'สมยศ' ร่วมรำลึกครบรอบ 18 ปี 'ลุงนวมทอง ไพรวัลย์' #MatichonTV #สมยศพฤกษาเกษมสุข #ลุงนวมทองไพรวัลย์ pic.twitter.com/d2IDVxARuV
— Matichon TV (@MatichonTV) November 1, 2024
31 ตุลาคม 2567
ประชาไท
ภาพปก: บรรยากาศงานรำลึก 18 ปี นวมทอง ไพรวัลย์
ประชาชนจัดงานรำลึก 18 ปี การจากไปของ นวมทอง ไพรวัลย์ ผู้ใช้ชีวิตต่อต้านการรัฐประหาร 2549 และลบคำสบประมาท ‘ไม่มีใครยอมตาย เพื่ออุดมการณ์’
31 ต.ค. 2567 สื่อ ‘ยูดีดีนิวส์’ ถ่ายทอดสดออนไลน์วันนี้ (31 ต.ค.) ตั้งแต่ 12.00 น. เป็นต้นไป ที่สดมภ์อนุสรณ์นวมทอง ไพรวัลย์ หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ ‘ไทยรัฐ’ ถนนวิภาวดี-รังสิต มีการจัดงานรำลึก 18 ปี นวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่ ที่กระทำอัตวินิบาตกรรมผูกคอตายที่หน้าสดมภ์อนุสรณ์นวมทองฯ เพื่อรำลึกและเชิดชูคุณงามความดีของนวมทอง ที่ใช้ชีวิตในการต่อต้านเผด็จการ คณะรัฐประหารเมื่อปี 2549
ชมภาพ 18 ปี รำลึกลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ผู้ลบคำสบประมาท ไม่มีคนยอมตายเพื่ออุดมการณ์
by Prachatai
ที่อนุสรณ์สดมภ์ หน้าสำนักงาน นสพ.ไทยรัฐ ถนนวิภาวดี-รังสิต กรุงเทพฯ
ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท
(https://www.flickr.com/photos/39515458@N02/albums/72177720321631402/with/54108592081)
บรรยากาศภายในงานเริ่มตั้งแต่ 12.00 น.เป็นต้นมา มีกิจกรรมทานข้าวร่วมกัน เลี้ยงพระทำบุญ และในเวลา 14.30 น. มีพิธีวางพวงหรีด โดยวันนี้มีคนมาเข้าร่วมด้วย อาทิ ศศินันท์ ธรรมฐิตินันท์ พรรคประชาชน 'มายด์' ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล นักกิจกรรม เบญาจา แสงจันทร์ คณะก้าวหน้า สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมรุ่นใหญ่ และอื่นๆ
เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวว่า วันนี้เรามารำลึกนวมทอง ที่ยอมพลีชีพต่อต้านรัฐประหาร และเพื่อรับภารกิจมาดำเนินการต่อ
เหวง โตจิราการ (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)
เหวง กล่าวว่า สำหรับเขา การหยุดการทำรัฐประหารมีวิธีเดียวคือ การนำตัวคณะรัฐประหารมารับโทษทางกฎหมาย ส่วนตัวเขาไม่เห็นด้วยกับวิธีการตราข้อกฎหมายภายในรัฐธรรมนูญของนักการเมือง เพราะเคยมีบทเรียนจากเมื่อปี 2517 แม้รัฐธรรมนูญเขียนชัดเจนว่า นิรโทษกรรมคณะรัฐประหารไม่ได้แม้ว่าจะทำสำเร็จ แต่หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีการฆ่านักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างโหดเหี้ยม และฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ดังนั้น การตรากฎหมายในรัฐธรรมนูญไม่เคยแก้ไขปัญหา แต่มีวิธีเดียวคือการให้คณะรัฐประหารมารับโทษ
"มีคนถามผมว่าฝันไปรึเปล่ามันอยู่ที่เราจะเรียกร้องให้นักการเมืองทำรึเปล่า ทำได้ เพราะว่าตอนนี้ถ้าสามารถนำเอาทหารที่ฆ่าประชาชนตายใน พ.ค. 2535 มารับโทษได้สำเร็จ มันก็สามารถหยุดยั้งรัฐประหารได้ เพราะว่าทหารไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ ทหารลั่นกระสุนสังหาร เขาได้รับคำสั่งหรือผู้บังคับบัญชาระดับสูง ดังนั้น ถ้าเราจับทหารที่ฆ่าประชาชนมีคำสั่งการตายเรียบร้อย มาลงโทษสักคนหรือสักกลุ่มหนึ่ง ก็สามารถสาวขึ้นไปได้ว่า ผู้บังคับบัญชาคือใคร
"ถ้าสามารถจับทหารมาลงโทษสักคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง มันก็จะสาวไปที่ ศอฉ. ก็สามารถนำตัว ศอฉ. ลงโทษทางกฎหมาย มาตรา 113 ได้" แกนนำ นปช. กล่าว
แกนนำ นปช. กล่าวว่า เขามีความหวัง 2 ประการแต่ไม่รู้ว่าจะทำได้สำเร็จหรือเปล่า คือ 1. หยุดทหารไม่ให้ฆ่าประชาชนสองมือเปล่าอีกต่อไป โดยการนำโทษทหารที่ฆ่าประชาชนมารับโทษทางกฎหมายให้ได้ และ 2. นิรโทษกรรมคดี มาตรา 112
เหวง บอกว่าการนิรโทษกรรมคดีการเมือง ไม่เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรา 112 และการนิรโทษกรรมมาตรา 112 ทำให้คนทำอะไรได้ตามใจ ถ้าทำไม่ถูกต้อง ก็ยังแจ้งความดำเนินคดีใหม่ได้
"ต้องนิรโทษกรรม 112 ในความเห็นส่วนตัวผม แต่ไม่เห็นด้วยเลย นิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำเกินกว่าเหตุต่อประชาชน เรื่องนี้นิรโทษไม่ได้ และถ้านิรโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำเกินกว่าเหตุต่อประชาชน เขาจะทำร้ายประชาชนอย่างย่ามใจต่อประชาชนไม่มีที่สิ้นสุด" เหวง กล่าวทิ้งท้าย
มาในนามส่วนตัว เพราะอุดมการณ์
เว็บไซต์ มติชน ออนไลน์ รายงานว่า สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้ตนมาในนามส่วนตัว ด้วยความรักในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
เหวง กล่าวว่า สำหรับเขา การหยุดการทำรัฐประหารมีวิธีเดียวคือ การนำตัวคณะรัฐประหารมารับโทษทางกฎหมาย ส่วนตัวเขาไม่เห็นด้วยกับวิธีการตราข้อกฎหมายภายในรัฐธรรมนูญของนักการเมือง เพราะเคยมีบทเรียนจากเมื่อปี 2517 แม้รัฐธรรมนูญเขียนชัดเจนว่า นิรโทษกรรมคณะรัฐประหารไม่ได้แม้ว่าจะทำสำเร็จ แต่หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีการฆ่านักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างโหดเหี้ยม และฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ดังนั้น การตรากฎหมายในรัฐธรรมนูญไม่เคยแก้ไขปัญหา แต่มีวิธีเดียวคือการให้คณะรัฐประหารมารับโทษ
"มีคนถามผมว่าฝันไปรึเปล่ามันอยู่ที่เราจะเรียกร้องให้นักการเมืองทำรึเปล่า ทำได้ เพราะว่าตอนนี้ถ้าสามารถนำเอาทหารที่ฆ่าประชาชนตายใน พ.ค. 2535 มารับโทษได้สำเร็จ มันก็สามารถหยุดยั้งรัฐประหารได้ เพราะว่าทหารไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ ทหารลั่นกระสุนสังหาร เขาได้รับคำสั่งหรือผู้บังคับบัญชาระดับสูง ดังนั้น ถ้าเราจับทหารที่ฆ่าประชาชนมีคำสั่งการตายเรียบร้อย มาลงโทษสักคนหรือสักกลุ่มหนึ่ง ก็สามารถสาวขึ้นไปได้ว่า ผู้บังคับบัญชาคือใคร
"ถ้าสามารถจับทหารมาลงโทษสักคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง มันก็จะสาวไปที่ ศอฉ. ก็สามารถนำตัว ศอฉ. ลงโทษทางกฎหมาย มาตรา 113 ได้" แกนนำ นปช. กล่าว
แกนนำ นปช. กล่าวว่า เขามีความหวัง 2 ประการแต่ไม่รู้ว่าจะทำได้สำเร็จหรือเปล่า คือ 1. หยุดทหารไม่ให้ฆ่าประชาชนสองมือเปล่าอีกต่อไป โดยการนำโทษทหารที่ฆ่าประชาชนมารับโทษทางกฎหมายให้ได้ และ 2. นิรโทษกรรมคดี มาตรา 112
เหวง บอกว่าการนิรโทษกรรมคดีการเมือง ไม่เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรา 112 และการนิรโทษกรรมมาตรา 112 ทำให้คนทำอะไรได้ตามใจ ถ้าทำไม่ถูกต้อง ก็ยังแจ้งความดำเนินคดีใหม่ได้
"ต้องนิรโทษกรรม 112 ในความเห็นส่วนตัวผม แต่ไม่เห็นด้วยเลย นิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำเกินกว่าเหตุต่อประชาชน เรื่องนี้นิรโทษไม่ได้ และถ้านิรโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำเกินกว่าเหตุต่อประชาชน เขาจะทำร้ายประชาชนอย่างย่ามใจต่อประชาชนไม่มีที่สิ้นสุด" เหวง กล่าวทิ้งท้าย
มาในนามส่วนตัว เพราะอุดมการณ์
เว็บไซต์ มติชน ออนไลน์ รายงานว่า สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้ตนมาในนามส่วนตัว ด้วยความรักในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)
"ถ้าท่านจะบอกว่า พรรคที่ผมสังกัดไม่ได้ส่งพวงหรีดมา ต้องเรียนว่ามีการส่งในปีที่ผ่านๆ มา ยกเว้นปีนี้ ซึ่งวันนี้ผมมาในนามส่วนตัว"
“ในฐานะ คนที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารปี 2557 ต้องยอมรับว่า วันนั้นเราออกมากันน้อยมาก มองไปทางไหนก็คิดในใจ คนมาแค่นี้เราจะทำอะไรได้ จนกระทั่งมีลุงคนนึง เป็นชายสูงอายุคนนึ่ง ที่ต้องการแสดงจิตวิญญาณที่เขารัก ใช้เลือดเนื้อ ขับรถแท็กซี่ที่เป็นของคู่กายของเขา ขับพุ่งชนรถถัง แล้วก็วันนั้นก็มีนายทหารคนนึงบอกว่า ไม่มีใครยอมพลีชีพเพื่ออุดมการณ์
"ถ้าจะพูดอย่างนั้น เราต้องพูดถึงรัฐไทยที่เสียสละเลือดเนื้อ แต่นั่นก็คืออุดมการณ์ที่ว่า ประชาชนคือเจ้าของอำนาจตัวจริงในระบอบประชาธิปไตย เราไม่ใช่ไพร่ฟ้าหน้าใสอีกต่อไปแล้ว" สิรวิชญ์ กล่าว
สิรวิชญ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ลุงนวมทองทำคือการปกป้องอำนาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
เขาเชื่อว่าไม่มีใครอยากเป็นวีรชน และคงไม่อยากให้ใครเป็นวีรชนอีกต่อไปแล้ว เพราะต้องแลกมาด้วนการตาย สิ่งที่เราจะทำได้ คือการอุทิศชีวิต จิตวิญญาณของเรา ในการปกป้องประชาธิปไตย เราอยากให้การรัฐประหารครั้งล่าสุดเป็นครั้งสุดท้าย แต่การจะไม่ให้มีรัฐประหารอีกต่อไป ก็ทำได้ด้วยพลังของประชาชนนี้
"ผลพวงของการรัฐประหาร ไม่มีหรอกคำว่าอยู่ไม่นาน 'เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน' เราจะต้องไม่ยอมให้มีการรัฐประหารอีกแม้แต่นาทีเดียว ซึ่งถ้าจะทำ ก็ไม่ง่าย ประชาชนอย่างเราจะยืนหยัดต่อต้านต่อไป ขอสดุดี ลุงนวมทอง" สิรวิชญ์ กล่าว
อยากให้นักการเมืองกล้าหาญ
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์พล นักกิจกรรมการเมือง กล่าวรำลึกนวมทองฯ ว่า นวมทอง ไพรวัลย์ เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ แต่คนในรัฐสภา หรือนักการเมือง กลับไม่มีความกล้าหาญในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของพวกเขา เพราะหลังการเลือกตั้งปี 2566 บรรยากาศความยุติธรรมตอนนี้เธอรู้สึกว่ามันแย่ลง เพราะแม้ว่าเราจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราไม่สามารถรักษาความยุติธรรมในประเทศนี้ เราไม่สามารถศรัทธากระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถเรียกร้องหรือหาวิธีชดเชยความยุติธรรมในอดีต
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)
ภัสราวลี ได้ยกกรณีการโหวตลงมติของรัฐสภา รับรองข้อสังเกตจากรายงานนิรโทษกรรม ที่รวมมาตรา 112 ไว้หรือไม่ ผลการลงมติคือนักการเมืองในสภาส่วนใหญ่ ‘ไม่เห็นชอบ’ ทั้งที่มันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาตรา 112 แต่เป็นการออกมติข้อสังเกตในรายงานว่าเห็นด้วยหรือไม่ ว่าข้อสังเกตในรายงานควรมี 3 รูปแบบ และไม่ได้ระบุว่าต้องนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 แต่ สส.ก็ยังไม่กล้าหาญพอจะลงมติเห็นชอบ เพราะกลัวจะเป็นการเห็นชอบการนิรโทษกรรมมาตรา 112 ด้วยรึเปล่า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความมั่นคงทางอาชีพ เขาไม่มีความกล้าหาญ เขารักตัวเองมาก
"วันที่เขาก้าวขาเข้ามาในสนามการเมืองการเลือกตั้ง เขาอาจจะมีภาพ มีความฝัน มีความสวยหรูว่าเราจะทวงความยุติธรรมได้อย่างไร แต่ว่าเมื่อเขาเข้ามาทำงานจริงๆ แล้ว เรายังไม่เห็น" ภัสราวลี กล่าว
ภัสราวลี กล่าวว่า มันต้องมีพื้นที่ปลอดภัยในการถกเถียงมาตรา 112 ประชาชนหลายคนมีอุดมการณ์ทางความคิดที่ไม่เหมือนกัน บางคนมีความคิดอนุรักษ์นิยม ก้าวหน้า ยึดถือความเป็นสังคมนิยม แต่ภายนอกเราควรมีพื้นที่ปลอดภัยในการเคารพความเห็นซึ่งกันและกัน และพื้นที่นี้ต้องถูกสร้างโดยรัฐบาล ต้องไม่มีใครถูกจับเข้าไปในคุกเพราะเห็นต่าง
นักกิจกรรมการเมือง ระบุว่า การตีตกข้อสังเกตในรายงานนิรโทษกรรมมาตรา 112 เป็นสัญญาณที่บอกว่าอาจไม่มีการนิรโทษกรรมคดีการเมืองเกิดขึ้น หรืออีกมุมหนึ่งอาจจะไม่อนุญาตให้มีการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นเสียด้วยซ้ำ นี่เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงและประชาชนอาจต้องช่วยกันย้ำเตือนอยู่ตลอดเวลาว่า การก้าวข้ามความขัดแย้งไม่ใช่การจับมือกันของคนที่เคยทะเลาะกันเท่านั้น แต่การก้าวข้ามความขัดแย้งที่แท้จริงคือ ‘การให้อภัย’ และยกเอาความผิดที่ไม่ควรผิดตั้งแต่แรกออก การนิรโทษกรรมคดีความทางการเมืองทุกคดี เป็นสิ่งที่จะทำให้เราก้าวข้ามความขัดแย้งได้จริงๆ การจับมือกันของพวกเขาที่เคยทะเลาะกันมันไม่ได้ยุติความขัดแย้ง ในอีกมุมหนึ่งมันเพิ่มพูนความขัดแย้งในอีกกลุ่มก้อนหนึ่งทางการเมือง สิ่งที่อยากจะบอกคือ เราต้องยืนยันเสียงของพวกเราด้วยกันเอง ถ้านักการเมืองพยายามมองข้าม ไม่แสดงความกล้าหาญ เราต้องกดดันให้เขาแสดงความกล้าหาญออกมา
มายด์ ยังหวังว่า นิรโทษกรรมมันจะเกิดขึ้นได้ในรัฐบาลชุดนี้ ถ้าหากมันไม่เกิด อยากให้ทุกท่านปักหมุดหมายนี้ไว้ด้วยกัน มันไม่ใช่แค่การต่อต้านรัฐประหาร แต่มันคือการรื้อโครงสร้างอำนาจที่ไม่มีอนุรักษ์นิยม มันคือการเซ็ตโครงสร้างทางการเมืองใหม่ให้ตรงตามระบอบประชาธิปไตยที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และมันจะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดจากประชาชนจริงๆ เรามีอำนาจสูงสุด หมายความว่าเรามีหน้าที่ตรวจสอบเสียงที่เราให้นักการเมืองไปแล้ว เรามีหน้าที่กดดันถ้าหากเขาทำไม่ตรงคำสัญญาที่เขาให้ไว้กับพวกเรา ส่งเสียงบอกเขาว่า สถานการณ์มันหนักมากขนาดไหน ถ้าหากเราหยุดพูดเขาจะข้ามหัวพวกเราไปเรื่อยๆ
"อยากขอส่งเสียงบอกเหล่านักการเมืองใส่สูทในสภาฯ ทุกคน วันนี้ 18 ปีแล้วที่ลุงนวมทอง ได้แสดงให้เห็นถึงควมกล้าหาญ และเหล่านักการเมืองในสภาฯ คุณจะมีความกล้าหาญได้รึยัง คุณจะมีความกล้าหาญในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนได้รึยัง คุณจะมีความกล้าหาญในการยืนยันว่าเราควรจะต้องมีความยุติธรรมมากกว่านี้รึยัง
"แค่อยากบอกนักการเมืองว่าควรมีความกล้าหาญมากกว่านี้ ให้มันสมกับแรงที่ไปยกมือไหว้พี่น้องประชาชนก่อนเข้าไปในสภาฯ อยากบอกพี่น้องประชาชนอีกครั้งหนึ่งว่าอำนาจเป็นของประชาชนจริงๆ ถ้าเมื่อไรที่เราเงียบ เขาจะข้ามหัวเราไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เราต้องไม่เงียบ เราต้องส่งเสียงต่อไป เราต้องยืนยันต่อไปว่า ประเทศนี้เป็นของพวกเราจริงๆ และเราสามารถเซ็ตโครงสร้างใหม่ที่เป็นของพวกเราจริงๆ" มายด์ ทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีคนเสื้อแดง หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นวมทอง ไพรวัลย์ อดีตพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ.บางกรวย อายุ 60 ปี ทุกคนจะจำวีรกรรมของนวมทองได้เป็นอย่างดีคือ เขาเป็นคนที่ขับรถแท็กซีโตโยตา รุ่นโคโรลลา สีม่วง เครื่องมือทำมาหากินของเขาพุ่งเข้าชนรถถังของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่ทำรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. 2549 ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จนตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส
ต่อมา ในวันที่ 31 ต.ค. 2549 ได้ปรากฏข่าวว่า นวมทอง ได้ผูกคอเสียชีวิตกับราวสะพานลอยบริเวณถนนวิภาวดี-รังสิต ฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ภายหลังการจากไปของนวมทอง ได้มีการสร้างสดมภ์อนุสรณ์ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ เพื่อรำลึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
จดหมายลาตายของนวมทอง ระบุไว้ด้วยว่า ต้องการลบคำสบประมาทของ พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษกของ คปค. ที่ว่า "ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากพอยอมพลีชีพได้" มีใจความว่า
"สุดท้ายขอให้ลูกๆ และภรรยาจงภูมิใจในตัวพ่อ ไม่ต้องเสียใจ ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก ลาก่อน พบกันชาติหน้า ปล. ขอแก้ข่าว ขวดยาที่พบในรถภายหลังเกิดเหตุคืออาหารเสริมแคปซูลใบแปะก๊วยไม่ใช่ยาแก้เครียดตามที่ลงข่าว นสพ. ผมไม่เครียดแต่ประท้วงจอมเผด็จการ"
เสื้อที่นวมทอง ใส่ในวันเสียชีวิต ด้านหลังสกรีนข้อความเป็นบทกวีของศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ที่ถูกใช้ในการต่อสู้ทางการเมือง มีใจความว่า "อันประชา สามัคคี มีจัดตั้ง เป็นพลัง แกร่งกล้า มหาศาล แสนอาวุธ แสนศัตรู หมู่อันธพาล ไม่อาจต้าน แรงมหา ประชาชน"
หลังจากนั้น ทุกวันที่ 31 ต.ค. จะมีกลุ่มประชาชน และนักกิจกรรมการเมือง มาทำพิธีรำลึกถึง 'ลุงนวมทอง' ที่สดมภ์นวมทองฯ บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถนนวิภาวดี-รังสิต เพื่อเชิดชูอุดมการณ์ปกป้องประชาธิปไตยของสามัญชน
(https://prachatai.com/journal/2024/10/111239)
.....
(https://www.facebook.com/eggcatcheese/posts/pfbid02yPK5HrkZUgv4UJZM1UReqKiKac725VH6QnjxxSHRJiVUWBLNq4LEDwYwKpyknRnhl)