Greenpeace Thailand
January 8
·
“วินาทีที่หายใจเอาอากาศกรุงเทพฯ เข้าไป มันไม่ใช่อากาศอีกต่อไป แต่เป็นมลพิษ”
.
มลพิษทางอากาศจะไม่หายไปไหนหากยังไม่มีการแก้ไขปัญหายังไม่แก้ที่ต้นเหตุ
.
กรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW ร่วมผลักดันกฎหมาย #ThaiPRTR เพื่อเปิดเผยข้อมูลมลพิษ ให้ประชาชนสามารถรู้ข้อมูลแหล่งที่มาของมลพิษและประเมินสถานการณ์และปัญหา มลพิษได้อย่างถูกต้องและสามารถจัดการปัญหาได้อย่างทันท่วงที เพื่อประโยชน์ในการป้องกันตนเองและชุมชน
.
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย #ThaiPRTR เปิดเผยข้อมูลมลพิษ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น #PM25 ที่ต้นทาง >> https://thaiprtr.com
.....
Greenpeace Thailand
15 hours ago
·
รู้หรือไม่? ในปี 2024 กรุงเทพฯ มีอากาศดีเพียง 90 วันหรือเพียง 3 เดือนจาก 1 ปี!
ในปี 2024 ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ มีวันอากาศดีหรือวันที่มีค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่น PM2.5 ต่ำกว่า 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรรวมทั้งสิ้น 90 วัน! และมีวันอากาศแย่ถึง 276 วัน (วันอากาศแย่ = วันที่มีค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่น PM2.5 รายวัน สูงกว่า 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ข้อสังเกตหลัก
วันที่มีอากาศดีส่วนมากจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนซึ่งเป็นฤดูฝน
ค่าฝุ่นจะสูงมากในช่วงต้นปีและปลายปี นั่นคือ เดือนมกราคม - มีนาคม และพฤศจิกายน - ธันวาคม
ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 โดยรวมของกรุงเทพฯยังสูงกว่าค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่าค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่น PM2.5 รายวัน ควรต่ำกว่า 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ไทยจะต้อง
มีกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register หรือ PRTR) ที่จะเป็นเครื่องมือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบและป้องกันสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 และมลพิษอื่น ๆ ได้
ยกร่างมาตรฐานในบรรยากาศของ PM2.5 ขึ้นใหม่สำหรับประเทศไทยโดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
กำหนดมาตรฐานการปล่อยฝุ่น PM2.5 จากแหล่งกำเนิดหลัก (Emission Standard)
พิจารณาการออกนโยบายที่จะนำไปสู่การลด ละ เลิก การพึ่งพาพลังงานฟอสซิล อย่าง ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
กรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW ร่วมผลักดันกฎหมาย #ThaiPRTR เพื่อเปิดเผยข้อมูลมลพิษ ให้ประชาชนรู้ข้อมูลแหล่งที่มาของมลพิษอากาศ ฝุ่น PM2.5 และเป็นเครื่องมือให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลมลพิษ นำไปแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ซึ่งขณะนี้ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในสภาแล้ว
หากมีความคืบหน้าอื่นๆ เราจะมาอัพเดทนะคะ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานรณรงค์ https://www.greenpeace.org/thailand/act/righttocleanair/
หมายเหตุ
ข้อมูลอ้างอิงค่าแนะนำคุณภาพอากาศ WHO ปี 2564
ข้อมูลปริมาณ PM2.5 อ้างอิงจาก https://portal.energyandcleanair.org
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย #ThaiPRTR ได้ที่ >> https://thaiprtr.com
#RightToCleanAir #ThaiPRTR
https://www.facebook.com/greenpeaceth/posts/997527372422033