วันพุธ, กุมภาพันธ์ 05, 2568
การเมืองข้ามขั้ว, อริยุคเหลืองแดงปรองดอง, ทักษิณจับมืออำนาจเก่า, อดีต กปปส. กลับใจเลือกพรรคส้ม ภาพทั้งหมดนี้ชวนให้สังคมไทยกลับมาตั้งคำถามว่า เราเข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ดีพอหรือยัง?
The101.world
18 hours ago
·
การเมืองข้ามขั้ว, อริยุคเหลืองแดงปรองดอง, ทักษิณจับมืออำนาจเก่า, อดีต กปปส. กลับใจเลือกพรรคส้ม ฯลฯ
.
ภาพทั้งหมดนี้ชวนให้สังคมไทยกลับมาตั้งคำถามว่า เราเข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ดีพอหรือยัง?
.
คู่ขัดแย้งหลักคือใคร ปัจจัยแบบไหนที่แบ่งคนให้ยืนต่างฝั่ง อุดมการณ์แบบไหนกำลังปะทะกันในความขัดแย้งนี้ วันโอวันนำคำถามเหล่านี้ไปชวนสนทนากับ ผศ.ดุลยภาพ จาตุรงคกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
.
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/dulyaphab-chaturongkul-interview/
.
“คู่ขัดแย้งหลักตอนนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างมวลชนกับมวลชน แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างมวลชนกับชนชั้นนำทางการเมือง…และระหว่างการเมืองที่มวลชนเป็นใหญ่ (mass politics) กับการเมืองของชนชั้นนำ (elite politics)”
.
“ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เห็นว่าคู่ขัดแย้งหลักคืออะไร ก็คือ ‘วิถีทางการเมือง (modes of politics)’ ที่ต่างกัน คือการเข้าใจว่าการเมืองคือสนามอำนาจแบบใด”
.
“คนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าจำนวนมากได้รับผลกระทบเชิงลบจากการอยู่ใต้การเมืองของชนชั้นนำมามากพอจนไม่ไว้ใจชนชั้นนำแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือทักษิณที่ไปอยู่กับขั้วอำนาจเก่า”
.
“หากนิยามความขัดแย้งสองขั้วตอนนี้ในเชิงอุดมการณ์ ฝั่งหนึ่งคืออุดมการณ์เสรีนิยมที่เป็นประชาธิปไตยและขั้วตรงข้ามคืออุดมการณ์อนุรักษนิยมแบบเข้มข้นซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย”
.
“ซ้ายแบบพรรคก้าวไกลมีความเป็นเสรีนิยม หรือกระทั่งคนที่เป็นขวาแต่ไม่เอาขวาจัดก็ต้องการผูกตัวเองกับค่านิยมแบบเสรีนิยม ดังนั้นเสรีนิยมเป็นแกนกลางที่เชื่อมร้อยต่างอุดมการณ์เหล่านี้ เสรีนิยมเป็นส่วนหนึ่งของหลายอุดมการณ์ที่ต้องการจะให้เกิดการเมืองเชิงอุดมการณ์แบบที่ให้ความสำคัญกับหลากหลายอุดมการณ์ของประชาชนแต่ละจำพวก”
.
เรื่อง: วจนา วรรลยางกูร
ภาพถ่าย: นิติพงษ์ การดี
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1163610198467118&set=a.523964959098315
https://www.the101.world/dulyaphab-chaturongkul-interview/
.....