วันพฤหัสบดี, กันยายน 19, 2567

ร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม อยู่ในระหว่างรอพระมหากษัตริย์ลงปรมาภิไธย ประกาศใช้ - เป็นเวลาเกือบสามเดือนแล้ว ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพราะเหตุใดถึงล่าช้า หลายคนตั้งข้อสงสัย หรือพระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบด้วย คิดจะยับยั้ง ?


iLaw
September 10
·
ร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม หลังผ่านรัฐสภาแล้ว อยู่ในระหว่างรอพระมหากษัตริย์ลงปรมาภิไธย - ประกาศใช้
.
เป็นเวลาเกือบสามเดือนแล้ว ที่วุฒิสภาชุดพิเศษมีมติ “เห็นชอบ” ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม ไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567
.
จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2567 ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าตอนนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในกระบวนการใดแล้ว ชวนดูขั้นตอนในการออกกฎหมาย ตามหลักเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญ 2560 กัน
.
หลังจากร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะต้อง “เว้น” รอเวลาไว้ 5 วันก่อน เผื่อ สส. สว. หรือนายกฯ เองเห็นว่าร่างกฎหมายนั้นๆ มีข้อความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ ก็ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถ้าเว้นไว้ 5 วันแล้วไม่มีผู้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ นายกฯ จะต้องนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่ต้องเว้นไว้ 5 วัน
.
กรณีของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาเมื่อ 18 มิถุนายน 2567 ระยะเวลาที่ต้องเว้นไว้ 5 วัน ครบกำหนดวันที่ 23 มิถุนายน 2567 ดังนั้น นายกฯ จะมีกรอบระยะเวลาในการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ในระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2567
.
เมื่อนายกฯ นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ แล้ว แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนตรงๆ ว่าพระมหากษัตริย์มีเวลาในการลงพระปรมาภิไธยกี่วัน แต่ในมาตรา 146 ก็กำหนดเกี่ยวกับกระบวนการยับยั้ง (Veto) ร่างกฎหมายว่า ร่างกฎหมายใดที่เมื่อพ้น 90 วันแล้วพระมหากษัตริย์ไม่ได้พระราชทานร่างกฎหมายคืนกลับไปยังรัฐสภา หรือพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนกลับไปยังรัฐสภา รัฐสภาต้องปรึกษาและลงมติยืนยันร่างกฎหมายนั้น โดยนัยตามมาตรานี้ พระมหากษัตริย์จึงมีกรอบเวลา 90 วัน ในการลงปรมาภิไธยเพื่อนำไปสู่การประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
.
กรณีของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม กรอบระยะเวลา 90 วันที่พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย จะครบช่วง 22 กันยายน 2567 จนถึง 11 ตุลาคม. 2567 ขึ้นอยู่กับว่านายกฯ ทูลเกล้าไปวันใด
.
อย่างไรก็ดี หากร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ยังไม่ได้มีผลบังคับใช้ในทันที โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมายความว่า หลักเกณฑ์เกี่ยวกับหมั้นและการสมรส จะเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม คือ สมรสได้เฉพาะชาย-หญิง การจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับแก้ไขใหม่ #สมรสเท่าเทียม จะทำได้หลังพ้น 120 วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
.
อ่านขั้นตอนการออกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/3667
.....




ทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วจึงประกาศใช้เป็นกฎหมาย

เมื่อร่างกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว รัฐธรรมนูญ มาตรา 145 ระบุให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วัน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ก็ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้

ร่างกฎหมายฉบับใด พระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือพ้นไปแล้ว 90 วันไม่ได้พระราชทานคืน ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันอีกครั้ง ตามมาตรา 146 รัฐสภาหรือ ส.ส. และ ส.ว. สามารถลงมติยืนยันร่างกฎหมายนั้นอีกครั้งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของทั้งสองสภา (750 คน) หรือ ส.ส และ ส.ว. รวมกัน 500 เสียง และให้นายกรัฐมนตรีนำทูลเกล้าอีกครั้ง ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายนั้นประกาศในราช
.....