วันจันทร์, กรกฎาคม 08, 2567

ป้องกันพื้นที่บางส่วน 'ทับลาน' กว่าสองแสนไร่ ตกไปอยู่ในมือนายทุนเจ้าของโรงแรม รีสอร์ท ช่วยกันไปแสดงความเห็นคัดค้าน

ถึงวันที่ ๑๒ กรกฎานี้เท่านั้น กรมอุทยานฯ เปิดให้แสดงความเห็น เรื่องการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานบางส่วน จำนวน ๒๖๕,๒๘๖.๕๘ ไร่ เป็นการตอบคำถามง่ายๆ ๖-๗ ข้อถ้าปล่อยหลุดไป จะเปิดทางสะดวกให้นายทุนผู้เข้าครอบครอง

ปัจจุบันมีคดีที่กล่าวโทษตาม พรบ.อุทยานฯ ๒๕๐๔ รวม ๔๙๕ คดีรวมเนื้อที่กว่า ๑๑,๐๘๓ ไร่ ซึ่งนายทุนเข้าไปซื้อขายเปลี่ยนมือ เพื่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท และบ้านพักตากอากาศ โดยเจ้าหน้าที่ยินยอมให้ทำ โดยอ้างแนวอุทยานตามการสำรวจปี ๒๕๔๓

หลักเกณฑ์นี้คือสิ่งที่กรมอุทยานฯ ต้องการให้ประกาศเป็นพื้นที่อุทยานถาวร ขณะนี้คดีที่ฟ้องนายทุนรอการประกาศอยู่ เนื่องจาก “พนักงานอัยการจะมีคําสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง และหากคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาในชั้นศาล ศาลก็จะมีคําพิพากษายกฟ้อง”

ดังนั้นการไปแสดงความเห็นคัดค้านการเปลี่ยนอาณาเขตพื้นที่อุทยานทับลาน กลับไปในอยู่แนวเดิมปี ๒๕๔๓ จะทำให้เนื้อที่เต็มของอุทยานได้กลับมาเป็นพื้นที่อนุรักษ์อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เนื้อที่หลายส่วนได้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วหลายแห่ง

เช่น “ป่าสงวนแห่งชาติครบุรี (พ.ศ.๒๕๐๙) ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน (พ.ศ. ๒๕๑๐) และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาจอมทอง (พ.ศ. ๒๕๒๓) รวมเนื้อที่กว่า ๑๖๔,๙๖๐ ไร่” ซึ่งไม่เคยได้มีการเพิกถอนสถานะป่าสงวนแต่อย่างใด

การประกาศอุทยานทับลานตามเนื้อที่ปี ๒๕๔๓ จะทำให้ประกาศป่าสงวนแห่งชาติข้างต้นเหล่านั้นถูกลบล้างอย่างผิดกฎหมาย มิพักต้องกล่าวถึงระบบนิเวศน์ต่างๆ ของพื้นที่ป่าสงวนต้องเสียไป ทั้งที่อาณาเขตทับลานครอบคลุมป่าหลายจังหวัด

เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ดงพญาเย็นและเขาใหญ่เกือบ ๔ ล้านไร่ ซึ่งขึ้นเป็นมรดกโลกเมื่อปี ๒๕๔๘ อันประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ ๕ แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตอนุรักษ์ดงใหญ่

ล้วนเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำลำธารที่ไหลหล่อเลี้ยงการดํารงชีวิตของชุมชนต่าง ๆ ในภูมิภาคโดยรอบ ทั้งแม่น้ํานครนายก แม่น้ําปราจีนบุรี แม่น้ําลําตะคอง แม่น้ํามวกเหล็ก และแม่น้ํามูล

(https://drive.google.com/file/d/1-2KFhTMMbPkX/view และ https://www.prachachat.net/local-economy/news-1601967)