วันอาทิตย์, มีนาคม 31, 2567

ขมึงทึง เอกเขนก และชื่นมื่น


บรรยากาศรัฐสภาวันนี้

มีทั้งขมึงทึง เอกเขนก และชื่นมื่น 

รูปมันฟ้อง 'เศรษฐา' เป็น handpicked ของ 'ทักษิณ'

จากบัญชี Jin Somroutai @jin_somroutai ว่า “เอ้าาา ใครฟิตกว่ากัน!! เศรษฐา วันนี้ Vs ทักษิณ เมื่อปี 64” ตามภาพ

แต่ข้อน่าสังเกตุ ต่อนัยยะทางการเมือง ก็คือ เศรษฐา ทวีสิน คงจะเป็น handpicked ของ ทักษิณ ชินวัตร จริงๆ แหละ 

มาเรียนรู้เกี่ยวกับโรค ‘ไบโพลาร์’ จาก ‘น้ำ วารุณี’ ผู้ซึ่งถูกจองจำในคดี #ม112

มาเรียนรู้เกี่ยวกับโรค ไบโพลาร์กันหน่อยเป็นไร ในโอกาส #วันไบโพลาร์โลก ๓๐ มีนา ของทุกปี TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน @TLHR2014 เข้าเยี่ยม น้ำ วารุณี ผู้ซึ่ง “ถูกจองจำในคดี #ม112 มากว่า ๙ เดือนแล้ว”

ทว่า วารุณีป่วยด้วยโรคไบโพลาร์มามากกว่า ๕ ปี นี่คือความรู้โดยประสบการณ์ที่เธอมีให้กับสังคม “คนทั่วไปจะคิดว่าโรคนี้คนเป็นในหนึ่งวันจะร้องไห้ และเดี๋ยวก็ดี อารมณ์สลับไปมา แต่ความจริงไม่ใช่แบบนั้น อาการไบโพลาร์จะมีช่วงระยะเวลาของมัน

ในการเป็นขั้ว ‘mania’ (ละเมอเพ้อพก) และซึมเศร้า อาจจะกินระยะเวลาเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือนก็แล้วแต่คน ที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายในช่วงระยะเวลาแป๊บเดียวนั้นไม่ใช่ และคนที่ใช้ความรุนแรงก็เป็นเพราะเขาเป็นคนรุนแรง ไม่ใช่ว่าคนที่เป็นโรคนี้จะใช้ความรุนแรง

นี่ไง เหมือนจะบอกว่า แล้วใยยังกักขังเขาอยู่ ผู้พิพากษาทั่นไม่คิดจะเรียนรู้บ้างหรือ วารุณีเคยกล่าวถึงอาการของโรคทีเธอเป็นอย่างทรงๆ ชนิด Type 2 คือ “มีช่วงที่ซึมเศร้า (depress) นานมากกว่าช่วงละเมอเพ้อพก” อาการของเธอออกไปทางใช้เงินมือเปิบ

“ใช้เงินไม่คิด ขาดสติ แต่ไม่เคยใช้ความรุนแรงหรือสุดโต่งอะไรนะ” แต่อาการซึมเศร้าของเธอยาวนาน “ช่วงซึมเศร้ามีโอกาสที่จะทำร้ายตัวเอง หนูเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว ๔ ครั้ง โดยการกินยานอนหลับ” มากๆ ถึง ๕๐ เม็ด

“หนูว่าโรคไบโพลาร์รักษายากนะ เพราะว่าต้องกินยากดทั้งขั้วซึมเศร้า และขั้ว เพ้อพก จะกดขั้วใดขั้วหนึ่งไม่ได้” เสียท่าเธอไม่ไบโพลาร์ขั้นรุนแรง แบบว่าเสพยาพอของขึ้นแล้วขึ้นค้อปเตอร์ไป ‘Bungee Jumping’ กับตุนาหงันมือรอง

เดี๋ยวนี้แค่ขี่จักรยานขวานหงายกับยอดหทัยเบอร์หนึ่ง ก็เลยถือว่าไม่ใช่ไบโพลาร์

(tlhr2014.com/archives/65965) 

องคมนตรีกับ รมว.สาธารณสุขโปรดรับทราบ หมอหนุ่ม รพ.ร้อยเอ็ดเล่าความโหด ทำงาน ๓๒ ชม. พัก ๑๖ ชม. วนหลูปอย่างนี้ ถึงได้พากันลาออก

ทำไมหมออินเทิร์นปีนี้ ๒,๗๐๐ คน ลาออก ๙๐๐ คน หมอหนุ่มคนหนึ่งมาเล่าให้ฟังบนแอ็พติ๊กต๊อก ฉากหลังเป็นภาพตัวเขาเมื่อตอนทำงงานอยู่ โรงพยาบาลที่โหดที่สุดในประเทศไทย –โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

พอดีเห็นมีข่าวฟี้ด นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กับ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ไป “ประชุมวิชาการพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ที่ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี”

ขอให้ทั่นผู้ใหญ่ๆ ทั้งสองรับทราบตามนี้ด้วยนะครับ

“สภาพการทำงานเป็นงี้ ที่ทำให้หมอพากันลาออก ก็คือคนปกติทำงาน ๔๐ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ใช่ไหม แต่หมอโรงพยาบาลรัฐนี่ทำงานประมาณ ๑๐๐ ถึง ๑๒๐ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เยอะกว่าคนปกติทั่วไป ๓ เท่า”

เขาแจกแจงลงรายละเอียดว่า “ตื่นมาตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า ต้องไปดูคนไข้ ประมาณ ๕๐-๖๐ คนต่อ ๑ วอร์ด หลังจากตรวจคนไข้ตอนเช้าก็ต้องไปตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งก็ตกประมาณ ๖๐-๗๐ คน ต่อหมอ ๑ คน คุณต้องตรวจให้เสร็จก่อนเที่ยง”

ตกลงเฉลี่ยได้คุยกับคนไข้คนละประมาณ ๑-๒ นาทีมั้ง หลังจากนั้นตอนบ่ายกลับไปดูคนไข้ในวอร์ด ๕๐-๖๐ คนอีก มีทำ “อัลตร้าซาวด์ เจาะปอด เจาะหลัง สั่งออร์เดอร์ (งาน) สั่งอะไรเพิ่มให้พี่พยาบาล ถึงสี่โมงเย็นก็อยู่เวรต่อ”

ซึ่งไม่ได้ดูแค่วอร์ดตัวเองนะ “ต้องดูเกือบทั้งโรงพยาบาล ประมาณ ๓-๔ วอร์ดต่อหมอ ๑ คน เวรนี่เริ่มแต่สี่โมงเย็นถึง ๘ โมงเช้าของอีกวัน เวลาพักต่อคืน ๑๖ ชั่วโมงได้พัก ๑ หรือ ๒ ชั่วโมง ก็คือไม่ได้นอนนั่นเอง”

แล้วต้องทำไงต่อเมื่อถึงแปดโมงเช้า “คุณก็ต้องกลับไปดูวอร์ดที่ดูแลอยู่ จนถึง ๔ โมงเย็นอีก วนหลูปนี้เหมือนเดิม หลังจากนั้นคุณจะได้พักแล้ว นี่เป็นการทำงานประมาณ ๓๒ ชั่วโมงติดต่อกัน และก็ได้พักประมาณ ๑๖ ชั่วโมง”

“แล้วต้องเริ่มโพรเซสนี้ใหม่ ๓๒ พัก ๑๖ ๆ ลองคิดดูว่าระหว่างทำงานที่มันเหนื่อยๆ นี่ คุณไม่ได้คุยธรรมดานะ คุณต้องคุยกับความเป็นความตายของคน คุณต้องตัดสินใจให้คนอื่นว่าใครจะรอด ใครจะอยู่

ทุกวันผมต้องคุยกับญาติคนไข้ว่า พ่อคุณกำลังจะเสียปล่อยเขาไปดีมั้ย เราคงไม่ยื้อชีวิตเขาต่อไปแล้วให้ต้องทนทุกข์ทรมาน ผมต้องคุยสภาพนี้ ต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นจะตายทุกวัน แล้วคุณไม่ได้พักไม่ได้หลับเลย”

เขาว่า “สภาพการทำงานคุณเครียดขนาดนี้ ฮื่อ มันก็เลยไม่อยู่กันไงครับ เขาก็ลาออกกันหมด คุณแก้ปัญหาตรงนี้ได้หรือเปล่า...สาธารณสุข”

ขอบคุณทวี้ตของ ฮ.นกฮูก(สีส้ม) @skongki2000 https://twitter.com/skongki2000/status/1774254864589279563


เห็นข่าวคนงานพม่าประท้วงแล้วรู้สึกยังไงบ้าง ความจริงคือ....สิทธิแรงงานเป็นสิทธิมนุษยชน การประท้วงของแรงงานพม่ายังชี้อีกจุด....สิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน....ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน คนงานพม่าไม่เพียงรักษาสิทธิมนุษยชนของตน ยังสั่งสอนคนไทย...การต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของตน....สั่งสอนด้วยการทำให้ดู


เครนถล่มปลวกแดง ดับ 7 ราย แรงงานพม่าลุกฮือ เรียกเงินเยียวยาศพละ 5ล. | ข่าวเที่ยงอมรินทร์ | 30มี.ค.67

AMARINTV

16 hours ago 

Mar 30, 2024 • #ข่าวเที่ยงอมรินทร์ #AmarinTV34

ครนถล่มปลวกแดง ดับ 7 ราย แรงงานพม่าลุกฮือ เรียกเงินเยียวยาศพละ 5 ล้าน

https://www.youtube.com/watch?v=01gbPppXmM4
.....
ประเวศ ประภานุกูลกิจ 
10h·

เห็นข่าวคนงานพม่าประท้วงแล้วรู้สึกยังไงบ้างครับ
ความจริงคือ....สิทธิแรงงานเป็นสิทธิมนุษยชน
การประท้วงของแรงงานพม่ายังชี้อีกจุด....สิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน....ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน
คนงานพม่าไม่เพียงรักษาสิทธิมนุษยชนของตน ยังสั่งสอนคนไทย...การต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของตน....สั่งสอนด้วยการทำให้ดู
คนงานพม่าทำให้เห็นถึงการรวมตัวกันสู้....การรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานเพื่อต่อรองกับนายจ้างมีอานุภาพเพียงใด....ไม่ใช่เอาแต่วิงวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
อีกความรู้สึกของผม....สภาพเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาแรงงานพม่า
คนพม่าเป็นนักสู้....หรือเส้นทางประชาธิปไตยของไทยต้องอาศัยแรงงานพม่าเป็นคนต่อสู้??
....ข้อเรียกร้องที่ชนะจะเป็นมาตรฐานทางการจ้างงาน
นั่นคือคนงานไทยได้ประโยชน์จากการประท้วงของคนงานพม่า
คนงานไทยเจ้าบ้านต้องพึ่งพาการต่อสู้ของคนงานพม่า...


' เมียนมาใต้เผด็จการทหาร ' โลกของหนุ่ม-สาวเมียนมากำลังหยุดนิ่ง “จริง ๆ ก็ไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับฉัน แต่ฉันคิดว่าพวกเขาแค่ต้องการให้เราตายที่แนวหน้า”



‘ไม่มีใครอยากเข้าร่วมกับทหาร’ ความเป็นมนุษย์ที่ถูกพรากจากหญิงสาวเมียนมา ในแนวรบที่กองทัพบังคับเกณฑ์ทหาร แต่ฉากหลัง ‘เราตายในแนวหน้า’

Author : ธเนศ แสงทองศรีกมล
Illustrator : ณิชกานต์ บุญไชย
Decode.Plus

“3 ปีเหรอ” เธอนิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง

“ฉันรู้สึกเหมือนฉันเป็นคนโง่ เมื่อเทียบกับคนรุ่นเดียวกันในประเทศอื่น”

“เหมือนกับคนรุ่นราวคราวเดียวกับฉันในเมียนมา อยู่ในโลกที่ย้อนหลังชาวบ้านไปหลายปี”

เธอหัวเราะแห้ง ๆ ก่อนจะตอบคำถามว่าชีวิตเป็นอย่างไรหลังการรัฐประหารเมื่อสามปีก่อน

เธอชื่อ จูเลีย หญิงสาวร่างเล็กชาวเมียนมาที่อายุอยู่ในระยะที่เราเรียกกันว่า ‘คนรุ่นใหม่’
เธอเกิดและเติบโตในจังหวัดแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา

“เราเป็นประเทศที่มีพัฒนาการของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ น้อยที่สุดแล้ว”


หลังการรัฐประหารที่นำโดยมิน อ่อง หล่าย ในเช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2021

ทุกข้อต่อในโครงสร้างประเทศหยุดชะงัก มีเพียงเสียงปืนและเสียงตีหม้อเท่านั้นที่ยังคงดังอยู่

ในพื้นที่ ๆ จูเลียอาศัยอยู่ เป็นพื้นที่ที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล (Ruler Area)
นั่นทำให้เธอได้รับ ‘การอนุญาต’ ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะโอกาสในหน้าที่การงานและเส้นทางการศึกษา

เธอเล่าถึงช่วงเวลาก่อนการรัฐประหารว่า ในประเทศเมียนมานั้นมีศูนย์การเรียนและสถาบันพัฒนาการศึกษาอยู่หลายแห่ง ทั้งพื้นที่ในเมืองและที่กระจายไปตามพื้นที่ท้องถิ่น ซึ่งเส้นทางการศึกษาของคนเมียนมาจะเป็นลักษณะของการย้ายเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น

นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ผู้คนในหมู่บ้านหรือเมืองขนาดเล็ก ต้องขยับเข้ามาศึกษาในตัวเมืองอย่างตองจี หรือหากต้องการเข้าถึงตัวเลือกที่มากกว่า ก็ต้องเข้าไปเรียนหรือทำงานในย่างกุ้ง เพราะย่างกุ้งคือ ‘ที่สุด’ ของคนหนุ่มสาว ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาของเมือง คุณภาพชีวิต หรือกระทั่งพื้นที่ค้นหาสิ่งใหม่

“อย่างเช่นในพื้นที่โฮปง เมืองหนึ่งในจังหวัดตองจี ตอนช่วงปี 2017-2018
บางหมู่บ้านก็เข้าไม่ถึงไฟฟ้า หรืออย่างระดับชั้นเรียนในหมู่บ้านก็มีถึงแค่ ป.4”



จูเลียก็เป็นหนึ่งคนที่ต้องพลัดพรากจากบ้านเพื่อการศึกษาที่ดีกว่า

แม้จะต้องจากบ้านและมีเงื่อนไขมากมายสำหรับกลุ่มคนที่ขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษา แต่จูเลียบอกว่าหากเทียบกันแล้ว การศึกษาที่เธอได้รับก่อนที่จะเข้าสู่ห้วงเวลาของการรัฐประหารนั้นดีกว่ามาก อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ได้เข้ามาแทรกกิจกรรมของภาคการศึกษาใด ๆ เพราะพวกเขาเชื่อว่า “การศึกษาคือรากฐานของประเทศ”

ทว่าภายใต้การนำของรัฐบาลทหารของมิน อ่อง หล่าย โอกาสทางการศึกษาเหล่านั้นกลับถูกทำลาย
ซ้ำร้ายยังแทนที่มันด้วยการจับกุมผู้ที่เข้ารับการศึกษาเหล่านั้น และมองว่าพวกเขาคือ ‘กลุ่มก่อการร้าย’

“หลังรัฐประหาร คนที่เรียนพวกวิทยาศาสตร์การเมือง สังคมศาสตร์ หรืออะไรทำนองนี้ พวกเขาจะถูกจับกุม”

แม้ไม่อาจระบุได้ว่าบทเรียนตามสถาบันต่าง ๆ นั้นสอนหรือกล่าวถึงบทบาทของกองทัพทหารไว้อย่างไร แต่จูเลียเสนอมุมมองไว้ว่า หลักสูตรเหล่านี้อาจไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของกองทัพ หรือกระทั่งกองทัพเองก็อาจมองว่าโรงเรียนหรือหลักสูตรเหล่านี้ อาจเป็นการบ่มเพาะอุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่าง

ภายหลังการยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government – NUG) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 เมษายน ซึ่งเป็นการรวมตัวของสมาชิกที่(เกือบ)เป็นรัฐบาลตามผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความชอบธรรมของรัฐบาลพลเรือน และเพื่อคัดง้างอำนาจของกองทัพเมียนมา

การเข้ามาของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาตินั้นมาพร้อมกับนโยบายที่จะขับเคลื่อนการศึกษาใหม่ และจัดหาโอกาสทางการศึกษาให้กับคนหนุ่มสาวเมียนมาอีกครั้ง เพราะการศึกษาของพวกเขาได้หยุดชะงักไปหลายปีด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือภาวะโรคระบาด โดยรูปแบบการเรียนการสอนของรัฐบาล NUG จะเป็นลักษณะของการสอนออนไลน์โดยบุคลากรของ NUG เอง

ทว่าบางครั้งข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่เข้าเรียนในระบบของ NUG ก็รั่วไหลออกไปถึงมือกองทัพ ทำให้นักเรียนหลายคนถูกกองทัพทหารจับกุมในเหตุผลที่พวกเขามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนนี้ เพราะกองทัพเชื่อการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น เป็นการสนับสนุนและสร้างบุคลากรเพื่อไปร่วมกับกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (People’s Defense Force – PDF )

ซึ่งไม่เพียงแต่นักเรียนนักศึกษาเท่านั้น สถาบันการศึกษาขนาดเล็กหรือศูนย์การเรียนท้องถิ่น ก็ต้องเปิดเผยต่อรัฐบาลทหารด้วยว่าพวกเขาสอนวิชาใดให้กับนักเรียน หรือพิสูจน์ว่าพวกเขามีความสัมพันธ์ใด ๆ กับรัฐบาลชุดก่อนหรือไม่ การแทรกแซงเหล่านี้ทำให้หลายสถาบันการศึกษาก็ต้องลี้ภัยด้วยเช่นกัน

“เรื่องการศึกษามันยากมาก และแย่ซะยิ่งกว่าแย่อีก” จูเลียย้ำ


ทว่านอกจากความเชื่อของฝ่ายรัฐบาลทหารแล้ว “การปฏิเสธแนวทางของรัฐบาลทหาร”

ก็เป็นความเชื่อหนึ่งของภาคประชาชนที่คุกรุ่นขึ้นพร้อมกับการเสียงประท้วงของคนเมียนมา

จูเลียเป็นหนึ่งคนที่ย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่นั้นล้วนลงทะเบียนกับกองทัพ โดยมีข้อตกลงในการจ่ายภาษีให้กับกองทัพทหาร ซึ่งสำหรับกองกำลังภาคประชาชนแล้ว การมีความสัมพันธ์กับกองทัพในขณะนี้ล้วนเป็นการสนับสนุนกองทัพในทางหนึ่ง

ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาถึงกลุ่มคนที่เข้ารับการศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ อย่างจูเลียเองที่ต้องเรียนให้จบเพื่อโอกาสในชีวิตข้างหน้า ที่บางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนกองทัพเมียนมา

“เหมือนฉันอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝั่ง แน่นอนว่าฉันต่อต้านการกดขี่ของกองทัพทหาร
แต่ฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับกองกำลังไม่ว่าจะฝั่งไหน ฉันเป็นแค่ประชาชน”


มือเปื้อนเลือดมากกว่ารอยขีดปากกา เพราะฉากหน้าคือ สนามรบ

การประท้วงครั้งแรก ๆ เริ่มต้นขึ้นที่มัณฑะเลย์ โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ (White Coat Revolution)
ที่ประกาศว่าพวกเขาจะไม่ทำงานให้กับโรงพยาบาลรัฐอีกต่อไปและเริ่มลงถนนประท้วง

“เราไม่ต้องการรัฐประหาร”

“เราไม่ต้องการมิน อ่อง หล่าย”

“เราโหวตให้รัฐบาลที่เราเลือก ไม่ใช่มึง”

ไม่นานนักการประท้วงเริ่มแพร่ขยายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในเมียนมา

ในความทรงจำของจูเลีย พื้นที่ของเธอเริ่มต้นประท้วงผ่านแสงไฟจากเปลวเทียนและการสงบนิ่ง
ทว่าสถานการณ์กลับไม่ดีขึ้น จากแสงเทียนและความเงียบเริ่มกลายเป็นป้ายประท้วงและเสียงด่า

นอกจากฉากบนสนามรบ ช่องทางโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกหนึ่งสมรภูมิที่ดุเดือด
และเป็นช่องทางสำคัญที่เชื่อมโยงกลุ่มผู้ประท้วงหรือกลุ่มคนรุ่นใหม่กับโลกภายนอก

“Facebook คือ ช่องทางหลักของพวกเราเลยล่ะ” เธอยกตัวอย่างพลางหัวเราะ

จูเลียเล่าว่า หนึ่งในเครื่องมือของการประท้วงคือการโพสต์บนช่องทางโซเชียลมีเดียถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงหรือการกดขี่ผู้คนของกองทัพเมียนมา ซึ่งหากบุคคลนั้น ๆ หรือกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ไม่พูดถึงสถานการณ์ดังกล่าว ก็จะถูกมองว่าสนับสนุนระบอบการปกครองของรัฐบาลทหาร และจะโดนสังคมรุมประณามหรือการคว่ำบาตรทางธุรกิจ

“ถ้าคุณไม่พูดถึงมัน เอาแต่โพสต์รูปท่องเที่ยว โพสต์รูปตัวเอง คุณจะเป็นพวกอีลีท หรือไอ้พวกที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคม หรือคนที่สนับสนุนการกดขี่ทั้งหลายในเมียนมา”



ปัจจุบันการลงโทษทางสังคมยังคงอยู่แต่ก็ลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการจับตาของรัฐบาลทหาร จูเลียอธิบายว่า กองทัพจะคอยจับตาบุคคลที่เข้าร่วมหรือมีความตั้งใจจะเข้าร่วมการประท้วง ซึ่งหากบุคคลนั้นโพสต์ลงช่องทางโซเชียลมีเดีย พวกเขาก็สามารถถูกจับกุมโดยรัฐบาลทหารได้ กระบวนการเหล่านี้ทำให้หนุ่มสาวเมียนมาเริ่มต้นที่จะปิดบังตัวตน เริ่มพูดถึงสถานการณ์น้อยลง หรืออาจเลิกพูดถึงการประท้วงนับแต่นั้น

เธออธิบายอีกว่าในขบวนการการเคลื่อนไหวเองก็หาใช่ปลอดภัยมากนัก เพราะหลายครั้งก็มักจะมีคนที่สนับสนุนกองทัพเมียนมาแฝงตัวเข้ามาในขบวนการ เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ รูปถ่าย หรือตัวตนของกลุ่มผู้เคลื่อนไหว ส่งให้กับกองทัพเมียนมา และเข้าจับกุมผู้ชุมนุมเหล่านั้น

การจับกุมที่จูเลียยกตัวอย่างนั้น เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 505(a) และ 505(b) ที่ระบุไว้ว่าใครก็ตามที่สร้าง เผยแพร่ถ้อยคำ ข่าวลือ หรือรายงานใด ๆ ด้วยเจตนาที่จะก่อให้เกิดหรือมีแนวโน้มที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ส่วนใหญ่ระบุถึงเจ้าหน้าที่ในกองทัพ) ก่อกบฏ เพิกเฉย หรือละเลยหน้าที่ของตน – 505(a)

หรือด้วยเจตนาที่จะก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดความหวาดกลัว หรือความตื่นตระหนกต่อสาธารณะชน โดยที่บุคคลนั้น ๆ อาจถูกชักจูงให้กระทำความผิดต่อรัฐหรือความสงบสุขของสาธารณะ – 505(b) โดยทั้งสองกรณีจะต้องระวางโทษปรับและจำคุกสูงสุด 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่าหรือ เอเอพีพี (Assistance Association for Political Prisoners) ได้บันทึกตัวเลขการจับกุมพลเรือนหรือนักเคลื่อนไหวของกองทัพทหาร โดยตั้งแต่วันแรกของการรัฐประหารจนถึงปัจจุบัน มีผู้ที่ถูกจับกุมไปแล้วกว่า 26,000 คน และถูกคุมขังอยู่ขณะนี้ถึง 20,000 คน

อิสรภาพที่หายไปและทางเลือกในชีวิตที่ตีบตัน เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนุ่มสาวเมียนมาหลายคน
เลือกที่จะจับอาวุธและเข้าร่วมสงคราม เพื่อยุติฉากทัศน์อันเลวร้ายที่ถูกสร้างขึ้นโดยกองทัพทหาร

“คุณจะเห็นว่าสิทธิมนุษยชนพื้นฐานต่าง ๆ นั้นถูกคุกคาม การแสดงออก การใช้ชีวิต สิทธิ การศึกษา คุณก็จะไม่มีสิทธิ์เข้าถึงมัน ถูกตัดอินเทอร์เน็ต ตัดไฟ หลายอย่างในชีวิตจะถูกทำลาย”


: ทำไมถึงไม่อยากเข้าร่วมกับกองทัพทหาร?

“ฉันคิดว่าถ้าเราเข้าไปเป็นทหาร เราจะสูญเสียความเป็นมนุษย์” เธอตอบด้วยน้ำเสียงเรียบนิ่ง

“จริง ๆ ก็ไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับฉัน แต่ฉันคิดว่าพวกเขาแค่ต้องการให้เราตายในแนวหน้า”

‘มันจะตัดขาดเราออกจากโลกภายนอก’ จูเลียเล่าว่าทหารในกองทัพจะถูกฝึกฝนด้วยร่างกายเป็นอย่างแรก อย่างที่สองคือการฝึกฝนผ่านการล้างสมองด้วยรัฐธรรมนูญและแนวทางของ SAC แม้มันจะระบุไว้ว่าเป็น ‘การสู้เพื่อความมั่นคงของชาติ’ ทว่าความเป็นจริงคือ ‘การตายเพื่อคณะรัฐประหาร’ มากกว่า

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สภาบริหารแห่งรัฐ หรือ State Administration Council (SAC) ได้ออกประกาศที่ 27/2024 ว่าด้วยการให้กฎหมายการเกณฑ์ทหาร (People’s Military Service Law) มีผลบังคับใช้นับแต่นั้น ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 385 และมาตรา 386 ในรัฐธรรมนูญของเมียนมา ที่ว่าระบุไว้ว่า “พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ปกป้องเอกราช อำนาจการปกครอง และบูรณภาพแห่งดินแดนของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา” และ “พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ต้องรับการฝึกทหารตามบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อปกป้องและรักษาความมั่นคงของชาติ” ตามลำดับ

โดยผู้ที่อยู่ในข่ายจะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารคือ พลเมืองชายและหญิงอายุตั้งแต่ 18-35 ปี ซึ่งมีประชากรอยู่ราว 14 ล้านคนในเมียนมา แบ่งเป็นชาย 6.3 ล้านคน และหญิง 7.7 ล้านคน โดยจะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารเบื้องต้นเป็นเวลา 2 ปี ทว่าหากเมียนมาตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลสามารถขยายเวลารับราชการทหารไปได้ถึง 5 ปี

ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดใดอื่นนอกเหนือไปจากเงื่อนไขตามบัญญัติของกฎหมาย แต่ตามประกาศของรัฐบาลเมียนมาระบุไว้ว่า พลเมืองชายจะถูกเรียกเข้ารับการเกณฑ์ทหารรอบแรก จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้เป็นจำนวน 5,000 คน โดยในหนึ่งปีจะเกณฑ์ทหารได้ทั้งหมด 50,000 คน โดยทหารในสี่รุ่นแรกจะเป็นพลเมืองชายทั้งหมด และพลเมืองหญิงจะถูกเรียกตัวในรุ่นถัดไป

แต่ตามรายงานของ Ye Myo Hein นักวิจัยเกี่ยวกับการเมืองของประเทศเมียนมาบนเว็บไซต์ United States Institute of Peace ระบุไว้ว่า การประกาศการเกณฑ์ทหารในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากขนาดกองทัพที่เล็กลงจากการพ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้งในสนามรบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อย รวมถึงการหนีทัพของทหารในกองทัพเองที่หมดสิ้นแรงใจในการรบ โดยจากข้อมูลที่วิเคราะห์ไว้เมื่อต้นปี 2023 ว่าทหารเมียนมาอาจมีมากถึง 300,000-400,000 คน แต่ภายหลังปฏิบัติการ 1027 ทำให้กำลังทหารลดเหลือเพียงไม่เกิน 130,000 คนเท่านั้น

“สำหรับคนรุ่นใหม่ เราไม่เห็นถึงอนาคตเลย มีก็เสียแต่ว่าจะย้ายไปประเทศอื่นหรืออยู่ที่นี่ต่อไป ซึ่งสำหรับคนที่ไม่มีเงินมากพอจะย้ายประเทศ พวกเขาก็ต้องอาศัยอยู่ที่เดิม เหมือนกับฉัน”



จูเลียเล่าว่าตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อสามปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก คนแก่ คนโสดหรือแต่งงาน
หรือกระทั่งสนับสนุนทหารหรือสนับสนุนประชาธิปไตย ทุกคนในเมียนมาล้วนเผชิญกับการกดขี่

การประกาศเกณฑ์ทหารครั้งนี้ก็ยิ่งทำให้ชีวิตยากลำบากขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ในเมียนมา จูเลียเล่าว่าการทำหนังสือเดินทางขณะนี้อาจต้องรอถึง 6 เดือน และจากเดิมที่ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 500 บาทไทย แต่ขณะนี้กลับพุ่งสูงขึ้นไปถึงราว ๆ 20,000-30,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่คนรุ่นใหม่ทุกคนที่จะมีเงินมากมายขนาดนั้น

เงื่อนไขดังกล่าวทำให้คนรุ่นใหม่ไม่มีทางเลือกอื่น
นอกจากเข้าร่วมกับกองกำลังในพื้นที่ ข้ามประเทศโดยผิดกฎหมาย หรือนั่งรอบทสรุปของตนเองที่บ้านเกิด

“ถึงคุณเลือกที่จะอยู่ที่เมียนมา แต่คุณจะไม่ได้มีชีวิตเลย
เพราะคุณไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคุณบ้าง กองทัพจะทำอะไรกับคุณบ้าง ”


: แล้วถ้าไม่เข้าเกณฑ์ทหารจะเกิดอะไรขึ้น?

“พวกเขาจะเอาไปหมดทุกสิ่ง” เธอตอบด้วยน้ำเสียงเรียบนิ่งอีกครั้ง

จูเลียบอกว่าเธอไม่แน่ใจว่ากระบวนการของกองทัพขณะนี้เป็นอย่างไร
แต่หากคุณถูกจับตาโดยกองทัพอยู่แล้ว พวกเขาจะบุกจับคุณที่บ้านโดยไม่มีคำเตือน ไม่ว่าตอนนั้นจะเช้ามืดค่ำ

และไม่ใช่แค่ผู้ที่ถูกหมายตาเท่านั้น ความรุนแรงทั้งหมดจะเกิดขึ้นกับครอบครัวของบุคคลนั้นด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการยึดของใช้ เงิน หรือกระทั่งร่างกายของคนนั้น กองทัพจะครอบครองมันทั้งหมด

ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ถูกจับกุมเหล่านี้จะถูกปิดหน้าปิดตาและพาไปที่ศูนย์สอบสวนสักแห่งของกองทัพ และเริ่มสอบสวนเขาเหล่านั้นด้วยการทรมาน แม้ว่าคุณจะไม่ได้กระทำผิดแต่กองทัพก็จะหาความผิดให้คุณจนได้ และเมื่อเข้าสู่ห้องคุมขัง บางครั้งพวกเขาก็จะถูกเจ้าหน้าที่กระทำชำเรา โดยไม่สนว่าคุณจะเป็นใครหรือมีเพศวิถีแบบใด

“ถ้าเราอาศัยอยู่ในพื้นที่สงคราม พวกทหารมันจะบุกเข้ามาในบ้าน แล้วกระทำชำเราคุณ บางครั้งมันก็ทำกับทั้งครอบครัวคุณ พวกมันไม่สนใจว่าคุณจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย ผู้พิการ หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการเกณฑ์ทหารนี้จะทำให้ความรุนแรงนี้ซับซ้อนไปอีก”

นี่คือ ‘ทุกสิ่ง’ ที่จูเลียกล่าวถึง



ข้อเรียกร้องจากเส้นเขตแดน 2,000 กิโลเมตร
ระเบียงมนุษยธรรมไทยที่ยังไม่มีผู้ลี้ภัยอยู่ในนั้น



“ฉันก็กังวลเรื่องข้ามไปประเทศไทยเหมือนกัน เพราะว่าเข้าไปเราก็จะเป็นผู้อพยพผิดกฎหมาย เพราะพวกเราไม่สามารถเข้าถึงหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอื่น ๆ ได้ นั่นคือผลลัพธ์ที่ตามมา”

นอกจากจะเป็นประเทศที่มีอาณาเขตกว่า 2,000 กิโลเมตรที่อยู่ติดกัน
ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่คนเมียนมาใช้ต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อมีชีวิตรอดในห้วงเวลานี้

ตามรายงานของ Human Right Watch ระบุว่าตลอดสามปีที่เมียนมาตกอยู่ในห้วงเวลาของการรัฐประหาร มีคนเมียนมาลี้ภัยมายังประเทศไทยราว 45,000 คน แต่หลังการประกาศการเกณฑ์ทหาร สำนักข่าว AP รายงานว่าหน้าสถานทูตไทยในเมียนมาที่ย่างกุ้งและศูนย์ทำหนังสือเดินทางที่เมืองมัณฑะเลย์ เนืองแน่นไปด้วยคนเมียนมารวมกันกว่า 10,000 คน ที่ยืนต่อแถวทำหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางมาที่ประเทศไทย

และจากการติดตามสถานการณ์ตามแนวชายแดนของเครือข่ายเพื่อผู้ลี้ภัยเมียนมา (Myanmar Response Network) แม้ไม่อาจประมาณการได้ว่าขณะนี้มีผู้ลี้ภัยเข้ามาถึงแม่สอดเป็นจำนวเท่าไหร่ แต่จากการคาดการณ์อาจมีคนเดินทางเข้ามาในอำเภอแม่สอดราว 1,000 คนต่อวัน ขณะเดียวกันทางอำเภอแม่สอดก็ได้ออกประกาศให้มีการเข้มงวดตามแนวชายแดน

นี่เป็นเพียง 20 กว่าวันหลังจากที่รัฐบาลทหารประกาศการเกณฑ์ทหาร ประเทศไทยจึงมีภารกิจที่ยากจะเลี่ยงในการหาที่รองรับและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับคนเมียนมานับหมื่นที่กำลังเดินทางลี้ภัยมายังประเทศไทย ซึ่งนั่นยังไม่รวมประชากรอีก 14 ล้านคนที่ต้องการลี้ภัย หากการเกณฑ์ทหารยังดำเนินต่อไป


จูเลียอธิบายว่าเธอไม่ได้ต้องการแก้ตัวแทนคนเมียนมาที่เข้าไปอย่างผิดกฎหมายในอดีต ทว่าในสถานการณ์ตอนนี้มันค่อนข้างแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการลี้ภัยในครั้งนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะพวกเขาต้องการที่จะ ‘มีชีวิตรอด’ จากกองทัพเมียนมา

ไม่นานมานี้จูเลียได้ยินข่าวมาจากประเทศไทยว่า รัฐบาลไทยจะเพิ่มมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งก็จะมี International Rescue Committee (IRC) หน่วยงานที่ให้การช่วยด้านสิทธิมนุษยชนเข้ามามีบทบาทด้วยเช่นกัน

ขณะนี้เธอจึงหวังว่า รัฐบาลไทยจะไม่ทำอะไรที่เป็นการส่งเขากลับคืนสู่ความตาย อย่างเช่น การฟ้องร้องผู้ที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย หรือส่งกลับประเทศต้นทางด้วยกฎหมายที่รัฐบาลไทยใช้อยู่ และหวังให้สังคมโลกรับรู้ว่า ตอนนี้คนเมียนมากำลังถูกคุกคามชีวิตโดยรัฐบาลทหาร

“ฉันว่ามันไม่จำเป็นจะต้องยกตัวอย่างว่ากฎหมายนี้มันละเมิดสิทธิของเรารึเปล่า เพราะชัดเจนว่าอนาคตของคนรุ่นใหม่ในเมียนมาตอนนี้ มันเอาแน่เอานอนไม่ได้เลย และพวกเขาก็ละเมิดสิทธิของคนเมียนมาอย่างเรามามากกว่า 60 ปีแล้ว”

ที่มา https://decode.plus/20240311-myanmar-conscription-law/


อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์'ให้สัมภาษณ์กับ"แยม"สำนักข่าว The Reporters ว่า การกลับบ้านของผู้ลี้ภัยการเมืองไทยบางคนยังติดอยู่เงื่อนไขที่ว่า ยังไม่มีการนิรโทษกรรมคดี 112


ฐปณีย์มีข่าว: คุยกับ 'ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์' ในวันที่ผู้ลี้ภัยการเมืองไทยเริ่มได้กลับบ้าน

The Reporters TV

Streamed live 8 hours ago 

ฐปณีย์มีข่าว: คุยกับ 'ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์' ในวันที่ผู้ลี้ภัยการเมืองไทยเริ่มได้กลับบ้าน

https://www.youtube.com/watch?v=F0SyMxgKeE0
.....







 

ระหว่างมีชัย ฤชุพันธ์(อายุ 86 ปี) กับรัฐธรรมนูญ 2560 คุณคิดว่าอะไรจะมีอายุยืนยาวกว่ากัน “บันทึกไว้กันลืม” เปิดไดอารี่ “มีชัย ฤชุพันธุ์” กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ’60


Thanapol Eawsakul
13h·

ระหว่างมีชัย. ฤชุพันธ์กับรัฐธรรมนูญ 2560 คุณคิดว่าอะไรจะมีอายุยืนยาวกว่ากัน
...
อีกไม่นานรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายที่คนอย่างมีชัย ฤชุพันธุ์( 2481 อายุ 86 ปี) ได้วางยาเอาไว้ก็จะหมดบทเฉพาะการ
ขณะที่การเลือกวุฒิสภาก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก ทั้งนี้ก็เป็นหมากกลที่คนอย่าง มีชัย. ฤชุพันธุ์ ได้วางไว้
แต่ทุกสิ่งในการเมืองไทยคือความเป็นอนิจจลักษณะ
เกิดขึ้น. ตั้งอยู่. และดับไปทั้งสิ้น
เพียงแต่ว่า จะดับไปเมื่อใด
คุณคิดว่า ระหว่างมีชัย. ฤชุพันธุ์ กับรัฐธรรมนูญ 2560
ใครจะมีอายุยืนยาวกว่ากัน
.....
“บันทึกไว้กันลืม” เปิดไดอารี่ “มีชัย ฤชุพันธุ์”
กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ’60
https://www.matichon.co.th/politics/news_2660545
.....

“บันทึกไว้กันลืม” เปิดไดอารี่ “มีชัย ฤชุพันธุ์” กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ’60

วันที่ 6 เมษายน 2564
มติชนออนไลน์

4 ปี ครบรอบการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560

รัฐธรรมนูญฉบับถูกร่างขึ้นในช่วงที่คสช.มีอำนาจ บริหารประเทศ หลังยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก่อนประกาศใช้ในวันที่ 6 เมษายน จนนำไปสู่การแปลงรูป เปลี่ยนร่างคสช.ไปสู่การฟื้นระบบราชการ วางกลไกสืบทอดอำนาจ จน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังสามารถครองอำนาจอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน

แม้ระยะเวลา 2 ปี หลังจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ จะมีความพยายามในการรื้อทิ้งแก้ไข แต่ด้วยกลไกตามบทบัญญัติที่ถูกวางไว้อย่างแน่นหนา รัดกุม การจะฝ่าด่านเสียงเห็นด้วยแบบมี “เอกภาพ” ของสมาชิกรัฐสภา จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยในสังคมที่มีความคิดต่างหลากหลายเช่นนี้

แน่นอนทั้งหมด เป็นประสบการณ์ล้วนๆของ นายมีชัย ฤชุพันธ์ุ เนติบริกรคนสำคัญ ผู้ที่ถูกมอบหมาย ให้มารับหน้าที่นี้อีกครั้ง ในวัยเกือบๆ 80 ปี

จาก “นักกฎหมายหนุ่ม” ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ที่ถูก นายสมภพ โหตระกิตย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเลขาธิการกฤษฎีกา สั่งให้ติดสอยห้อยตามเข้าไปในสนามเสือป่า เพื่อเข้าไปร่างแถลงการณ์เตรียมการสำหรับการยึดอำนาจโค่นล้ม รัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร ในเดือนตุลาคม 2520 เรื่อยมาจนมาถึงรัฐธรรมนูญ 2560 นายมีชัย ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งออกหน้า และลับหลังกับรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารเกือบทุกฉบับ

เช่นเดียวกับ รัฐธรรมนูญนี้



ใน “บันทึกไว้กันลืม” ที่ นายมีชัย เขียนไว้ในหนังสือ “ความในใจของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560″ บันทึกความทรงจำ ของ 21 กรรมการกรธ. ยอมรับแต่ย่อหน้าแรกๆว่า มีส่วนเป็นผู้การันตี อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่า มีบารมีพอที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่นี้ หลังจากอ้างเรื่องอายุ ปฏิเสธการรับตำแหน่ง

แต่พอเกิดเหตุหักกันเองสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นชอบ ร่างฉบับบวรศักดิ์ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า มีคือ “ใบสั่ง” จากผู้มีอำนาจ จนเกิดวลีอมตะที่ว่า “เขาอยากอยู่ยาว” จึงทำให้ต้องมีชุดใหม่มารับไม้ต่อ

“เคราะห์กรรมมาถึงตัวเราอีกแล้วหรือนี่” เป็นประโยคแรกที่ นายมีชัย ระบุว่า แวบขึ้นมาในใจทันที เมื่อมีผู้ใหญ่ของคสช.โทรมาบอกว่า อยากให้รับหน้าที่เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญ รับไม้ต่อจากชุดอ.บววรศักดิ์

“ผมได้ตอบผู้ใหญ่ท่านนั้นไปว่า ผมขอคุยกับนายกฯ ก่อน และเมื่อนายกฯ กลับจากต่างประเทศ ก็เชิญผมไปพบเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2558 พร้อมกับบอกว่า ขอให้ไปช่วยเป็นประธาน กรธ. ผมถามท่านว่ามีความจำเป็นขนาดไหนที่ผมจะต้องไปทำ ท่านตอบว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจหลีกเลี่ยง เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เมื่อท่านตอบเช่นนั้น ผมก็หมดทางเลี่ยง ในฐานะคนไทยผมจะปฏิเสธได้อย่างไร ที่มีความรู้เป็นตัวเป็นตนอยู่ทุกวันนี้ก็ได้อาศัยทุนรัฐบาลไปเล่าเรียนมา บุญคุณนั้น ผูกพันอยู่ชั่วชีวิตที่จะต้องทดแทนต่อแผ่นดิน”

ถือเป็นการตอบรับ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ ขอร้อง พร้อมๆ “ตีกรอบ” ให้นายมีชัยไว้ 5 เรื่อง นอกเหนือไปบัญญัติ 10 ประการ ที่ถูกระบุไว้ใน มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ดังนี้

1.สากลยอมรับ แต่ต้องเป็นไทย 2. กลไกปฏิรูปและปรองดอง 3. ป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ 4. ปราบโกง และ 5.กลไกการมีประชาชนมีส่วนร่วม

กรธ.เริ่มต้นทำงานวันแรกในวันที่ 6 ตุลาคม 2558 จากนั้น 3 เดือนเศษ ร่างเบื้องต้นก็ทำเสร็จ ในวันที่ 29 มกราคม 2559 ก่อนส่งให้ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความเห็น

ร่างแรกที่ออกมา “ไม่ถูกใจคสช.” เพราะ “บิ๊กหมู” พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. เลขาธิการคสช. ได้ทำจดหมายเสนอปรับปรุงบทเฉพาะกาล บีบกรธ.ให้เปิดทางนายกฯคนนอกในช่วงเปลี่ยนผ่าน-ล็อคเก้าอี้ 6 ส.ว.ให้ผบ.เหล่าทัพ

“ข้อเสนอแนะจากคสช. มีข้อเสนอและข้อห่วงใยหลายประการ บางประการก็เสนอให้เปลี่ยนหลักการใหม่ในร่างที่จัดทำไปแล้ว กรธ.แต่ละคนก็หน้าหมองคล้ำ หวั่นวิตกกันไปต่างๆนานา เกรงว่าผมจะมาบังคับ กรธ.ให้ต้องแก้ไขไปตามข้อเสนอของคสช.ทั้งหมด ผมได้อธิบายให้กรธ. ฟังว่าคสช. ในฐานะที่มีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ย่อมมีความเป็นห่วงกังวลถึงอนาคตของประเทศ และมีสิทธิเช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ

“เรื่องใดที่กรธ. เห็นว่า มีเหตุมีผลอันสมควร และเป็นประโยชน์ก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะปฏิเสธ แต่ถ้าเรื่องใดที่กรธ.คิดว่า แก้ไขแล้วก่อให้เกิดผลเสีย หรือขัดต่อระบบโดยรวมที่กรธ.วางไว้ หรือกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน กรธ.ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข และชี้แจงให้คสช.เข้าใจ ผมเชื่อว่า คสช.พร้อมที่รับฟังเหตุผล”


แฟ้มภาพ

แน่นอน กรธ.ยอม 2-3 ประเด็น แต่ได้แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เปิดทางให้สนช. แม่น้ำอีกสายของคสช. ตั้ง “คำถามพ่วง” ในการประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ถามประชาชนในสิ่งที่คสช.ขอมาแทน

นี่จึงเป็นที่มาทำให้ เสียงส.ว.เป็นปัจจัยสำคัญของการตั้งรัฐบาล เพราะซีกพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 พ่ายแพ้พรรคพลังประชารัฐ พรรคอันดับ 2 ในเกมรวมเสียง ทำให้ได้ พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง

นายมีชัย เล่าว่า เดิมตอนแรกที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ หลังชุดนายบวรศักดิ์ถูกคว่ำ ได้เสนอให้มีการทำ “ประชามติ” ด้วย

แต่ คสช.ลังเล เพราะมองว่า เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก และสิ้นเปลือง แต่คณะผู้จัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้พยายามอธิบายถึงความคุ้มกับการดำเนินการ เพราะจะไม่มีใครมากล่าวหาในภายหลังว่า คสช.เป็นผู้ทำเอง การทำประชามติจะได้ไปอธิบายให้ประชาชน หากเข้าใจเขาก็จะเป็นเกราะให้แก่ผู้ร่างและคสช.ได้

จนในที่สุด คสช.จึงเห็นดีเห็นงามด้วย แม้จะมีความกังวลอยู่บ้างก็ตาม

แต่ นายมีชัย ก็ยอมรับเช่นกันว่า ได้มาพบภายหลังว่า ข้อเสนอการทำประชามติ ได้สร้างความยากลำบาก เหนื่อยยากแสนสาหัสให้แก่ กรธ.เป็นอย่างมาก แต่ยังเคราะห์ดีที่องค์ประกอบของ กรธ.ได้ช่วยทำให้ความลำบากและเหนื่อยยากนั้น ผ่านพ้นมาได้ วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เมื่อผลประชามติมีผู้เห็นชอบกว่า 16 ล้านเสียง กรธ.ทุกคนจึงดีใจ โล่งใจ เสมือนยกภูเขาออกจากอก



จากนั้น ระหว่างเตรียมการลงมือทำกฎหมายลูก วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่เชื่อถือได้บอกว่า รัชกาลที่ 9 สวรรคตแล้ว

“เหมือนฟ้าผ่าลงกลางใจ

“ผมนั่งสะอื้นอยู่พักใหญ่ จึงสามารถเล่าให้ที่ประชุมฟังได้อย่างกระท่อนกระแท่น พวกเราทุกคนต่างคนต่างก็นั่งนิ่งก้มหน้า สมองว่างเปล่า ขาวโพลน หมดปัญหาที่จะคิดอ่านอะไรได้ต่อไป จึงบอกเลิกประชุม”

นายมีชัย เล่าว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดินขึ้น ทำให้เกิดปัญหาขึ้น 2 เรื่อง คือ “คำปรารภ” ในร่างรัฐธรรมนูญไม่สอดรับกับแผ่นดินใหม่ กับ หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์นั้น ร่างตามประเพณีที่อยู่ในรัชกาลที่ 9

“กรธ.หลีกเลี่ยงการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 อย่างที่สุด นานๆ จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆ แต่การแก้ไขเพิ่มเติม มิใช่เกิดจากความคิดขึ้นเองของผู้ร่าง หากแต่เกิดจากการบอกเล่าของท่านราชเลขาธิการ หรือองคมนตรี และเมื่อแก้ไขก็จะต้องส่งกลับไปให้ท่านราชเลขาธิการ หรือองคมนตรีได้ตรวจทานว่า ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่”

“แต่มีการผลัดแผ่นดินก่อนที่ขบวนการตรารัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จ บทบัญญัติทั้งปวงในหมวด 2 จึงเป็นการร่างตามประเพณีที่มีอยู่ในรัชกาลที่ 9 ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับประเพณีที่จะเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลใหม่ แต่กระบวนการได้ล่วงเลยไปถึงขั้นนายกฯได้นำร่างทูลเกล้าฯ จึงไม่มีช่องทางดำเนินการอย่างใดได้”

จึงต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้

โดย สนช.มีมติ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2560 เห็นชอบกับมาตรา 39/1 ใจความว่า “หากกรณีที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใดภายในเก้าสิบวันให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมาเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตนั้นและประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง และแก้ไขเพิ่มเติมคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกัน”



“การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวดังกล่าวนับเป็นทางออกที่แก้ไขปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนไปได้

“ที่สำคัญได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายกฯ เป็นผู้ดำเนินการแก้ไข เพราะก่อนจะขอรับร่างคืนมา นายกฯ จะต้องเป็นผู้เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชข้องสังเกตว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใด จึงเป็นผู้รู้ดีว่า จะต้องแก้ไขอย่างไร” นายมีชัย ระบุ

นายมีชัย ยังเล่าด้วยว่า ก่อนหน้านั้นนั้นระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ ได้พบกับ ฟองสนาน จามรจันทร์ หรือ แม่หมอสมัครเล่น เธอพบหน้าแล้วบอกว่า การทำประชามติจะผ่านอย่างน่าแปลกใจ แต่เมื่อผ่านแล้วจะต้องแก้ไขถึง 3 หน จึงจะใช้ได้

“ผมฟังคุณฟองสนานแล้วก็นึกขำอยู่ในใจว่าผ่านประชามติแล้ว จะมาแก้ไขอะไรกันได้อีก ถ้าจะแก้ไขต้องแก้ไขเมื่อประกาศใช้แล้ว”

แต่เมื่อผ่านประชามติแล้ว นายมีชัย บอกว่า มีการแก้ไขถึง 3 ครั้งจริงๆ ครั้งแรก เป็นการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง ครั้งที่สอง เป็นการแก้ไขคำปรารภเพื่อให้เป็นปัจจุบัน ครั้งที่สาม เป็นการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตที่พระราชทานมา

“เราได้ทราบข่าวด้วยความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณให้ประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ในวันที่ 6 เมษายน 2560 ซึ่งตรงกับวันจักรี”

นายมีชัย บอกว่า ในรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ มีการประกอบพระราชพิธีอย่างใหญ่เพียงแค่ 5 ครั้ง โดยรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นครั้งที่ 5 เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 และเป็นฉบับเดียวที่ผ่าน 2 รัชกาล โดยร่างในรัชกาลที่ 9 และมาประกาศใช้ในรัชกาลที่ 10

ทั้งยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัชกาลที่ 10 ด้วย

(https://www.matichon.co.th/politics/news_2660545)

สว. 67 ใครสมัครได้ ต้องไปสมัคร เพื่อเป็นสว.เอง เพื่อมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือ เพื่อจับตาความโปร่งใส


iLawClub @iLawclub

#สว67 เป็นกระบวนการที่คนมีคุณสมบัติ ควรไปสมัครเข้าร่วม เพื่อ

1. เพื่อเป็นสว.เอง
2. เพื่อมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
3. เพื่อจับตาความโปร่งใส


สมัครกันให้เยอะๆ เพื่อให้เป็นกระบวนการของประชาชน
และช่วยกระจายข้อมูลให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด
(https://ilaw.or.th/articles/22551)
.....

















200 วัน รัฐบาลเศรษฐา เหมือนพายเรืออยู่กับที่ หาสูตรประชามติร่างรธน.ใหม่ สุดท้ายส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด



200 วัน รัฐบาลเศรษฐา กับ ภารกิจ ‘พายเรือวน’ หาสูตรประชามติร่างรธน.ใหม่

29 มี.ค. 67
Thairath Plus

Summary

  • เป็นเวลากว่า 200 วัน ที่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ยังคงหาคำตอบเกี่ยวกับ ‘สูตรการทำประชามติ’ หรือแนวทางการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 แม้ก่อนหน้านี้จะมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติขึ้นมา เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566
  • แม้คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ที่นำโดย ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี จะเคยแถลงผลการศึกษาว่า เส้นทางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะต้องทำประชามติ 3 ครั้ง แต่ยังมีฝ่ายที่เห็นแตกต่างว่า การทำประชามติเพียง 2 ครั้ง ก็เพียงพอตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
  • เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับสูตรการทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจึงมีมติเสียงข้างมากเห็นด้วย 233 ต่อ 103 เสียง และงดออกเสียง 170 เสียง ให้ส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยชี้ขาด หรือหมายความว่า เส้นทางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะยังไม่เริ่มนับหนึ่งจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชัดเจนออกมา
เป็นเวลากว่า 200 วัน ที่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับ ‘สูตร’ หรือแนวทางการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นับตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2566 ที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ขึ้นมา เพื่อค้นหาคำตอบดังกล่าว

ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ที่นำโดย ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ได้แถลงผลการศึกษาว่า เส้นทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะต้องทำประชามติทั้งหมด 3 ครั้ง คือ

1. ทำประชามติก่อนรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระหนึ่ง

2. ทำประชามติหลังรัฐสภาเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสาม (ตามมาตรา 256 (8) รัฐธรรมนูญ 2560)

3. ทำประชามติหลังมีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่

แต่แนวทางดังกล่าวยังมีฝ่ายที่เห็นต่างเนื่องจากเห็นว่า การทำประชามติเพียง 2 ครั้ง คือ ทำประชามติหลังรัฐสภาเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสาม หรือ ทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (8) และทำประชามติหลังมีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับแนวทางการทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทางพรรคเพื่อไทยที่นำโดย ‘ชูศักดิ์ ศิรินิล’ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เสนอญัตติด่วนต่อประธานรัฐสภาให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องดังกล่าว

ในวันที่ 29 มีนาคม 2567 สภามีมติเสียงข้างมากเห็นด้วย 233 ต่อ 103 เสียง และงดออกเสียง 170 เสียง ให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดสูตรการทำประชามติ


ชูศักดิ์ ศิรินิล

200 วัน กับ ภารกิจ ‘พายเรือวน’ ตามหาสูตรประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ตลอดระยะเวลากว่า 199 วัน นับตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2566 ที่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับ ‘สูตร’ หรือแนวทางการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ จนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2567 ที่สภามีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดสูตรประชามติ ภารกิจดังกล่าวเปรียบเสมือน ‘การพายเรือวน’ ที่ยังมองไม่เห็นฝั่ง และต้องรอศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดเรื่องดังกล่าว

โดยเส้นทางการพยายามหาคำตอบเรื่องสูตรการทำประชามติมีรายละเอียดดังนี้
  • 13 กันยายน 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติผ่านข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ
  • 2 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ จำนวน 35 คน โดยมี ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ

  • 25 ธันวาคม 2566 ภูมิธรรม เวชยชัย ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ แถลงข้อสรุปผลการศึกษาของคณะกรรมการฯ ว่า จะทำประชามติทั้งหมด 3 ครั้ง โดยคำถามประชามติครั้งแรกคือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ให้มีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไข หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”

  • 22 มกราคม 2567 ชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยื่นเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา โดยมีสาระสำคัญ คือ การเพิ่มหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน และมีเงื่อนไขว่า ห้ามแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง 

  • 15 กุมภาพันธ์ 2567 ภูมิธรรม เวชยชัย ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลว่า การหารือดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานในสภา และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญเพื่อจะเสนอนายกรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 

  • 29 กุมภาพันธ์ 2567 ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงยื่นญัตติขอให้รัฐสภายื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจของรัฐสภา ภายหลังสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของเพื่อไทยที่ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ว่า คำวินิจฉัยกำหนดให้ต้องทำประชามติสอบถามประชาชนก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ 

  • 29 มีนาคม 2567 ที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงข้างมากเห็นด้วย 233 ต่อ 103 เสียง และงดออกเสียง 170 เสียง ให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดสูตรการทำประชามติ
เปิดคำวินิจฉัยส่วนตนศาลรัฐธรรมนูญ เสียงส่วนใหญ่ให้ทำประชามติแค่ 2 ครั้ง

ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ระบุเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ไว้ ดังนี้
 

...หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป เมื่อเสร็จแล้ว ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่า เห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการให้ประชาชนพิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่…


จะเห็นได้ว่า ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องทำประชามติ ‘อย่างน้อย 2 ครั้ง’ คือ

1. ต้องจัดออกเสียงประชามติเสียก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่

2. ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่า เห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง

และเมื่อดูคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะพบว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 4 คน มีความเห็นว่า ควรทำประชามติเพียงสองครั้งคือ ทำประชามติตาม มาตรา 256 (8) ของรัฐธรรมนูญ 2560 กับ ประชามติหลังยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และมีเพียงคนเดียวที่เห็นว่า ควรทำประชามติ 3 ครั้ง ในขณะที่ตุลาการท่านอื่นๆ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า ต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง และมีการระบุถึงการทำประชามติอย่างน้อย 2 ครั้ง อีก 2 คน

โดยตุลาการที่เห็นว่าควรทำประชามติ 2 ครั้ง ได้แก่

1) วรวิทย์ กังศศิเทียม ได้วินิจฉัยว่า แม้จะต้องมีการจัดประชามติครั้งหนึ่งก่อน แต่ “ก่อน” ในที่นี้ หมายถึง “ก่อนที่จะมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ” หรือ “ก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ซึ่งไม่ได้ขัดหรือแย้งกับการทำประชามติหลังรัฐสภาเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสาม ตามมาตรา 256 (8) ซึ่งถือเป็นการจัดทำประชามติก่อนจะมีการตั้ง สสร.

2) ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ได้วินิจฉัยว่า แม้จะต้องมีการถามประชาชนว่าเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาหรือไม่ แต่คำถามนี้สามารถถาม “ในช่วงเวลาเดียวกัน” กับการทำประชามติตามมาตรา 256 (8) โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 คำถามคือ เห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเห็นด้วยหรือไม่กับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ สสร.

ทั้งนี้ ในคำวินิจฉัยส่วนตัวยังระบุด้วยว่า “มิได้มีเจตนารมณ์ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติก่อนจะเสนอญัตติหรือร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ประการใด”

3) นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ได้วินิจฉัยว่า “หากรัฐสภาประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้จัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีการขออาณัติจากประชาชน โดยการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ประชาชนลงประชามติ” ซึ่งเป็นการทำประชามติตามมาตรา 256 (8)

4) อุดม สิทธิวิรัชธรรม วินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เพิ่มหมวดเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาจะ “ต้องมีบทบัญญัติการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” ก่อนจะดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับการทำประชามติตามมาตรา 256 (8)


บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

โดยตุลาการที่เห็นว่าควรทำประชามติ 1 ครั้ง ได้แก่ บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ที่วินิจฉัยว่า “หากรัฐสภาประสงค์จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ …จะต้องเริ่มต้นด้วยการขอฉันทมติจากประชาชน… โดยการจัดให้มีการลงประชามติในเรื่องดังกล่าวเสียก่อน” และ “หากประชาชนได้มีฉันทมติให้ดำเนินการได้แล้ว รัฐสภาจึงจะมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้”

อย่างไรก็ดี เมื่อดูกระบวนการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล จะพบว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ มีการกำหนดให้ต้องทำประชามติอยู่แล้ว ตาม มาตรา 256 (8) โดยให้ทำประชามติหลังรัฐสภาเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสาม อีกทั้งในร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ถูกเสนอโดยพรรคเพื่อไทยก็มีการกำหนดให้ทำประชามติภายหลังมีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ดังนั้น กระบวนการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล จึงดูไม่ขัดข้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ถามประชาชนก่อนมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่แนวทางดังกล่าวยังมีฝ่ายที่เห็นต่าง ดังนั้น เพื่อหาข้อสรุปของการหาสูตรประชามติในครั้งนี้ รัฐสภาจึงมีมติเสียงข้างมากเห็นด้วย 233 ต่อ 103 เสียง และงดออกเสียง 170 เสียง ให้ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และทำให้เส้นทางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะยังไม่เริ่มนับหนึ่งจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชัดเจนออกมา

https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104326
.....






 

ฟันธง! ‘เพื่อไทย’ ไม่มีทางกลับมาชนะเลือกตั้ง? - ประทีป คงสิบ

https://www.facebook.com/watch/?v=379652224989670&t=0

มีเรื่อง Live
16h·

ฟันธง! ‘เพื่อไทย’ ไม่มีทางกลับมาชนะเลือกตั้ง? - ประทีป คงสิบ
.
มีเรื่องLive Ep.114 - ทักษิณไร้พ่าย ก้าวไกลไปต่อ
วันที่ 28 มี.ค. 67
ดูคลิปเต็ม: (https://www.youtube.com/watch?v=dk6TUxZlCIA)


กลุ่มอำนาจเก่าตั้งธงกวาดล้างก้าวไกล ประชาชน14 ล้านโดนโกงกลางแดด ก้าวไกลแรงจริง ยิ่งยุบยิ่งแลนด์สไลด์


The Politics ข่าวบ้าน การเมือง
6h·

รายการพิเศษ สุขุมXนันทนาXศิโรตม์ สภากาแฟ กลุ่มอำนาจเก่าตั้งธงกวาดล้าง ก้าวไกลแรงจริง อุดมการณ์ชัดเจน เดินตามทิศทางของตัวเอง ยิ่งยุบยิ่งแลนด์สไลด์ ทำไมเสียงประชาชนไม่มีความหมายเลย
#ก้าวไกล #ThePolitics

https://www.facebook.com/watch/?v=1339687433371231&t=0


Retro Politics เรื่องเล่าการเมืองไทยในอดีต ตอนนี้ จะพาไปติดตามเรื่องของ จอมพล ป.พิพูลสงครามกับวาทะ สู้กับระบอบเก่า ชั่วชีวิตเรา ยันรุ่นลูก พูดประโยคนี้ในสถานการณ์แบบไหน และหลังจากนั้นเกิดอะไรตามมาบ้าง


Retro Politics EP.25 จอมพล ป. กับวาทะ สู้กับระบอบเก่า ชั่วชีวิตเรา ยันรุ่นลูก : Matichon TV

matichon tv

Mar 25, 2024 

Retro Politics เรื่องเล่าการเมืองไทยในอดีต ตอนนี้ จะพาไปติดตามเรื่องของ จอมพล ป.พิพูลสงครามกับวาทะ สู้กับระบอบเก่า ชั่วชีวิตเรา ยันรุ่นลูก พูดประโยคนี้ในสถานการณ์แบบไหน และหลังจากนั้นเกิดอะไรตามมาบ้าง

https://www.youtube.com/watch?v=wfZRmDRhTrk


คนไทยลืมง่าย ‘โกงไปเถอะ เดี๋ยวคนไทยก็ลืม’ คนทำผิดเลยได้ใจ

https://www.youtube.com/watch?v=ngXEXWPEqo4

จัตุรัสประชาชน บ้านเมืองเราต้องดีกว่านี้ ตอน จริงหรือไม่ โกงไปเถอะ เดี๋ยวเดียวคนไทยก็ลืม

Suthichai Live

Streamed live 6 hours ago 

วันที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 2100-2140 

ฤา เพราะเราคนไทยลืมง่าย คนทำผิดเลยได้ใจ 
- สปก 
- บ่อน 
- ส่วย
 - ทุจริต 
- ทางม้าลาย 
- รถไฟสายสีเหลือง 

อีกมากมายที่เราลืมเลือนไป 

ชวนคุยเรื่องที่ยังค้างคาใจ


อดีตผู้ว่ารถไฟ จี้ ปิดระบบสายสีเหลือง หาสาเหตุชิ้นส่วนหลุด-ซ้อมอพยพ ลั่นอย่าเอาชีวิตคนมาเสี่ยง


(https://www.matichon.co.th/politics/news_449758)
@KhaosodOnline ·20h
อดีตผู้ว่ารถไฟ จี้ ปิดระบบสายสีเหลือง หาสาเหตุชิ้นส่วนหลุด-ซ้อมอพยพ ลั่นอย่าเอาชีวิตคนมาเสี่ยง
.....
ประภัสร์ จงสงวน 
March 28 ·

เหตุชิ้นส่วนระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลืองหลุดและตกลงมาด้านล่าง (โชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต) ช่วงเช้าเมื่อวานนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรฐานการก่อสร้าง การควบคุมงาน การติดตั้งและการทดสอบระบบรถไฟฟ้าของหน่วยงานผู้รับผิดชอบและผู้รับสัมปทานว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน มาตรฐานการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องและมาตราฐานการติดตั้งและการทดสอบของผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้าหรือไม่...???
เหตุแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
2 ครั้ง แต่จนถึงวันนี้ยังไม่เคยมีคำตอบจากผู้รับผิดชอบและผู้ผลิตว่า " 2 เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นจากอะไร ??
??" ถึงเวลาหรือยังที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะ"ปิดระบบทั้งสีเหลืองและสีชมพู" "เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่า "เพราะอะไรถึงชิ้นส่วนของระบบถึงหลุดและตกลงมาด้านล่าง
หรือต้องรอให้เกิดเหตุที่ร้ายรุนแรงกว่านี้ สูญเสียมากกว่านี้ถึงจะมีการ "ตรวจสอบอย่างจริงจังจากผู้ผลิตและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้
..."
อย่าลืมทดสอบและจัดการซ้อมใหญ่แบบเสมือนจริงการอพยพผู้โดยสารในกรณีเกิดเหตุร้ายแรงกับขบวนรถและไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารด้วยวิธีให้รถอีกขบวนจอดเทียบ..." ทำเถอะครับเพื่อความปลอดภัยของประชาชน...เงินไม่สามารถซื้อชีวิตของผู้สูญเสียคืนมาได้นะครับ.




ในเยอรมนี ถ้าผู้พิพากษาบิดกฎหมาย มีความผิด ติดคุก 1-5 ปี และอาจถูกปลดออก กฏหมายแบบนี้ ประเทศไทยควรมีอย่างยิ่ง เพื่อป้องกัน "ธง"


เยอรมนี มีเรื่องเล่า
18h ·

เล่าเรื่อง...Rechtsbeugung กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดในการบิดกฎหมายของผู้พิพากษา
.
TL;DR:- สรุป ในเยอรมนีถ้าผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออนุญาโตตุลาการบิดกฎหมายในการดำเนินการหรือตัดสินคดี ถือเป็นความผิดอาญามีโทษจำคุก 1-5 ปี และจะเป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่ง ผู้พิพากษาจะอ้างว่าไม่รู้หลักกฎหมายไม่ได้ และในเยอรมนีถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าพรรคการเมืองที่ต้องการแก้กฎหมายอาญาบางมาตราถือว่าล้มล้างการปกครองและตัดสินให้ยุบพรรค ถือว่ากระทำความผิดอาญา
.
บ่อยครั้งเวลาที่ผู้เขียนพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการเมืองและกฎหมายไทย แล้วมักจะได้ยินคำว่า Rechtsbeugung (อ่านว่า เร็คซ-บอย-กุ้ง) จากที่ปรึกษาฯ ซึ่งส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่าเป็นกฎหมายที่น่าสนใจและสำคัญอย่างมาก แม้ว่าที่ปรึกษาฯ จะบอกว่าถึงเยอรมนีจะไม่มีกฎหมาย Rechtsbeugung นี้ ระบบยุติธรรมเยอรมันก็จะไม่ล่มสลาย เพราะระบบยุติธรรมเยอรมันนั้นอยู่ได้ด้วยหลายองค์ประกอบที่ทำงานประสานกัน แต่การที่มีกฎหมาย Rechtsbeugung นี้เป็นเหมือนเกราะป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินบังคับใช้กฎหมายใช้กฎหมายไปในทางที่ไม่ถูกต้อง หลังจากรู้สึกผิดที่ผลัดวันประกันพรุ่งมานาน กอปรกับช่วงนี้มีเหตุให้ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นเวลาที่ดี จึงจะนำเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายนี้มาเล่าสู่กันฟัง หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านและผู้ที่สนใจเรื่องกฎหมายเยอรมันค่ะ
.
คำว่า Beugung ในภาษาเยอรมันนั้นแปลว่า bending หรือการบิด การงอ ทำให้บิดโค้ง ส่วน Rechts คือกฎหมาย Rechtsbeugung จึงแปลได้โดยไม่สามารถบิดความหมายเป็นอื่นใดได้อีกว่า “การบิดกฎหมาย” นั่นเอง
.
ในเยอรมนี ถ้าพูดถึง Rechtsbeugung คนจะเข้าใจว่านั่นเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง เพราะว่าเป็นชื่อของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 (Strafgesetzbuch (StGB) § 339 Rechtsbeugung) ที่ระบุไว้ว่า “ผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออนุญาโตตุลาการที่บิดกฎหมายในการดำเนินการทางกฏหมายหรือพิจารณาคดีเพื่อให้เป็นคุณหรือโทษแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถือว่ามีความผิด และต้องได้รับโทษจำคุก 1 ถึง 5 ปี”
.
แม้ว่าโทษจำคุกนั้นอาจจะสามารถรอลงอาญาได้ แต่ทว่าตามกฎหมายเกี่ยวกับผู้พิพากษาเยอรมัน Deutsches Richtergesetz (DriG) มาตรา 24 วรรค 1 ระบุไว้ว่าผู้พิพากษาที่ต้องโทษจำคุกอย่างน้อย 1 ปีในคดีที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าการดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลง แปลว่าถ้ามีความผิดจากการบิดกฎหมาย แม้จะได้รับโทษขั้นต่ำสุดคือจำคุก 1 ปี ความเป็นผู้พิพากษาก็สิ้นสุดลงทันที แม้โทษจำคุกนั้นอาจจะได้รับการรอลงอาญา
(อ้างอิง https://www.gesetze-im-internet.de/drig/__24.html)
.
ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามกฎหมายเกี่ยวกับสถานะการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ (Beamtenstatusgesetz – BeamtStG) มาตรา 24 (1) 1 ก็ระบุไว้เช่นเดียวกันว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องโทษจำคุกอย่างน้อย 1 ปีในคดีที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐนั้นสิ้นสุดลง
(อ้างอิง https://www.gesetze-im-internet.de/beamtstg/__24.html)
.
แนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง Rechtsbeugung หรือการทำให้การบิดกฎหมายเพื่อให้คุณหรือให้โทษกับคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนั้นเป็นความผิดทางอาญามีในเยอรมนีมายาวนานกว่า 150 ปีแล้วค่ะ โดยมีระบุอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาของจักรวรรดิ์เยอรมัน (Strafgesetzbuch für das Deutsche Reich) ปี 1871 มาตรา 336 ซึ่งระบุไว้ว่าข้าราชการและอนุญาโตตุลาการที่บิดกฎหมายในการดำเนินการหรือตัดสินคดีเพื่อให้คุณหรือโทษกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถือว่ามีความผิด มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี
(อ้างอิงจาก https://de.wikisource.org/.../Strafgesetzbuch_f%C3%BCr...(1871 )
.
แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมาย Rechtsbeugung นี้มีไว้เพื่อปกป้องกระบวนการยุติธรรมจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจาก “ภายในระบบยุติธรรม”เอง เพราะมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นหลักประกันความยุติธรรม รักษาไว้ซึ่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดของผู้พิพากษารวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ เรียกว่าเป็นการเตือนสติเพื่อป้องกันการใช้กฎหมายโดยมิชอบจากภายในตัวผู้ใช้อำนาจเองเลย
.
นอกจากนี้ ก่อนการเข้ารับตำแหน่งของผู้พิพากษา จะต้องมีการสาบานตนในศาลตามกฎหมายเกี่ยวกับผู้พิพากษาเยอรมัน (Deutsches Richtergesetz, DriG) มาตราที่ 38 โดยจะต้องกล่าวคำสาบานตนว่า “ข้าพเจ้าขอสาบานว่าจะปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาอย่างซื่อสัตย์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งตรงต่อกฎหมาย ตัดสินด้วยความรู้และสติรู้ผิดชอบ โดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคล และจะรับใช้เพียงความจริงและความยุติธรรมเท่านั้น”
(อ้างอิง https://www.gesetze-im-internet.de/drig/__38.html)
ซึ่งรัฐธรรมนูญเยอรมันนั้นปกป้อง คุ้มครองประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงเยอรมนีเป็นประเทศที่มี Rule of law ผู้พิพากษาที่มีความรู้ ความชำนาญทางด้านกฎหมาย มีความเข้าใจ มีสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ และได้สาบานตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย จึงมักทำหน้าที่ของตนเองบนหลักการที่ถูกต้อง
.
แม้ว่า Rechtsbeugung นั้นจะนับเป็นคดีที่เกิดขึ้นไม่มากในเยอรมนีเมื่อเทียบกับคดีประเภทอื่นๆ แต่ผู้พิพากษาก็เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ย่อมทำผิดพลาดได้ไม่ต่างจากอาชีพอื่นๆ จึงทำให้การดำเนินคดีกับผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่รัฐอยู่บ้างเป็นระยะๆ ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างบางเคสมาให้อ่านกันนะคะ
.
กรณีที่ 1 - ในช่วงโควิดระบาด รัฐบาลมีมาตรการป้องกันการระบาดของโรค มีการออกกฎหมายบังคับใช้มาตรการต่างๆ เช่น การใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง การตรวจหาเชื้อไวรัส ฯลฯ ซึ่งมาตรการเหล่านี้มีการบังคับใช้ในโรงเรียน ซึ่งผู้พิพากษาคนหนึ่งในรัฐ Thüringen (ภายหลังพบว่าเขาเป็นกลุ่มต่อต้านมาตรการป้องกันการระบาดและไม่เชื่อเรื่องการระบาดของโรค) ประกาศว่ากฎหมายเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการระบาดของรัฐนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีคำพิพากษาให้โรงเรียน 2 แห่งไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ซึ่งต่อมาศาลในระดับที่สูงขึ้นไปได้กลับคำพิพากษานั้น และเขาถูกพักงานและถูกดำเนินคดีในความผิดฐาน Rechtsbeugung ศาล Landgericht มีคำพิพากษาจำคุก 2 ปีฐานบิดกฎหมายใน 2 เคส แต่ให้รอลงอาญา ผู้พิพากษาคนนี้จะยื่นอุทธรณ์ต่อในศาลระดับสูงระดับประเทศ ซึ่งถ้าคดีถึงที่สุดและศาลสูงระดับประเทศมีคำพิพากษายืนตามศาล Landgericht แม้ผู้พิพากษาคนนี้จะไม่ได้ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ แต่ก็ทำให้สิ้นสุดอาชีพผู้พิพากษาตามกฎหมายเกี่ยวกับผู้พิพากษาดังที่ผู้เขียนได้อธิบายไปด้านบน ซึ่งนอกจากจะทำให้ต้องออกจากงานแล้ว เงื่อนไขการได้บำนาญตามตำแหน่งผู้พิพากษาสิ้นสุดลงไปด้วย
(อ้างอิง https://www.brak.de/.../rechtsbeugung-querdenker-richter.../)
.
กรณีที่ 2 - ศาลสูงระดับรัฐ Erfurt ได้มีคำพิพากษาให้จำคุกพิพากษาคนหนึ่ง (อายุ 60 ปี) ในความผิดฐาน Rechtsbeugung เป็นเวลา 16 เดือน เนื่องจากผู้พิพากษาคนนี้ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เขาปล่อยให้ผู้ที่ทำผิดกฎจราจรพ้นผิดไปเพราะไม่ได้สนใจข้อมูลที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งให้เพื่อประกอบการพิจารณา ศาลสูงระดับรัฐต้องกลับคำพิพากษาของเขาซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่เขาก็ไม่ได้สนใจและยังคงพิจารณาคดีแบบเดิม แม้ว่าผู้พิพากษาคนนี้จะถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดในศาลก่อนหน้า แต่ศาลสูงระดับประเทศกลับคำตัดสินนั้น ทำให้ต้องมีการพิจารณาคดีกันใหม่ โดยให้มีความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมด้วย สุดท้ายศาล Landgericht ก็มีคำพิพากษาใหม่ จำคุก 16 เดือน โดยให้รอลงอาญา แม้จะรอลงอาญาแต่เมื่อคดีถึงที่สุด ผู้พิพากษาคนนี้ก็ต้องจบอาชีพผู้พิพากษาและหมดสิทธิในบำนาญตามตำแหน่งผู้พิพากษาไปด้วย
(อ้างอิง https://www.lawblog.de/.../bewaehrungsstrafe-fuer-richter/)
.
กรณีที่ 3 - ผู้พิพากษา (อายุ 37 ปี) ถูกดำเนินคดีและถูกตัดสินให้มีความผิดฐาน Rechtsbeugung โทษจำคุก 3 ปี 10 เดือน ไม่รอลงอาญา เนื่องจากไม่สนใจเร่งทำคดีในความรับผิดชอบของตัวเอง ระหว่างการดำเนินคดีพบว่ามีแฟ้มเกี่ยวกับคดีในความรับผิดชอบของผู้พิพากษาคนนี้ถูกเก็บไว้ในกล่องสำหรับขนย้ายและถูกนำไปไว้ที่ชั้นใต้ดิน จิตแพทย์ให้ความเห็นว่าเธอมีความสามารถและสติสัมปชัญญะครบถ้วน สามารถรับผิดชอบต่อหน้าที่ได้ ทำให้ศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษอย่างหนัก ผู้พิพากษาคนนี้อุทธรณ์ ซึ่งภายหลังศาลสูงระดับประเทศมีคำพิพากษาว่าผู้พิพากษาคนนี้มีความผิดฐาน Rechtsbeugung จริง แต่ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาการลงโทษใหม่ เพราะว่า Rechtsbeugung ในกรณีของผู้พิพากษาคนนี้เคสส่วนหนึ่งไม่ใช่การบิดกฎหมายในลักษณะ active แต่เป็นการละเว้นไม่ทำหน้าที่ โทษจึงไม่ควรหนักเท่ากับการตั้งใจกระทำการบิดกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจะมีการลงโทษที่เบาลง แต่อาชีพผู้พิพากษาก็จะสิ้นสุดลงอย่างแน่นอน
(อ้างอิง https://www.zeit.de/.../richterin-liess-akten-einfach...)
และ https://www.bundesgerichtshof.de/.../DE/2023/2023091.html )
.
ที่ปรึกษาฯ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า Rechtsbeugung นั้นเป็นกฎหมายที่ใช้สำหรับผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจทางกฎหมาย การทำผิดกฎหมาย การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อาจจะไม่ใช่ Rechtsbeugung ทุกกรณีไป
ผู้เขียนจึงถามว่าถ้าหากมีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งเสนอนโยบายให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 90 เกี่ยวกับการดูหมิ่นประธานาธิบดี (Verunglimpfung des Bundespräsidenten) ในการหาเสียงเลือกตั้ง แล้วศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันพิพากษาว่าการเสนอให้แก้กฎหมายอาญาที่ให้ความคุ้มครองประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขของประเทศนั้น ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง เป็นการล้มล้างการปกครองของเยอรมนี ต้องยุบพรรคการเมืองนั้น แบบนี้ถือว่าเป็น Rechtsbeugung หรือไม่?
.
ที่ปรึกษาฯ มองบนนิดนึงก่อนตอบว่า ไม่น่าถาม ถ้าเป็นแบบนี้ ในเยอรมนีถือว่าเป็นอาชญากรรม 3 เด้งเลยทีเดียว เพราะ
1) ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ตัดสินเกินขอบเขตอำนาจของตัวเอง เนื่องจากความผิดฐานล้มล้างการปกครองนั้นเป็นกฎหมายอาญา มาตรา 81 (Hochverrat gegen den Bund) การพิจารณาพิพากษาว่าใครทำผิดในคดีอาญาหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ไม่ใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
2) ความผิดฐานล้มล้างการปกครอง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81 (1) นั้นระบุไว้ว่า บุคคลที่กระทำความผิด จะต้องใช้กำลัง หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง
1. เพื่อทำลายการดำรงอยู่ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ
2. เพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
จะต้องได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือไม่ต่ำกว่า 10 ปี
การเสนอว่าจะแก้กฎหมายอาญาจึงไม่ใช่ความผิดฐานล้มล้างการปกครองในเยอรมนี เพราะการแก้กฎหมายของพรรคการเมืองไม่ใช่การใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ถ้าทหารทำรัฐประหารแล้วแก้รัฐธรรมนูญสิถึงจะเรียกว่าการล้มล้างการปกครองในเยอรมนี
3) การยุบพรรคการเมืองในเยอรมนีไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้โดยง่าย เพราะพรรคการเมืองเป็นองค์กรที่มาจากประชาชน เป็นส่วนสำคัญของการเป็นประชาธิปไตย การจะยุบพรรคการเมืองจึงเป็นเรื่องที่ถือว่าซีเรียสมาก ต้องเข้าเกณฑ์จริงๆ จึงจะสามารถยุบได้ ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญใช้มา เยอรมนีเคยยุบพรรคการเมืองไปเพียง 2 พรรคเท่านั้น และผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันทุกคนก็รู้ดีว่าไม่ควรยุบพรรคการเมืองด้วยเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง (อ่านความเห็นผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันที่พูดให้คนไทยฟังเกี่ยวกับการยุบพรรคได้ในลิงค์ด้านล่างค่ะ )
และตามกฎหมาย ผู้กระทำความผิดฐานล้มล้างการปกครองเป็น “บุคคล” ไม่ใช่ “พรรค” พรรคการเมืองล้มล้างการปกครองไม่ได้ แต่สมาชิกพรรคการเมืองอาจจะสามารถทำได้ จึงเป็นความผิดของตัวบุคคล ไม่ใช่ความผิดของพรรค ต่อให้มีสมาชิกพรรคบางคนหรือบางกลุ่มพยายามจะล้มล้างการปกครองก็ไม่ใช่เหตุผลในการยุบพรรคการเมือง
.
ดังนั้น ถ้าหากเป็นในเยอรมนี แล้วศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการที่พรรคการเมืองมีนโยบายว่าจะแก้กฎหมายอาญาที่ปกป้องคุ้มครองประธานาธิบดีในฐานะประมุขของประเทศ ว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง และทำการยุบพรรคนั้น อย่างน้อยผู้พิพากษามีความผิดฐาน Rechtsbeugung บิดกฎหมายในการตัดสินคดีเพื่อให้โทษแก่พรรคการเมือง ซึ่งมีโทษจำคุก 1-5 ปี และต้องพ้นจากตำแหน่งอย่างแน่นอน
.
ที่ปรึกษาฯ ย้ำว่าการแก้กฎหมายไม่ใช่การล้มล้างการปกครอง ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ในเยอรมนี ไม่ว่าจะประเทศไหนๆ การแก้กฎหมายก็ไม่ควรกลายเป็นการล้มล้างการปกครองไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการรัฐประหารไม่ถือว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง แต่ศาลกลับเห็นว่าการแก้กฎหมายต่างหากล่ะที่เป็นการล้มล้างการปกครอง มองมาจากดาว Makemake ก็รู้ว่า...จิงโจ้
.
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หาอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อด้านล่างนี้นะคะ
การยุบพรรคการเมืองโดยศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน
(https://www.facebook.com/.../pfbid0fnWjC8TQD6uibFatonfrTs...)
ความเห็นจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
(https://www.facebook.com/GermanyStories/posts/pfbid02c7E176ZPfzQFYnQHPB6w8gP8sHeXu8wyv3ipHokAoZk9zzh6E1AhsKui6RfhquZ6l)
กฎหมายปกป้องประมุขประเทศของเยอรมนี
(https://www.facebook.com/.../pfbid02XyqTzrBQgrUpBeCJWm2rk...)
กว่าจะเป็นนักกฎหมายเยอรมัน (การศึกษาด้านกฎหมายในเยอรมนี เพื่อเป็นผู้พิพากษา อัยการ และทนายความ)
(https://www.facebook.com/GermanyStories/posts/pfbid0485EsbmxtgGvSLyn2qTRkppMF1Rwmuq6WtEKWy9jkQDQXT4hQFaDMxzB6khmwg4jl)
.
Photo credit: (https://tinyurl.com/2bfwfe5y)
.....

ที่มา
https://www.facebook.com/photo/?fbid=822454026594810&set=a.467252262114990