติเราก็จะมีการจัดให้ตรวจสุขภาพของพี่น้อวประชาชนต่อ

สำหรับกรณีที่พ่อค้าแม่ค้าตามริมแม่น้ำกก ได้รับผลกระทบจากการตรวจพบสารหนู ผวจ.เชียงราย กล่าวว่า ตราบไดที่สารหนูยังเกินค่ามาตรฐาน ตามผลตรวจของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 จ.เชียงใหม่ เราก็มีหน้าที่เตือนพี่น้องประชาชนเพื่อความปลอดภัย และเมื่อไดที่ตรวจพบว่าสารหนูหรือโลหะอื่นๆ ในแม่น้ำกกไม่เกินค่ามาตรฐาน เราจะรีบบอกพ่อแม่พี่น้องประชาชน ซึ่งนั่นถือเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน


























https://www.chiangmainews.co.th/social/3636331/


วันอังคาร, เมษายน 15, 2568

‘ทักษิณ’ ไม่ไปอเมริกาเจรจาทรั้มพ์แล้วนิ อยู่รอคุยมินอ่องหล่ายในกรุงเทพฯ ดีกว่า ‘กัณวีร์’ บอกว่าครั้งนี้ “ดีลปีศาจ”

ดูเหมือนคุณ แบก (ถือ) แถ (น)นี่ประเภทอ่านหนังสือไม่แตก (ทำนองเดียวกับฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด) มั้ง ถึงได้เอาโพสต์ของ กัณวีร์ สืบแสง มาวิพากษ์ ผิดๆ เขาไม่ได้ว่า “ไม่อยากให้คุยกับเมียนมา” เสียหน่อย

และเขาก็ไม่ได้บอกว่า “อย่ามาคุยกันในไทย” ด้วย เราอ่านบ้างก็เข้าใจว่าเขาด่าทักษิณ อีแอบอ่ะ ใช้ อันวาร์ อิบราฮิม นายกฯ มาเลย์บังหน้าต่างหาก ปะเหมาะตรงที่อันวาร์ตั้งทักษิณเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนไว้แล้ว ก็เลยชวนกันมาคุยในกรุงเทพฯ

แต่ไอ้ที่จะคุย กัณวีร์เขาอาจจะรู้เลศนัยก็ได้ ว่าไม่ใช่ “แก้ปัญหาความไม่สงบของเพื่อนบ้านที่มันกระทบไทย” ตรงๆ ก็ได้ เขาถึงบอกมันเป็น “ดีลปีศาจ” ไง แต่ ๑๗ เมษานี้อ้างว่าจะคุยให้มีการหยุดยิง หยุดทิ้งระเบิดใส่ชาวบ้านชาติพันธุ์มากขึ้นอีก

มินอ่องหล่ายเคยดอดมาคุยกับอุ๊งอิ๊งแล้วเมื่อ ๔ เมษา กัณวีร์บอกว่า “ที่ผ่านมา ผู้นำมาเลฯ แจ้งว่าทหารเมียนมาหยุดทิ้งระเบิดในประเทศทันที เอาที่ไหนมาพูด ไม่ดูข้อมูลกันเหรอผู้นำทั้งหลาย” หลังประกาศหยุดยิงเมื่อ ๓ เมษา “ข้อมูลชัดเจนครับ”

รัฐบาลทหารพม่า “ทิ้งระเบิดอีก ๑๒๔ ครั้งทั่วประเทศ จนถึงวันมหาสงกรานต์ที่ ๑๓ เม.ย.เมื่อวานนี้เอง หยุดยิงแบบใด” เขาตั้งข้อกังขาอีกหลายอย่าง อันแรก ผู้นำมาเลย์ “ทำไมไม่เชิญไปมาเลเซียอย่างเป็นทางการภายหลังเสร็จภารกิจในประเทศไทย”

เพราะ “กลัวคนมาเลเซียต่อต้านการเดินทางอย่างเป็นทางการของผู้นำเผด็จการทหารเมียนมาใช่หรือไม่ กระทบคะแนนนิยมในประเทศหรือเปล่า” เขาจี้ไปที่ตัวอันวาร์เป็นเป้า ว่า อีแอบ เหมือนกัน ทำไมไม่ไปคุยกันที่เนปิดอว์ เอาทักษิณไปด้วย

โถเห็นใจพ่อนายกฯ ไทย คนให้ดีลเขาคงเคาะเก้าอี้ให้เพลาๆ หน่อย ที่เผลอคุยว่าจะไปอเมริกาเจรจาเอง ก็เงียบไปแล้วนี่ ให้ สองพิชัยรมว.คลังกับพาณิชย์ ไปแทน อยู่รอพบมินอ่องหล่ายในกรุงเทพฯ ดีกว่า เดี๋ยว ๒๗ เมษาก็ไปหาเสียงเชียงรายอีก

ทรั้มพ์ก็คงไม่ได้อยากเจออดีตนายกไทยนักหรอก ปล่อยให้ระดับล่างเจรจากันไป ดีลใหม่ไม่สลักสำคัญเท่าไร แค่จะซื้อข้าวโพด ซึ่งอเมริกาผลิตได้มากจริงแต่ไม่ใช่ล้นเหลือตลาด เพราะใช้ผลิต เอ็ทธานอลเชื้อเพลิงที่นิยมทางแถบมิด-เวสต์

นอกนั้นจะซื้อชีส ซื้อถั่ว (วอลนัท) ก็ไม่ใช่อาหารที่คนไทยบริโภคเป็นหลัก นำเข้ามาจะขายได้สักเท่าไหร่ แถสินค้าพวกนี้ทั้งยุโรปและออสเตรเลียมีให้ตีตลาดเป็นเบือ ส่วนก๊าซธรรมชาติและเปโตรเคมี รัฐบาลจะกล้าไปบีบเจ้าสัวพลังงาน ให้พวกเขายอมใช้ของแพงหรือ

(https://www.matichon.co.th/economy/news_5139155 และ https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/UUbJFf5a)