
iLaw
8 hours ago
·
สถานการณ์ในช่วงกลางปี 2568 ระหว่างที่หลายพรรคการเมืองบอกว่า จะไม่นิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 เพราะ "ไม่ใช่คดีการเมือง" พบว่าในการพิจารณาคดีของศาลอาญา ได้เริ่มมีปรากฏการณ์ "แปลกใหม่" ไม่อยู่ในกฎหมายและระบบการพิจารณาคดีที่ปกติ คือ ศาลออกคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในรายคดี ระบุห้ามมิให้นำเหตุการณ์ในห้องพิจารณาคดีเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
ได้แก่
1. วันที่ 28 มีนาคม 2568 ในการนัดฟังคำสั่งคดีละเมิดอำนาจศาลของ อานนท์ นำภา นอกจากศาลจะให้นำตัวอานนท์ไปอ่านคำสั่งในห้องเวรชี้ ซึ่งประชาชนหรือผู้สังเกตการณ์คดีที่เดินทางไปติดตามคดีไม่สามารถเข้าฟังได้แล้ว รวมทั้งอานนท์ยังพยายามแสดงออกประท้วงการอ่านคำสั่งในลักษณะที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนดังกล่าว โดยการถอดเสื้อประท้วง และเตะขาซึ่งสวมโซ่กุญแจข้อเท้าสลับซ้ายขวาไปเรื่อยๆ ระหว่างศาลอ่านคำสั่ง
หลังอ่านคำสั่ง ต่อมาพบว่าศาลยังมีการบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาคดีระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดนำเหตุการณ์ในห้องพิจารณาคดีและในศาลอาญาถ่ายทอดเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต มิฉะนั้น ศาลจะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลต่อไป“
2. วันที่ 2 เมษายน 2568 ในการสืบพยานคดีมาตรา 112 ของ “ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ถูกกล่าวหาจากกรณีไลฟ์ก่อนมีเสด็จ ที่ห้องพิจารณาคดี 903 ศาลที่พิจารณาคดีก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษร
3. วันที่ 18 เมษายน 2568 ในการสืบพยานคดีมาตรา 112 ของ อานนท์ นำภา กรณีปราศรัยในการชุมนุมที่หน้า สน.บางเขน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ที่ห้องพิจารณาคดี 806 ศาลก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษร
4. วันที่ 22-23 เมษายน 2568 ในการสืบพยานคดีมาตรา 112 ของ “นรินทร์” กรณีถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กในเพจชื่อ “กูKult” ที่ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษรเช่นกัน โดยสั่งในทั้งสองวันที่มีการสืบพยาน
5. วันที่ 17 มิถุนายน 2568 ในนัดสืบพยานนัดแรกคดีมาตรา 112 คดีของ “ตั้ม” จิรวัฒน์ กรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “คนกลมคนเหลี่ยม” โพสต์ภาพการ์ตูนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 805 ศาลก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษรเช่นกัน
6. คดีจากการชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกาไปราบ11 เมื่อปี 2563 ซึ่งมีนักกิจกรรม 7 คน ถูกฟ้องในข้อหาหลักตามมาตรา 112, มาตรา 116 และข้อหาอื่น ๆ
คดีนี้เริ่มสืบพยานมาตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ห้องพิจารณา 801 ของศาลอาญา โดยในตอนแรกศาลไม่ได้มีคำสั่งในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งการสืบพยานในช่วงกลางเดือน คือวันที่ 18 มิถุนายน 2568 และการสืบพยานต่อเนื่องหลังจากนั้น ได้แก่ วันที่ 19-20 มิ.ย., 24-25 มิ.ย. 2568 ศาลได้เริ่มบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาในแต่ละวัน ถึงการห้ามนำพฤติการณ์ในห้องพิจารณาคดีไปถ่ายทอดเผยแพร่สู่สาธารณะ
แต่ในคดีนี้ ข้อความต่างไปจากคดีก่อนหน้านี้ ได้แก่ “เพื่อความเหมาะสม เห็นสมควร ห้ามมิให้บุคคลใดเปิดเผยข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ ทั้งหมดในห้องพิจารณาคดีและในศาลอาญาถ่ายทอดเผยแพร่สู่สาธารณะไม่ว่าโดยวิธีใดโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 36 (2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญามาตรา 15 มิฉะนั้น ศาลจะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลต่อไป”
7. คดีของ “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ ถูกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 กรณีโพสต์วิจารณ์ตำรวจสลายกิจกรรมขายกุ้งของกลุ่ม We Volunteer พาดพิงการใช้ภาษีของประชาชน เมื่อปี 2563 คดีนี้สืบพยานที่ห้องพิจารณา 711 โดยตลอดการสืบพยานโจทก์ ไม่ได้มีคำสั่งในลักษณะนี้แต่อย่างใด จนกระทั่งในการสืบพยานจำเลยนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ศาลได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาคดีเช่นเดียวกันทุกตัวอักษรกับคดีของตั๊ม จิรวัฒน์
https://tlhr2014.com/archives/74945
https://tlhr2014.com/archives/76431
สถานการณ์ในช่วงกลางปี 2568 ระหว่างที่หลายพรรคการเมืองบอกว่า จะไม่นิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 เพราะ "ไม่ใช่คดีการเมือง" พบว่าในการพิจารณาคดีของศาลอาญา ได้เริ่มมีปรากฏการณ์ "แปลกใหม่" ไม่อยู่ในกฎหมายและระบบการพิจารณาคดีที่ปกติ คือ ศาลออกคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในรายคดี ระบุห้ามมิให้นำเหตุการณ์ในห้องพิจารณาคดีเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
ได้แก่
1. วันที่ 28 มีนาคม 2568 ในการนัดฟังคำสั่งคดีละเมิดอำนาจศาลของ อานนท์ นำภา นอกจากศาลจะให้นำตัวอานนท์ไปอ่านคำสั่งในห้องเวรชี้ ซึ่งประชาชนหรือผู้สังเกตการณ์คดีที่เดินทางไปติดตามคดีไม่สามารถเข้าฟังได้แล้ว รวมทั้งอานนท์ยังพยายามแสดงออกประท้วงการอ่านคำสั่งในลักษณะที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนดังกล่าว โดยการถอดเสื้อประท้วง และเตะขาซึ่งสวมโซ่กุญแจข้อเท้าสลับซ้ายขวาไปเรื่อยๆ ระหว่างศาลอ่านคำสั่ง
หลังอ่านคำสั่ง ต่อมาพบว่าศาลยังมีการบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาคดีระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดนำเหตุการณ์ในห้องพิจารณาคดีและในศาลอาญาถ่ายทอดเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต มิฉะนั้น ศาลจะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลต่อไป“
2. วันที่ 2 เมษายน 2568 ในการสืบพยานคดีมาตรา 112 ของ “ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ถูกกล่าวหาจากกรณีไลฟ์ก่อนมีเสด็จ ที่ห้องพิจารณาคดี 903 ศาลที่พิจารณาคดีก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษร
3. วันที่ 18 เมษายน 2568 ในการสืบพยานคดีมาตรา 112 ของ อานนท์ นำภา กรณีปราศรัยในการชุมนุมที่หน้า สน.บางเขน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ที่ห้องพิจารณาคดี 806 ศาลก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษร
4. วันที่ 22-23 เมษายน 2568 ในการสืบพยานคดีมาตรา 112 ของ “นรินทร์” กรณีถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กในเพจชื่อ “กูKult” ที่ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษรเช่นกัน โดยสั่งในทั้งสองวันที่มีการสืบพยาน
5. วันที่ 17 มิถุนายน 2568 ในนัดสืบพยานนัดแรกคดีมาตรา 112 คดีของ “ตั้ม” จิรวัฒน์ กรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “คนกลมคนเหลี่ยม” โพสต์ภาพการ์ตูนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 805 ศาลก็ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาในลักษณะเดียวกันนี้ทุกตัวอักษรเช่นกัน
6. คดีจากการชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกาไปราบ11 เมื่อปี 2563 ซึ่งมีนักกิจกรรม 7 คน ถูกฟ้องในข้อหาหลักตามมาตรา 112, มาตรา 116 และข้อหาอื่น ๆ
คดีนี้เริ่มสืบพยานมาตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ห้องพิจารณา 801 ของศาลอาญา โดยในตอนแรกศาลไม่ได้มีคำสั่งในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งการสืบพยานในช่วงกลางเดือน คือวันที่ 18 มิถุนายน 2568 และการสืบพยานต่อเนื่องหลังจากนั้น ได้แก่ วันที่ 19-20 มิ.ย., 24-25 มิ.ย. 2568 ศาลได้เริ่มบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาในแต่ละวัน ถึงการห้ามนำพฤติการณ์ในห้องพิจารณาคดีไปถ่ายทอดเผยแพร่สู่สาธารณะ
แต่ในคดีนี้ ข้อความต่างไปจากคดีก่อนหน้านี้ ได้แก่ “เพื่อความเหมาะสม เห็นสมควร ห้ามมิให้บุคคลใดเปิดเผยข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ ทั้งหมดในห้องพิจารณาคดีและในศาลอาญาถ่ายทอดเผยแพร่สู่สาธารณะไม่ว่าโดยวิธีใดโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 36 (2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญามาตรา 15 มิฉะนั้น ศาลจะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลต่อไป”
7. คดีของ “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ ถูกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 กรณีโพสต์วิจารณ์ตำรวจสลายกิจกรรมขายกุ้งของกลุ่ม We Volunteer พาดพิงการใช้ภาษีของประชาชน เมื่อปี 2563 คดีนี้สืบพยานที่ห้องพิจารณา 711 โดยตลอดการสืบพยานโจทก์ ไม่ได้มีคำสั่งในลักษณะนี้แต่อย่างใด จนกระทั่งในการสืบพยานจำเลยนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ศาลได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาคดีเช่นเดียวกันทุกตัวอักษรกับคดีของตั๊ม จิรวัฒน์
https://tlhr2014.com/archives/74945
https://tlhr2014.com/archives/76431
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1141443264695958&set=a.625664036273886